Wednesday, April 19, 2017

ANTIBIOTICS

เดี้ยงจนถึงวันนี้ได้เวลาครึ้งเดือนพอดี เริ่มจากอากาศร้อนนอนพื้น พอตอนเช้าอากาศเย็นก็เลยเดี้ยง เริ่มแรกก็รักษาจากเบาไปหาหนัก คือ สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร รางจืด พลูคาวขาวละออ กลายเป็นว่าเอาไม่อยู่ เกิดฝ้าขาวที่ทอมซิล เลยต้องหยุดยาทั้งหลาย แล้วใช้ ANTIBIOTIC แต่ไปเล่นของสูงคือ AZITH กิน 2 เม็ด 5 วัน กลายเป็นว่า อาการไม่ดีขึ้นเลย เพราะเชื้อไม่ไวต่อ AZITH (ทั้งๆที่ AZITH มีอยู่ใน GUIDELINE)

หลังจากกิน AZITH จนครบ 5 วัน แค่อาการก็ยังเลวไม่ดีขึ้น มีหรั่งแนะนำให้อม MYBACIN และให้กิน CIPROFLOX แต่ยังไม่กล้าเล่น ขอแค่ MYBACIN พอ กลายเป็นว่า MYBACIN ดีมากในการกลบอาการ แต่ไม่ได้มีผลในการรักษา แล้วถามว่าจะอมต่อไปทำไม ก็เลยเลิก
พอดีถามอาจารย์วัชรี เภสัชมช. ว่าถ้ามีฝ้าขาวในคอแบบนีั้อาจารย์จะใช้อะไร
อาจารย์บอกว่าก็ AMOX ก็เลยเริ่มลอง AMOX แต่ตาม GUIDELINE กำหนดให้ใช้ AMOXY 500 MG ทุก 12 ชั่วโมง ก็เลยลองดู ปรากฏว่า อาการทรงตัว ไม่เพิ่มแต่ก็ไม่ลด ฝ้าขาวยังเหมือนเดิม ก็เลยเพิ่มเป็น AMOX 500 MG ทุก 8 ชั่วโมง แต่อาการก็ยังเหมือนเดิม ก็เลยเพิ่มเป็น AMOX 1000 mg ทุก 12 ชั่วโมง แต่ตามประสาวัยรุ่นใจร้อน วันนี้ได้เพิ่ม CEPHALEXIN 500 MG ทุก 12 ชั่วโมง กินคู่กันไป คาดว่าอาการน่าจะดีขึ้น

ที่เล่ามายืดยาว ก็เพราะต้องการบอกว่า
1.ยาฆ่าเชื้อ ใช้พร่ำเพรื่อ เชื้อดื้อยาแน่นอน
2. การใช้ยาฆ่าเชื้อก็เหมือนเป็น Russian roulette ถ้าเข้าเป้า ก็รักษาหาย ถ้าไม่เข้าเป้า ก็รีกษาไม่หาย การใช้ยาฆ่าเชื้อที่ดีที่สุดจึงต้องทำ Antibiotic Sensitivity Test ซึ่งเมืองไทยไม่ทำกัน นิยมยิงยาแบบพร่ำเพรื่อเกินเหตุ
3. เภสัชไม่กินยา รักษาเองจากเบาไปหาหนัก ย่อมใช้เวลาในการรักษา อดทนและดูผล ต่างจากคนไทยทั่วไปที่ต้องการยาวิเศษ กินปุ๊ปหายปั๊ป

ยังมีเรื่องของ ANTIHISTAMINE ที่ทดลองใช้ดูเหมือนกัน แต่รู้สึกจะยืดยาวอยู่ ไว้ค่อยเล่า (ถ้าอยากเล่า)

>>>>>>>>

ตาม Clinical Practice Guideline for the Diagnosis and Management of Group A Streptococcal Pharyngitis: 2012
Update by the Infectious Diseases Society of America
หลังจากที่ประเมินความเสี่ยงของการติดเชื้อ ถ้ามีความเสี่ยงมากกว่า 38% จึงจะให้ยาฆ่าเชื้อ ได้แก่

AMOXYCILLIN 500MG ทุก 8-12 ชั่วโมง นาน 10 วัน
CEPHALEXIN 500 MG ทุก 12 ชั่วโมง นาน 10 วัน
CLINDAMYCIN 300MG ทุก 8 ชั่วโมง นาน 10 วัน
AZITHROMYCIN 500mg วันละครั้ง นาน 5 วัน
ROXITHROMYCIN 300MG วันละครั้ง นาน 10-14 วัน
Photo

วันนี้น่าจะเป็นวันที่เดี้ยงมาครบเดือนพอดี ที่เคยเล่าว่าเริ่มจากยินหยางพร่อง เพราะนอนพื่น จากนั้นก็ติดเชื้อที่คอ แล้วก็ว่ากันยาวจนบัดนี้ ตอนนี้เลยเหลือแต่การเลี้ยงไข้ ด้วยการกินยาฆ่าเชื้อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีปาฏิหารย์จากพระเจ้า เชื้อที่คอหายไปเป็นปลิดทิ้ง

ไม่อยากกินยามาก ไม่อยากกินยาแรง เพราะเคยกินยาแรงแล้วมันไม่หาย ต้องหันกลับมาใช้ยาพื้นๆ ตอนนี้กินยาที่แรงระดับกลาง คือ AMOKSIKLAV แล้วพยายามลดยาที่กินร่วม ดุว่ากินแค่นี้เอาอยู่หรือไม่ ถ้าเอาอยู่ก็ OK ถ้าเอาไม่อยู่ก็ค่อยเพิ่มตัวอื่น

จริงๆการรักษา ก็ว่ากันตาม GUIDELINE หรั่งมันให้กิน AMOXY 500 MG ปรากฏว่าเอาไม่อยู่ ต้องกิน 1000 มิลลิกรัม มันก็พอเอาอยู่ แต่ AMOXYKLAV ดีกว่า เลยรู้เลยว่า เชื้อดื้อยาในคนไทยแน่นอนนนน

ใครอยากหายาฆ่าเชื้อมาใช้ไม่ได้ เชิญกินยาฆ่าเชื้อตามสบาย ยิ่งกินยาแรงมากเท่าไหร่ พอเชื้อดื้อยา ก็จ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆ จนหายามาใช้ไม่ได้ โรคนี้ถ้าเป็นโรงบาลเอกชน หรือ เป็นคนกรุง ซัด MEIAC ไปนานแระ เม็ดละแค่ไม่กี่ร้อยเอง

นานๆ สัก 2-3 ปี ถึงจะกินยาฆ่าเชื้อเป็นเดือนๆแบบนี้สักครั้ง ซึ่งไม่ชอบเอามากๆ
Photo

Augmentin® (Amoxicillin and Clavulanate)

ประเภทของยาทางการบำบัดรักษา :
penicillins and beta-lactamase inhibitors

กลไกการออกฤทธิ์
Amoxicillin ออกแรงกระทำต่อเชื้อแบคทีเรียที่ไวต่อสิ่งมีชีวิตในช่วง ขั้นตอนการยับยั้งการสังเคราะห์การสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ส่วนคลาวูลาเนท clavulanate) หรือกรดคลาวูลานิก (clavulanic acid) เป็นยาต้านเอนไซม์เบต้าแล็คทาเมส (beta-lactamase inhibitors) เพื่อป้องกันยาเพนิซิลลิน (penicillins) ไม่ให้ถูกทำลายด้วยเอนไซม์เบต้าแล็คทาเมสซึ่งจะทำลายยาเพนิซิลลิน (penicillins) ก่อนที่ยาจะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้
-การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่เชื้อแบคทีเรียสร้าง สร้าง β-lactamase เอนไซน์ ได้แก่
Streptococcus s. aureus ,H. influenzae or Moraxella (Branhamella) catarrhalis. H. influenzae ซึ่งก่อให้เกิดโรคไซนัสอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบ
- การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่สร้าง β-lactamase เอนไซน์ได้แก่ H .influenzae, K. pneumoniae, S. aureus or influenzae, K. pneumoniae, เชื้อ S. aureus หรือMoraxella (Branhamella) catarrhalis. Moraxella (Branhamella) catarrhalis
- การติดเชื้อ Skin and Soft Tissue Infections ที่ติดเชื้อ S.aureus. aureus
- การติดเชื้อ Urinary Tract Infections when caused by β-lactamase producing strains of การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเมื่อมีสาเหตุมาจากสายพันธุ์ที่ผลิต β-lactamase ของ E. coli, P. mirabilis or Klebsiella species. เชื้อ E. coli, P. mirabilis,Klebsiella

ข้อห้ามใช้
-ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ต่อยานี้และกลุ่ม penicillin หรือ clavulanic acid
-ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไตวาย (Clcr<30 ml)
-ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ทำ hemodialysis

ข้อควรระวัง
-ผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม cephalosporins (cross allergy)
-ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
-ผู้ป่วยที่รับประทานยา amoxicillin แล้วมีอาการท้องเสียรุนแรง

Pregcat: B
Lactation: ยาสามารถผ่านทางน้ำนมได้ดังนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง

คำเตือนและอาการข้างเคียง
-หากใช้ยานี้แล้วเกิดอาการบวมของใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และกล่องเสียง หรือหายใจลำบากให้ใช้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที
-หากใช้ยานี้แล้วเกิดผื่นคัน คลื่นไส้อาเจียน ปวดแน่นท้อง หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที
-อาการที่พบได้บ่อยครั้งได้แก่ ถ่ายเหลว (3%-34% ขึ้นกับขนาดยาที่ใช้)

ปฏิกิริยากันระหว่างยา
-ผู้ป่วยที่ได้รับยา allopurinol ร่วมกับ amoxiciilin อาจทำให้เกิดผื่นเพิ่มขึ้น

http://images.slideplayer.com/16/4885598/slides/slide_23.jpg
http://www.kohc.moph.go.th/site/index.php/en/download/category/10-dis?download=18:drug-monograph
Photo

Sitafloxacin: ยำกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนตัวใหม่ในกำรรักษำโรคติดเชื้อในระบบทำงเดินหำยใจ
วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558:2:5-13

Sitafloxacin เป็นยาฟลูออโรควิโนโลนตัวใหม่ที่มีฤทธิ์
ในการฆ่าเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ดี สามารถ
ครอบคลุมเชื้อได้กว้างทั้งเชื้อกรัมบวก กรัมลบ แบคทีเรียที่
ไม่พึ่งออกซิเจน และ atypical pathogens อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากปัจจุบันยังมียาปฏิชีวนะหลายตัวที่สามารถใช้ผลได้
ดี การพิจารณานำ sitafloxacin มาใช้ในทางคลินิก
จึงมักถูกนำมาใช้กับเชื้อดื้อยาทั้งเชื้อกรัมบวกและกรัมลบ
และเนื่องจาก sitafloxacin เป็นยาชนิดรับประทานจึงทำให้
บริหารยาได้ง่่าย นอกจากนั้น ผล in vitro ยังพบว่่า
ยา sitafloxacin มีฤทธิ์ในการฆ ่าเชื้อ Burkholderia
pseudomallei จึงอาจจะพิจารณาเป็นยาตัวเลือกในผู้ป่วย
ที่แพ้ยา trimethoprim/sulfamethoxazole อย่างไรก็ตาม
ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางคลินิก ส่วนเชื้อ Mycobacterium
tuberculosis ยา sitafloxacin อาจจะมีบทบาทในการนำ
มาใช้รักษาวัณโรคดื้อยา

http://images.slideplayer.com/16/4885598/slides/slide_28.jpg
http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000027/Sitafloxacin_New_Fluoroquinolone_For_RTIs.pdf
Photo

กลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก โดยกลุ่มโรคเหล่านี้มากกว่าร้อยละ 80 ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

แต่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักร้องขอยาแก้ปฏิชีวนะเมื่อ อาการเป็นนานกว่า 3 ถึง 7 วัน เมื่อเสมหะหรือน้ำมูกเป็นสีเขียวข้น หรือถ้าเป็นกลุ่มท้องเสียก็จะขอยาปฏิชีวนะเมื่อยังมีอาการถ่ายเหลวหลายครั้งเกิน 2 วัน หรือ เบื่ออาหารปวดเมื่อยตัว หรืออาการไข้ที่ยังไม่หาย ยิ่งไปกว่านั้นการซื้อยาเองตามร้านขายยาก็ง่ายมากอีกทั้งผู้ขายยาที่ไม่ใช่แพทย์ก็จะจ่ายยาให้ตามที่ผู้ป่วยต้องการจึงทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นกันเป็นวงกว้าง

เมื่อผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะแล้วต้องใช้ต่อเนื่องจนครบตามที่แพทย์พิจารณา บ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้นซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำหรือเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี

มีหลายคนกินยาไม่สม่ำเสมอ กินไม่ติดต่อกัน และเมื่ออาการที่เป็นดีขึ้น จะหยุดกินยาไปเอง ไม่กินให้หมดจำนวนที่ได้รับมา ซึ่งการทำแบบนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล และเสี่ยงต่อการที่อาการติดเชื้อเหล่านั้นจะกลับมาเป็นใหม่ได้สูง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การดื้อยา” ได้

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/607729
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=16
http://images.slideplayer.com/16/4885598/slides/slide_39.jpg
http://www.seekun.net/Antibiotics-kamtorn.pdf
Photo




แผนผังว่าด้วยชนิดของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

http://www.compoundchem.com/wp-content/uploads/2014/09/A-Guide-to-Different-Classes-of-Antibiotics-Aug-15.png

Antibiotic Resistance – Impact on the Irish Pig Industry
13 June 2012
http://www.thepigsite.com/articles/3959/antibiotic-resistance-impact-on-the-irish-pig-industry/


Appropriate Prescribing of Oral Beta-Lactam Antibiotics
KEITH B. HOLTEN, M.D., and EDWARD M. ONUSKO, M.D., University of Cincinnati College of Medicine, Cincinnati, Ohio
Am Fam Physician. 2000 Aug 1;62(3):611-620.
http://www.aafp.org/afp/2000/0801/p611.html
Photo

















ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................



UPDATE  -  2017.04.19