Sunday, May 19, 2019

ไข้ออกผื่น

ไข้ออกผื่น
😁สรุปไข้ออกผื่น Viral exanthem 3 โรค😁
มาดูชื่อผื่น(spot)ที่พบในปากกันครับ👅
หัด หัดเยอรมัน หัดกุหลาบ
ชื่อ Koplik Forschheimer Nagayama spot
ส่วนใหญ่จะรู้จัก koplik spot ที่พบในโรคหัด (Measles) แต่จริงๆแล้วไวรัสไข้ออกผื่นที่ทำให้มีผื่นในปากมีอีก2โรคคือ หัดเยอรมัน (Rubella) และ หัดกุหลาบ (Roseolar infantum)
ปล....ไข้ ออกผื่น มีหลายโรค มีรูปแบบชัดเจน
#โรคหัด
#หัดเยอรมัน
#โรคติดต่อ​ที่ต้องเฝ้าระวังในบุคลากรทุกระดับ
#ไข้ออกผื่น
#หัด​ #หัดเยอรมัน
#ไข้หวัดใหญ่
#อีสุกอีใส​ #งูสวัส
ที่มา [PDF]Measle in OB - ศิริราช
คุณรู้หรือไม่! โรคหัดเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
#ตาแดง
#โรคหัด
#ผื่นแดง
#เพราะเราอยากให้คุณสุขภาพดี
#สุขภาพดีที่ศรีพัฒน์
#ส่าไข้ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสในกลุ่มโรคเริมที่ชื่อว่า Human Herpesvirus 6: HHV-6 และอาจเกิดจากเชื้อไวรัส Human Herpes Virus 7: HHV-7 ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดนสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจอย่างน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยเมื่ออยู่ใกล้กัน โดยการแพร่กระจายของเชื้อจะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการหรือเป็นไข้ แต่เมื่อเกิดผื่นหรือมีอาการอื่น ๆ ของโรคจะไม่ติดต่อไปสู่ผู้อื่น ระยะฟักตัวของโรคจนกระทั่งผู้ป่วยแสดงอาการจะอยู่ในช่วง 9-10 วัน
แม้ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกับโรคเริม แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ จากไวรัสกลุ่มนี้ตามมา เช่น โรคเริม โรคอีสุกอีใส หรือโรคงูสวัด สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคจะเป็นทารกและเด็กเล็กอายุระหว่าง 6 เดือน-3 ปี มากกว่าวัยอื่น ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 95% เป็นเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
ส่าไข้คืออะไร มีวิธีการดูแลอย่างไร – ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก http://www.gj.mahidol.ac.th/th/taking-care-of-fever-blister/
ส่าไข้ - อาการ, สาเหตุ, การรักษา - พบแพทย์ https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89
ส่าไข้ นี่เป็นในผู้ใหญ่ได้ไหมครับ - Pantip https://m.pantip.com/topic/31292363?
ความเชื่อ : #ส่าไข้ คืออาการที่มีผื่นสีแดงขึ้นที่ลำตัวหลังจากที่ป่วยเป็นไข้ เมื่อผื่นนี้ขึ้นมาแสดงว่าใกล้จะหายแล้ว และเป็นได้หลายครั้ง
ความจริง : ส่าไข้เกิดจากเชื้อไวรัส Human Herpesvirus 6 หรือHHV-6 เมื่อได้รับเชื้อนี้แล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันจะไม่ป่วยด้วยเชื้อตัวนี้ซ้ำอีก
ความเชื่อ : เป็นส่าไข้ต้องกินยาเขียว เพื่อขับผื่นออกมาให้หมด
ความจริง : การวินิจฉัยโรคส่าไข้นั้น เป็นการรักษาตามอาการ และติดตามอาการ ดังนั้นกว่าที่เราจะทราบว่าเป็นส่าไข้จริงๆ ก็ต่อเมื่อไข้ลดและออกผื่นแล้ว ซึ่งก็เป็นระยะครบวงจรของโรคแล้ว และการออกผื่นก็ไม่ได้มีอาการคันใดๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องกินยาเขียวเพื่อช่วยขับผื่น ผื่นสามารถหายได้เองในระยะเวลา 3-5 วัน
UPDATE 2019.05.19




Saturday, May 18, 2019

17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก World Hypertension Day

ความดันโลหิตสูง
"แนวทางใหม่" ในการวินิจฉัย "โรคความดันโลหิตสูง" จาก"New 2019 Thai Guideline for Hypertension"
ใครเป็น "Possible HT"..ใครเป็น "Probable HT" และ ใครเป็น "Definite HT"..และจะมีแนวทางติดตามวินิจฉัยว่าจะเป็นหรือไม่เป็น HT กันแน่..อย่างไร..
เทคนิค..วิธีการ และ รายละเอียดใน "การวัดความดัน" "ในสถานพยาบาล" และ "วัดเองที่บ้าน" ทำอย่างไร..วัดกี่ครั้ง.. วัดตอนไหน..ใช้ตัวเลขไหนเป็นค่าความดันที่แท้จริง..
เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ "ที่สถานพยาบาล" "ครั้งแรก" ย้ำนะครับ ว่า "ที่สถานพยาบาล" และเป็น "ครั้งแรก" (visit แรก) แล้ว "พบว่า BP สูง" Guideline ฉบับนี้จะเน้นครับว่า "อย่าเพิ่งผลีผลาม" หรือ "รีบวินิจฉัย" ว่า "คนไข้เป็น HT" ในทันที เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ BP ของคนไข้สูงเกินจริงได้
เค้าจึงแนะนำแนวทางในการวินิจฉัย "hypertension" โดยให้ดูจาก 2 องค์ประกอบ ก่อนครับ คือ..
1. "ตัวเลขระดับ BP เฉลี่ย" ใน visit แรกนั้น
และ
2. มี "ความเสี่ยงสูงต่อหัวใจและหลอดเลือด" หรือไม่
ไม่ได้ดูตัวเลข BP เพียงอย่างเดียว !!
แล้วกำหนดแนวทางการ "วินิจฉัย HT" เบื้องต้นไว้ "4 ระดับ" อย่างนี้ครับ..
"ระดับที่ 1"..High normal BP (BP เกือบสูง)
SBP 130-139 และ/หรือ DBP 80-89
■ ให้ดูว่ามี "ความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด" หรือไม่ ซี่งหมายถึง มี "อย่างน้อย 1 ข้อ" จาก ก, ข, ค, ง ดังนี้
ก. TOD (target organ damage) ได้แก่ หลอดเลือดแดงแข็งตัว, LVH, microalbuminuria, moderate - severe CKD, asymptomatic PAD, severe hypertensive retinopathy (exudate/HGE/papilledema)
ข. CVD (cardiovascular disease) ได้แก่ CVA, CAD, Heart failure, symptomatic PAD, AF หรือ ตรวจพบ atheromatous plaque ในหลอดเลือด
ค. DM
ง. high CV risk (10 yrs CV risk > 10%)
(แนะนำให้ใช้ Thai CV risk score)
(class I ; level B)
■ วิธีวินิจฉัย
==> ถ้ามีอย่างน้อย 1 ข้อ จาก ก-ง --> "Dx HT ได้เลย"
(class I ; level B)
==> ถ้าไม่มี ก-ง เลย...ให้วัด "BP ที่บ้าน" (HBPM ; Home BP monitoring) แล้วดูตัวเลข ดังนี้
* ถ้า >= 135/85 ---> "Dx HT ได้เลย"
(จัดเป็น Masked HT)
* ถ้า < 135/85 ----> "ยังไม่เป็น HT"
"ระดับที่ 2" Possible hypertension (อาจเป็น HT)
SBP 140-159 และ/หรือ DBP 90-99
■ ถ้ามี "ความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อ" จาก ก-ง
==> "Dx HT ได้เลย" (class I ; level A)
■ ถ้า "ไม่มีความเสี่ยง ก-ง" เลย
==> ให้วัด BP ที่บ้าน (HBPM)(class I ; level A)
* ถ้า >= 135/85 ---> "Dx HT ได้เลย"
* ถ้า < 135/85 ---> "ยังไม่เป็น HT" (ถือเป็นกลุ่ม "White-coat HT")
หรือ
==> นัดวัด BP ซ้ำ "ที่สถานพยาบาล" อีก "2 visit ภายใน 3 เดือน" ---> >= 140/90 "Dx HT ได้เลย"
(class I ; level A)
"ระดับที่ 3" Probable HT (น่าจะเป็น HT)
SBP 160-179 และ/หรือ DBP 100-109
■ จะ "Dx HT ได้เลย" เมื่อเข้าข่ายอย่างน้อย 1 ใน 2 กรณี คือ..
1. มีความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อ จาก ก-ง
(class I ; level A)
2. มีอาการ ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, ใจสั่น, มีญาติสายตรงเป็นความดันสูงกันหลายคน หรือ คนไข้มีความวิตกกังวลมากต่อการเป็นความดันสูง..แพทย์จึงอาจใช้วิจารณญาณ วินิจฉัยว่าเป็น HT ได้เลย เช่นกัน
(class IIa ; level C)
■ ถ้าไม่เข้าข่าย 2 กรณีข้างต้น
==> ให้วัด BP ที่บ้าน (HBPM)(class I ; level A)
* ถ้า >= 135/85 --> "Dx HT ได้เลย"
* ถ้า < 135/85 --> "ยังไม่เป็น HT" (ถือเป็นกลุ่ม "White-coat HT")
หรือ
==> นัดวัด BP ซ้ำ "ที่สถานพยาบาล" อีก "2 visit ภายใน 1 เดือน" --> >= 140/90 "Dx HT ได้เลย"
(class I ; level A)
"ระดับที่ 4" Definite HT (เป็น HT)
SBP 180 และ/หรือ DBP 110 ขึ้นไป
กลุ่มนี้ "Dx HT ได้เลยครับ !! ไม่ว่าจะมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ..ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการ
(class I ; level A)
"8 ข้อ"ต้องรู้เทคนิค และ วิธีการ วัดความดันโลหิต ใน "สถานพยาบาล" (Office BP monitoring ; OBPM)
■ การเตรียมตัวก่อนวัด BP
* นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง ให้หลังพิงพนัก เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น ไม่ไขว้ขา ไม่ไขว่ห้าง นั่งพักเงียบๆในห้องที่สงบ ไม่พูดคุย เป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัด BP
* ไม่ดื่มชา กาแฟ และ ไม่สูบบุหรี่ อย่างน้อย 30 นาทีก่อนวัด BP
* ถ้าปวดปัสสาวะ ให้ถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนวัด
■ ระหว่างวัด BP
* แขนข้างที่จะวัด BP วางบนโต๊ะตรวจอย่างผ่อนคลาย ไม่เกร็งแขน ไม่กำมือ และ ไม่พูดคุยระหว่างวัด BP
* ต้นแขนบริเวณที่พัน arm cuff อยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
■ Visit แรก หรือ คนไข้ที่เพิ่งตรวจพบว่า BP สูง ให้วัด BP ที่แขนทั้ง 2 ข้าง --> ถ้าแตกต่างกัน > 20/10 จากการวัดซ้ำหลายๆครั้ง อาจเกิดจากโรคของหลอดเลือดแดง --> ให้ส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุ
■ ผู้สูงอายุบางรายอาจมี SBP ที่แขนสองข้าง ต่างกัน > 10...กรณีนี้ให้ วัด BP ที่แขนข้างที่ SBP สูงกว่าในการ FU ครั้งต่อๆไป
■ ควรวัด "orthostatic hypotension" ในราย..
* ผู้สูงอายุ
* เบาหวาน
* มีอาการหน้ามืด วิงเวียน เมื่อลุกยืน
■ วิธีวินิจฉัย "orthostatic hypotension"
* วัด BP ท่านอน --> BP ท่ายืน 1 นาที --> BP ท่ายืน 3 นาที
* จะถือว่ามี "orthostatic hypotension" เมื่อ..
==> SBP ท่ายืน < ท่านอน >= 20 หรือ
==> มีอาการวิงเวียนในท่ายืน
■ คนไข้ AF ให้วัด BP ด้วย "เครื่องชนิดใช้ปรอท" และควร "วัดซ้ำหลายๆครั้งหาค่าเฉลี่ย" เพราะ คนไข้ AF จะมีความแปรปรวนของตัวเลข BP มากกว่าคนทั่วไป
■ วิธีวินิจฉัย "ตัวเลข BP"
* ในแต่ละ visit ให้วัด "อย่างน้อย 2 ครั้ง" "ห่างกัน 1 นาที" ที่ "แขนข้างเดียวกัน" ใน "ท่าเดียวกัน"
* ถ้า SBP 2 ครั้งต่างกัน > 5 ให้วัดเพิ่มอีก 1-2 ครั้ง
* นำค่า BP ที่วัดได้ทั้งหมด มาบวกแล้วหารเฉลี่ยกัน เป็น "ค่า BP ของ visit นั้น"
"8 ข้อ" ต้องรู้..เทคนิค และ วิธีการ วัด BP "ที่บ้าน" ด้วยเครื่องชนิดพกพา (Home BP monitoring ; HBPM)
(class I ; level B)
■ การเตรียมตัว ก่อนวัด และ ระหว่างวัด BP เหมือนการวัด BP "ที่สถานพยาบาล" เลยครับ
■ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบอัตโนมัติ
■ แนะนำให้ใช้เครื่องวัด "บริเวณต้นแขน"..ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องวัด "บริเวณข้อมือ" หรือ "ปลายนิ้ว" ยกเว้น ถ้าวัดที่ต้นแขนลำบาก เช่น คนไข้ที่อ้วนมาก
■ วิธีวินิจฉัย "ตัวเลข BP"
* วัดรอบเช้า (ภายใน 1 ชม.หลังตื่นนอน..ก่อนกินอาหารเช้า..ก่อนกินยา..หลังปัสสาวะ) 2 ครั้ง ห่างกัน 1 นาที
* วัดรอบค่ำ (ก่อนนอน) 2 ครั้ง ห่างกัน 1 นาที
* รวมเป็นวันละ 4 ครั้ง
* วัดติดต่อกัน 3-7 วัน.."ตัดค่าของวันแรกออก" แล้วนำ "ค่าที่เหลือทั้งหมด" มาบวกกันแล้วหารเป็น "ค่าเฉลี่ย"
ถือเป็น "ค่า BP ของรอบนั้น"
■ จะถือว่าเป็น HT เมื่อ >= 135/85 เนื่องจากโดยทั่วไป "BP ที่บ้าน" มักจะต่ำกว่า "BP ที่สถานพยาบาล" ประมาณ 5 mmHg
■ วัด BP เพื่อนำไปให้แพทย์ดู.."อย่าปรับยาเอง" !!
■ ถ้าตัวเลข "BP ที่บ้าน" ขัดแย้งกับ ตัวเลข "BP ที่สถานพยาบาล" --> ให้ยึดถือตัวเลข "BP ที่บ้าน" เป็นสำคัญ !!
■ ถ้าวัดแล้วสร้างความกังวลให้คนไข้.."แนะนำให้เลิกวัด" เลยครับ!!
Reference..2019 Thai Guidelines on The Treatment Of Hypertension
ประเด็นสำคัญในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงประเทศไทยปี 2019
1. คนที่เป็นส่วนมากไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่มีอาการ ไม่เคยวัดความดัน คนที่ได้รับการวินิจฉัยยังไม่ได้เข้ารับการรักษาติดตามที่ดี และท้ายสุดคนที่อยู่ในการรักษาก็ยังคุมโรคไม่ได้ ทั้งสามข้อนี้คือปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของโลกและของชาติ
2. การวัดและติดตามความดันที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเวลาและท่าทางการนั่งวัด ไปฉี่มาให้เรียบร้อย งดชา กาแฟ นั่งบนพื้นราบหลังติดพนัก เท้าติดพื้น แขนวางบนโต๊ะ โดยใช้เครื่องอัตโนมัติ ส่วนการใช้เครื่องแบบปรอท แนวทางนี้สอนละเอียดมาก
3. การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ใช้ระดับความดันที่วัดได้ที่โรงพยาบาลเป็นหลัก (เพื่อลดความคลาดเคลื่อน) เกณฑ์สำหรับประเทศไทยคือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนการวัดความดันที่บ้านมีความสำคัญในการติดตามผลและแยกภาวะความดันโลหิตสูงอีกหลายแบบ การวัดที่บ้านจึงสำคัญไม่แพ้กัน
4. การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงใช้ข้อมูลสองอย่างเสมอคือ ระดับตัวเลขความดันโลหิต และ ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอันใดอันหนึ่ง คือ มีอวัยวะที่ได้รับความเสียหายจากโรคความดันโลหิตสูง มีโรคหัวใจและหลอดเลือด มีโรคเบาหวาน มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจตามการคำนวณมากกว่าร้อยละ 10 มีทั้งตัวเลขและความเสี่ยงจึงถือเป็น definite
5. ถ้ามีแต่ตัวเลขอย่างเดียวในครั้งแรกจะอยู่ในเกณฑ์ เกือบสูง (130-80-140/90) อาจเป็น (140/90-160/100) น่าจะเป็น (160/100-180/110) ส่วนตัวเลขที่วินิจฉัยได้เลยคือ 180/110 ที่เหลือจะต้องใช้ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในข้อ 4 ร่วมด้วยเสมอ หากใข้ตัวเลขอย่างเดียวต้องติดตามความดันที่บ้านร่วมด้วย
6. เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสิ่งสำคัญคือต้องประเมิน ป้องกันและแก้ไข อวัยวะที่ถูกกระทบเช่นหัวใจโต โปรตีนรั่วทางปัสสาวะ หลอดเลือดแดงแข็ง หรือค้นหาโรคร่วมที่สำคัญแล้วควบคุม คือ เบาหวาน ไขมัน ติดบุหรี่ ประเด็นในข้อหกสำคัญมากในการเลือกใช้ยาที่ลดอัตราการตายในภาวะโรคร่วมต่าง ๆ
** 7.การรักษาที่สำคัญอันดับหนึ่ง ต้องทำ ช่วยลดอัตราการป่วยและตายชัดเจน คือ การปรับปรุงชีวิต ลดเค็ม เลิกบุหรี่ ลดเหล้า ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารและน้ำหนัก เกลือแกงไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันนะครับ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำตลอดการรักษาไม่ว่าจะใช้ยาหรือไม่ก็ตาม
8. การใช้ยาจะใช้เมื่อเป็นโรคความดันแบบ definite หรือมีโรคร่วมหรือตามการพิจารณาของแพทย์ และต้องให้ไปปรับชีวิตมาก่อน 3-6 เดือนก่อนเริ่มยา เป้าหมายการรักษาคือความดันน้อยกว่า 130/80 ยกเว้นอายุมากกว่ากว่า 65 สามารถดึงลงมาได้ถึงไม่เกิน 140/90
9. ใช้ยากลุ่มหลักตัวเดียวก่อนแล้วค่อยเพิ่ม บางรายให้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปตั้งแต่แรกตามความเหมาะสมได้ สามารถใช้ยาเม็ดรวมช่วยให้สะดวกได้ ถ้าใช้ยาสองชนิดยังไม่ดีและต้องใช้ยาสามชนิด..หนึ่งในสามชนิดควรมียาขับปัสสาวะร่วมด้วย และห้ามใช้ยากลุ่ม ACEI (อิปริ้ว -pril) ร่วมกับ ARB (ซาตาน -sartan) ใช้ยาตามข้อบ่งใช้ทางการแพทย์
10. การติดตามปรับยา ติดตามการปรับดำเนินชีวิต ติดตามผลตัวเลขความดันที่บ้าน ติดตามการดำเนินโรค ติดตามโรคร่วมที่เกิด เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา ไม่ใช่แค่วินิจฉัยครั้งแรกแล้วกินยาไปตลอด
สุขภาพดีเริ่มที่ลดเค็ม
- ปริมาณโซเดียมต่อวันที่พอเหมาะนะคะ เกลือไม่เกิน 1/3 ช้อนชาต่อมื้อ และน้ำปลาไม่เกิน 2/3 ช้อนชาต่อมื้อ
- การรับประทานอาหารเค็มจัด ทำให้เสี้ยงโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพาต และเกิดไตวายได้
- วิธีง่ายๆลดบริโภครสเค็ม "งดปรุงรสจัด"
- อาหารที่คสรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีรสเค็มจัด เช่น ส้มตำ เย็นตาโฟ เป็นต้นค่ะ
สามารถอ่านความรู้เพิ่มเติมได้ในโปสเตอร์นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูล เทรนด์สุขภาพในช่วงนี้ จาก สสส ค่า
สื่อความรู้สู่ประชาชน จากการฝึกปฏิบัติงานร้านยา
จัดทำโดย นิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
นางสาวพรสินี สุธรรมปวง และ นางสาวฉันท์สินี ศรีสวัสดิ์
แค่ลดเค็มก็ลดความดันโลหิตได้
เชื่อไหมว่าแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเอง
ลดเค็มก็สามารถลดโรคต่างๆ ได้เยอะเลย
วันนี้น้องหมูเลยจะมาพูดถึงการควบคุม
โรคความดันโลหิตยังไงให้สุขภาพดี ให้ห่างไกลจากโรคนี้ มาสำรวจตัวเองกันหน่อยสิว่า อาการสัญญาณแบบไหน
บ่งบอกว่าเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้หรือไม่
และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 จ้า
กินจืด​ ยืดชีวิต
วัดความดัน
17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก World Hypertension Day.
โรคความดันโลหิตสูงป้องกันง่ายๆ เพียงหมั่นเช็คความดันสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ ลดความเครียด เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคได้
จัดทำโดย
1.นสภ.เพ็ญพิสุทธิ์ เทพกัญญา รหัส 57060446 นิสิตชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
2.นศภ.อภิชญา หริกจันทร์ รหัส 5701280074 ชั้นปีที่ 6
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
3.นศภ.ศรัณย์ บริบูรณ์บันเทิง รหัส 5701280357ชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
UPDATE 2019.05.18