Friday, October 25, 2019

PARACETAMOL

PARACETAMOL
ยาพาราเซตามอล
500 มิลลิกรัม
325 มิลลิกรัม
625 มิลลิกรัม
หมายเหตุ
1.G6PD สามารถใช้พาราได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ในระยะสั้นๆ
2. ผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือดวอร์ฟาริน (WARFARIN) ห้ามกินยาพารามากกว่าวันละ 4 กรัม เพราะ พาราเซตามอล จะมีผลรบกวนการทำงานของเอนไซม์วิตะมินเคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
ข้อมูลยาสำหรับประชาชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ยาได้อย่างสมเหตุผลของประชาชนและเป็นข้อมูลสำหรับโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อเผยแพร่ทางสื่ออินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ยาน้ำพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัม / 5 ซีซี
ตัวอย่างเข่น ซาร่าน้ำขวดสีส้ม เทมปร้าฟอร์ต รสส้ม รสสตรอเบอรี่ ไพราคอนฟอร์ต
หมายเหตุ
1.G6PD สามารถใช้พาราได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ในระยะสั้นๆ
2. อายุต่ำกว่า 2 เดือน หรือ มีน้ำหนักต่ำกว่า 9 กิโลกรัม ไม่ควรใช้ยานี้
3. ถ้ากินยาภายใน 3 วัน แล้วไข้ไม่ลง หรือ มีไข้สูงกว่า 39.5 องศา ให้พบแพทย์
ยาน้ำพาราเซตามอล 160 มิลลิกรัม / 5 ซีซี
ตัวอย่างเข่น ซาร่าน้ำขวดสีม่วง
ไทลีนอลน้ำ เด็ก 2-11 ปี
หมายเหตุ
อายุต่ำกว่า 2 เดือน หรือ มีน้ำหนักต่ำกว่า 6 กิโลกรัม ไม่ควรใช้ยานี้
ยาน้ำพาราเซตามอล 120 มิลลิกรัม / 5 ซีซี
ตัวอย่างเข่น บีรามอล ไซรัป
ซาร่าน้ำขวดสีชมพู
เทมปร้า คิดส์ รสสตรอเบอรี่
อายุต่ำกว่า 2 เดือน หรือ มีน้ำหนักต่ำกว่า 4 กิโลกรัม ให้พบแพทย์
พาราเซตามอลปลอดภัยถ้าใช้ไม่เกินขนาด
#RDU20160829
1. ขนาดยาของพาราเซตามอลคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
2. ไม่ควรใช้เกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง
3. โดยทั่วไปพาราเซตามอล 1 เม็ด มี 500 มิลลิกรัม
4. ถ้าหนัก 50 กิโลกรัม ควรกินเพียง 1 เม็ด หรือไม่เกิน 1 เม็ดครึ่งต่อครั้ง หากกินครั้งละ 2 เม็ดจะได้ยาในขนาดสูงเกินไป
5. เมื่อคำนวณจาก 15 มิลลิกรัม/่1 กิโลกรัม
ผู้ที่จะกินพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมครั้งละ 2 เม็ดได้คือผู้ที่หนักตั้งแต่ 67 กิโลกรัมขึ้นไป
ไม่ควรกินเกิน 3-4 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะได้ยา 3,000-4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นไม่ควรกินเกิน 6 เม็ดต่อวัน
6. หากต้องการความปลอดภัยที่สูงขึ้น ควรใช้พาราเซตามอลชนิดเม็ดเล็ก ซึ่งมีตัวยา 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด เมื่อกินครั้งละ 2 เม็ดจะได้ตัวยา 650 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอในการลดไข้ แก้ปวดสำหรับคนส่วนใหญ่ กินห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อครั้ง ทั้งนี้ควรจำกัดการใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน (ไม่เกิน 8-10 เม็ด) เพื่อลดขนาดยาสูงสุดจาก 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นไม่เกิน 2,600-3,250 มิลลิกรัมต่อวัน
การใช้ยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานานช่วงตั้งครรภ์นั้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบสืบพันธุ์ของทารกเพศชาย
การศึกษาวิจัยนี้เน้นเฉพาะการกินยาพาราเซตามอลมากเกิน 7 วัน ถ้าเป็น 1-2 ครั้งสำหรับการรักษาไข้หวัดถือว่าไม่เป็นไร
กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา ออกประกาศการดำเนินการเกี่ยกับยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน โดย กำหนดเอกสารกำกับยามาตรฐาน เพื่อจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัย มีการปรับปรุงข้อความ 4 ด้าน
Stronger, clearer labels for over-the-counter acetaminophen products to further address the risk of liver damage
Improvements to the Labelling Standard include:
* ฉลากที่ชัดเจนขึ้น เรื่องขนาด ห้ามเกิน 4,000 มก ต่อวันในผู้ใหญ่ ใช้ติดต่อกันไม่เกินเวลาที่กำหนด ถ้าแก้ปวด 5 วัน ลดไข้ 3 วัน
* แสดงข้อความบนกล่อง ว่า มี อะเซตามิโนเฟน (พาราเซตามอล) ที่ชัดเจน ขนาดใหญ่ สีแดง บนตำแหน่งที่กำหนด
* ข้อมูลยาที่ปรับปรุงใหม่ ในเอกสารกำกับยา
* ยาน้ำสำหรับเด็กต้องกำหนดเครื่องมือให้ยาเด็ก ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กให้ขนาดยาเด็กที่ถูกต้อง
= clearer instructions on packages that emphasize the importance of using the lowest effective dose; not exceeding the recommended daily maximum (which is 4,000 mg for adults) in a 24-hour period; using these products for no more than five days for pain or three days for fever; and not mixing them with alcohol if drinking three or more drinks in a day;
= displaying the words “contains acetaminophen” in bold, red text in the top right corner of the front of the package to make it easier for consumers to know if a product contains this drug;
= a new Drug Facts table for packages to provide product instructions, warnings and other safety information in a consistent, quick-reference format; and
= a recommendation that all children’s liquid products include a calibrated dosing device, so parents and caregivers can be sure that they’re giving their child the right amount.
สวีเดนห้ามขายพาราเซตามอลในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ พบมีผู้ใช้ยาเกินขนาดมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการใช้ยาจนถึงขั้นตับพัง
ตกผลึกอีกเรื่อง
จากการที่พาราเซตามอลที่สวีเดน ถูกดึงกลับจากร้านชำให้มาจำหน่ายเฉพาะในร้านยา
สวีเดนไม่ได้เก็บอุบัติการณ์ paracetamol over dose อย่างเดียว
แต่เก็บจากการที่มีคนโทรเข้ามา แล้วพบว่ามีการใช้ยาซ้ำกัน
เก็บไปคิดทั้งคืน สวีเดนเก็บอะไรนะ
อ๋อ นึกออกแล้ว
สวีเดน เก็บ ADE (Adverse Drug Event) ค่ะ หรือภาษาไทยแปลว่า เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์รวมๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการใช้ยา และทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา ซึ่งจะรวมตั้งแต่ แพ้ยา แพ้ยาซ้ำ แพ้ยาข้ามกลุ่ม อันตรกิริยาระหว่างยา (drug interaction) Medication error (ความคลาดเคลื่อนทางยา) ต่างๆมากมาย
แสดงว่าในประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว แค่เน้นป้องกันความเสี่ยงมากกว่าการแก้เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้ว
ทีนี้เราลองยกตัวอย่างเคสที่มีปัญหาจากการ เข้าไปซื้อยาลดกรดที่ร้านสะดวกซื้อแล้วเสียชีวิต ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าเกิดในสถานพยาบาล จะมีการนำมาทำ root course analysis หรือ รากแท้ของปัญหา
อย่างในกรณีนี้เราไม่รู้ว่าได้มีการสอบสวนโรคหรือไม่ หรือปล่อยผ่านไป
ท่านทราบไหมคะ เวลาคนเราป่วย จะไม่นึกว่าตัวเองป่วยเป็นโรคร้ายแรง อาการที่แสดงออกอาจจะแค่จุกเสียด แน่นท้อง
แต่ๆๆๆๆ ถ้าเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เราถูกสอนให้มองหา risk factor หรือปัจจัยความเสี่ยงของคนๆนั้น ว่าจริงๆ อาการของเขายังสามารถคิดถึงอะไรได้อีกบ้าง
ดังนั้นจุดบอดแรกของการนำยาสามัญประจำบ้านไปวางในร้านสะดวกซื้อ คือ ไม่มีคนสกรีนเรื่องความเหมาะสมในการใช้ยา
ซึ่งเมื่อวานที่เราคุยกับเภสัชกร เจ สวีเดนจะมีสายโทรศัพท์ให้โทร.ปรึกษาอาการเบื้องต้นก่อนที่คุณจะไปซื้อยากินเอง
โอเค เขาดักจุดแรกได้แล้ว
แถมเขายังมีระบบเก็บ adverse drug event อีก
ดังนั้นประเทศเขาจะเสียงบประมาณน้อยมาก ในการมาซ่อมสุขภาพประชาชน ที่มีอันตรายจากการใช้ยา
ในตอนนี้ที่ พรบ.ยาของเรากำลังระอุ ว่าจะเอาใครมาจ่ายยาดี ใครทำได้ไม่ได้
ตรงนี้คงเลยจุดที่จะมาเถียงกันแล้ว
แต่ๆๆๆๆ
รัฐมีระบบอะไรในการตรวจจับ Adverse Drug Event หรือยัง หากประชาชนได้รับความเสี่ยงจากการใช้ยา ย้ำแค่ความเสี่ยง ยังไม่ตายนะคะ
และถ้าเกิดความเสี่ยงจริงๆ จนคนไข้ตาย รัฐมองเป็นการกระทำโดยประมาทที่คุณออกกฎเอื้อเขา หรือ มองว่าเป็นเวรกรรมส่วนบุคคลคะ
สรุปแล้วหาก พรบ.ยาฉบับนี้ตั้งใจให้ผ่านจริงๆ ทางเพจก็อยากให้เรียกร้องให้ทางรัฐบาสร้างระบบรายงาน ADE ไม่ใช่การรายงาน ADR. เพียงอย่างเดียว หมายถึง รัฐต้องมีข้อมูลของ ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจากคลินิก สถานพยาบาล และร้านสะดวกซื้อค่ะ และทุกที่ที่มีการจ่ายยา
เพราะหากรัฐไม่สร้างระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยา รัฐมีงบในการซ่อมหรือยังคะ
ท่านทราบไหมคะว่า การใช้ พาราเกินขนาด หากจะต้องทำการรักษา จะต้องเสียงบประมาณเท่าไหร่
นี่แค่ยาพารา ที่ราคาแพงละไม่กี่บาทนะคะ
🙏🙏หากโพสต์นี้มีประโยชน์ และต้องการสื่อสารให้คนในบ้านท่านรับทราบช่วยแชร์เพื่อเป็นกำลังใจแอดมินด้วยค่ะ🙏🙏
Link ข่าว การใช้ยา พารา ของคนไทย
POSTED 2018.10.06
UPDATED 2019.10.25