Saturday, August 3, 2019

ไข้เลือดออก - ไข้ปวดข้อยุงลาย - ไวรัสซิกา

26 มิถุนายน เวลา 15:26Food & Health
ไข้ปวดข้อยุงลาย​
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1999084350190343&id=440914432674017
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลาย ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก 👩🧑👦
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2110563412386090&id=325980554177727
มีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่จังหวัดลำพูน จำนวน 2 ราย เบื้องต้นทราบข้อมูลว่า เป็นผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 52 ปี และ 68 ปี อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเขตพื้นที่ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ภายในระยะเวลาเพียง 6 วัน นับตั้งแต่วันที่ 19 – 25 มิถุนายน 2562 ในเขตพื้นที่ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน มีผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มติดเชื้อโรคชิคุนกุนยา อีกจำนวน 123 ราย รวมกับที่ได้รับการตรวจเลือดยืนยันว่าติดเชื้อจริง อีก 2 ราย เป็น 125 ราย นับเป็นการพบการแพร่ระบาดของโรคและผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาที่จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา พบว่า มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ในเขตพื้นที่ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ป่วยผลตรวจยืนยันชิคุนกุนยา จำนวน 5 ราย ผู้ป่วยสงสัยจำนวน 32 ราย ถือเป็นการระบาดของโรคชินคุนกุนยาครั้งแรกในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเช่นกัน
อาการของโรคชิคุนกุนยา คล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี
โรคชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออกไม่ใช่โรคเดียวกัน มีอาการแตกต่างกัน คือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออก และระยะเวลาของไข้สั้นกว่าประมาณ 2 วัน ในขณะที่ไข้เลือดออก ไข้จะลดลงในเวลาประมาณ 4 วัน และไวรัสชิคุนกุนยาไม่ทำให้พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่เกิดอาการช็อค นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถมีผื่นแดงเป็นปื้นและตาแดงได้บ่อยกว่าไข้เลือดออก รวมถึงพบอาการปวดตามตัว ตามข้อได้มากกว่า โรคนี้มักจะหายเองและยังไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษา รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน

3 กรกฏาคม เวลา 21:34Food & Health
ไข้เลือดออก​ VS ไข้ปวดข้อยุงลาย
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2119812508127847&id=325980554177727
โรคชิคุนกุนยา โรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
อาการสงสัย#ไข้เลือดออก
-ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ 2-7 วัน
-ปวดศีรษะ อาเจียน
-มีผื่นแดงตามตัว
-อุจจาระสีดำ
-กดเจ็บบริเวณชายโครงขวา
-มีภาวะช็อคช่วงไข้ลด มือ เท้าเย็น
หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาทันที
LINE โรงพยาบาลเขลางค์นคร-ราม
วัคซีน#ไข้หวัดใหญ่​
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา พม่า รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ก็พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกเช่นเดียวกัน และจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในทุกประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีเช่นเดียวกัน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีอัตราป่วยไข้เลือดออกสูงสุด คือ 66.62 ต่อประชากรแสนคน ส่วนหนึ่งเพราะเป็นภาคที่มีประชากรอยู่มาก รองลงมา คือ ภาคใต้ ภาคกลางและภาคเหนือ
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาได้แก่ อุบลราชธานี ตราด บึงกาฬ นครราชสีมา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ จันทบุรี เลย และเพชรบูรณ์
ไข้หวัดใหญ่เราจะสังเกตได้ว่านอกจากมีไข้แล้วจะมีน้ำมูกและไอร่วมด้วย เมื่อนอนพักผ่อนไข้ก็อาจจะลดลง แต่ถ้าเป็นไข้เลือดออก จะไม่ค่อยมีน้ำมูกไหลหรือไอ แต่จะมีอาการปวดท้องอาเจียน ถ่ายเหลวหรือท้องเสีย"
แต่ในผู้ป่วยบางรายก็เป็นทั้งไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากมีอาการไข้สูงลอยนานกว่า 2 วัน แนะนำให้ควรไปโรงพยาบาล
ชิคุนกุนยาไว้ว่า มีไข้สูงเฉียบพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย อาจมีอาการคันร่วมด้วย บางรายอาจมีตาแดง สิ่งที่ต่างจากโรคไข้เลือดออก คือไวรัสชิคุนกุนยาจะไม่ทำให้พลาสมาหรือน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด ส่วนใหญ่จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อก แต่ทำให้ผู้ป่วยทรมานจากอาการปวดตามข้อและข้ออักเสบ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า โดยเปลี่ยนตำแหน่งการปวดไปเรื่อย ๆ การรักษามีเพียงประคับประคองตามคำแนะนำของแพทย์ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ แก้ปวด การให้สารน้ำให้เพียงพอ และดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
พาหะหลักของโรคชิคุนกุนยานั้น คือ ยุงลายสวน ดังนั้นในพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น อำเภอขุนยวม ควรเน้นย้ำในการกำจัดลูกน้ำที่เกิดในกาบของต้นไม้ ต้นดอก เช่น ต้นกล้วย ว่านกาบหอย ตลอดจนต้นไผ่ต่างๆ และหากหลีกเลี่ยงได้ควรลด หรืองดการปลูกพืชชนิดนี้ในบริเวณที่พักอาศัย หรือในสถานศึกษา
เมื่อมีการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาแล้ว จะไม่ป่วยด้วยโรคนี้อีก แต่ยังมีโอกาสป่วยด้วยโรค ที่มียุงลายเป็นพาหะอื่นๆ ได้ เช่น ไข้เลือดออก ซึ่งมี โอกาสป่วยถึง 4 ครั้ง และโรคไวรัสซิกา
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน แต่ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ อาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจะมีเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร ตับ ม้าม หรือไตวาย มีโอกาสเกิดภาวะช็อก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้นขอให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ห้ามใช้ยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด โดยปกติอาการจะดีขึ้นหลังไข้ลด กินอาหาร ดื่มน้ำได้ ปากไม่แห้ง ปัสสาวะปกติ แต่หาก 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีไข้สูง อ่อนเพลีย ซึมลง ปัสสาวะสีเข้ม หรือไข้ลดแล้วแต่อาการแย่ลง ซึมกว่าเดิม เบื่ออาหาร ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
ช่วงนี้อยู่ในช่วงหน้าฝนทำให้เกิดโรคระบาดหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคไข้สมองอักเสบ และที่สำคัญกำลังระบาดอยู่ทั่วไปตอนนี้คือโรคไข้เลือดออก
เมื่อเทียบกับ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนพบว่า ลำปางอยู่ลำดับ 5 รองจากจังหวัดพะเยา น่าน เชียงรายและเชียงใหม่
อาการป่วยขึ้นอยู่กับว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้ ส่วนใหญ่ พบว่าผู้ที่เสียชีวิตมักมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือมีโรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมีภาวะอ้วนร่วมด้วย
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2122153791227052&id=325980554177727
#วันแรกที่รู้ว่าคนในบ้าน/#ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก🦟🦟🦟💦
สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปิดบ้าน ประตู หน้าต่าง และพ่นอบเสปรย์กำจัดยุง ช่วงเวลาที่เหมาะคือ 09.00-11.00 ตอนเที่ยงยุงพักเที่ยง😁
หรือจะเลือกเวลา 13.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ยุงออกหากิน จะพ่นช่วงไหนก็ได้ครับ ซึ่งเสปรย์ในท้องตลาดใช้ได้ทุกยี่ห้อ อย่าลืมซื้อติดบ้านไว้นะครับ🦟🦟🦟💦
และอย่าลืม สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยนะครับ
และอย่าลืมสังเกตคนที่มีไข้ในช่วงนี้ด้วย อาจเป็นไข้เลือดออก ให้ทายากันยุงทุก 4 ชม. ลดการแพร่เชื้อได้นะ❤
#พึ่งตนเองดีกว่าพึ่งคนอื่นนะครับ


16 กรกฏาคม เวลา 01:05Food & Health
ไวรัสซิกา​ ZIKA VIRUS
ข้อมูลล่าสุด วันที่ 13 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ราย ใน อ.แม่เมาะ และ อ.แม่ทะ ทั้งยังมีผู้ป่วยที่เข้าข่ายติดเชื้อ​ #ไวรัสซิกา อีกจำนวน 80 ราย
🚨😰โดยไวรัสดังกล่าว มียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรวดเร็ว คือ 1 ยุงลายมีการแพร่กระจายจำนวนมากในพื้นที่ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเขตร้อน อุณหภูมิและความชื้น และ 2) ประชาชนยังขาดภูมิคุ้มกันในการต้านทานเชื้อ
🚨😱ส่วนลักษณะอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผื่นที่ผิวหนัง และบางส่วนจะตาแดง เพราะเยื่อบุตาอักเสบ
🚨🚨🚨
จ.​#ลำปาง พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิก้า จำนวน 4 ราย เข้าข่ายอีกจำนวน 80 ราย http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=190715153720
โรคไข้ซิกาจะมียุงพาหะคือยุงลายบ้านเช่นเดียวกับไข้เลือดออก มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน สั้นสุด 3 วันและยาว 12 วัน
👹อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
👹
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา | Hfocus.orghttps://www.hfocus.org/content/2016/02/11641
📁คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขปี 2559
📁แนวทางการสอบสวนโรคติดเชื้อ​#ไวรัสซิกา
📁แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

3 กรกฏาคม เวลา 21:21Food & Health
RxStudent MSU
แนะนำตัว​ ทีม​ S&P​ ​
นสภ.มมส.​ ฝึกงานผลัด4 ร้านยา BETTER PHARMACY 😎😎
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
S & P Production. ภูมิใจนำเสนอ
#ไข้เลือดออก
#ไข้ปวดข้อยุงลาย
#ไข้หวัดใหญ่
ต่างกันอย่างไร
จัดทำโดย
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
#ไข้เลือดออก
#ไข้ปวดข้อยุงลาย
#ไข้หวัดใหญ่
ต่างกันอย่างไร
จัดทำโดย​
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
แผลสะอาดกับแผลติดเชื้อต่างกันอย่างไร
😍บาดแผลสะอาด​ หมายถึง​ แผลที่ยังไม่ติดเชื้อมีลักษณะดังต่อไปนี้​
- บาดแผลปิดขอบเรียบทำความสะอาดง่าย
- บาดแผลไม่มีเนื้อตาย
- บาดแผลที่แม้มีสิ่งสกปรกแต่ล้างออกง่าย
- บาดแผลไม่ปนเปื้อนกับแบคทีเรีย​ ​เช่น​ อุจจาระ​ น้ำครำ
👿บาดแผลแบบติดเชื้อ​ จะลักษณะแผลอักเสบ​ปวด​บวม​แดง​ร้อน​ หรือเป็นหนอง​ บางรายอาจ
มีไข้​ หรือต่อมน้ำเหลืองโตได้
จัดทำโดย
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
รู้มั้ยว่าตากุ้งยิงมีกี่ชนิด🤔
ตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณเปลือกตาและโดยจะแยกเป็น2ชนิดคือ​ตากุ้งยิงภายนอกและตากุ้งยิงภายใน​ ซึ่งเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยคือ​ S.aureusและมีการรักษาเหมือนกันทั้ง2ชนิด
จัดทำโดย😘😍
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
เล็บขบ👿
เป็นโรคที่พบบ่อยจาก​2สาเหตุคือ​ การใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไปหรือการตัดเล็บผิดวิธี​ ทำให้เล็บที่เกิดใหม่งอกเข้าไปทิ่มเนื้ออ่อนบริเวณรอบๆเล็บเกิดอาการเจ็บ​ ปวด​ บวม​ และทำให้เกิดหนองจากการติดเชื้อด้วย
จัดทำโดย😘😍
นส.ภ.ชาญวิทย์ สุโภภาค
นส.ภ.ทรัพย์มงคล ไมย์โพธิ์
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลัด 4
CLIP
แผลสะอาดต่างจากแผลติดเชื้ออย่างไร
กุ้งยิง​ VS เล็บขบ
กวาวเครือแดง​ VS กระชายดำ
กวาวเครือขาว​ VS รากสามสิบ​ VS ว่านชักมดลูก
POSTED 2019.08.03



No comments:

Post a Comment