Thursday, November 16, 2017

เบาหวาน 2560

แนวเวชปฎิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560

หลาย page มี link ให้โหลดแล้ว คงพอได้อ่านกันมาบ้าง แต่ประเด็นที่ต่างจากเดิม และที่เหมือนเดิมที่ตัวเองคิดว่าสำคัญมีสองสามประเด็น

1. 1 st line ก็คงยังเป็น metformin อยู่ แต่ถ้าให้ metformin ไม่ได้ ยาทางเลือกจะเป็น Su, TZD, DPP4i ไม่มี alpha glucosidase inhibitor และ glinide เหมือนปี57 แล้ว (ส่วนตัวคิดว่าอาจเพราะ efficacy น้อยลด A1cได้เพียง 0.5% และต้องกินหลายมื้อ)

2. Second line ตัวแรกยังแนะนำเป็น SU เหมือนเดิมคิดว่าคงเป็นเรื่องเศรษฐสถานะประเทศ ซึ่งตัวเองก็ยังใช้ su เป็นตัวที่ 2 ส่วนมากเช่นกันเพราะลดน้ำตาลได้เยอะและเร็ว (แต่ส่วนตัวมักใช้ไม่เกิน 50% ของ maximum dose เพราะแค่นี้ก็ได้ efficacy 80% ของ maximum dose แล้ว จะได้ไม่ hypoglycemia และ weight gain มาก) second line ตัวอื่นๆก็เหมือนเดิมเพิ่มเติมก็คือ SGLT2i และ GLP1RA

3. A1c ตั้งต้น >9% เริ่ม combination ได้ตั้งแต่ต้น เพื่อ treat to target โดยเร็ว ถ้าเริ่มทีละตัวกว่าจะถึงจุดหมายคงใช้เวลานาน

4. A1c >11% ร่วมกับมี hyperglycemic symptom ควรพิจารณา insulin ตั้งแต่ต้น ( glucose toxicity มากแค่ยากินก็คงไม่ได้ผล)

แม้ปัจจุบันยาเบาหวานดูมีเยอะแยะไปหมดแต่ในบางรพ.คงมีแค่ metformin, SU, TZD, insulin แต่อย่างไรก็ตามแม้มียามากมายขนาดไหนการคุมเบาหวานก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย ดังนั้นแม้มีแค่นี้ก็สามารถคุมน้ำตาลให้ดีได้ถ้าสามารถทำให้ผู้ป่วยร่วมมือกับเรา

ลองไปหาฉบับเต็มๆอ่านกันนะครับ เป็นคนไทยก็ต้องใช้ของไทย #ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
ยาเบาหวานชนิดกินหลังอาหาร

ยาเบาหวานหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ใช้น้ำตาลในกระแสเลือดที่ดูดซึมหลังรับประทานอาหารเพื่อไปเก็บสะสมหรือเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ดีขึ้น จึงสามารถกินยาเหล่านี้หลังอาหารได้ทันที

ข้อควรระวัง ยากลุ่มนี้ส่วนมากสามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะแนะนำให้กินหลังอาหาร สำหรับ metformin ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้มาก มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร บ่อยครั้งจึงแนะนำให้กินพร้อมอาหารคำแรก ซึ่งอาจช่วยลดอาการข้างเคียงนี้ได้

กรณีลืมกินยากลุ่มนี้หลังอาหารไม่นานมาก (ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง) สามารถกินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ใกล้อาหารมื้อถัดไป ให้้กินหลังอาหารมื้อถัดไปแทน

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0119.pdf
Photo
กลูโคซามีน เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เป็นต้อหิน และผู้แพ้อาหารทะเล จริงหรือไม่?

https://youtu.be/BSlXkoiLMiA
แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน โรคความดัน ...
www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/fooddiabe_03334.pdf
Photo

ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โดยคณะแพทยศาสตร์ มข.

http://goo.gl/forms/IJLWxPaZLz
PhotoPhotoPhotoPhoto
2015-08-28
4 Photos - View album

เรื่องราวของเบาหวานและอาหารเสริม จาก NIH องค์การของรัฐ
.
ถ้าเป็นประเทศไทย จะประกาศอย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด
ยาก็คือยา อาหารก็คืออาหาร อาหารเสริมจะมารักษาโรคไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ยา
เล่นเป็นวงกลมงูกินหาง

It’s American #Diabetes Month. National Center for Complementary and Integrative Health breaks down everything you need to know about diabetes and dietary supplements. http://bit.ly/2eXHC6u

ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรพกอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาหารดังกล่าวได้แก่ ลูกกวาด 5-6 อัน, น้ำผลไม้ครึ่งแก้ว, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ หรือ น้ำตาลก้อน 3 ก้อน


http://yhoo.it/1GIz8ay

“โรค NCDs” ย่อมาจากคำว่า Non-communicable diseases หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่ไม่สามารถแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนได้ โดยทั่วไปอาจเรียกว่า กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงโรคที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน และมีการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งแตกต่างจากโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ เบาหวานก็เป็นหนึ่งในนั้น

สัญญาณเตือนภัยที่สำคัญของโรคเบาหวาน

ท่านสามารถตรวจสอบสัญญาณเตือนของการเป็นโรคเบาหวานได้ดังนี้ :
สัญญาณเตือนภัยโดยทั่วๆไปของโรคเบาหวานประเภท 1และโรคเบาหวานประเภท 2จะคล้ายกัน ทั้งสองแบบจะมีกลูโคสในเลือดมากเกินไป และไม่เพียงพอสำหรับเซลล์ในร่างกายของท่าน โรคเบาหวานประเภท 1เกิดจากการขาดอินซูลินเพราะเซลล์ผลิตอินซูลินได้ถูกทำลาย โรคเบาหวานประเภท 2เกิดจากเซลล์ของร่างกายต่อต้านอินซูลินที่ร่างกายได้ผลิตขึ้นมา โรคเบาหวานทั้งสองแบบนี้จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับกลูโคสตามที่ต้องการ และร่างกายของคุณจะมีอาการผิดปกติรวมถึงสัญญาณเตือนต่างๆ ที่จะทำให้คุณได้ทราบว่าคุณอาจจะเป็นโรคเบาหวานเข้าแล้ว

ความถี่ในการเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น :
คุณเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งแค่ไหนต่อวัน ? มันดูเหมือนคุณต้องการเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะตลอดทั้งวัน ? ท่านจะมีการปัสสาวะบ่อยมากขึ้นหากมีน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น หากขาดอินซูลินหรือร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุล สร้างน้ำมาที่กระเพาะปัสสาวะบ่อยขึ้น ทำให้ท่านเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้นนั่นเอง

กระหายน้ำบ่อยมากขึ้นแบบไร้สาเหตุ :
ถ้าท่านรู้สึกว่า กระหายน้ำบ่อยมากขึ้น ทั้งๆที่อากาศไม่ได้ร้อน หรือไม่ได้ใช้เสียงจนคอแห้งก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าท่านคอแห้งบ่อยขึ้นและน้ำไปรวมกับอาการปัสสาวะบ่อย ร่างกายของท่านต้องการปรับสมดุลขับน้ำออกไปแล้วในตอนแรก จึงต้องหาน้ำมาเพิ่มทดแทน ท่านจึงต้องการดื่มน้ำมากขึ้นผิดปกติ

น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ :
อาการนี้จะพบมากในโรคเบาหวานชนิดที่ 1, ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เนื่องจากไวรัสในตับอ่อน หรือเพราะการตอบสนองแบบอัตโนมัติของร่างกายที่ทำให้การผลิตอินซูลินผิดปกติ ร่างกายต้องการแหล่งพลังงานเนื่องจากเซลล์ไม่ได้รับกลูโคส ร่างกายจะเริ่มต้นทำลายส่วนของกล้ามเนื้อและไขมันเพื่อไปให้พลังงานทดแทนกลูโคสที่ขาดหายไป ประเภทที่ 2 ค่อยๆเกิดขึ้น กับความต้านทานต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการลดน้ำหนักแบบผิดปกติจึงเห็นไม่ชัดเจนเท่ากับโรคเบาหวานแบบที่ 1

เหนื่อยง่ายขึ้น ร่างกายอ่อนแอ :
กลับมากล่าวถึงเรื่องของกลูโคสเจ้าปัญหาอีกครั้ง กลูโคสจากอาหารที่เรารับประทานจะเดินทางเข้าสู่กระแสเลือดที่ลำเลียงโดยอินซูลิน ซึ่งจะช่วยให้ลำเลียงเข้าสู่เซลล์ในร่างกายของเรา ทำให้เซลล์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานทำงานได้ตามปกติ เมื่อขาดอินซูลิน หรือถ้าเซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน กลูโคสก็ลำเลียงตามกระแสเลือดก็มาไม่ได้ ทำให้เซลล์ขาดพลังงาน คุณเลยมีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น อ่อนเพลีย ร่างกายอ่อนแอลง

มือเท้าชา มีอาการมึนงง :
อาการนี้จะเกิดขึ้นกับระบบประสาท เกิดขึ้นเนื่องมาจากเวลาผ่านไปนานๆ แล้วกลูโคสในเลือดสะสมสูงขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท โดยเฉพาะเบาหวานประเภทที่ 2อาการจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเรากำลังเป็นเบาหวานอยู่ ความเสียหายภายในระบบประสาทจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน ประสาทส่วนปลายจะเป้นตัวควบคุมกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

สัญญาณเตือนและอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น :
มองเห็นภาพซ้อน, ผิวหนังที่แห้งหรือคัน, แผลติดเชื้อง่าย และเวลาในการรักษาแผลนานมากขึ้น และยังมีอาการผิปกติอื่นๆ ถ้าหากท่านมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดภายในร่างกาย และมีอาการผิดปกติดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพบแพทย์ตรวจร่างกาย เพื่อตรวจโรคเบาหวานเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขต่อไป....

https://www.facebook.com/OuayUn/photos/a.196916776996486.44415.150176071670557/495630903791737/
Photo

หากมีอายุ 30 ปีหรือน้อยกว่า ควรได้รับการตรวจครั้งแรกหลังจาก 5 ปีที่พบว่าเป็นโรคเบาหวานเป็นประจำปีละ1 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 30 ปี เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานควรตรวจเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง และผู้ที่ตั้งครรภ์ควรรับการตรวจทุก 3 เดือนจนกว่าจะคลอดบุตร เพื่อป้องกันตาบอดจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา เมื่อผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกตินานหลายปี จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดฝอยในจอประสาทตา มีเม็ดเลือด น้ำเหลืองและไขมันซึมออกมาในจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาบวม ขาดออกซิเจน หากปล่อยทิ้งไว้จะมีเลือดออก น้ำวุ้นตาขุ่นมัว จอประสาทตาลอก และทำให้ตาบอดในที่สุด ซึ่งโอกาสการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตาจะเป็นไปตามระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน เช่น เป็นโรคเบาหวานนาน 10 ปี มีโอกาสพบโรคเบาหวานขึ้นตาได้ประมาณ 10% เป็นนาน 15 ปี มีโอกาสพบโรคเบาหวานขึ้นตาได้ประมาณ 50% และถ้าป่วยนานถึง 25 ปี โอกาสพบโรคเบาหวานขึ้นตาจะเพิ่มเป็น 80-90%

ชายไทยที่มีปัญหา 'นกเขาไม่ขัน'นั้นมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกือบ 90 %จะมีปัญหาด้านโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดและโรคเบาหวาน

ผู้ชายที่เป็นเบาหวาน อารมณ์ทางเพศและความสามารถในการร่วมเพศอาจลดลงได้ทั้ง 2 อย่าง
การแข็งตัวของอวัยวะเพศในผู้ชายต้องอาศัยการทำงานของระบบประสาท หลอดเลือด ฮอร์โมน สารหลั่งบางอย่าง สิ่งเหล่านี้มักจะผิดปกติและเป็นต้นเหตุของ 'นกเขาไม่ขัน' ในเบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยมาประมาณ 10 ปี มีโอกาสเกิดอาการ 'นกเขาไม่ขัน' ได้แล้วถึง 50-70%

หลอดเลือดแดงในคนเป็นเบาหวานจะแข็งและมีการยืดหดตัวที่ผิดปกติ ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงที่อวัยวะต่างๆ ลดลง นอกจากนี้บางส่วนของหลอดเลือดอาจมีการอุดตัน การไหลเวียนของเลือดจะยิ่งลดลง

สารไนตริกอ๊อกไซด์นอกจากสร้างจากปลายประสาทแล้วยังสามารถสร้างจากเซลล์ที่บุผนังด้านในของหลอดเลือด คนเป็นเบาหวานจะมีการเสื่อมของเซลล์เหล่านี้ ทำให้สร้างไนตริกอ๊อกไซด์ได้ลดลง ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ จะยิ่งมีการเสื่อมของเซลล์เอ็นโดธีเลี่ยมได้มาก ทำให้เกิดอาการ 'นกเขาไม่ขัน' ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้หากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงซึ่งพบได้บ่อยในคนเป็นเบาหวาน ก็ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์เยื่อบุผนังด้านในของหลอดเลือดจะยิ่งทำให้เกิด 'นกเขาไม่ขัน' ได้มากขึ้น ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ก็มีการวิจัยพบว่าทำให้หลอดเลือดตีบลงและมีการเสื่อมของเซลล์เอ็นโดธีเลี่ยม ดังนั้นการที่จะทำให้อาการ 'นกเขาไม่ขัน' ดีขึ้น จำเป็นต้องงดการสูบบุหรี่ด้วย

ผู้ชายที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานแล้ว ถ้ายังไม่อยากให้เกิดอาการ 'นกเขาไม่ขัน' ควรดูแลสุขภาพทางเพศให้ดีโดยงดเว้นการสูบบุหรี่ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์มากและบ่อยเกินควร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงมาตรฐานให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการกินยาที่อาจทำให้เกิดอาการ ถ้าปฏิบัติตัวได้ดีแล้ว แต่ก็ยังมีบางครั้งที่เกิด 'นกเขาไม่ขัน' ควรปรึกษาแพทย์

การรักษาได้แก่การแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การให้ยาเม็ดเพื่อช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้นานขึ้นจนสามารถร่วมเพศได้ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าถ้าไม่มีอารมณ์ทางเพศอวัยวะเพศจะไม่มีทางแข็งตัวได้ ยาเม็ดเหล่านี้ไม่สามารถกระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นแต่อารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นจากการสัมผัส การมองเห็น การพูดจา ตลอดจนการมีฮอร์โมนเพศชายที่ปรกติ ในคนที่เหนื่อยล้ามากจากการทำงาน ไม่มีเวลาพักผ่อน นอนไม่หลับ เครียดมาก หรือการมีโรคร้ายแรงต่างๆ มากมาย อารมณ์เพศจะเกิดขึ้นได้ยาก


http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9520000111955
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/health/diabetis.htm

#5ปีที่สูญเปล่า
.
ลุงวีระ รักษาโรคเบาหวานกับผมมา 5 ปี
นับตั้งแต่ตรวจเจอครั้งแรก
เพราะมีติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
จนต้องเข้าโรงพยาบาล
.
จากนั้นมา ลุงก็กินยารักษา
และมาตรวจกับผมมาโดยตลอด

แต่ลุงวีระ มักจะมาไม่ตรงนัด

"ยามันเหลือ ผมกินบ้างไม่กินบ้างครับ
ก็เลยรอใกล้ ๆ หมดก่อนแล้วค่อยมา"

ระดับน้ำตาลของลุง ก็มักจะสูง
น้อยครั้งนักที่จะดี

"ผมกลัวกินไปเยอะ ๆ ไตมันจะไม่ดีน่ะหมอ"

มิวายว่า ผมจะอธิบายสักกี่ครั้งกี่หนว่า
ที่ไตมันจะแย่นั่นน่ะ
ก็เพราะลุงคุมเบาหวานไม่ดีต่างหาก
.
แต่ไม่ว่าระดับน้ำตาลจะย่ำแย่แค่ไหน

ทุก ๆ ครั้ง ที่ลุงมาหา
จะต้องถามคำถามนี้ทุกครั้ง

"ถ้าน้ำตาลมันลง ผมจะเลิกกินยาได้ไหมหมอ?"
(ซึ่ง ลุงก็ไม่เคยจะคุมได้ แล้วจะถามเพื่อ ???)

หรือ ไม่นาน ๆ ทีก็มีคำถามว่า

"เขาบอกว่า กินน้ำผึ้งจะหายจริงไหมหมอ?"

"คนแถวบ้าน เขาบอกว่ากินสมุนไพร..
จะหายขาดได้จริงไหมครับ ?"

"กินน้ำมะนาวโซดามารอบนี้
ไม่เห็นน้ำตาลมันลง
ไหนเขาว่ากันว่า มันรักษาเบาหวานล่ะหมอ ?"
.
แล้วลุงกินยาหมอไหม ?
ก็ กินบ้างไม่กินบ้างเช่นเดิม
.
ครั้งล่าสุด ลุงก็มาเหมือนเคย

"หมอสั่งกินยาสองเม็ดเช้าเย็น
ลุงก็กิน เม็ดเดิยวอีกแล้ว
หมอไม่รู้จะปรับยาให้ยังไงเลยครับ"
ผมพูดแบบหมดแรง หลังซักถามเรื่องกินยาอีกครั้ง
.
ลุง ยิ้มสู้ เหมือนเคย

"นี่หมอ ผมต้องกินยาไปเรื่อย ๆ
ไปตลอดชีวิตจริง ๆ เหรอครับ ?"
มาอีกแล้วคำถามประจำตัว

ผมก็ ยิ้มสู้ กลับไป

คราวนี้ ลุง ใช้ไม้ตายที่คุ้นเคยอีกที

"ผมเห็นในทีวีเขาบอกว่า
ให้เขย่งขาวันละร้อยครั้ง
ทำให้หายจากเบาหวานได้จริงไหมหมอ"

คราวนี้ ผมแพ้อีกแล้ว... ทนไม่ไหว

"ลุงครับ .... "
"ผมจะตอบคำถามนี้
เป็นครั้งสุดท้ายแล้วนะครับ
.
ผมรักษาลุงมาหลายปี
ผมรู้นะครับว่า ลุงหวังจะหายขาด
และไม่อยากกินยามาตลอด
แต่ลุงฟังหมอดี ๆ นะ
หมอก็อยากให้ลุงหายครับ
.
วิธีที่จะทำให้ลุงดีขึ้นได้
คือ กินยาตามหมอสั่ง
หมอจะคอยปรับยาให้
ถ้ามันดีขึ้น ปรับลดยาได้ครับ
.
มีนะครับ คนที่ลดยาจนไม่ต้องกินได้มีครับ
แต่ลุงครับ .. ก่อนอื่นเลย
ลุงกินยาให้สม่ำเสมอก่อนได้ไหมครับ?
.
ไอ้เรื่องผลข้างเคียงของยา ก็ไม่ต้องกลัว
ลุงตรวจกับหมอมา ก็เห็นว่า
หมอคอยเช็คค่าไตอยู่เป็นระยะ ๆ
มันไม่เคยมีปัญหา
เชื่อหมอเถอะ กินยาให้ดีครับ"
.
.
.
ฟังเสร็จ สิ่งแรกที่ลุงพูดคือ

"ห๊า.. ตกลง เขย่งปลายเท้า
ก็ไม่ทำให้หายเหรอครับ"
.
.
ปึ๊ดดดด... เสียงสติขาด เหมือนในการ์ตูน
ดังขึ้นในหัวผม

"ยามันขมกินแล้วมันผะอืดผอม
ผมเลยไม่อยากกิน"

"ลุง ลุงอายุเท่าไหร่แล้ว"
เปิดดูอายุลุง แล้วว่าต่อ

"60 หกสิบแล้วนะครับลุง
เด็กอนุบาลเขายังรู้เลยว่า
ยามันก็ต้องขม"

มานึกย้อนคิดดู
นี่เราก็ปากจัดเหมือนกันนะเนี่ย
.
.
5 ปีแล้วนะ มันสูญเปล่าขนาดนี้เลยเหรอ

ผมคิดในใจ ก่อนจะพลิกประวัติไปอีก
เห็นว่าลุงก็มาตรวจรับยารักษา
โรค ต่อมลูกหมายโตเป็นประจำ

"นี่แล้วทำไม ทีมาหาหมอต่อมลูกหมาก
ก็เห็นมาตรงนัดตลอด ไม่เห็นมีปัญหา
เหมือนอย่างมาหาหมอเลย
ทำไมล่ะ ยาของหมอเขาไม่ขมเหรอ"
.
ลุงตอบว่า

"ไม่ครับ ยาต่อมลูกหมาก
มันเม็ดเล็กกินง่ายครับ"
.
.
.
โห.... คำตอบนี้ หักมุม
เหมือนโดนตบหัวเลย

ยา Metformin ที่ผมให้คนไข้กินอยู่
ในบางคนมีผลข้างเคียง
ทำให้รุ้สึกผะอืดผอม ได้
กินแล้วรู้สึกไม่สบายท้องได้
.
แต่ ผมเองต่างหากที่ไม่เคยใส่ใจ
หรือ ไม่เคยค้นหาคำตอบจริง ๆ ว่า
ทำไมคนไข้กินยาไม่ได้
... คนไข้ตอบว่ากลัวผลข้างเคียง
ก็พยายามให้คำยืนยันว่า ไม่มี

แต่ไม่สามารถ หา อีกเหตุผล
ที่ซ่อนอยู่ได้ หรือ จริง ๆ แล้ว
ลุงอาจจะเคยบอกแล้วก็ได้
แต่ผมเองต่างหากที่ไม่ได้ยิน
.
5 ปี ที่เสียไปนี่
ไม่ใช่เพราะ ลุง คนเดียว
แต่เป็น เพราะตัวเราเองด้วยแท้ ๆ

เรามาเริ่มกันใหม่ก็แล้วกันนะลุง


เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

คุณแม่ ทานยา แล้วมีผลข้างเคียงคือ เวียนหัวมากและมีอาการซึมเศร้าหนักมาก ตอนแรกก็ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร บังเอิญ ไป เซิร์ช ชื่อยา ใน กูเกิ้ล เลยรู้เหตผล ก็เลยหยุดทานยา แล้วอาการที่ไม่ดีต่างๆก็หายไป ผลข้างเคียงของยา เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้นะคะ

ผลข้างเคียงของยาแย่มากมาย พยายามอดทนกิน1ป.3ด.สุดท้ายยอมแพ้เลิกรักษาแต่แปลกแฮะอาการดีขึ้นมากมายกินได้นอนหลับสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้สมองโปร่งโล่งกลับมาอารมณ์ดีเหมือนเดิม(ช่วงเวลาที่กินยาป่วยต้องนอนโรงพยาลถึง17ครั้ง/ปี ต้องเสียที่ดินพร้อมบ้านเพื่อรักษาตัว)

กินมา 4 วันแล้วครับยาเบาหวาน มันรู้สึกปวดท้องแปลกๆปั่นป่วน ถ่ายท้องด้วยเอาแบบหมดตัวเลย มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนิดหน่อยรู้สึกไม่ค่อยสดชื่นเลยทั้งวัน รู้สึกมีความเครียสจากการทำงานมากขึ้นด้วยอาจเพราะน้ำตาลลดแล้วหงุดหงิดง่าย ไม่รู้ว่าต้องทนรับผลข้างเคียงนี้ไปอีกซักระยะหรือเปล่า หรือควรเปลี่ยนยาดี คนที่ทำงานผมบอกว่าถ้าเขาได้ยาอะไรมาก็ตามถ้ารู้สึกไม่ดีจะขอเปลี่ยนทันที แต่ผมไปอ่านดูเหมือนผลข้างเคียงจะเป็นเรื่องปรกติของคนที่รับยาตัวนี้ไปซะงั้น

>>>>>>>>>>>>

จริงนะคะ ครั้งแรกที่รักษาหอบหืด หลอดลม-โพรงจมูกอักเสบได้ยาทานมาเยอะมาก ทั้งยาทาย ยาพ่น

ใจสั่น นอนหมดแรง หายใจถี่ๆ ทำอะไรไม่ไหวเลย ต้องทานวันละ 3 เวลา พอถึงเวลายาทีไร นั่งแกะยาไปอยากร้องไห้ ไม่อยากทาน มันทรมาน แต่ไม่ทานก็ไม่หาย ทานครบทุกมื้อจนหมดไปแบบทรมาณใจ ทรมานกายสุดๆ ค่ะ

แต่เท่าที่ทราบยาขยายหลอดลมมีผลอาจทำให้ใจสั่นอยู่แล้ว ก็ทำใจ หลังๆเปลี่ยนหมอคุณหมอก็จับแอดมิท 1 คืน ดมยาทั้งคืน ให้ใจสั่นหมดแรงแค่คืนแรก แล้วกลับบ้านทานยาต่อ ค่อยยังชั่วค่ะ ไม่รู้ว่าร่างกายชินแล้ว หรือการรักษาไม่เหมือนกัน 😅😅😅 มีเครื่องรมยาติดบ้านแล้วด้วย รมเองบางวันก็โอเค บางวันก็ใจสั่นนอนพะงาบๆ

เบาหวาน โรคเบาหวาน ข้อแนะนำ และการป้องกัน - เส้นทางสุขภาพ - http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-diabetes-1-2.html

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำงานออกแรงกายให้มาก ควรทำในปริมาณพอๆ กันทุกวัน อย่าหักโหม ทั้งการควบคุมอาหาร และการออกกำลัง ควรให้เกิดความพอเหมาะ ที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ 

หมั่นดูแลรักษาเท้า ดังนี้ 
1.  ทำความสะอาดเท้า และดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำ ควรล้างและฟอกสบู่ ตามซอกนิ้วเท้า และส่วนต่างๆ ของเท้าอย่างทั่วถึง หลังล้างเท้าเรียบร้อยแล้ว ซับทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณซอก\นิ้วเท้า ให้แห้งด้วยผ้าขนหนู ระวังอย่าเช็ดแรงเกินไป เพราะผิวหนังอาจถลอกเป็นแผลได้      
2. ถ้าผิวหนังที่เท้าแห้งเกินไป ควรใช้ครีมทาผิวทาบางๆ โดยเว้นบริเวณ ซอกนิ้วเท้า และรอบเล็บเท้า
3.  ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้าบริเวณที่เป็นจุดรับน้ำหนัก และรอบเล็บเท้า เพื่อดูว่ามีรอยช้ำ บาดแผล หรือการอักเสบหรือไม่ หากมีแผลที่เท้า ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
4.  การตัดเล็บ ควรตัดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ ซึ่งอาจลุกลาม และเป็นสาเหตุ ของการถูกตัดขาได้
- ควรตัดเล็บในแนวตรงๆ และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป
- ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
- การตัดเล็บ ควรทำหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย 
ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
5.  ป้องกันการบาดเจ็บและเกิดแผล โดยการสวมรองเท้าทุกครั้ง ที่ออกจากบ้าน (อย่าเดินเท้าเปล่า) ควรเลือกรองเท้า ที่สวมพอดี ไม่หลวม ไม่บีบรัด พื้นนุ่ม มีการระบายอากาศ และความชื้นได้  ควรสวมถุงเท้าด้วยเสมอ โดยเลือกสวมถุงเท้าที่สะอาด ไม่รัดแน่น และเปลี่ยนทุกวัน ก่อนสวมรองเท้า ควรตรวจดูว่า มีวัตถุมีคมตกอยู่ในรองเท้าหรือไม่ สำหรับรองเท้าคู่ใหม่ ในระยะเริ่มแรก ควรใส่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รองเท้าค่อยๆ ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
6.  หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า และไม่ควรซื้อยา กัดลอกตาปลามาใช้เอง
7.  ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวด หรือกระเป๋าน้ำร้อน หรือประคบด้วยของร้อนใดๆ จะทำให้เกิดแผลไหม้พองขึ้นได้ และไม่ช่วยให้อาการชาดีขึ้นแต่อย่างใด
8.  ถ้ามีตุ่มหนอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้า ควรรีบไปหาแพทย์รักษา อย่าใช้เข็มบ่งเอง หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผล ด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ และปิดแผล ด้วยผ้ากอซที่ปลอดเชื้อ และติดด้วยพลาสเตอร์อย่างนิ่ม (เช่น ไมโครพอร์) อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา