Monday, March 19, 2018

ดูแล​ทาง​เดิน​หาย​ใจ​ของ​เรา​อย่าง​ไร​ดี​

โรคบ้านหมุน - VERTIGO
รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน โสต ศอ นาสิกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจมูกและภูมิแพ้

อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากโรคที่ไม่ร้ายแรง เช่น โรคขี้หูอุดตัน ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคที่ร้ายแรงได้ เช่น เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ เนื้องอกของประสาททรงตัว หรือโรคของระบบประสาทส่วนกลาง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ล้ม เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะเกิดเลือดออกในสมอง หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรู้จักโรคนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

โรคบ้านหมุน หรือโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แต่แท้จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนไป หรือรู้สึกว่าตัวผู้ป่วยเองหมุนหรือไหวไป ทั้งๆ ที่ตัวผู้ป่วยเองอยู่เฉยๆ ความรู้สึกดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการรับข้อมูล หรือการเสียสมดุลของระบบประสาททรงตัวของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยตา ประสาทสัมผัสบริเวณข้อต่อ อวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ระบบประสาทส่วนกลางที่ฐานสมอง และตัวสมองเอง โดยทั้งหมดนี้จะทำงานเกี่ยวเนื่องกัน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวกับอวัยวะการได้ยินอยู่ใกล้ชิดสัมพันธ์กันจากหูไปสู่สมอง โรคของระบบทรงตัวที่ทำให้บ้านหมุนจึงมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยิน หูอื้อ และมีเสียงดังรบกวนในหูได้ รวมถึงเมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ก็มักจะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลูกตา (ตากระตุก หรือ nystagmus) การเซ การล้ม อาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกร่วมด้วยได้

สาเหตุ
โรคบ้านหมุน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

โรคของหู
หูชั้นนอก ได้แก่ หูชั้นนอกอุดตัน จากขี้หู เนื้องอก หนอง หรือการอักเสบจากหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลางอักเสบ กระดูกช่องหูหักจากอุบัติเหตุ

เลือดคั่งในหูชั้นกลาง (hemotympanum) จากอุบัติเหตุ หรือการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ

หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (หูน้ำหนวก)

ท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างโพรงหลังจมูก และหูชั้นกลาง ทำงานผิดปกติ หรือมีการอุดตันจากโรคจมูกอักเสบเฉียบพลัน (หวัด) หรือเรื้อรัง (เช่น โรคแพ้อากาศ หรือจมูกอักเสบภูมิแพ้) โรคไซนัสอักเสบ การดำน้ำ การขึ้น-ลงที่สูง ก้อนเนื้องอกที่โพรงหลังจมูก

การทะลุของเยื่อที่ปิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (perilymphatic fistula) จากการไอ เบ่ง หรือจามแรงๆ หรือเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน

หูชั้นใน ได้แก่ การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) โดยเชื้ออาจลุกลามมาจากหูชั้นกลางที่อักเสบเฉียบพลัน หรือเยื่อหุ้มสมองที่อักเสบ หรือหูชั้นกลางที่อักเสบเรื้อรัง (หูน้ำหนวก) และมีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดจากการติดเชื้อซิฟิลิส ไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต

การอักเสบของหูชั้นในจากสารพิษ (toxic labyrinthitis) ได้แก่ ยาที่มีพิษต่อระบบประสาททรงตัวในหูชั้นใน เช่น ยาต้านจุลชีพ กลุ่ม aminoglycoside, quinine, salicylate, sulfonamide, barbiturate

การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้มีเลือดออกในหูชั้นใน ฐานสมอง ก้านสมอง หรือสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว

การได้รับแรงกระแทก การบาดเจ็บจากเสียงดัง เช่น ระเบิด ประทัด การยิงปืน หรือการผ่าตัดบริเวณหู

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease)

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (benign paroxysmal positional vertigo หรือ BPPV) ซึ่งอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนจะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ศีรษะหันไปทางใดทางหนึ่ง และมักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ (เป็นวินาที มักไม่เกิน 1 นาที)

โรคของทางเดินประสาท และสมอง
เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (vestibular neuronitis)
เนื้องอกของประสาททรงตัว (vestibular schwannoma)
โรคของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่

ความผิดปกติของกระแสโลหิตที่ไปเลี้ยงระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัวไม่พอ อาจเกิดจากไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ (สารนิโคติน ทำให้เส้นเลือดตีบตัว) การดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (สารกาเฟอีน ทำให้เส้นเลือดตีบตัว) เบาหวาน เลือดข้นผิดปกติ ซีด กระดูกคอเสื่อม หรือมีหินปูนบริเวณกระดูกคองอกไปกดหลอดเลือดขณะมีการหันศีรษะหรือแหงน เครียด หรือวิตกกังวล (ทำให้เส้นเลือดตีบตัวชั่วคราว) โรคหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจขาดเลือด)

การเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว

การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง

สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ (hypothyroidism) โรคเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ ซีด เลือดออกง่ายผิดปกติ) โรคหลอดเลือดแข็งและตีบจากโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกคอเสื่อม โรคไต ระดับยูริกในเลือดสูง โรคความดันโลหิตต่ำ โรคภูมิแพ้

4. ไม่ทราบสาเหตุ

กลุ่มเสี่ยง
คนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคบ้านหมุนคือ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหู ทางเดินประสาท และสมองดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งโรคของต่อมไทรอยด์ โรคเลือด และหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกคอเสื่อม และโรคไต

อาการที่ปรากฏ
สัญญาณเตือนที่ควรระวังของโรคบ้านหมุน ได้แก่ มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง รู้สึกมึนๆ งงๆ เบาๆ โหวงๆ มีตากระตุก เดินแล้วเซ จะล้ม มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกร่วมด้วย

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยสาเหตุของโรคบ้านหมุนจะอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจทางหู คอ จมูก การตรวจตา การตรวจเส้นประสาทสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำขณะเปลี่ยนท่า) และการตรวจพิเศษ เช่น

- การเจาะเลือดเพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ เบาหวาน ระดับไขมันในเลือดที่สูง ระดับยูริกในเลือดที่สูง การอักเสบของร่างกาย (erythrocyte sedimentation rate: ESR) ซึ่งอาจบ่งถึงโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต การติดเชื้อซิฟิลิส หรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป

- การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่

- การตรวจการได้ยิน เพื่อดูว่ามีโรคของหูชั้นกลาง หรือหูชั้นในหรือไม่

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography) เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่

- การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง (brainstem electrical response audiometry) โดยใช้เสียงกระตุ้นทางเดินประสาทที่ผ่านหู ตั้งแต่หูชั้นใน ประสาทสมองที่เกี่ยวกับการได้ยินไปสู่ก้านสมอง และผ่านไปกลีบสมอง วิธีนี้สามารถตรวจความผิดปกติของโรคในสมองส่วนกลางได้รวดเร็วและแม่นยำ

- การตรวจระบบประสาททรงตัว โดยเครื่องวัดการทรงตัว เพื่อแยกความผิดปกติของภาวะข้อเสื่อมจากโรคหูชั้นในและโรคของสมอง

- การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ เพื่อดูว่ามีกระดูกคอเสื่อมหรือไม่

- การถ่ายภาพรังสี เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูว่ามีโรคของทางเดินประสาท หรือสมองหรือไม่

- การตรวจการไหลเวียนของกระแสโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวน์ ซึ่งจะบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของกระแสโลหิตได้

การรักษา
การรักษาตามอาการ ได้แก

- ให้ยาที่กดการรับรู้ของประสาททรงตัว เพื่อให้หายจากอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน

- ให้ยาสงบ หรือระงับประสาท

- ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน

- ให้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ซึ่งการให้ยาดังกล่าวนี้ เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ

- เมื่ออาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนน้อยลงแล้ว ควรให้เริ่มการบริหารระบบทรงตัว (head balance exercise) เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้ การบริหารดังกล่าวเป็นการฝึกฝนการปรับวิสัยการทรงตัวต่อตัวกระตุ้นสมมุติที่สร้างขึ้น ซึ่งจะสร้างนิสัย “เคยชิน” ต่อสภาวะนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในอวัยวะทรงตัว เพื่อให้สามารถทรงตัวได้อย่างดีในสภาวะต่างๆ ได้แก่ การฝึกบริหารสายตา ฝึกกล้ามเนื้อ คอ แขนขา ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและคอ รวมทั้งการเดิน และยืน

- ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะ บ้านหมุนแล้ว ควรป้องกันไม่ให้มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนอีก โดย
* หลีกเลี่ยงเสียงดัง
* ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด ควบคุมโรคให้ดี
* หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาททรงตัว เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
* หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
* หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
* ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารกาเฟอีน) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
* พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดที่จะไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การรักษาตามสาเหตุของโรค
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนขณะเดิน ควรหยุดเดิน และนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจทำให้ผู้ป่วยล้มเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียน หรือบ้านหมุนมาก ควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนน้อยลงค่อยๆ ลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วง หรือเพลียได้ ถ้าง่วง แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นหลังตื่นนอน

- ไม่ควรว่ายน้ำ ดำน้ำ ปีนป่ายที่สูง เดินบนสะพานไม้แผ่นเดียว หรือเดินบนเชือกข้ามคูคลอง ขับรถ หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ขณะมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตราย

- หลีกเลี่ยงสารกาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) และการสูบบุหรี่ ซึ่งจะลดเลือดที่ไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว

- พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง

- พยายามหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ในระหว่างเกิดอาการ ได้แก่ การหมุนหรือหันศีรษะไวๆ การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้ม เงยคอ หรือหันอย่างเต็มที่

- พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สารก่อภูมิแพ้ (ถ้าแพ้) การเดินทางโดยทางเรือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

- เวลามีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนให้รับประทานยาที่แพทย์ให้ ดังนั้นควรพกยาดังกล่าว ในช่วงเวลาเดินทางเสมอ

ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ดังนั้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

https://www.facebook.com/absolutehealthclinic/posts/421329037927712
Photo

โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ - Pneumonia
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/pneumonia-in-elderly
Photo
Add a comment...

ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) อาการ สาเหตุ การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ 7 วิธี !!
Add a comment...

เมื่อคุณหมอบอกว่าเป็นหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=645

คำแนะนำในการปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อ
ในระบบทางเดินหายใจ
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=287

รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Photo

สายเสียงอักเสบ และวิธีถนอมเสียง - Acute laryngitis
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

(ตอนที่ 1)
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=813
(ตอนที่ 2)
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=814
Photo

การบรรยายเรื่อง “คลายสงสัยเรื่องกรดไหลย้อน” รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กิจกรรมสุขภาพเต็มร้อย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2556 ในวันที่ 6 ตุลาคม 2556 ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
Add a comment...

การบรรยาย เรื่อง “ดูแลลมหายใจ ให้ปลอดโรค” โดย รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรม “สุขภาพเต็มร้อย” ครั้งที่ 10 วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2557 ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
Add a comment...

แนวทางการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาโรคจมูก และโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ตอน 1
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1261
ตอน 2
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1262
ตอน 3
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=473
ตอน 4
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=474
Photo

ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal Steroids) กับการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
http://www.rcot.org/2016/People/Detail/228
Add a comment...

เมื่อผู้ป่วย มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมักจะซื้อยาแก้อักเสบกินเอง หรือเภสัชกรที่ร้านขายยาเป็นผู้จ่ายยาให้ หรือแม้แต่แพทย์เอง ก็จ่ายยาแก้อักเสบให้ผู้ป่วยกิน เนื่องจากเชื่อเช่นเดียวกับผู้ป่วย หรือทราบ แต่ไม่มีเวลาอธิบายให้ผู้ป่วยฟัง หรืออธิบายแล้ว แต่ผู้ป่วยก็ไม่เชื่ออยู่ดี และรบเร้าให้แพทย์จ่ายยาแก้อักเสบให้ จึงจ่ายให้เพื่อตัดความรำคาญ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส (ได้แก่ rhinovirus, influenza, parainfluenza, adenovirus) จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องกินยาแก้อักเสบ เมื่อผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นมาไม่เกิน 7-10 วัน เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง ถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และเหมาะสม แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมานานเกิน 7-10 วัน (มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย) หรือมีหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ การกินยาแก้อักเสบในกรณีดังกล่าวจึงสมเหตุสมผล

รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

http://www.riskcomthai.org/2017/detail.php?id=29759&m=news&gid=1-001-003

เรื่องกรดไหลย้อน... ที่ควรรู้/ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน แพทย์ด้านหู คอ จมูก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085921

20 วิธีบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน ได้ผลจากปากแพทย์ 100%!!
http://www.thaijobsgov.com/jobs/45841
Add a comment...

ภัยเงียบ...ขี้หู/ผศ. นพ.ปารยะ อาศนะเสน
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085921
Photo
Add a comment...

หูดับ ฉับ พลัน มาได้งัย ??

อาการหูดับ คือ อาการที่ การได้ยินลดลงทันที ยิ่งถ้าใครเคยไปฝึกยิงปืนมาด้วยละก็จะรู้จักโรคนี้ทันที เมื่อได้ยินเสียงปืนดังมากๆ จะทำให้แก้วหูเกิดการกระแทกจาก แรงดันอากาศ ภายนอก ทำให้ หูดับแับพลันได้ แต่... แท้จริงแล้วอาการหูดับฉับพลัน นั้นมีหลากหลายสาเหตุ ที่ไม่เกี่ยวกับเสียงดัง
โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน และอาการของ โรคหูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้

สาเหตุ
1.เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้

2.เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้ ประเภทเดียวกันกับหลอดเลือดในสมองตีบ

3.ภาวะ ภูมิเพี้ยน ( Autoimmune disease )
เช่น โรค SLE -โรคพุ่มพวง และ โรค miniere

4.การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane ซึ่งอากเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง บริเวณศรีษะก็ได้

อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการหูดับ อย่างนิ่งนอนใจ ถ้าหูดับหูอื้อไม่หาย หรือไม่ดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง แนะนำพบแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูกด่วน

หูไม่ได้ยิน รักษาอย่างไร ??/

ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุก่อนแล้วค่อยทำการรักษาโดย

การรักษา จะแบ่งเป็นการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด
อย่างไรก็ตามหูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน, เส้นประสาทหู, และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทหูเสื่อม มักจะรักษาไม่หายขาด

ยกเว้นสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้หูเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ส่วนประสาทหูเสื่อมบางรายไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่รักษาไม่ได้ อาจหายเองก็ได้หรือจะเป็นอยู่ตลอดชีวิตก็ได้

1. แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่ และจะหายหรือไม่

2. ถ้าหูอื้อไม่มากยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อีกข้างยังดีอยู่ ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ

3. ถ้าหูอื้อมากไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง, ยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น
- ยาบำรุงประสาทหู

4. ถ้าหูอื้อ เกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง
- ถ้าเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต, โรคกรดยูริกในเลือดสูง, โรคซีด โรคเลือด ต้องควบคุมโรคให้ดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ, ชา, เครื่องดื่ม น้ำอัดลม (สารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (สารนิโคติน)
- พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ก้อนอะไรเอ่ย ... เหลืองๆ เหม็น ๆออกมาจากคอ ?

หลายคนอาจเคยรำคาญเกี่ยวกับ ก้อนสีเหลืองๆ เหม็น ๆ ก้อนเล็กหรือ ก้อนใหญ่ก็ตาม ติดอยู่ในลำคอ บางครั้งก็หลุดออกมาตอนบ้วนน้ำตอนแปลงฟัน ... แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช้ ขี้ฟันแน่ๆๆ
ก้อนนี้ มีชื่อว่า Tonsillolith หรือ Tonsil Stone ( หินปูนของทอนซิล ) ก้อนนี้เกิดจากการที่มีเศษอาหารไปตกค้างอยู่ในร่อง ( Crypt ) ของต่อม Tonsil และมีเม็ดเลือดขาวจากต่อมทอนซิล ไปจับกินเหมือนจับกินเชื้อโรค ต่อมาก้อนมีขนาดใหญ่ๆ ใหญ่ขึ้นจนเริ่มมีความรำคาญ หรือ เริ่มแข็งจากมีหินปูนมาเกาะ

การรักษา
การรักษา มี 2 วิธี คือ วิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด
1. วิธีไม่ผ่าตัด
- การกลั้วคอแรงๆ หลังรับประทานอาหารด้วยน้ำยากลั้วคอ, น้ำเกลือ หรือน้ำเปล่าธรรมดา
- การใช้นิ้วนวดบริเวณใต้คางบริเวณมุมขากรรไกรล่าง (ซึ่งตรงกับบริเวณต่อมทอนซิล) เพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออกมา
- การใช้ไม้พันสำลี (cotton bud), ปลายของที่หนีบผม, เครื่องมือที่ใช้เขี่ยขี้หูออก (ear curette), แปรงสีฟัน เขี่ย หรือกดบริเวณต่อมทอนซิล เพื่อเอาก้อนดังกล่าวออก
- ใช้ที่พ่นน้ำทำความสะอาดช่องปาก, ฟัน และลิ้น (water pick) ฉีดบริเวณต่อมทอนซิล เพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออก
- ใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องปาก แล้วกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล แล้วดันขึ้นบน หรือใช้ลิ้นดัน เพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออกมา

2. วิธีผ่าตัด
- ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) จี้ต่อมทอนซิลเพื่อเปิดขอบร่องของต่อมทอนซิลให้กว้าง ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่างๆได้อีก ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่
- ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก (tonsillectomy) เป็นการรักษาที่หายขาด มักจะทำในกรณีที่ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล

ต่อมทอนซิล ในเด็กควร หรือ ไม่ควรตัด ??

ต่อมทอนซิล คือ ต่อมที่อยู่ในคอ วางอยู่ในร่อง หลังฟันกรามซี่สุดท้าย ต่อมนี้ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรค ก่อนที่จะเข้าไปสู่ร่างกาย โดยมักทำหน้าที่อย่างหนักในช่วงอายุ 10 ปีแรก
ดังนั้นต่อมทอนซิลอักเสบมักพบในเด็กนะครับ การเป็นต่อมทอนซิลอักเสบหรือมาอาการเจ็บคอนั้น จริงๆแล้วรักษาตามอาการ เช่น เจ็บคอก็ จิบน้ำมะนาว / กลืนไม่ได้ ก็รับประทานอาหารอ่อน

แล้วเมื่อไรจึงจำเป็นต้องผ่าอันนี้ค่อนข้างสำคัญ ยิ่งถ้าได้ยินมาว่า เพื่อนรอบตัวพา ลูกไปตัดต่อมทอนซิล ทิ้ง ?? ด้วยอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่จิตตกได้นะครับ

เราดูกันซิว่า เมื่อไรถึงควรพาลูกไปปรึกษา เรื่องการตัดต่อมทอนซิล

1 .ต่อมทอนซิลมีการติดเชื้อเรื้อรัง และมีต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโต และมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบ 3 ครั้งใน 3 ปี 5 ครั้งใน 2 ปี หรือ 7 ครั้งใน 1 ปี
2. ต่อมทอนซิลโตมาก ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้นอนกรน หยุดหายใจเป็นพักๆขณะนอนหลับ
3. ต่อมที่โตมากอาจทำให้กลืนลำบาก กินอาหารไม่ได้ ทำให้เด็กเกิดการเจริญเติบโตไม่เต็มที่

ถ้าบุตรหลานของท่านมีอาการดังกล่าว แนะนำพาบุตรหลานไปปรึกษา กับ คุณหมอเด็ก หรือ คุณหมอด้านหู คอ จมูกนะครับ

ลูก นอกรน / ลูกเจ็บคอ บ่อยๆ / ลูกทอนซิล อักเสบบ่อยๆ
เป็นมากแค่ไหน ? และจำเป็น หรือไม่จำเป็นต้องตัด
Add a comment...

When you catch the flu, these steps can help keep you from spreading it -- and get you on the road to feeling better: http://wb.md/2tGsl6M





ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2018.03.19

No comments:

Post a Comment