#รักษาหวัดโดยไม่ใช้ยา (อิงหลักฐานทางการแพทย์)
.
หากใครอ่านโพสต์
“6 ข้อ...ที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด”
ก็น่าจะมีความเข้าใจระดับหนึ่งนะคะ
หวัดเป็นโรคที่เจอบ่อยที่สุด
เด็กเป็นหวัดเฉลี่ย 6-8 ครั้ง/ปี
(โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งไป nursery หรือ อนุบาลใหม่ๆ เป็นเดือนละ 2 ครั้ง ก็เจอบ่อย)
โรคหวัดภาษาทางการ คือ Rhinitis
ซึ่งรากศัพท์ Rhino แปลว่าจมูก -itis แปลว่าอักเสบ
รวมกัน แปลว่า การอักเสบที่เกิดบริเวณจมูก (เริ่มที่จมูก)
ซึ่ง สาเหตุ #เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เมื่อเยื่อบุจมูกอักเสบ
ก็จะตอบสนองด้วยการบวม และมีการคัดหลั่งน้ำมูกเพิ่ม
เราก็จะมี #อาการคัดจมูก และ #มีน้ำมูก
เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
เม็ดเลือดขาว จะหลั่งสารต่างๆในกระบวนการกำจัดเชื้อโรค
ทำให้เรา #มีไข้ #รู้สึกไม่สบายตัว
(ในเด็กก็จะแสดงอาการ งอแง หรือบางคนก็หลับมาก ไม่เล่น ไม่ร่าเริง)
.
ทีนี้ถามว่า ยารักษาเฉพาะ
แบบว่าไปฆ่าเชื้อโรคในร่างกายเลยมีมั้ย?
ตอบว่า #ไม่มี
การรักษาก็จะเป็นแบบประคับประคอง
supportive treatment หัวใจของการรักษาแบบนี้คือ
#ทำได้แค่ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้นเท่านั้น
.
ยาที่เราเรียกว่า ยารักษาตามอาการ เช่น
มีไข้ ก็ให้ยาลดไข้
คัดจมูก ก็ให้ยาลดบวมของเยื่อบุจมูก
มีน้ำมูก ก็ให้ยาลดน้ำมูก
มีอาการไอ ก็ให้ยาแก้ไอกลุ่มยาละลายเสมหะ
.
ซึ่งเป็นยาที่ใช้มาอย่างช้านานแล้วใช่มั้ยคะ
แต่จากการรวบรวมผลการศึกษาหลายๆการศึกษา
และนำมาสรุปผล (meta-analysis)
กลับพบว่า ยาลดอาการคัดจมูก ยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ นอกจากจะไม่ช่วยลดอาการหวัดของเด็ก/ไม่ช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น #ยายังมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นอีกด้วย
อย่างที่เคยเขียนในโพสต์ก่อน ว่ายาลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกเหนียวข้นขึ้น ในเด็กเล็ก
ไอไม่เก่ง ขากเสมหะไม่ได้
มีรายงานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เชื้อกระจายลงไปที่ทางเดินหายใจส่วนล่างมากขึ้น
และยาลดอาการคัดจมูก กับยาละลายเสมหะ
ก็ไม่มีผลยืนยันที่บอกว่าทำให้เด็กดีขึ้น
(คือกินกับไม่กินก็เหมือนๆกัน)
แปลว่า ไม่ต้องให้ เพราะให้ก็จะเกิดผลข้างเคียงของยาได้แถมยังไม่เกิดประโยชน์อีก
.
แต่ในผู้ใหญ่ ยาลดคัดจมูก ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ
กินยาแล้วเราก็ดีขึ้น ไม่ต้องทรมานกับน้ำมูกที่ไหลเวลาทำงาน ยาลดคัดจมูกก็ทำให้หายใจโล่งขึ้น
ดังนั้น การศึกษาในผู้ใหญ่ ยาพวกนี้ ก็จะได้ผลดีในแง่เรื่องคุณภาพชีวิต
.
👉 ข้อสรุปก็คือ ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปี ก็คล้ายกับผู้ใหญ่
คือ การให้ยาช่วยลดอาการต่างๆ ดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์ในแง่คุณภาพชีวิตตอนที่เจ็บป่วย ดีขึ้น ให้ยาได้ด้วยความสบายใจ
👉 ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
จะเป็นเด็กที่พบผลข้างเคียงจากยามากที่สุด
ในอเมริกามีข้อห้ามใช้ยาเพื่อรักษาหวัด
(Over-the-counter cold medications)
ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ตั้งแต่ปี 2008
ในเด็กกลุ่มนี้ ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าเป็นหวัดแล้วไปพบหมอเด็กจะได้มาแค่ #ยาลดไข้กับน้ำเกลือหยดจมูก
(แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใช้เป็นทางการนะคะ แพทย์บางคนยังจ่ายยาลดน้ำมูกก็ไม่ถือเป็นความผิด
เอาเป็นว่าใช้ได้ #แต่ต้องระมัดระวังมากในเด็กอายุน้อย)
ส่วนในเด็กอายุ 2-5 ปี การให้ยา
ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
ซึ่งส่วนตัวหมอเองก็จ่ายยาเหมือนกันค่ะ ตามความจำเป็น จะให้คำแนะนำแม่เป็นหลัก
.
อ่านไปอ่านมา....คุณแม่เริ่มกังวลใจใช่มั้ยคะ
ถ้ายาไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น แถมยังอาจจะมีผลข้างเคียง แล้วจะทำอย่างไรดี?
เรื่องนี้ ไม่ใช่เป็นความกังวลเฉพาะบ้านเมืองเรานะคะ
ที่อเมริกาเอง ก็พบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดอาการหวัดในเด็กมาก เค้าก็เลยเริ่มมีการศึกษา ว่าจะมีวิธีการรักษาที่ไม่ใช่ยาหรือไม่?
American Academy of Pediatrics (AAP)
มีบทความที่เขียนให้ความรู้เรื่อง
วิธีการบรรเทาอาการหวัดในเด็ก โดยไม่ใช้ยา โดยความรู้พวกนี้ก็อ้างอิงมาจากงานวิจัยทางการแพทย์
หมอจะสรุปให้ดังนี้นะคะ
❤❤ น้ำผึ้ง ( AAP เรียกสูตรนี้ว่า Sweet dreams)
น้ำผึ้ง มีการศึกษามากมาย แต่ที่ผลการศึกษาไปในทางบวก ก็คือการลดภาวะไอตอนกลางคืน
โดยแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
เพราะกลัวเรื่อง toxin ที่อาจปนเปื้อนในน้ำผึ้ง
โดยขนาดที่แนะนำคือ กินครั้งละ ½-1 ช้อนชา บ่อยแค่ไหนไม่ได้แนะนำชัดเจน แต่หมอใช้น้ำผึ้งกับลูกสาวตั้งแต่เล็กๆ (จริงๆให้ก่อน 1 ปีอีกค่ะ แต่ซื้อน้ำผึ้งที่เชื่อถือได้ มี อย.) หมอเอา 1 ช้อนชา มาผสมน้ำอุ่นสัก 10 ซีซี แล้วให้กินวันละ 3-4 ครั้ง บางบ้านเอาไปผสมมะนาวก็ได้ค่ะ หรือใครจะให้กินเปล่าๆเลยก็ได้ค่ะ
❤❤ น้ำเกลือสำหรับหยด/spray/ล้างจมูก
สำหรับตัวเอง สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หมอจะให้น้ำเกลือไป #หยดจมูก เสมอค่ะ
(อ่านโพสต์ ล้างจมูกในเด็กเพิ่มเติมนะคะ อธิบายไว้แล้ว ว่า หยด กับ ล้าง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน)
โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ยังกินนมเป็นอาหารหลัก เพราะการที่จมูกบวมและน้ำมูกอยู่ในโพรงจมูก
จะทำให้เด็กเล็กหายใจลำบากมาก
การกลืน คือต้องหายใจไปพร้อมๆกับจังหวะการหยุดหายใจ เด็กจะเหนื่อยมาก ช่วงดูดนม
เพราะฉะนั้น ก่อนกินนมคุณแม่ควรหยดจมูกด้วยน้ำเกลือให้ลูกก่อน และอีกเวลาที่จะแนะนำคือก่อนนอน
(จะทำบ่อยกว่านี้ก็ได้ #แต่เวลาที่ต้องทำเลยคือก่อนกินนมกับก่อนนอน)
ส่วนเรื่องการสวนล้างจมูก (nasal irrigation)
ควรทำมั้ยในเด็กเป็นหวัด?
ตัดสินให้ไม่ได้ แต่ให้ข้อมูลนะคะ
เพราะแต่ละบ้านก็มีความรู้สึกต่อการสวนล้างจมูกไม่เหมือนกัน
การสวนล้างจมูกนั้น ได้ผลดี ที่พิสูจน์แล้ว
คือ 1. คนไข้ที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
2.คนไข้ภูมิแพ้จมูก (allergic rhinitis) ที่มีอาการทางจมูกมากเท่านั้น และให้ร่วมกับการรักษาอื่น
การล้างจมูกในหวัด ไม่มีผลทำให้อาการดีขึ้นชัดเจน
และไม่มีการศึกษาที่ยืนยันว่า
ถ้าเป็นหวัด ล้างจมูกแล้วจะทำให้เชื้อกระจาย
เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบนะคะ
เอาเป็นว่า #เอาที่เราสะดวกเลยค่ะ
เพราะมันมีรายละเอียดเรื่อง
👉 ความร่วมมือของลูก
👉 เทคนิคการล้าง
ถ้าเด็กบ้านไหน กลัวมาก ดิ้นมาก
แนะนำว่า ไม่ต้องล้างตอนเป็นหวัดหรอกค่ะ
ยิ่งดิ้นมาก อุปกรณ์ไปกระทบเยื่อบุจมูก ทำให้บวมขึ้น
แทนที่จะดี กลับกลายเป็นผลร้าย
หรือ เด็กกลัวมาก ถ้าเป็นหมอ หมอจะรักษาหัวใจของลูกมากกว่าค่ะ
เพราะก็ไม่ได้ดีชัดเจน #ทำไมต้องทำร้ายจิตใจลูกด้วย
ที่สำคัญ ไม่ต้องล้างจมูก หวัดก็หายได้เองอยู่แล้ว
ถ้าลูกสั่งน้ำมูกเป็น ก็สั่งเองเอาน้ำมูกออกมาได้มากกว่าค่ะ แล้วค่อยเอาน้ำเกลือ spray ตาม
(ผลการศึกษาบอกว่าเด็กส่วนใหญ่ สนิทใจที่จะใช้น้ำเกลือแบบ spray มากที่สุด)
❤❤ Vapor rubs (พวกน้ำมันหอมระเหย) ซึ่งก็ใช้แพร่หลายในบ้านเราเหมือนกันนะคะ
ซึ่งจากงานวิจัย พบว่า จะช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นนะคะ AAP แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี
โดย #ทาบางบางที่หน้าอก ไม่แนะนำให้ทาใต้จมูก หรือบริเวณใบหน้า หรือทาหนาเกินไป
เพราะทำให้เด็กรู้สึกร้อนบริเวณที่ทา และเคยเจอเคสที่เยื่อบุจมูกบวมไม่หายซักที อาการเหมือนภูมิแพ้จมูก รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ท้ายที่สุดได้ข้อมูลว่า ทา vapor rub ที่จมูกให้ลูกทุกคืน (เป็นความเชื่อว่าทำให้ลูกหายใจสบาย) พอหยุดทา เด็กก็อาการดีขึ้น ดังนั้น อะไรที่มากไปย่อมไม่ดี ทำตามที่ฉลากยาแนะนำ ดีที่สุดค่ะ
.
หวัด เป็นโรคที่เราดูแลลูกได้เองที่บ้าน อาการเด็กจะดูดีตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะแย่ลง เป็นกันทุกบ้านนะคะ
ธรรมชาติของโรค วันแรกที่อาการเริ่ม อาการไม่มาก แต่วันที่อาการหนักจะเป็นวันที่ 2-4
หากผ่านช่วง peak ไปได้แล้ว หลังจากนั้น จะดีขึ้นตามลำดับ
ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ คือ แย่ลงทุกวันทุกวัน มีอาการอื่นเพิ่มทุกวัน แนะนำพาไปพบแพทย์
หรือ ถ้าคุณแม่คิดว่าลูกมีอาการที่น่ากังวล ก็ควรพาไปพบแพทย์นะคะ
.
หมอแพม
ที่มาของข้อมูล
บทความของ AAP
ที่มา 🚨🚨🚨
ล้างจมูกในเด็ก
#ล้างจมูกในเด็ก
เนื่องจากโพสต์ "6ข้อ ที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด"
จากคำถาม
พอจะสรุปได้ว่า คุณแม่ที่ดูแลลูกที่เป็นหวัด
อาจจะยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการใช้น้ำเกลือในการรักษาโพรงจมูกลูก
หมอจะชี้แจง ประเด็นที่สับสนกันมากๆดังนี้นะคะ
ประเด็นที่ 1
การใช้น้ำเกลือในการรักษาโพรงจมูกเด็ก เมื่อเด็กมีน้ำมูก
มี 3 วิธีนะคะ
.
1.เด็กเล็กมาก ยังคอไม่แข็ง หรือ แม่ไม่เคยได้รับการฝึกการล้างจมูกกับแพทย์หรือพยาบาลมาก่อน ให้ "น้ำเกลือหยดจมูก"
ร่วมกับการใช้ลูกยางแดง หรืออุปกรณ์ดูดน้ำมูก ที่คุณแม่ถนัด (มีหลายอย่างในท้องตลาด เอาที่เราคิดว่าเราถนัดค่ะ ยังไงก็ได้) ที่เบสิคที่สุดก็คือลูกยางดูดน้ำมูก
(หมอชอบเรียกติดปากว่าลูกยางแดง แต่จริงๆมีขายหลายสีในท้องตลาดนะคะ มีปลายเป็นซิลิโคนนิ่มๆด้วย)
แนะนำบทความของสมาคมโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ตาม link ค่ะ (มีบทความน่าสนใจเยอะเลยค่ะ)
.
2.การใช้สเปรย์น้ำเกลือฉีดพ่นที่โพรงจมูก
มีขายหลายยี่ห้อ แต่ที่บุกตลาดเจ้าแรก ชื่อ Mar plus (ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรใดๆนะคะ บอกข้อมูลเท่านั้น)
พวกสเปรย์น้ำเกลือพวกนี้ ไม่ได้มีแค่น้ำเกลือ เค้าจะผสมตัวยาที่ช่วยลดการระคายเคือง (emollient ) ของเยื่อบุโพรงจมูกด้วย คือน้ำเกลือจะช่วยให้น้ำมูกที่เหนียว ละลาย ทำให้ไหลลงไป และขับออกได้ง่าย ในขณะเดียวกัน ก็จะมีตัวยาลดการระคายเคือง แต่!! การใช้สปรย์ ก็มีประโยชน์ เทียบเท่้ากับการหยดลงจมูกเท่านั้น คือ ช่วยให้น้ำมูกข้นเหนียวน้อยลง แต่ไม่ได้ผลักออกมา ร่างกายต้องกำจัดเอง
ดังนั้น ถ้าในเด็กที่มีน้ำมูกมากๆ หรือข้นมากๆ เช่นเด็กที่เป็นไซนัสอักเสบ เด็กที่มีภาวะภูมิแพ้จมูก การใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก *ไม่เท่ากับ* การใช้น้ำเกลือล้างจมูกนะคะ
3.การใช้น้ำเกลือล้างจมูก
คือการดูดน้ำเกลือปริมาณมากพอสมควร (เริ่มต้นที่ 5 ซีซี แล้วแต่อายุเด็ก และความร่วมมือ) ฉีดพ่นเข้าไปในโพรงจมูก
เช่นนี้ น้ำเกลือปริมาณมาก จะช่วยให้น้ำมูกที่เหนียวข้น เหลวขึ้น ในขณะเดียวกัน แรงดันน้ำ ก็จะผลักให้น้ำมูกไหลออกมาทางโพรงจมูกอีกข้างหนึ่ง หรือในบางคนชอบล้างแบบให้ไหลลงคง แล้วอ้าปากให้ไหลออกทางปากก็ได้
ซึ่ง ไม่เท่ากับ หยดจมูกที่เราจะหยดแค่ 2-3 หยดต่อรูจมูก 1 ข้าง
และ ไม่เท่ากับสปรย์น้ำเกลือนะคะ
(มี clip ล้างจมูกเด็กโชว์เยอะแยะเลยค่ะใน youtube)
***แต่ไม่ว่าลูกจะรับได้กับวิธีไหน ทำได้ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ***
ประเด็นที่ 2
-เริ่มฝึกเมื่อไหร่
เข้าใจกันแล้วนะคะ ว่า หยดจมูก สปรย์ฉีดจมูก กับ ล้างจมูกต่างกัน
ทีนี้ มักจะมีคนถามว่า เริ่มฝึกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
หมอเข้าใจว่าคุณแม่หมายถึง การล้างจมูกใช่มั้ยคะ
- การเอาน้ำเกลือหยดจมูก ร่วมกับ ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในเด็กเล็กนั้น ทำได้ตั้งแต่แบเบาะ เพราะเป็นทางเลือกเดียวในการลดน้ำมูกสำหรับเด็กเล็ก หมอจ่ายน้ำเกลือให้ คล้ายๆกับจ่ายยาลดไข้
ก็คือ คุณแม่ทำได้เลยค่ะ....และจะต้องมีคนบอกว่าสงสารลูก
เชื่อเถอะค่ะ ว่าหายใจไม่ออกน่าสงสารกว่ากันเยอะ
ตอนพันตัว มัดตัว หยดน้ำเกลือ เด็กร้องไห้อยู่แล้ว แต่เค้าจะเรียนรู้ว่าทำแล้ว ดูดนมได้ดีขึ้น หายใจโล่งขึ้น เป็นพื้นฐานของการฝึกล้างจมูกใน step ถัดไป
- การล้างจมูก หมอไม่มีตัวเลขชัดๆว่าให้ฝึกเมื่อไหร่
เอาจริงๆ มันคือความมั่นใจของแม่ แต่แนะนำว่าถ้าเราไม่โปร ให้ลูกคอแข็งก่อน อย่างน้อย 3-4 เดือน เพราะตอนล้าง ต้องประคองศีรษะ อีกมือหนึ่งต้องฉีดน้ำเกลือ ไหนลูกจะดิ้น ถ้าคอไม่แข็ง จะเกิดอันตรายได้ค่ะ
ประเด็นที่ 3
น้ำเกลือใช้ยี่ห้ออะไร?
ซื้อที่ไหน?
ใช้ได้เหมือนกันมั้ย?
ฯลฯ
สรุปนะคะ
น้ำเกลือ เป็น 0.9%normal saline ใช้ได้หมดเลยค่ะ
เหมือนกันทุกยี่ห้อ ในภาพ หมอ search google คำว่า
น้ำเกลือล้างจมูก ออกมาหลายยี่ห้อมากๆ
เอาที่เราซื้อสะดวก
ซื้อหลอดฉีดยาจากร้านขายยามาด้วยค่ะ
หรือเดี๋ยวนี้มีขวดสำเร็จรูปที่เอาไว้ล้างจมูกโดยเฉพาะก็ได้ค่ะ (สำหรับเด็กโต)
*** ถ้าลูกยังเล็กใช้ไม่เยอะ ไม่ต้องซื้อขวดใหญ่มาค่ะ เอาที่ใช้หมดต่อการป่วยครั้งนั้นๆ***
ประเด็นที่ 4
- บ่อยแค่ไหน
*** ถ้าเป็นเด็กเล็ก ใช้วิธีหยดจมูก ร่วมกับดูดด้วยลูกยางแดง
แนะนำว่าให้ทำ ก่อนมื้อนมตอนกลางวัน และก่อนนอน
ทำตอนลูกท้องว่าง ก่อนกินนมมื้อถัดไป อาจจะไม่ต้องทุกมื้อ ให้แม่ดูว่าเค้าอึดอัดมากน้อยแค่ไหน...แต่ที่ต้องทำแน่ๆคือตอนก่อนนอน เพราะจะช่วยให้หายใจดีขึ้น
**** การล้างจมูก...ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน
- น้ำเกลือ ตั้งที่อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องแช่เย็นนะคะ ไม่เอาน้ำเกลือเย็นๆล้างจมูกนะคะ เพราะว่าความเย็นกระตุ้นให้หลอดลมหดเกร็งได้นะคะ
ใช้ไม่หมดตั้งไว้ในอุณหภูมิห้องแหละค่ะ ไม่ต้องเอาไปเข้าตู้เย็น
หวังว่าจะทำให้คุณแม่เข้าใจ และมีความมั่นใจในการใช้น้ำเกลือเพื่อช่วยรักษาภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้นนะคะ
หมอแพม
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก
ที่มา🚨🚨🚨
งานเลี้ยงลูกอย่างไรในยุค 4.0
ช่วงแรก “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้”
ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ
FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
.....................
UPDATE - 2019.06.23
No comments:
Post a Comment