Saturday, September 8, 2018

ตากุ้งยิง - Hordeola

ตากุ้งยิง (Hordeola)

ตากุ้งยิง คือ การติดเชื้อของต่อม Zeis ที่ขอบด้านหน้าของเปลือกตา เรียกว่า External hordeola หรือต่อม meibomian ที่ขอบด้านหลังของเปลือกตา (Internal Hordeola) ทั้งนี้พบว่าเชื้อ Staphylococcus aureus มักเป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย

ตากุ้งยิงเป็นภาวะที่หายได้เองในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าตากุ้งยิงไม่หายสนิทยังมีการอักเสบที่เรื้อรังเป็น lipogranulomatous nodule เรียกว่า chalazia ซึ่งหายได้เองแต่ใช้เวลาเป็นเดือน

การรักษาตากุ้งยิง ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน ให้ประคบด้วยน้ าอุ่นและนวดเบาๆ บริเวณก้อนเพื่อให้หนองระบายได้ง่ายขึ้น การให้ยาหยอดตาปฏิชีวนะไม่มีข้อบ่งชี้ เว้นแต่จะมีการติดเชื้อที่เนื้อเยื่ออื่นโดยรอบเช่นblepharoconjunctivitis ส่วนยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานควรให้เมื่อมี eyelid cellulitis ที่เกิดจากตากุ้งยิงเท่านั้น

ตากุ้งยิงที่ไม่ตอบสนองต่อการประคบอุ่น ให้การรักษาด้วยการเจาะเอาหนองออก (surgical drainage and curettage)

ตากุ้งยิงที่เรื้อรังเป็น chalazia อาจจะให้การรักษาด้วยการฉีดสาร corticosteroid ไปที่ก้อนโดยตรง (0.1-0.2 mL of triamcinolone 40 mg/mL) เพื่อให้ก้อนยุบลง การฉีดยานี้มักได้ผลดีกับ chalazia ขนาดเล็กอยู่ที่ขอบเปลือกตาหรือมีหลายก้อน


http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/main_drug_file/20171115141955.pdf
https://issuu.com/pharcpa/docs/84february
Photo

กุ้งยิงเกิดจาก
ต่อมไขมันบริเวณโคนขนตาอุดตัน
เกิดจากมือไม่สะอาดมาถูไถบริเวณตา จากการขยี้ตาบ่อยๆ
ใช้เครื่องสำอางแล้วล้างออกไม่หมด หรือล้างไม่สะอาด
การใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือไม่สะอาด
การอุดตันของต่อมเปลือกตา แล้วเกิดการติดเชื้อ หากไม่รักษาอาจจะหายเองได้หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตากุ้งยิง
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ
ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง
ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

กุ้งยิงที่เป็นประมาณ 2-3 วันขึ้นไป ถ้ายังไม่ดีขึ้น มักจะมีหนองอยู่ภายในก้อน จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเจาะและขูดเอาหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3-5 วัน หรือจนกว่าจะหายอักเสบ ในบางรายอาจเป็นซ้ำได้ถ้าหนองออกไม่หมด หรือการอักเสบยังไม่หายดี

http://www.bangkokhealth.com/health/article/ตากุ้งยิง-1450
https://www.honestdocs.co/what-is-conjunctivitis-and-how-to-treat
https://medthai.com/ตากุ้งยิง/
Photo

โรคตากุ้งยิง(HORDEOLUM)

สาเหตุที่แท้จริงของการเป็นโรคตากุ้งยิง -
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=921025

ตากุ้งยิง
http://www.readersdigestthailand.co.th/ตากุ้งยิง

ใครทราบวิธีรักษาตากุ้งยิงหรือหมอไหนรักษาหายขาดบ้าง
http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=26497

การใช้ยาหยอดตา 
Bacitracin ophthalmic ointment ในรายที่เป็นมากให้ป้ายแผลวันละ 4-6 ครั้งเป็นเวลา 7 วันในรายที่เป็นน้อยป้ายวันละ 2-3 ครั้ง 
Tobramycin ophthalmic solution หยอดตาวันละ3-4 ครั้ง 

ยารับประทาน 
Erythromycin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารข้อควรระวังในการใช้นาชนิดนี้ได้แก่ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับไม่ควรใช้ร่วมกับยา theophyllin, digoxin, carbamazepine,  cyclosporine warfarin;  lovastatin และ simvastatin ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง 
Dicloxacillin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร 

การดูแลตัวเอง 
ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละหลายครั้ง
ห้ามบีบหรือเค้นเพื่อเอาหนองออก หากหนองแตกเองก็ให้ล้างบริเวณหนองด้วยน้ำต้มสุก 
ให้ล้างมือบ่อยๆ 
ล้างเปลือกตาวันละครั้งเพื่อรักษาความสะอาดรูขุมขน หรือใช้แชมพูเด็ก 1 ส่วน ผสมเข้ากับน้ำอุ่น 10 ส่วน ใช้สำลีชนิดแผ่นชุบแล้วเช็ดเปลือกตาทีละข้าง สำลีที่ใช้เช็ดแล้ว 1 ครั้ง ให้ทิ้งเลย
เอาสำลีสะอาด ชุบน้ำอุ่น ร้อนนิด ๆ  ประคบตาไว้ ประคบบ่อย ๆ จนรูไขมันที่รอบตาเปิดออก  ตาจะไม่เป็นกุ้งยิง การจะประคบให้ได้ผล ต้องรีบทำ ก่อนที่หนองจะอักเสบ  ถ้าหนองอักเสบแล้ว ต้องไปพบหมอ เพื่อกรีดหนองออก

ตากุ้งยิงในเด็ก -
http://www.goosiam.com/Health/html/0006820.html

แม่และเด็ก เมื่อลูกเป็น ตากุ้งยิง -
http://baby.kapook.com/view48354.html

เมื่อลูกน้อยเป็นตากุ้งยิง
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/18762
http://seomamlasik.blogspot.com/2012/10/hordeolum-lasik.html

ตากุ้งยิง มี 2 ชนิด 
           1. ชนิดมีหัว จะเห็นหัวฝีผุดมาให้เห็นชัดเจน บริเวณขอบตา โดยรอบๆ ตุ่มจะนูนแดง เมื่อกดจะเจ็บ (Extenalhordeolum/Sty)
           2. ชนิดหัวหลบใน คือ หัวฝีหลบอยู่ด้านในเปลือกตา ผู้ที่เป็นจะรู้สึกปวดที่เปลือกตา เมื่อคลำดูจะเป็นตุ่มแข็ง และเจ็บ (Internal  Hordeolum)

การรักษา
1. โดยการใช้ยา ให้ยาปฏิชีวนะ หยอดตาวันละ 4 ครั้ง,
ยาปฏิชีวนะชนิดกิน จะให้เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อของเปลือกตาบริเวณรอบๆร่วมด้วย,

ประคบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละ 4ครั้ง,นวดเบาๆที่เปลือกตาบ่อยๆ

2. โดยการกรีดรักษา เมื่อใช้การรักษาข้างต้นแล้วไม่หายใน 3-4 สัปดาห์ (หรือกรีดเลยแต่แรกก็ได้) โดยจะร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะหยอดตาและประคบอุ่นวันละ 4 ครั้งนาน 7 วัน

Tobrex VS. Poly Oph : ยารักษาตากุ้งยิง
http://www.rcopt.org/board-public-2027.html

ยาทั้งสองตัวเป็นยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกุ้งยิงได้ อาจต้องรอเวลาสัก 3ถึง4วัน

เอาผ้าชุบน้ำร้อนประคบตา เพื่อลดการอุดตันของไขมันบริเวณเปลือกตา ใช้ความร้อนพออุ่นๆ ไม่ต้องร้อนมากจะทำให้ท่อจากต่อมที่สร้างนำ้ตาไม่อุดตันสิ่งที่สร้างออกมาจะได้ออกง่าย

ทำอย่างไรเมื่อเป็น ‘ตากุ้งยิง’ -
http://www.dailynews.co.th/article/822/156237

เรื่องของตากุ้งยิง การป้องกัน และการรักษา 
http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2007/07/L5661020/L5661020.html

การรักษาโดยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการที่เป็นไม่มากหรือระยะต้นๆ จะแนะนำให้ประคบอุ่น และอาจมียาหยอดตาที่เป็นยาฆ่าเชื้อหรือยาป้ายที่อยู่ในรูปขี้ผึ้งให้ใช้ รวมทั้งยาแก้อักเสบไปให้ทาน ก็ทำให้การอักเสบลดลงและหายได้

แต่ถ้ามาพบแพทย์แล้วมีลักษณะของตุ่มหนองอยู่ข้างในเปลือกตา การรักษาต้องระบายหนองออกเพื่อให้หายโดยไว วิธีก็คือ แพทย์จะฉีดยาชา แล้วใช้มีดกรีดเปิดตุ่มหนอง  จากนั้นใช้เครื่องมือล้วงเอาหนองกับถุงของหนองออกมา ปิดตาเอาไว้ 3-4 ชั่วโมงเพื่อเป็นการห้ามเลือด เมื่อครบกำหนดก็จะเปิดตาแล้วหยอดยาแก้อักเสบไปอีก 1 สัปดาห์ ก็จะหาย
Photo

กุ้งยิง (Sty)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
วว. จักษุวิทยา

หากเป็นอาการในระยะแรกๆ ยังไม่เป็นตุ่มนูนชัดเจน เพียง แต่อักเสบแดงรอบๆ อาการจะหายได้โดยการใช้ประคบอุ่น นานประมาณ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และนวดเบาๆ ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับยาปฏิชีวนะรับประทานด้วย 

หากเป็น Chalazion (ไตนูนแข็ง ไม่มีการอักเสบติดเชื้อ ไม่เจ็บ) การใช้ยาปฏิชีวนะอาจไม่ช่วย ต้องลงเอยด้วยการกรีดออก หรือแพทย์บางท่านอาจใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปรอบๆก้อน

ในหลายๆโรคหมอตาจะแนะนำประคบร้อน หรือประคบเย็นเพื่อช่วยในการรักษานอกจากยา กรณีไหนบ้างที่จะแนะนำให้ประคบร้อน? หรือ กรณีไหนบ้างที่จะแนะนำให้ประคบเย็น? และทำอย่างไรดี?
ไขข้องข้องใจได้จากบทความนี้ครับ

"การประคบร้อน/เย็นบริเวณตา"

โดย นพ.คณินท์ เหลืองสว่าง ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การรักษาพยาบาลโรคทางตา นอกจากการใช้ยาหยอดและยากินแล้ว การใช้ความร้อน/ความเย็นประคบ เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการและรักษาโรคทางตา โดยการประคบบริเวณดวงตาด้วยความร้อนช่วยทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น บรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา ทำให้ไขมันที่อุดตันต่อมไขมันที่เปลือกตาละลาย การประคบเย็นบริเวณดวงตาช่วยบรรเทาอาการคันที่เกิดจากภูมิแพ้ที่ดวงตา ทำให้หลอดเลือดหดตัวลดอาการบวมและเลือดออกจากการผ่าตัดที่เปลือกตาหรืออุบัติเหตุกระแทกบริเวณเบ้าตา

ข้อบ่งชี้การใช้ "ความร้อน" ประคบตา
- ตากุ้งยิง (Hordeolum)และ เปลือกตาอักเสบ (blepharitis): เกิดจากการติดเชื้อบริเวณต่อมที่เปลือกตา ทำให้เปลือกตาบวมแดง มีหนองได้ และการอักเสบอาจลามมาที่เนื้อเยื่อข้างเคียงทำให้เปลือกตาอักเสบ (blepharitis) การประคบร้อนร่วมกับการนวดเบาๆ ช่วยบรรเทาอาการปวด และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ตากุ้งยิงและเปลือกตาอักเสบหายเร็วขึ้น
- ต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน (MGD): เกิดจากการที่ไขมันที่ต่อมไขมันที่เปลือกตาเกิดการแข็งตัว อุดตันทางออกของน้ำตาชั้นไขมัน ทำให้ตาแห้ง แสบตา เคืองตา การประคบร้อนช่วยให้ไขมันที่อุดตันละลายออก น้ำตาชั้นไขมันออกมาเคลือบกระจกตาได้ดีขึ้น ลดอาการตาแห้ง แสบเคืองตา
- ตาล้าจากการใช้คอมพิวเตอร์ (computer vision syndrome): เกิดจากการใช้สายตาเพ่งมองคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต เป็นเวลานานๆโดยไม่พักสายตา ทำให้เกิดอาการปวดตา เคืองตา แสบตา การประคบร้อนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา บรรเทาอาการปวดตา ลดอาการแสบเคืองตา

วิธีทำที่ประคบร้อนตา
วิธีที่1
- เตรียมผ้า หรือถุงผ้าสะอาด (อาจตัดเย็บเป็นรูปเข้ากับดวงตา)
- ใส่ข้าวสารในถุงที่เตรียม มัดปากถุงหรือปิดปากถุงให้เรียบร้อย
- นำเข้าMicowave. อุ่นให้พอร้อน 10-15 วินาที
- ตรวจความร้อนว่าร้อนเกินไปหรือไม่ โดยเอามาอิงที่หลังมือ
- วางประคบบนตาครั้งละ 5-10 นาที วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือตามต้องการ

วิธีที่ 2
- นำผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำหมาดๆ อุ่นใน Microwave 10-15 วินาที
- นำออกมาแตะหลังมือตรวจความร้อนให้พอเหมาะ
- นำผ้าแห้งหรือถุงซิปล็อคมาห่อผ้าขนหนูที่ร้อนอีกที
- วางประคบบนตา 5-10 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือตามต้องการ

ข้อควรระวัง: ความร้อนที่มากเกินไปอาจทำให้มีแผลพุพองได้

ข้อบ่งชี้การใช้ "ความเย็น" ประคบตา
- ภูมิแพ้เยื่อบุตา (allergic conjunctivitis): เกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ มีการหลั่งสารฮิสตามีนและมีสารน้ำรั่วจากหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการคันตาและอาการตาบวม การประคบเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดการหลั่งสารฮิสตามีนและลดการรั่วของสารน้ำ ลดอาการคันบริเวณดวงตาและลดอาการบวมจากภูมิแพ้เยื่อบุตา
- หลังผ่าตัดเปลือกตา: หลังการผ่าตัดเปลือกตา อาจมีเลือดออกบริเวณที่ผ่าตัดและเนื้อเยื่อรอบๆบวมช้ำ การประคบเย็นช่วยให้หลอดเลือดหดตัว เลือดแข็งตัว ลดอาการบวมช้ำและช่วยห้ามเลือด
- บวมช้ำรอบดวงตาจากอุบัติเหตุ: หากเกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทกบริเวณรอบดวงตา ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบดวงตาบวมช้ำ อักเสบได้ การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบจากอุบัติเหตุ และช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการบวมช้ำได้

วิธีทำที่ประคบเย็นตา
วิธีที่ 1
- นำน้ำแข็งและน้ำใส่ในชามหรือกะลังใบเล็ก
- นำผ้าขนหนูผืนเล็กมาชุบน้ำเย็นในชาม บิดให้หมาดๆ
- นำผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณดวงตา ครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามต้องการ

วิธีที่ 2
- นำน้ำสะอาดใส่ถุงซิปล็อคแล้วนำไปแช่ตู้เย็นช่องแช่แข็ง หรือนำน้ำแข็งใส่ถุงซิปล็อค
- นำถุงซิปล็อคที่มีน้ำแข็งภายในมาห่อด้วยผ้าขนหนูเปียกหมาดๆ
- นำมาประคบบริเวณดวงตา ครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามต้องการ

ข้อควรระวัง: ระวังไม่ให้ถุงน้ำแข็งสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง อาจทำให้เกิดแผลจากน้ำแข็งกัดได้ (frostbite)

สุขภาพตา โดย ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
All About Eye by RCOPT
https://www.facebook.com/AllAboutEyebyRCOPT/posts/923326897784550
Photo

เยื่อบุตาอักเสบ (Conjuctivitis)

เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ทั้งติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและภูมิแพ้ พบได้บ่อยและมีการระบาดเป็นพักๆ ในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนมากไม่รุนแรง รักษาได้ไม่ยาก ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรียจากเชื้อหนองใน (gonorrhea) ซึ่งปัจจุบันพบน้อยลงมาก

อาการที่เกิดร่วมกับตาแดงและอาจช่วยบอกถึง สาเหตุของตาแดงได้มีดังนี้คือ
-อาการคัน อาการคันในลูกตาอาจเกี่ยวข้องกับ เยื่อตาอักเสบจากการแพ้
-รู้สึกเคืองตา บ่งบอกถึงภาวะตาแห้ง, มีสิ่งแปลกปลอมในตา, เปลือกตาอักเสบ
-แสบตา แสดงถึงอาการของโรคที่เปลือกตา, เยื่อบุตาหรือแก้วตา
-เป็นเม็ดหรือเจ็บบางจุด อาจเกิดจากฝีที่เปลือกตา หรือกุ้งยิง
-ปวดลูกตา อาจเป็นอาการของม่านตาอักเสบ, แผลที่แก้วตา, ต้อหิน,
เยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ, หรือการติดเชื้อรอบลูกตา
-กลัวแสง หมายถึง ตาสู้แสงไม่ได้จะเคืองตามาก เป็นอาการของม่านตาอักเสบ, แผลที่แก้วตา, และต้อหิน
-น้ำตาไหล ลักษณะเป็นน้ำตาใส เกิดจาก เยื่อตาอักเสบเพราะเชื้อไวรัสหรือสารเคมี
-ขี้ตาเป็นเมือก มักเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ เพราะการแพ้ หรือการติดเชื้อแคลมมีเดีย
-ขี้ตาเป็นหนอง เกิดจากเยื่อตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, แผลที่แก้วตา,
หรือการอักเสบรอบตา ตาแดงร่วมกับโรคของเปลือกตา

โดยมากตาแดงมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ควรหยุดเรียน หรือหยุดงานอย่างน้อย 3 วัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค พักผ่อน และพักการใช้สายตา การรักษาโรคตาแดง แบ่งตามสาเหตุ ได้แก่

1. โรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ได้แก่ ยาหยอดตา และอาจมียาป้ายตา ในคนไข้บางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานและแบบฉีดร่วมด้วย
2. โรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง แต่ต้องใช้เวลา และไม่มีการรักษาเฉพาะ ยกเว้นเชื้อพิเศษบางชนิด ที่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส การใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาลดปวด อาจช่วยบรรเทาอาการและทำให้สบายตามากขึ้น
3. โรคตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ก่อนเป็นอันดับแรก การประคบเย็นสามารถช่วยลดการอักเสบได้ รวมถึงการหยอดน้ำตาเทียมที่ช่วยให้สบายตา แต่ในกรณีที่มีอาการมาก อาจต้องใช้ยากลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory medications, antihistamines, mast cell stabilizers หรือ steroid ร่วมด้วย
4. โรคตาแดงที่เกิดจากสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษ อันดับแรกที่ควรต้องทำ คือ ใช้น้ำสะอาด หรือถ้าจะให้ดี คือ Saline solution หรือ Ringer’s lactate solution ในปริมาณที่มากล้างตาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับการใช้ยารักษาตามอาการ อย่างไรก็ตาม อาจมีการรักษาพิเศษอื่นเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตรวจพบ และความรุนแรงของโรค

http://www.loftoptometry.com/ตาแดง-red-eye/
http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/62
http://www.thailabonline.com/eye4.htm
Photo


[18/06/61] Dr.Smith เชอรีน ณัฐจารี ตากุ้งยิง 1/5 https://www.youtube.com/watch?v=Fo0NLGR27Uo






ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2018.09.08