Tuesday, April 30, 2019

ADR ผื่นแพ้ยา

ADR ผื่นแพ้ยา
ผื่นแพ้ยา ตอนที่ 1
1.Maculopapular rash:
ลักษณะ เป็นผื่นแดง คัน, มีไข้, เมื่ออาการทุเลาะจะมีสีคล้ำๆ เป็นขุย หายแล้ว ไม่เป็นแผลเป็น
เกิดจากยาAmpicillin, Amoxicillin และAllopurinol เป็นต้น
2.ผื่นลมพิษ
ลักษณะผื่นจะมีขอบสีแดงตรงกลางขาว คันมาก
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก อาหารที่กิน อากาศ ยาบางชนิด เป็นต้น
3.angioedema
ลักษณะจะมีการบวมที่เนื้อเยื่ออ่อน เช่น ปาก เปลือกตา เป็นต้น
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก อาหารที่กิน อากาศ ยาบางชนิด เป็นต้น
4. Fixed Drug Eruption
ลักษณะ ช่วงเเรกเป็นตุ่มน้ำ ปวดแสบร้อน หลังจากนั้น
แผลจะแตก แล้วสีคล้ำขึ้น
มักเกิดจากยา ยาฆ่าเชื้อ เช่น trimethorprim
sulfamethoxazole, ยาในกลุ่ม NSAIDs, Pseudoephedrine, กลุ่มยากันชัก
5.Eczematous drug Eruption
ลักษณะผื่นจะคล้ายกับ MP rash คือแดงคัน แต่จะมีเปื้อนที่หนากว่า MP rash
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากยา ampicillin, amoxicillin เป็นต้น
6.Exfoliative Dermatitis (ED)
ลักษณะผื่นจะเป็นแผลอักเสบก่อนจากนั้นจะแห่งจนเป็นขุย โดยขุยสามารถปลิวไปตามลมได้
สาเหตุมากจากยา เช่น allopurinol, lithium เป็นต้น
7. Phototoxicity
ลักษณะ เป็นผื่นขึ้นจากการโดนแสงแดด จะมีลักษะสีแดงบริเวณนั้น
เกิดจากยาในกลุ่มNSAIDs,ยาลดความดัน(amiodarone), ยาฆ่าเชื้อ เช่น tetracyclines, quinolones เป็นต้น
8.Vasculitis
ลักษณะการแพ้ จะเป็นแบบมีจุดคล้ายจ้ำเลือด ส่วนใหญ่ขึ้นตามขาและสะโพก
สาเหตุมาจากยา hydralazine, minocycline และpropylthiouracil เป็นต้น
9.Acneiform drug reaction
ลักษณะทั่วไปจะเป็นสิวที่มีหนอง อักเสบ บางที่จะสีดำ
สาเหตุมาจากยาที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์
ผื่นแพ้ยา ตอนที่ 2
10.Bullous drug eruption
ลักษณะจะเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นผิวหนังตามตัวและบริเวณเยื่ออ่อนที่ปาก
สาเหตุมาจากยา penicillins, cephalosporins, captopril เป็นต้น
11.Erythema Multiforme (EM)
ลักษณะจะเป็นแบบเป้าธนู บริเวณนอกสุดของตุ่มจะมีสีแดงถัดเข้ามาจะมาสีอ่อนลงขาวๆถัดมาชั้นในสุดจะมีสีแดงผสมดำ โดยจะสามารถหายได้เองหากหยุดยา
สาเหตุมาจากยาประมาณ 10% เช่น ยา Sulfonamides, phenytoin, barbiturates, phenylbutazone,
Penicillins และallopurinol เป็นต้น
12. SJS/TEN
sjsและten มีลักษณะอาการเหมือนกัน แต่แตกต่างตรงความรุนแรง โดยดูจากพื้นที่ผิวที่มีผื่น
📍 ถ้าน้อยกว่า 10%
สำหรับsjs
📍ถ้ามากกว่า 30%
สำหรับ ten
สาเหตุจากยา เช่น Allopurinol, phenytoin, carbamazepine เป็นต้น
13.Drug Reaction with Eosiophilia and
Systemic Syndrome (DRESS)
ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นแดงกระจายไปทั่วตัว มีไข้ แาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับยีนส์แพ้ยาได้ และมีการติดเชื้อของอวัยวะภายในร่วมด้วย เช่น acute interstitial nephritis ของไต เป็นต้น
สาเหตุมาจาก“phenytoin hypersensitivity syndrome, drug hypersensitivity syndrome, drug-induced hypersensitivity syndrome (DIHS) เป็นต้น
14.Acute Generalized Exanthematous Pustulosis (AGEP)
ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นที่มีหนองแต่ไม่มีการติดเชื้อร่วมกับการมีไข้
สาเหตุมาจากยา aminopenicillins,
pristinamycin และhydroxychloroquineเป็นต้น
#ADR
#แพ้ยา
ผื่นแพ้ยาที่พบบ่อย
จัดทำโดย
นสภ. ศรัณย์ กิริยา
นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................


UPDATE  -  2019.04.30

RDU - การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
"ท้องเสีย"
1.ถ้าผู้ป่วยท้องเสียมา ต้องดูก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีอย่างน้อย 1 ข้อ จะต้องส่งต่อแพทย์พิจารณารักษาต่อไป
- ขาดน้ำรุนแรง เช่น มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ เป็นต้น
- มีการใช้ยาต้านจุลชีพมา 3 เดือนก่อนหน้านี้
- มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น อุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว เป็นต้น
แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงที่กล่าวมานี้เลย ก็สามารถให้ ORS หรือเกลือแร่ชนิดรักษาอาการขาดน้ำจากอาการท้องเสียแก่ผู้ป่วยได้เพื่อป้องกันการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย
2.เรามาดูว่ากรณีไหนที่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพบ้าง
2.1 อุจจาระมีเลือดปนร่วมกับมีไข้(>38 องศาเซลเซียส)
2.2 อุจจาระไม่มีเลือดปนร่วมกับอาการถ่ายบ่อย และเป็นนักท่องเที่ยว
2.3 อุจจาระไม่มีเลือดปนร่วมกับถ่ายบ่อยและมีไข้
"แผลสะอาด" คือ
- ไม่ได้สัมผัสกับสิ่งสกปรก
- ไม่ได้ถูกของมีคมแทงหรือบาด
- ไม่ได้ถูกสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กัด ข่วน
- ไม่ใช้แผลจากคนที่เป็นโรคเบาหวาน มะเร็ง
จะไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อ ให้รักษาความสะอาดของแผล คือใช้น้ำเกลือล้างบริเวณแผล ใช้พวกแอลกอฮอล์หรือเบตาดีนทาบริเวณรอบแผล ไม่ทาบริเวณแผล เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคืองแผลมากกว่าเดิม หลังจากนั้นปิดแผลให้สนิทด้วย
"คออักเสบ"
สำหรับโรคคออักเสบ อับดับแรกเราจะต้องนับคะแนนตามแบบประเมินกันก่อนเพื่อพิจารณาใช้ยาน้านจุลชีพ โดยอาการที่ต้องนับคะแนนจะมีดังต่อไปนี้
- ไข้ (>38 องศาเซลเซียส) >> 1 คะแนน
- ต่อมน้ำเหลืองบวมหรือกดเจ็บ >> 1 คะแนน
- ต่อมทอนซิลบวมหรือเป็นหนอง >> 1 คะแนน
- ไม่มีอาการไอ >> 1 คะแนน
- อายุระหว่าง 1-13 ปี >> 1 คะแนน
- <45ปี >> -1 คะแนน
โดยจะสรุปได้ว่า
0-1 คะแนน >> ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ
2-3 คะแนน >> ควรพิจารณาตามความเหมาะสม*
มากกว่าเท่ากับ 4 คะแนน >> ต้องได้รับยาต้านจุลชีพ
*หากผู้ป่วยได้คะแนนจากต่อมทอลซิลบวมหรือมีหนอง อาจให้ยาต้านจุลชีพ
ยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการคออักเสบ นอกเหนือจากการใช้ยาเชื้อ
- แคปซูลฟ้าทะลายโจร
- ยาอมที่มีส่วนผสมของซิงค์ อม ทุกๆครึ่งชั่วโมง
- ยาอมที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บคอ
- ยาพาราเซตามอล
- ยาibuprofen
- ยาพ่นสำหรับบรรเทาอาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ
#เพิ่มเติม
การดูว่าควรใช้ยาต้านจุลชีพหรือไม่ทำได้ที่บ้านง่ายๆทั่วไปก็คือใช้ไฟฉายหรือไฟโทรศัพท์ส่องไปที่คอแล้วดูในกระจกว่า มีฝ้าขาวเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าต้องได้รับยาต้านจุลชีพ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล http://www.pharmacy.psu.ac.th/th/rdu.html
จัดทำโดย
 นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นสภ. ศรันย์​ กิริยา
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................


UPDATE  -  2019.04.30

Saturday, April 27, 2019

ยาคุมกำเนิด BY PACK & J

ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด
จัดทำโดย🚨🚨🚨
นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การแนะนำยาคุมกำเนิด(คลิป1)
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งได้ 2 ประเภทได้แก่
1. เป็นยาแบบฮอร์โมนผสมที่ประกอบด้วย Ethiny estradiol(EE)และฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง
2. ฮอร์โมนชนิดเดียว
โดยคลิปแรกนี้จะอธิบายถึงความแตกต่างของEE ในยาแบบฮอร์โมนผสม โดย
⏩ขนาด 0.030 - 0.035 mg อาจส่งผลให้บวมน้ำได้ ขึ้นไส่อาเจียนในบางราย
⏩ขนาดต่ำอยูในช่วง 0.015-0.020 mg อาจทำให้เลือดอกกระปิกระปอย
การแนะนำยาคุมกำเนิด(คลิป2)
คลิปนี้ก็จะมาพูดถึงยาคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งฤทธิ์ในการต้านฮอร์โมนเพศชายก็คือจะทำให้ไม่มีสิว ผิวไม่มัน ขนไม่ดก จะมีอยู่ทั้งหมด 12 ยีห้อดังแสดงในคลิปนะคะ
โดยจะสามารถแบ่งยาคุมกลุ่มนี้ย่อยลงไปอีกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยาคุมแถวแรกฝั่งซ้ายมือ จะมีส่วนผสมของDrospirenone เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ยาในกลุ่มนี้มีทั้งฤทธิ์ในการต้านฮอร์โมนเพศชายซึ่งก็จะทำให้ไม่เป็นสิว ผิวไม่มัน ขนไม่ดก และยังมีฤทธิ์ลดบวม ทำให้ไม่อ้วนอีกด้วยค่ะ เช่น yasmin, yaz, justima, synfonia และmelodia เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 คือยาคุมฝั่งขวามือ จะมีส่วนผสมของ Cyproterone เป็นฮอร์โมนที่ทำให้กลุ่มนี้จะมีแค่ฤทธิ์ในการต้านฮอร์โมนเพศชายก็คือ ลดสิว ผิวไม่มัน ขนไม่ดก เช่น B-lady, Sucee, Dafne, พรีม, Beriz, ซูซี่ และไดแอน เป็นต้น
สรุปคือ
ไม่อยากเป็นสิว+ไม่อยากน้ำหนักเพิ่ม
⏩กลุ่มที่ 1
ไม่อยากเป็นสิว
⏩กลุ่มที่ 2
การแนะนำยาคุมกำเนิด(คลิป3)
ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเดียว ใช้สำหรับ
คนที่ใช้ฮอร์โมนเม็ดผสมแล้วเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ใช้ในการหลั่งน้ำนมในหญิงหลังคลอดเนื่องจากยาในกลุ่มนี้ไม่มี EE ซึ่งโดยปกติ EE ยับยั้งการหลั่งน้ำนม
โดยยาในกลุ่มนี้แบ่งเป็น
⏩ ยาในกลุ่มเก่า ประกอบด้วย Lynestrenol โดยมีข้อควรระวังในการใช้ในหญิงที่เป็นไมแกรน และผู้สูบบุหรี่
⏩ยาในกลุ่มใหม่ ประกอบด้วย Desogestrel เพียงชนิดเดียว​ ซึ่งสามารถใช้ได้ในคนที่สูบบุหรี่​ คนอ้วน​ คนที่ปวดหัวไมเกรนเป็นประจำ​ รวมทั้งสามารถลืมกินยาได้ในระยะเวลา​ไม่เกิน12ชั่วโมง
จัดทำโดย
นสภ. ศรัณย์ กิริยา
นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
แม้จะเป็นวันหยุดน้องๆยังขยันไม่หยุด
วิธีปฏิบัติเมื่อลืมกินยาคุม​กำเนิด


ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................


UPDATE  -  2019.04.27

Tuesday, April 16, 2019

ไซบูทรามีน - Sibutramine

ไซบูทรามีน - Sibutramine
ยาวิพากษ์ฉบับที่ 39: ไซบูทรามีน ยาลดความอ้วน ยาลดชีวิต
***
เนื้อหาในเล่ม
- ผู้จัดการกพย. แถลง โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
- หน้า 3 - เรื่องจากปก: ปัญหาผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนที่มีไซบูทรามีน โดย ภก.วสันต์ มีคุณ, ภญ.กนกพร ธัญมณีสิน
- หน้า 8 - หมุนดูโลก: สถานการณ์การปลอมปนยาไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์สุขภาพในต่างประเทศ โดย ผศ.ดร.ภญ.อรกัญญ์ ภูมิโคกรักษ์
- หน้า 12 - ทันสถานการณ์: การยกระดับสถานะของไซบูทรามีน โดย อ.ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
- หน้า 15 - รู้เขา-รู้เรา: ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของไซบูทรามีนและปัญหาที่พบในทางจิตเวช โดย อ.ภก.ถนอมพงศ์ เสถียรลักขณา
- หน้า 18 - จับกระแส: ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงจากสื่อเก่าสู่สื่อใหม่ ใครจัดการ โดย สถาพร อารักษ์วทนะ
- หน้า 31 - ใกล้ตัว: ยาลดความอ้วนคือยาลดชีวิต โดย ภก.บุรีวิชญ์ สุยะชัย
- หน้า 33 - เก็บตก: ป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมด้วยเครื่องมือ: 4 สงสัย 2 ส่งต่อ โดย อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, นศภ.หทัยรัตน์ แซ่ลี้, นศภ. อิทธิกร ป้อพันธุ์ดุง
- หน้า 39 - เสียงสะท้อนจากพื้นที่: อันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไซบูทรามีน
กรณีศึกษา: โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง โดย ภก.จัตุพล กันทะมูล
- หน้า 43 - ไฮไลท์: เมจิกสกินและลีน : ‘ฝีแตก’ สะท้อนปัญหาระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
- แนะนำเว็บไซต์ โดย อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี
***
23 ก.ย. 2561 ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์
จากการตรวจสอบยาชุดลดความอ้วน ที่ตอนแรกบอกว่ากินแค่ 2 แคปซูล แต่พอแยกแคปซูลออกไปจะพบยาอีกจำนวนหลายเม็ด พบว่ามีการผสมยาระบาย ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ยาขับปัสสาวะ เมื่อร่างกายขับปัสสาวะออกมามากทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียม โซเดียม ทำให้แขน ขาอ่อนแรง หรือมีการผสมยารักษาโรคไทรอยด์ ยากดความอยากอาหาร ซึ่งจะมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วตลอดเวลาทั้งยามหลับ และยามตื่น ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ จึงพบว่ามีการผสมยาที่ทำให้หัวใจเต้นช้า ยากล่อมประสาท ยาที่ใส่มาจำนวนมากนั้นก็เพื่อลดปัญหาจากการใช้ยาอีกตัวหนึ่งในชุดเดียวกัน
วัยรุ่นอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิงมีการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุดเฉลี่ย 2.6 ครั้งต่อเดือน รวมถึงเพศที่ 3 ด้วย
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล MUSA
30 January 2013 ·
พบสารต้องห้ามในกาแฟลดความอ้วน
เยอรมนีตรวจพบ "สารต้องห้าม" ใน "กาแฟลดความอ้วน" จากไทย ที่ส่งทางไปรษณีย์ 9 ครั้ง ระหว่างเดือนก.ย.-ธ.ค.55 เตือนถ้าพบอีก คุมเข้มนำเข้าแน่...
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาด้านการเกษตร ประจำสหภาพยุโรป (อียู) ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เยอรมนี ได้ตรวจพบสาร Sibutramine ในกาแฟลดความอ้วนจากไทย ที่ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ถึง 9 ครั้งในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.55 ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารต้องห้ามในอียู รวมถึงในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก จีน และไทยด้วย เพราะนอกจากจะออกฤทธิ์ลดความอยากอาหารแล้ว ยังจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และมีความดันโลหิตสูง หากรับประทานในปริมาณมาก อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
ทั้งนี้ อียูได้เตือนว่า หากยังตรวจพบสารดังกล่าวในกาแฟจากไทยอีก มีความเป็นไปได้สูงที่จะออกมาตรการเข้มงวดต่อการนำเข้ากาแฟจากไทย รวมถึงเข้มงวดต่อพัสดุไปรษณีย์จากไทยด้วย ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟและเครื่องดื่มลดความอ้วน จึงต้องระมัดระวังอย่าให้มีสาร Sibutramine ปนเปื้อนในเครื่องดื่ม เพราะนอกจากจะมีผลกระทบต่อสินค้าของตนเองแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการส่งออกกาแฟของไทยในภาพรวมอีกด้วย.
“ยาลดน้ำหนัก”หรือ “ยาลดความอ้วน” นับได้ว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักที่ดีและเห็นผลในระยะเวลาไม่นาน แต่ในปัจจุบันพบว่าจำนวนการใช้ยาลดความอ้วนอย่างผิดวิธีนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย และยาลดความอ้วนสามารถหาซื้อได้ง่ายจากอินเทอร์เน็ต ร้านขายยาหรือคลินิกที่ไม่มีการซักประวัติตรวจร่างกายอย่างเหมาะสม ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยา เช่น รับประทานยาเกินขนาด หรือรับประทานยาลดความอ้วนโดยไม่ทราบว่าตนเองเป็นข้อห้ามใช้ของยาดังกล่าว เป็นต้น ยาลดความอ้วนที่พบว่ามีการใช้อย่างผิดวิธีค่อนข้างมากในปัจจุบัน คือ sibutramine และ phentermine
Sibutramine คืออะไร
Sibutramine เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาและควบคุมโรคอ้วน (obesity)และจัดเป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งห้ามซื้อขายในร้านขายยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ยับยั้งการเก็บกลับ (reuptake) ของสารสื่อประสาทจำพวก ซีโรโทนิน (serotonin)และ นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ที่บริเวณสมองส่วนไฮโปธาลามัส (hypothalamic area) ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงและอิ่มเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน
การใช้ยา sibutramine ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
การใช้ยาลดความอ้วนควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และมักจะเริ่มใช้ยาในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กก/ม2 หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กก/ม2 ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงผิดปกติ โดยผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อนใช้ยาเสมอเพื่อตรวจสอบว่ามีข้อห้ามของการใช้ยาหรือไม่
ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หาร (ส่วนสูงเป็นเมตร) 2
ขนาดการใช้เริ่มต้นของยา sibutramine คือ 10 มิลลิกร้ม วันละครั้ง หลังจากนั้น 4 สัปดาห์อาจพิจารณาปรับขนาดยาเพิ่มได้ (ต้องตรวจวัดระดับความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจก่อนปรับยา) ขนาดการใช้ยาสูงสุด คือ 15 มิลลิกรัม วันละครั้ง หากผู้ป่วยไม่สามารถทนยาได้อาจลดขนาดการใช้ยาลงเหลือ 5 มิลลิกรัม วันละครั้งได้
ข้อห้ามของการใช้ยา sibutramine
ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยา sibutramine อย่างเด็ดขาดเนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยา
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี (ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย)
-มีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น anorexia nervosa และ bulimia nervosa
- ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่ม Monoamine oxidase inhibitor (MAOI) เช่น selegiline หรือ rasagiline เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS toxicity) และ serotonin syndrome (หากต้องการใช้ยา sibutramine ควรใช้หลังจากหยุดยากลุ่ม MAOI ไปแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์)
- ผู้ที่ใช้ยาลดความอ้วนที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น phentermine เป็นต้น
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา sibutramine
ข้อห้ามของการใช้ยา sibutramine ที่ประกาศเพิ่มเติมโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่21 มกราคม 2553
องค์การอาหารและยาทำการแจ้งเตือนแก่บุคลากรทางการแพทย์ว่าผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) ถือเป็นข้อห้ามใช้สำหรับการใช้ยา sibutramine เนื่องจากการใช้ยา sibutramine ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิด stroke ของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้คำเตือนดังกล่าวอาศัยข้อมูลจากการศึกษา “SCOUT” (Sibutramine Cardiovascular Outcomes Trial)ที่ระบุว่าผู้ป่วยน้ำหนักเกินที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปและมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้นสัมพันธ์กับการใช้ยา sibutramineอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผู้ป่วยที่จัดว่าเป็นโรคในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
-ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (coronary artery disease; CAD) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction)หรือ มีอาการปวดเค้นหน้าอก (angina)
-ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure)
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (heart arrhythmia)
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripherial arterial disease)
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น stroke และ transient ischemic attack
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ เช่น ผู้ที่ป่วย ที่มีความดันโลหิต > 145/90 mmHg
บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการติดตามระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยที่ได้รับยา sibutramine อยู่เสมอ และควรให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยา sibutramine หากยังเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หากผู้ป่วยไม่สามารถลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 5% จากน้ำหนักเดิมภายใน 3-6 เดือนแรกของการรักษาด้วยยา sibutramineแพทย์ควรให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาเช่นกัน เนื่องจากการรักษาต่อไปนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ผล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
ข้อควรระวังและผลข้างเคียงจากยา sibutramine
ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ควรระวังในการใช้ยา sibutramine เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาได้
- ในระหว่างที่ใช้ยา sibutramine ผู้ป่วยบางรายอาจมีระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นมี ควรมีการตรวจระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่เสมอ
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกและผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือ aspirin เนื่องจาก มีรายงานการเกิดเลือดออกจากการใช้ยา sibutramine
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ หรือไต รวมถึงผู้ป่วยฟอกไตด้วยเช่นกัน
- ผู้ที่มีประวัติชัก (seizure) เนื่องจากพบรายงานอาการชักจากการใช้ยา sibutramine
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรค neuroleptic marlignant syndrome (NMS)
- ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่ว เนื่องจากการลดน้ำหนักอาจเป็นสาเหตุในการทำให้เกิดนิ่วได้
- ผลข้างเคียงที่พบได้ในผู้ที่รับประทานยา sibutramine ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และ เบื่ออาหาร
ปฏิกิริยาระหว่าง sibutramine กับยาอื่นๆ
ผู้ที่รับประทานยา sibutramine ควรระมัดระวังการรับประทานยาอื่นๆ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ เช่น
- ยาที่มีผลเพิ่มซีโรโทนิน(serotonergic agent) เช่น tramadol, ergotamine, ยากลุ่ม triptans,lithium, venlafaxine, fluoxetine, sertraline, paroxetine และ selegilene เนื่องจากการใช้ยา sibutramine ในผู้ป่วยเหล่านี้อาจเสี่ยงต่อการ เกิดภาวะที่เรียกว่า serotonin syndromeซึ่งจะมีอาการใจสั่นความดันโลหิตสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น กล้ามเนื้อ กระตุก (myoclonus) และสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า กังวล หวาดระแวง เป็นต้น
- ยาที่มีผลยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด 3A4 (CYP3A4) เช่น azithromycin, clarithromycin, ketoconazole, ritonavir, cimetidineหรือ verapamil เป็นต้น เนื่องจากยา sibutramine จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ CYP3A4 หากผู้ป่วยรับประทานยา sibutramine ร่วมกับยาที่มีผลยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 อาจส่งผลทำให้ระดับยา sibutramine ในกระแสเลือดสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของยาได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งว่ายาที่ตนเองรับประทานอยู่นั้นมีอะไรบ้าง
การหาซื้อยาลดความอ้วนมารับประทานเองโดยไม่ได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างเหมาะสมเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยา ดังนั้นการใช้ยาลดความอ้วน sibutramine จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีกาสั่งจ่ายยา ปรับขนาดยา และเฝ้าระวังการเกิดผลข้างเคียงจากยาได้อย่างเหมาะสม

ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................


UPDATE  -  2019.04.16