การซักประวัติ
PHARMEDU
เนื้อหาที่เขียนค่อนข้างยาว แอดมินอยากให้ได้อ่านกันจนจบครับ ซึ่งเป็นหลักการที่แอดมินเขียนเกี่ยวกับการซักประวัติผู้ป่วย และแอดมินก็ได้ใช้หลักการนี้ในการสอบ OSPE ในวันสอบจริง ผลคะแนนที่แอดมินได้หลังจากขอดูคะแนนฐาน ซักประวัติทั่วไป และซักประวัติเพื่อส่งต่อผู้ป่วย แอดมินได้คะแนน 10/10 ทั้งสองฐาน แอดมินเลยเอาหลักการที่แอดมินใช้มาแชร์ต่อให้น้องๆ ได้อ่านเป็นแนวทางของตนเองต่อไปครับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแอดมินได้มีโอกาสไปเยี่ยมน้องแหล่งฝึกเภสัชกรรมชุมชน (ร้านขายยาแผนปัจจุบัน) ได้สอบถามพูดคุยเกี่ยวกับการฝึกงานของน้องแหล่งฝึก
ซึ่งขณะพูดคุยสอบถามกันก็มีลูกค้าเข้ามาในร้านขายยา เลยได้ฟังน้องแหล่งฝึกหัดการซักประวัติผู้ป่วยรายนี้ หลังจากซักประวัติเสร็จเสร็จแล้ว
แอดมินเลยได้แนะนำน้องแหล่งฝึกเกี่ยวกับการซักประวัติผู้ป่วยอย่างมีระบบมีประโยชน์อย่างไรบ้าง และขั้นตอนการซักประวัติอย่างมีระบบต้องซักถามในประเด็นใดบ้าง
การซักประวัติอย่างเป็นระบบนั้นมีข้อดี ได้แก่
1. สามารถเก็บข้อมูลข้อผู้ป่วยได้ครบ
2. วินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้มีความถูกต้อง
3. สามารถเลือกยารักษาบรรเทาอาการตรงตามอาการที่ผู้ป่วย
เป็น
4. หากข้อมูลที่ได้มาครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อการเขียน SOAP NOTE ของ Case Study
คำถามสำหรับการซักประวัติ 13 ข้อ ดังนี้
1. กล่าวทักทายสวัสดีครับ/ค่ะ (ทักทายด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม)
จุดประสงค์ เพื่อแสดงออกถึงสีหน้าท่าทางของเภสัชกรว่าพร้อมบริการอย่างเป็นมิตรกับผู้ป่วย
2. วันนี้มาพบเภสัชกรต้องการให้เภสัชกรช่วยเหลืออะไรบ้างครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อใช้เริ่มต้นการสนทนาในซักประวัติของผู้ป่วยรายนี้
3. สอบถามกับผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ป่วย หรือเป็นผู้ป่วยเองหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
4-7.
- ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้าง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือเปล่าครับ/คะ
- ระยะเวลาของอาการที่ผู้ป่วยเป็นมานานเท่าไหร่ครับ/คะฃ
- อาการที่ผู้ป่วยเป็นได้ใช้ยาบรรเทาอาการ หรือยารักษาอาการมาก่อนหรือเปล่าครับ/คะ
- อาการที่ผู้ป่วยเป็นเคยเป็นมาก่อน หรือเปล่าครับ/คะ หากเคยเป็นอาการดังกล่าว ผู้ป่วยเคยใช้ยาบรรเทาอาการ หรือยารักษาอาการมาก่อนหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ เพื่อซักถามอาการและอาการอื่นๆ ยาที่ใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
อาการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
1. ช่วงเวลาปัจจุบัน แบ่งคำถามออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
- ซักถามอาการที่แสดงออก มีอาการอะไรบ้าง
- ซักถามอาการอื่นๆ มีอาการอะไรบ้าง
- ซักถามอาการที่เป็นมาระยะเวลาเท่าใด
- ซักถามผู้ป่วยว่าอาการดังกล่าวได้ใช้ยาบรรเทาอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามหลังจากใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว อาการดีขึ้นหรือแย่ลงหรือไม่
2. ช่วงเวลาในอดีต แบ่งคำถามออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
- ซักถามอาการที่แสดงออก ณ ปัจจุบัน เคยเกิดอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามอาการอื่นๆ ณ ปัจจุบัน เคยเกิดอาการมาก่อนหรือไม่
- ซักถามอาการที่เป็นในอดีตว่ามีอาการเป็นระยะเวลาเท่าใด
- ซักถามผู้ป่วยว่าอาการดังกล่าวที่เป็นในอดีตได้ใช้ยาบรรเทาอาการหรือไม่
- ซักถามหลังจากใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวที่เป็นในอดีต อาการดีขึ้นหรือแย่ลงหรือไม่ และซักถามเพิ่มเติมว่ายาที่เคยใช้บรรเทาอาการยังใช้มาจนถึงปัจจุบันหรือไม่
8. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือเปล่าครับ/คะ หากมีโรคประจำตัว ให้สอบถามยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวรวมถึงยาอื่นๆ เช่น ยาที่ผู้ป่วยซื้อรับประทานเอง ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากบุคคลอื่นๆ เป็นต้น
จุดประสงค์ เพื่อซักถามโรคประจำตัว และยาที่ผู้ป่วยได้รับ
- ซักถามโรคประจำตัวของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง หากมีโรคประจำตัวให้ซักถามเพิ่มผู้ป่วยมียาที่ใช้รักษาของโรค เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวมียาทั้งหมดกี่ตัว ชื่อของยามีชื่ออะไรบ้าง ขนาดความแรงของยาที่ผู้ป่วยรับประทานมีขาดเท่าไหร่ เป็นต้น
- ซักถามความร่วมมือในการรักประทานยาของผู้ป่วย เช่น ทานยาครบตามแพทย์สั่งหรือไม่ ลืมทานยาหรือไม่ ปรับหรือลดขนาดยาด้วยตนเองหรือไม่ เป็นต้น
- ซักถามยาอื่นๆ เช่น ยาที่ซื้อทานด้วยตนเองหรือไม่ ได้รับยาจากบุคคลอื่นมารับประทานหรือไม่ เป็นต้น
9. ผู้ป่วยมีแพ้ยาหรือเปล่าครับ/คะ หากมีบัตรแพ้ยาเภสัชกรสามารถขอดูบัตรแพ้ยาจากผู้ป่วย หรือหากไม่มีบัตรแพ้ยา เภสัชกรพิจารณาความเหมาะและสามารถออกบัตรแพ้ยาให้กับผู้ป่วยได้
จุดประสงค์ ค้นหาประวัติการแพ้ยา เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยจุดประสงค์ ค้นหาประวัติการแพ้ยา เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วย
10. หากเป็นเพศหญิง ให้สอบถามสถานะการตั้งครรภ์ และสถานะการให้นมบุตรอยู่หรือไม่
จุดประสงค์ เพื่อการเลือกยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
11. ดื่มเหล้า และสูบหรี่หรือเปล่าครับ/คะ (ทั้งปัจจุบันและอดีต)
จุดประสงค์
- เพื่อใช้ในการประเมินของอาการหรือโรค เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ เป็นต้น
- เพื่อป้องการเกิด Drug-Food interaction เช่น Metronidazole เป็นต้น
12. รับประทานอาหารเสริม ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาต้มหรือยาหม้อหรือเปล่าครับ/คะ (ทั้งปัจจุบันและอดีต)
จุดประสงค์
- เพื่อป้องกันการใช้ยาสเตรียรอยด์ เช่น ยาลูกกลอนผสมยาสเตรียรอยด์ เป็นต้น
- เพื่อป้องการเกิด Drug-Food interaction หรือ Drug-Herb interaction
13. ผู้ป่วยมีข้อสงสัยจะสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมหรือเปล่าครับ/คะ
จุดประสงค์ สอบถามเพิ่มเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้ให้ข้อมูลกับเภสัชกรครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
ถ้าหากเรามีระบบการซักประวัติอย่างเป็นระบบ จะสามารถได้ข้อมูลที่ครบถ้วนจากผู้ป่วยได้แน่นอนครับ แอดมินจึงขอทิ้งท้ายเอาไว้ว่า เราควรฝึกฝนการซักประวัติผู้ป่วยบ่อยๆ
เพื่อให้มีความแม่นยาให้การซักถามและตรงประเด็น ประหยัดเวลาในการซักประวัติผู้ป่วย เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและใช้การทำงานในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับผม
#PharmEDU
#Pharmacistscandoit
จากการปฏิบัติจริง
🎢รถติดเครื่องรออยู่ รีบๆหน่อย รถติด
ถามอะไรกันมากมาย น่ารำคาญจริงๆ
ตกลงถามมากๆเนี่ย จะให้ยาตามที่ฉันต้องการมั้ย
เรื่องมาก น่ารำคาญ ถามอยู่ได้
ขายๆมาเหอะ ที่อื่นเค้าก็ขายกันทั้งนั้น ไม่เห็นจะเรื่องมากอย่างที่นี่เลย
ซื้อให้นาย นายสั่ง ก็ต้องตามคำสั่งสิ จะอะไรกันนักหนานะ
😤บ่นกันอย่างนี้ในใจกันใช่มะ เค้ารู้หรอก
แต่ทุกอย่างเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองทั้งนั้น
POSTED 2019.08.03
ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ
FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
IG : BetterPharmacyCMG
LINE ID : BetterCM
.....................
No comments:
Post a Comment