Thursday, June 4, 2020

ผดร้อน

ผดร้อน
ลักษณะของผดร้อน
มี 4 ชนิด ขึ้นกับระดับความลึกของการอุดตัน
Miliaria crytallina มีการอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับตื้นที่สุด จากนั้นมีการแตกออกของท่อระบายเหงื่อ ทำให้ผื่นเกิดเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็กๆ แตกง่ายเมื่อสัมผัสหรืออาบน้ำ ไม่คัน
Miliaria rubra พบได้บ่อยที่สุดและเรารู้จักกันดีในนามว่า “ผดร้อน” มีการอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับกลางของหนังกำพร้า ผื่นเป็นตุ่มแดง คัน บางครั้งอาจแสบร้อนได้ มักขึ้นที่ลำตัวส่วนบนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
Miliaria pustulosa เป็นผลจาก “ผดร้อน” ที่เป็นมากและนานจนเกินไปจนเกิดเป็นตุ่มหนอง และบางครั้งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียที่ได้มาจากการเกา
Miliaria profunda ผดชนิดนี้ส่วนหนึ่งเกิดมาจาก “ผดร้อน” ที่เป็นเรื้อรัง เป็นแล้วเป็นอีกอยู่เรื่อยๆ จนนำไปสู่การอุดตันของท่อระบายเหงื่อในระดับลึกที่สุด ลักษณะผื่นเป็นตุ่มนูนสีขาวขนาด 1-3 มิลลิเมตร พบได้ที่ลำตัวและขาส่วนบน ผื่นชนิดนี้พบได้น้อย
ควรดูแลผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทาหลังอาบน้ำทันที อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเลือกสารให้ความชุ่มชื้นผิวหนังชนิดที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม เหมาะสมกับผิวผู้ป่วย
ทายาลดอาการอักเสบ
3.1 ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ทาเฉพาะตำแหน่งที่มีผื่นแดงอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรหยุด และควรอยู่ ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
3.2 ยาทากลุ่ม Topical Calcineurin Inhibitor (TCI) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ออกฤทธิ์ ต้านการอักเสบคล้ายยาทากลุ่มสเตียรอยด์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นตุ่มหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแล แนะนำการทำความสะอาดแผล อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือกินร่วมด้วย
ยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน จะช่วยลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นเป็นมากขึ้นหรือเกิดแผลถลอก และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการดูแลรักษา
โรคที่มากับอากาศร้อน ผื่นแดงหน้าร้อน ผดผื่นแสบร้อน วิธีดูแลรักษาผิวหนัง
POSTED 2020.06.03




No comments:

Post a Comment