Saturday, August 3, 2019

ARCOXIA - ETORICOXIB

ARCOXIA - ETORICOXIB
ยาแก้ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม” (Etoricoxib)
ใช้อย่างไรได้ผลและปลอดภัย?
เอโทริค็อกสิบ / Etoricoxib
ยาใช้รักษาโรคทางรูห์มาติก และเก๊าท์
เพื่อรักษาอาการอักเสบปวด บวม ของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ
บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
ผู้ที่มีโรคความดันเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์
หากได้รับยานี้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น เกิดแผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร (ปวดท้อง แสบท้อง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ) หรือไตผิดปกติ (บวม ปัสสาวะออกน้อย) ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที
หากเกิดอาการที่สงสัยว่าอาจแพ้ยา เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ ผื่นแดง ควรหยุดยาและกลับมาพบแพทย์ทันที
ห้ามใช้ยานี้ ในผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไตรุนแรง
ห้ามใช้ในผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
หญิงตั้งครรภ์ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เพราะอาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ แต่แพทย์อาจพิจารณาสั่งใช้ยานี้หากมีเหตุผลทางการแพทย์ (Preg. category D) โดยเฉพาะเดือนที่ 7-9
ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาชุดแก้ปวดกินร่วม ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เพื่อลดผลข้างเคียงจากยา โดยเฉพาะการเกิดแผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร
RDU Hospital
การใช้ยา Etoricoxib ในการรักษาอาการปวดโดย พลโท ศ.นพ.วรัท ทรรศนะวิภาส อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ กองออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
Daily Expert สาระปันยา
“ยาแก้ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม” (Etoricoxib)
ใช้อย่างไรได้ผลและปลอดภัย?
ภญ.จิตประภา คนมั่น
เภสัชกรคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
RDU Essential Key for Success รพ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
https://www.spr.go.th/images/anuch/RDU Essential Key for Success รพ.ทาาง จ.เพชรบร.pdf
Updated August 2020
อ่านเพิ่มเติม
PACKAGE INSERT TEMPLATE FOR ETORICOXIB ... - NPRA
Updated Nov 2013
ARCOXIA® TABLETS
Updated 9 October 2017
ARCOXIA (etoricoxib) - Medicines Information
Updated 08 May 2020
190803
Updated 19 August 2020




AMOXICLAV

18 กรกฏาคม เวลา 23:31Food & Health
AMOXICLAV
POSTED 2019.08.03



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ


FACEBOOK / BetterPharmacyCMG

IG : BetterPharmacyCMG
LINE ID : BetterCM

.....................

การซักประวัติ - Patient Interview

25 กรกฏาคม เวลา 06:04Food & Health
การซักประวัติ
เนื้อหาที่เขียนค่อนข้างยาว แอดมินอยากให้ได้อ่านกันจนจบครับ ซึ่งเป็นหลักการที่แอดมินเขียนเกี่ยวกับการซักประวัติผู้ป่วย และแอดมินก็ได้ใช้หลักการนี้ในการสอบ OSPE ในวันสอบจริง ผลคะแนนที่แอดมินได้หลังจากขอดูคะแนนฐาน ซักประวัติทั่วไป และซักประวัติเพื่อส่งต่อผู้ป่วย แอดมินได้คะแนน 10/10 ทั้งสองฐาน แอดมินเลยเอาหลักการที่แอดมินใช้มาแชร์ต่อให้น้องๆ ได้อ่านเป็นแนวทางของตนเองต่อไปครับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแอดมินได้มีโอกาสไปเยี่ยมน้องแหล่งฝึกเภสัชกรรมชุมชน (ร้านขายยาแผนปัจจุบัน) ได้สอบถามพูดคุยเกี่ยวกับการฝึกงานของน้องแหล่งฝึก

ซึ่งขณะพูดคุยสอบถามกันก็มีลูกค้าเข้ามาในร้านขายยา เลยได้ฟังน้องแหล่งฝึกหัดการซักประวัติผู้ป่วยรายนี้ หลังจากซักประวัติเสร็จเสร็จแล้ว
แอดมินเลยได้แนะนำน้องแหล่งฝึกเกี่ยวกับการซักประวัติผู้ป่วยอย่างมีระบบมีประโยชน์อย่างไรบ้าง และขั้นตอนการซักประวัติอย่างมีระบบต้องซักถามในประเด็นใดบ้าง
การซักประวัติอย่างเป็นระบบนั้นมีข้อดี ได้แก่
1. สามารถเก็บข้อมูลข้อผู้ป่วยได้ครบ
2. วินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้มีความถูกต้อง
3. สามารถเลือกยารักษาบรรเทาอาการตรงตามอาการที่ผู้ป่วย
เป็น
4. หากข้อมูลที่ได้มาครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อการเขียน SOAP NOTE ของ Case Study
คำถามสำหรับการซักประวัติ 13 ข้อ ดังนี้
1. กล่าวทักทายสวัสดีครับ/ค่ะ (ทักทายด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม)
จุดประสงค์ เพื่อแสดงออกถึงสีหน้าท่าทางของเภสัชกรว่าพร้อมบริการอย่างเป็นมิตรกับผู้ป่วย
2. วันนี้มาพบเภสัชกรต้องการให้เภสัชกรช่วยเหลืออะไรบ้างครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อใช้เริ่มต้นการสนทนาในซักประวัติของผู้ป่วยรายนี้
3. สอบถามกับผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ป่วย หรือเป็นผู้ป่วยเองหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
4-7.
- ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้าง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือเปล่าครับ/คะ
- ระยะเวลาของอาการที่ผู้ป่วยเป็นมานานเท่าไหร่ครับ/คะฃ
- อาการที่ผู้ป่วยเป็นได้ใช้ยาบรรเทาอาการ หรือยารักษาอาการมาก่อนหรือเปล่าครับ/คะ
- อาการที่ผู้ป่วยเป็นเคยเป็นมาก่อน หรือเปล่าครับ/คะ หากเคยเป็นอาการดังกล่าว ผู้ป่วยเคยใช้ยาบรรเทาอาการ หรือยารักษาอาการมาก่อนหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อซักถามอาการและอาการอื่นๆ ยาที่ใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
อาการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
1. ช่วงเวลาปัจจุบัน แบ่งคำถามออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
- ซักถามอาการที่แสดงออก มีอาการอะไรบ้าง
- ซักถามอาการอื่นๆ มีอาการอะไรบ้าง
- ซักถามอาการที่เป็นมาระยะเวลาเท่าใด
- ซักถามผู้ป่วยว่าอาการดังกล่าวได้ใช้ยาบรรเทาอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามหลังจากใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว อาการดีขึ้นหรือแย่ลงหรือไม่
2. ช่วงเวลาในอดีต แบ่งคำถามออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
- ซักถามอาการที่แสดงออก ณ ปัจจุบัน เคยเกิดอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามอาการอื่นๆ ณ ปัจจุบัน เคยเกิดอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามอาการที่เป็นในอดีตว่ามีอาการเป็นระยะเวลาเท่าใด
- ซักถามผู้ป่วยว่าอาการดังกล่าวที่เป็นในอดีตได้ใช้ยาบรรเทาอาการหรือไม่
- ซักถามหลังจากใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวที่เป็นในอดีต อาการดีขึ้นหรือแย่ลงหรือไม่ และซักถามเพิ่มเติมว่ายาที่เคยใช้บรรเทาอาการยังใช้มาจนถึงปัจจุบันหรือไม่
8. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือเปล่าครับ/คะ หากมีโรคประจำตัว ให้สอบถามยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวรวมถึงยาอื่นๆ เช่น ยาที่ผู้ป่วยซื้อรับประทานเอง ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากบุคคลอื่นๆ เป็นต้น
จุดประสงค์ เพื่อซักถามโรคประจำตัว และยาที่ผู้ป่วยได้รับ
- ซักถามโรคประจำตัวของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง หากมีโรคประจำตัวให้ซักถามเพิ่มผู้ป่วยมียาที่ใช้รักษาของโรค เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวมียาทั้งหมดกี่ตัว ชื่อของยามีชื่ออะไรบ้าง ขนาดความแรงของยาที่ผู้ป่วยรับประทานมีขาดเท่าไหร่ เป็นต้น
- ซักถามความร่วมมือในการรักประทานยาของผู้ป่วย เช่น ทานยาครบตามแพทย์สั่งหรือไม่ ลืมทานยาหรือไม่ ปรับหรือลดขนาดยาด้วยตนเองหรือไม่ เป็นต้น
- ซักถามยาอื่นๆ เช่น ยาที่ซื้อทานด้วยตนเองหรือไม่ ได้รับยาจากบุคคลอื่นมารับประทานหรือไม่ เป็นต้น
9. ผู้ป่วยมีแพ้ยาหรือเปล่าครับ/คะ หากมีบัตรแพ้ยาเภสัชกรสามารถขอดูบัตรแพ้ยาจากผู้ป่วย หรือหากไม่มีบัตรแพ้ยา เภสัชกรพิจารณาความเหมาะและสามารถออกบัตรแพ้ยาให้กับผู้ป่วยได้
จุดประสงค์ ค้นหาประวัติการแพ้ยา เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยจุดประสงค์ ค้นหาประวัติการแพ้ยา เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วย
10. หากเป็นเพศหญิง ให้สอบถามสถานะการตั้งครรภ์ และสถานะการให้นมบุตรอยู่หรือไม่
จุดประสงค์ เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
11. ดื่มเหล้า และสูบหรี่หรือเปล่าครับ/คะ (ทั้งปัจจุบันและอดีต)
จุดประสงค์
- เพื่อใช้ในการประเมินของอาการหรือโรค เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ เป็นต้น
- เพื่อป้องการเกิด Drug-Food interaction เช่น Metronidazole เป็นต้น
12. รับประทานอาหารเสริม ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาต้มหรือยาหม้อหรือเปล่าครับ/คะ (ทั้งปัจจุบันและอดีต)
จุดประสงค์
- เพื่อป้องกันการใช้ยาสเตรียรอยด์ เช่น ยาลูกกลอนผสมยาสเตรียรอยด์ เป็นต้น
- เพื่อป้องการเกิด Drug-Food interaction หรือ Drug-Herb interaction
13. ผู้ป่วยมีข้อสงสัยจะสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ สอบถามเพิ่มเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้ให้ข้อมูลกับเภสัชกรครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
ถ้าหากเรามีระบบการซักประวัติอย่างเป็นระบบ จะสามารถได้ข้อมูลที่ครบถ้วนจากผู้ป่วยได้แน่นอนครับ แอดมินจึงขอทิ้งท้ายเอาไว้ว่า เราควรฝึกฝนการซักประวัติผู้ป่วยบ่อยๆ
เพื่อให้มีความแม่นยาให้การซักถามและตรงประเด็น ประหยัดเวลาในการซักประวัติผู้ป่วย เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและใช้การทำงานในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับผม
#PharmEDU
#Pharmacistscandoit
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=316847675886057&id=285119445725547
จากการปฏิบัติจริง
🎢รถติดเครื่องรออยู่​ รีบๆหน่อย​ รถติด
ถามอะไรกันมากมาย​ น่ารำคาญจริงๆ
ตกลงถามมากๆเนี่ย​ จะให้ยาตามที่ฉันต้องการมั้ย
เรื่องมาก​ น่ารำคาญ​ ถามอยู่ได้
ขายๆมาเหอะ​ ที่อื่นเค้าก็ขายกันทั้งนั้น​ ไม่เห็นจะเรื่องมากอย่างที่นี่เลย
ซื้อให้นาย​ นายสั่ง​ ก็ต้องตามคำสั่งสิ จะอะไรกันนักหนานะ
😤บ่นกันอย่างนี้ในใจกันใช่มะ​ เค้ารู้หรอก
แต่ทุกอย่างเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ​เองทั้งนั้น
POSTED 2019.08.03



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ


FACEBOOK / BetterPharmacyCMG

IG : BetterPharmacyCMG
LINE ID : BetterCM

.....................