Tuesday, August 14, 2018

DOXYCYCLINE

#DOXYCYCLINE - ด็อกซีไซคลิน
เป็นยาฆ่าเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลีน โดยยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่เจริญเติบโต (bacteriostatic) ใช้รักษาโรคติดเชื้อต่างๆ และใช้สำหรับผู้ที่แพ้ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเพนนิซิลลิน

ผู้ที่ห้ามใช้ยา ด็อกซีไซคลิน
1.ผู้ที่แพ้ยาด็อกซีไซคลิน และยาอื่นๆในกลุ่มเตตร้าไซคลีน
2. คนท้อง หรือ ตั้งใจว่าจะท้องในอนาคต - US FDA Pregnancy Category D
3 ให้นมบุตร
4. เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ห้ามใช้ในคนท้องมากกว่า 20 สัปดาห์ หรือ เด็กที่อายุต่ำว่า 8 ขวบ เพราะทำให้ฟันเปลี่ยนสีอย่างถาวร

ผู้ท่ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง
1. ผู้ที่ทำงานกลางแดด ระวังแสงแดดจ้า หรือ การอาบแดด
2. ผู้ที่เป็นโรคตับ
3. ผู้ที่เป็นโรคไตขั้นรุนแรง
4. ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MYASTHENIA GRAVIS)
5. ผู้ที่เป็นโรคผีดูดเลือด ( Porphyria )
6. ผู้ที่เป็นโรค SLE

ระวังการกินร่วมกับยาดังต่อไปนี้
1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin จะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
2. ยาลดกรดที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม บิสมัธ ซิเตรต กระต่ายบิน ซูครัลเฟต ธาตุเหล็ก สังกะสี ควรกินด็อกซีไซคลินก่อนยาเหล่านี้ 2 ชั่วโมง หรือ กินด็อกซีไซคลินหลังจากกินยาเหล่านี้ไปแล้ว 6 ชั่วโมง
3. การกินร่วมกับยาคุมกำเนิด จะทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง ดังนั้นควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยระหว่างกินยาด็อกซีไซคลิน และหลังจากหยุดยาไปแล้ว 1 อาทิตย์
4. การกินร่วมกับยา Barbiturates, carbamazepine, phenytoin, Alcohol จะลดประสิทธิภาพของยาด็อกซีไซคลิน
ยาอื่นๆ ที่ระวังการกินร่วมกัน
Penicillin antibiotics, Rifampicin, Quinapril, Ergotamine, Typhoid vaccine, Ciclosporin, Methoxyflurane, Methotrexate, Retinoids
5. หลีกเลี่ยงการกินด็อกซีไซคลินร่วมกับตังกุย St. John's Wort

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาด็อกซีไซคลิน
ปวดหัว
คลื่นไส้อาเจียน
ไวต่่อแสง

Doxycycline is safe in early pregnancy, possibly throughout pregnancy and for children at the current dosage regimes; the restraints on doxycycline could be lifted for targeted or empiric treatment during the first half of pregnancy and for children under 8 years of age, if the daily dosage does not exceed 200mg/day for a maximum duration of 14 days.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4898140/

Types of drugs that interact with doxycycline include:
Antacids.
Calcium supplements.
Iron supplements and laxatives that contain magnesium.
Penicillin.
Blood thinners, such as warfarin (Coumadin)
Barbiturates and anti-seizure drugs, such as carbamazepine (Tegretol) and phenytoin (Dilantin)
Oral birth control pills.

doxycycline - Entire Monograph
https://online.epocrates.com/drugs/20310/doxycycline/Monograph

doxycycline hyclate - FDA
https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2008/050795s005lbl.pdf
Photo


ยาที่ห้ามกินพร้อมกับนม ได้แก่ ยาเตตร้าไซคลิน ด๊อกซีไซคลิน นอร์ฟลอกซาซิน ไซโปรฟลอกซาซีิน

#doxycycline
#tetracycline
#norfloxacin
#ciprofloxacin
Photo


ยาอะไรบ้างที่ทำให้เป็นพิษต่อไต

ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม β-lactam อาทิเช่น อะมอกซี่ คล็อกซ่า
ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม fluoroquinolones เช่น norflox, ciproflox, oflox, levoflox
ยาฆ่าเชื้ออื่นๆ เช่น vancomycin, minocycline, ethambutol, erythromycin, chloramphenicol
ยาแก้ปวดลดการอักเสบ N-SAID เช่น diclofenac, celecoxib
ยารักษาโรคกระเพาะ เช่น omeprazole, ranitidine
ยาต้านไวรัส เช่น aciclovir, abacavir, indinavir, atazanavir
ยากันชัก เช่น phenytoin, phenobarbital, carbamazepine
ยาที่ช่วยลดการสร้างกรดยูริค allopurinol
ยาขับปัสสาวะ furosemide
ยาอื่นๆ เช่น captopril, interferon, ciclosporin, sulfasalazine

ยาบางตัวใช้เพียงแค่วันเดียวก็เป็นพิษ แต่บางตัวอาจใช้นานหลายเดือนกว่าจะเกิดพิษ สงสัยยาตัวไหนที่ตัวเองใช้อยู่ เชิญได้ที่ร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้าน


Keeping it Renal: Drug-Induced Acute Interstitial Nephritis
Prescriber Update 36(2): 26-27
June 2015
http://www.medsafe.govt.nz/profs/PUArticles/June2015/June2015AcuteInterstitialNephritis.htm
Photo

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ยาฆ่าเชื้อในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน อาทิเช่น กาโน่ ทีซีมัยซิน ด๊อกซีไซคลิน ถ้าใช้ในคนท้อง 20 สัปดาห์ขึ้นไป หรือใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ขวบ จะทำให้ฟันเหลืองอย่างถาวร จากการสะสมของเตตร้าซัยคลินในเนื้อฟันและกระดูก

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ยาฆ่าเชื้อบางตัวอื่นๆ ในกลุ่ม beta-lactam/penicillin (phenoxymethylpenicillin and amoxicillin) ก็ทำให้ฟันเหลืองด้วยเช่นกัน

ส่วนการใช้ยา Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) ในคนที่ให้นมบุตรนั้น สามารถใช้ได้ในระยะสั้นๆ (ไม่เหมือน tetracycline ที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด)

Antibiotics and Tooth Staining
Prescriber Update 35(2)
6 June 2014
http://www.medsafe.govt.nz/profs/PUArticles/June2014AntibioticsAndToothStaining.htm

Doxycycline
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29999621
Photo

10 อันดับ ยาทีี่ทำให้เกิดอาการไวต่อแสง

Doxycycline
Hydrochlorothiazide
Amiodarone
Piroxicam
Chlorpromazine
Trimethoprim/sulfamethoxazole (Co-trimoxazole)
Captopril
Enalapril
Bendroflumethiazide
Carbamazepine

Photosensitivity คือ การแพ้แดด ลักษณะอาจเป็นผื่นแดง หรือมีตุ่มแข็ง ตุ่มใสลมพิษหรือรอยดำ จะเป็นมากบริเวณที่ถูกแสงแดดมากที่สุด คือ จมูก หน้าผาก ปลายคาง ใบหู รูปตัววีที่คอ แขนข้างนอก

Summer reminder - photosensitivity reactions
Prescriber Update 31(1): 7-8
February 2010
http://www.medsafe.govt.nz/profs/PUArticles/Summerreminder-photosensitivityreactions.htm

Drug-Induced Phototoxicity: A Systematic Review.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30003982
Photo


ยาฆ่าเชื้อตัวไหนบ้างที่ทำให้เป็นพิษต่อตับ

Ceftriaxone เกิดพิษต่อตับได้ภายใน 9-11 วันที่ใช้ยา
Erythromycin เกิดพิษต่อตับได้ภายใน 10-20 วันที่ใช้ยา
Amoxicillin/Clavulanic acid เกิดพิษต่อตับได้ภายใน 4 สัปดาห์ที่ใช้ยา
Doxycycline เกิดพิษต่อตับเมื่อใช้ยาติดต่อกันนาน 1 ปี


Antibiotics and Liver Injury - Be Suspicious!
Prescriber Update 33(3): 26–27
September 2012
http://www.medsafe.govt.nz/profs/PUArticles/AntibioticsSept2012.htm
Photo


หญิงตั้งครรภ์ในทุกระยะการตั้งครรภ์สามารถใช้ยาฆ่าเชื้อกลุ่มนี้ได้
Amoxicillin/clavulanate, Cloxacillin, Dicloxacillin
Cephalexin, Cefaclor
Azithromycin

ตั้งครรภ์เดือนที่ 1-3 ห้ามใช้
Norfloxacin ,Ofloxacin, Ciprofloxacin, Levofloxacin, Moxifloxacin
Metronidazole, Tinidazole

ตั้งครรภ์เดือนที่ 7-9 ห้ามใช้
BACTRIM

ห้ามใช้เด็ดขาด
Doxycycline, TC MYCIN, HEROMYCIN, GANO

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=13

เด็กเป็น G6PD จะใช้ยา Antibiotic ตัวไหนได้บ้างถ้าท้องเสีย
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง เภสัชกรรมคลินิค - http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=10200

สามารถใช้ยา metonidazole หรือ tinidazole ในการรักษา giardiasis แทนได้ และสามารถใช้ยา tetracycline หรือ doxycycline ในการรักษา cholera แทนได้ 

ยา Furazolidone เป็นยาที่ใช้เป็น antiprotozoal (Giardia amblia) และ antibacterial (staphylococci, enterococci, Escherichia coli, Salmonella spp. และ Vibrio cholerae) activity ที่ใช้รักษา giardiasis และ cholera มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็น G6PD เพราะเสี่ยงในการเกิด haemolytic anaemia 

VITAMIN C เป็นวิตะมินที่ละลายในน้ำ หมายความว่า ไม่สามารถเก็บสะสมในร่างกาย จึงต้องได้รับวิตะมินซีจากอาหารประเภทต่างๆ โดยร่างกายใช้วิตะมินซี ในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง กระดุก เอ็น หลอดเลือด 

VITAMIN C มีคุณสมบัติเป็น ANTIOXIDANT เช่นเดียวกับ VITAMIN E และ BETACAROTENE ยับยั้งการทำลาย  DNA จากอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิดโรคต่างๆ อาทิเช่น โรคหัวใจ ความดัน หวัด มะเร็ง ข้อเสื่อม หอบหืด 

การกิน VITAMIN C 500 MG + ZINC 80 MG + BETA CAROTENE 15 MG และ VITAMIN E 400 IU จะป้องกันการเกิด Age-Related Macular Degeneration (AMD) ที่ทำให้คนอายุมากกว่า 55 ปี ตาบอด

VITAMIN C ในผู้ใหญ่กินไม่เกินวันละ 500 - 1000 mg โดยดื่มน้ำตามมากๆ ในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะ หรือ กรดไหลย้อน สามารถใช้ "Buffered" vitamin C แทนวิตะมินซีปกติได้ 

ห้ามใช้
1.ผู้ที่แพ้ข้าวโพด ควรเลือกวิตะมินซีจากแหล่งอื่น อาทิเช่นจาก SAGO PALM
2. ผู้ที่เป็นโรคเลือดชนิดที่มีธาตุเหล็กเกิน Hemochromatosis  วิตะมินซีจะเพิ่มการดูดซึมเหล็กจากอาหาร จนเกิดอันตรายได้

ระมัดระวังการใช้
1. ผู้ป่วยโรคไต
2. ผู้ป่วยเบาหวาน การกินวิตะมินซีมากกว่าวันละ 300 มิลลิลกรัม จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

ห้ามกินวิตะมินซีร่วมกับยาดังนี้

- ASPIRIN และ ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAID จะเพิ่มการขับวิตะมินซีออกจากร่างกาย
- ยาคุมกำเนิด และ ESTROGEN จะมีระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้น และลดประสิทธิภาพของวิตะมินซี
- ยาแก้ปวดลดไข้ PARACETAMOL จะมีระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้น 
- ยาลดกรดชนิดเม็ดและน้ำ รวมทั้ง GAVISCON จะมีระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้น
- ยาฆ่าเชื้อ TETRACYCLINE MINOCYCLINE DOXYCYCLINE จะมีระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้น และลดประสิทธิภาพของวิตะมินซี


http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-c-ascorbic-acid

 
Photo

กลุ่มยาที่ให้ร่วมกันทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง
1. Carbamazepine (Tegretol)
2. Oxcarbazepine (Trileptal)
3. Phenytoin (Dilantin)
4. Phenobarbital
5. Primidone
6. Topiramate (Topamax)
7. Rifampicin
8. Griseofulvin
9. ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Azole เช่น Fluconazole (Diflucan), Itraconazole (Sporal), Ketoconazole (Nizoral)
10. ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease Inhibitors บางตัว เช่น Ritonavir (Norvir), Nelfinavir (Viracept), Lopinavir (Kaletra), Saquinavir (Fortovase)
11. Nevirapine (Viramune)
12. สมุนไพร St John’s Wort
ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมไปก่อนจนกว่าจะหยุดยานานมากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว

กลุ่มยาที่ให้ร่วมกันทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง
13. ยากลุ่ม Penicillins เช่น Ampicillin, Amoxicillin
14. ยากลุ่ม Tetracyclines เช่น Tetracycline, Doxycycline
ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย ระหว่างกินยาและหลังจากหยุดยาฆ่าเชื้อไปแล้วอีก 7 วัน

กลุ่มยาที่ให้ร่วมกันทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น
1. Ascorbic acid (Vitamin C)
2. Acetaminophen (Paracetamol)
3. Atazanavir (Reyataz)
อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะอาจต้องพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาฮอร์โมนโดสต่ำ ๆ หรือเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นแทน

http://www.bangkokhealth.com/health/article/ผลของยาอื่น-ๆ-ต่อยาเม็ดคุมกำเนิด-1841
Photo


เนื้อหมูกับการตกค้างของยาปฏิชีวนะ

>>>>>>>>เมื่อปีที่แล้ว เรารายงานไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 188 ตุลาคม 2559 ว่าพบ การตกค้างของยาปฏิชีวนะ 1 ตัวอย่าง คือ เมนูแซนวิชไก่อบ จากร้าน ซับเวย์ สาขาพารากอน โดยพบ Doxycycline ในกลุ่มยา Tetracycline ปริมาณ 13.73 ไมโครกรัม / กิโลกรัม(ug/kg) จากการสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 ตัวอย่าง ภายหลังการแถลงข่าวของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและฉลาดซื้อ ทางตัวแทนของซับเวย์ได้ติดต่อขอรายละเอียดและเมื่อได้พิจารณาผลการทดสอบของทางฉลาดซื้อแล้ว ได้ชี้แจงกลับมาว่า จะปรับปรุงเรื่องซับพลายเออ ซึ่งทางซับเวย์ในประเทศไทยใช้ซับพลายเออในประเทศ อีกทั้งยังให้คำมั่นว่า ประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ทางซับเวย์จะวางนโยบายเลิกใช้เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ
<<<<<<<<
อ่านเพิ่มเติมที่ลิ้งค์นี้>>>>https://goo.gl/AJ6dWC

การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอกไก่และตับไก่สด

ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด (ใน 3 กลุ่ม) จากตัวอย่างทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 41.93) แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 คือ Enrofloxacin หรือ Endrofloxacin (เอนโรฟลอคซาซิน) 5 ตัวอย่าง และ Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) 21 ตัวอย่าง โดยตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ 3 ชนิด Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) ส่วนอีก 36 ตัวอย่าง นั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้งสามกลุ่ม
ฉลาดซื้อ ปีที่ 25 ฉบับที่ 209 กรกฎาคม 2561

https://www.chaladsue.com/article/2885/อาหาร-ฉบับที่-209-การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอกไก่และตับไก่สด

ผู้ป่วยกินยา Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) เพื่อรักษาสิว​ ผ่านไป​ 2 วันเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล​ อาการแพ้ดังกล่าวเรียกว่า​ TEN - Toxic epidermal NECROSIS แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้น้อย​ราย​ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอาการแพ้ที่รุนแรง

💢💣💥🚫

Toxic epidermal necrolysis (TEN)

ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายไข้หวัด มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ เจ็บปวดตามตัว ต่อมาจะมีผื่นคล้าย MP rash ผื่นจะพองกลายเป็นตุ่มน้ำและหลุดลอกออกอย่างรวดเร็วเป็นแผ่นใหญ่ๆ เป็นแผลตื้นๆ มีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมๆ บริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ริมฝีปาก เยื่อบุตา หรือตามอวัยวะเพศมักมีการหลุดลอกร่วมด้วย มีเลือดออกซึมและเมื่อแห้งจะเป็นแผ่นสีดำคล้ำ อวัยวะภายในต่าง ๆ ก็อาจเกิดความผิดปกติ เช่นกัน กลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด หอบเหนื่อย ซึ่งมักเกิดจากร่างกายมีการสูญเสียน้ำปริมาณมาก ผู้ป่วยจะซีด เม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลง อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งจะแตกต่างจาก Steven Johnson syndrome (SJS) โดยพิจารณาจากความรุนแรงของผิวหนังที่เกิดการหลุดลอก ถ้าน้อยกว่าร้อยละ 10 ก็จัดเป็น SJS ถ้ามากกว่าร้อยละ 30 ก็จัดเป็น TEN

ยาที่มักเกิด SJS/TENที่จะกล่าวต่อไปนี้ถึงแม้จะเกิดน้อยแต่มักเกิดการแพ้ที่รุนแรงโดย ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและในเอกสารกำกับยาของยา 8 กลุ่ม 19 รายการ ดังต่อไปนี้
1.ยารักษาโรคเกาต์ ได้แก่ allopurinol
2.ยากันชัก ได้แก่ carbamazepine, phenobarbital, phenytoin และ lamotrigine
3.ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้แก่ ibuprofen, meloxicam, piroxicam และ tenoxicam
4.ยาต้านไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor ได้แก่ nevirapine
5.ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ได้แก่ co-trimoxazole, sulfadiazine, sulfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine
6.ยากลุ่มเพนนิซิลิน ได้แก่ amoxicillin
7.ยารักษาวัณโรค ได้แก่ rifampicin
8.Dapsone

จัดทำโดย นศภ.ฐากร ฉัตรอุทัย รหัสนักศึกษา 5700039 นักศึกษาฝึกงานชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต​ ฝึกงานผลัด​ S/2561. ร้านยา​ BETTER.​PHARMACY​ เชียงใหม่

อ้างอิงจากหนังสือตรงประเด็นเรื่อง Adverse Drug Reaction การประเมินผื่นแพ้ยา เล่ม 2 โดย จันทิมา โยธาพิทักษ์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Photo


เมื่อวานน้องมาเล่าให้ฟัง บอกไปหาหมอที่ XYZ หมอให้กิน ACNOTIN คู่กับยาฆ่าเชื้อแคปซูลสีเขียว สิวแห้งไปเลย หน้าไม่มัน ....

แต่ไม่รู้ว่าน้องจะรู้หรือเปล่าว่า ยา ACNOTIN ห้ามกินคู่กับยาแคปซูลสีเขียวที่ว่่า เพราะจะทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น จนอาจทำให้ตาบอดได้ แม้ว่าจะเกิดได้น้อย แตถ้าเป็นคลีนิกที่ดี มีเภสัชควบคุมเรื่องการจ่ายยา ก็จะทักท้วงหมอได้ว่า ห้ามจ่ายยานี้คู่กัน ....

http://www.drugs.com/drug-interactions/accutane-with-doxycycline-1403-828-940-0.html
http://www.drugs.com/food-interactions/isotretinoin,accutane.html
http://www.drugs.com/cdi/isotretinoin.html

#Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน)

มีรายงานการใช้ยา Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) แล้วทำให้เกิดผื่นแพ้แบบ Bullous Fixed Drug Eruption ซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำเกิดบนผื่นวงแดงคล้ำ.(หรือสีดำ) ตามเยื่อบุ เช่น ปาก หรืออวัยวะเพศ ตุ่มน้ำมักเกิดบริเวณที่เดิมที่เคยเกิดผื่นขึ้นมาแล้ว อาการร่วมมีตั้งแต่คัน แสบ จนถึงไม่มีอาการใด ๆ เลย ผู้ป่วยมักเป็นหลังจากได้ยา 2-3 วัน

Bullous Fixed Drug Eruption Caused by Doxycycline.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29989543

โรคตุ่มน้ำในเด็ก
http://www.dst.or.th/Publicly/Articles/1210.23.7/9FxxzoWvNa

Fixed drug eruption (FDE)
https://sites.google.com/site/drugallergiesmsu/drug_allergies/type/fixed-drug-eruption
Photo

อีสาวคนนี้กินด็อกซีซัยคลินนานเป็นปีเพื่อรักษาสิว สุดท้ายหวิดตาบอดจากอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น

กินยาหัดเตือนใจถึงพิษภัยที่เกิดขึ้นไว้บ้าง ...

" #Doxycycline is a commonly prescribed, very effective medication to treat acne," "The most common side effects include nausea, heartburn, and sensitivity in the sun."

After two years of taking the acne medication, something started to go very wrong. "The first sign anything was wrong was my back," O'Mahoney says. "I had severe pain that prevented me from doing anything for about two and a half weeks. We thought that it was a rib I had displaced at dance lessons. I was seeing a chiropractor, but nothing seemed to be working." Then she started to notice a ringing in her ears, but doctors said it was likely just due to a lack of circulation.

Finally, O'Mahoney's vision began to blur. she was finally diagnosed with intracranial hypertension — a condition "due to high pressure within the spaces that surround the brain and spinal cord," according to the National Eye Institute (NEI).
According to the Mayo Clinic, a potential side effect of doxycycline is intracranial hypertension. "This is more likely to occur in women of childbearing age who are overweight or have a history of intracranial hypertension," the website states.

https://www.allure.com/story/teen-blind-acne-medication-doxycycline


ในช่วงแรกของการรักษาสิว ตั้งแต่ปี 1950-1970 sensitivity ของ antibiotics ที่มีต่อ P.acnes ดีมาก จึงมีการใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาสิวกันอย่างแพร่หลาย

ในปี 1970 เริ่มพบการดื้อยาของเชื้อ P.acnes โดยเฉพาะในกลุ่ม erythromycin แต่ยังไม่เห็น impact ของการดื้อยา

ปี 1978-1988 การดื้อยาเพิ่มขึ้น 20% จากนั้น 10 ปีให้หลังการดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ erythromycin

ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของการเกิดเชื้อ P.acnes ดื้อยา เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และกลายเป็นปัญหาหลัก

ในปี 2003 ที่ประเทศสเปน ฝรั่งเศส คนไข้ 80% ดื้อต่อยาฆ่าเชื้อที่ใช้รักษา P.acnes ในฮ่องกง คนไข้ 50-60% ดื้อต่อยา erythromycin และ clindamycin

ปี 2016 ประเทศจีนมีปัญหาเชื้อดื้อยาที่สำคัญมากถึง 50-60%

เชื้อที่ดื้อต่อ erythromycin จะดื้อต่อ clindamycin ด้วยเช่นกัน ผลการวิจัยบางงานพบว่า topical clindamycin มีผลในการรักษาไม่ต่างจากยาหลอก เมื่อเชื้อดื้อยา ก็รักษาสิวได้ยากขึ้น ความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะลดลง
ส่วน Doxycycline และ Tetracycline จะดื้อยาในอัตราที่น้อยกว่า

มีการศึกษาพบว่า คนที่มีเชื้อดื้อยา จะแพร่กระจายการดื้อยาไปสู่คนในครอบครัวที่ติดต่อใกล้ชิดได้ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก คนไข้ที่เป็นสิวและมีเชื้อดื้อยา สามารถแพร่การดื้อยาให้กับคนใกล้ชิดมากถึง 40-80% ไม่เว้นแม้แต่หมอผิวหนัง 30% ที่มีเชื้อ P.acnes ดื้อยา เนื่องจากเชื้อที่ดื้อยา จะอยู่ในบริเวณที่ติดเชื้อนั้นเป็นเวลานาน

การกินยา หรือ ทายาฆ่าเชื้อ เพียงอย่างเดียว(topical antibiotic หรือ oral antibiotic monotherapy) เพียงแค่ 8 สัปดาห์ จะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา และเมื่อยิ่งใช้นานต่อไปเรื่อยๆ จำนวนของเชื้อดื้อยาก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการดื้อยาจึงเป็นปัญหาระดับโลก

เมื่อเชื่อดื้อยา
1.ประสิทธิภาพของยาในการรักษาสิวจะลดลง
2. เนื่องจาก P.acnes ก่อให้เกิดโรคในระบบต่างๆได้ จึงก่อโรคได้รุนแรงมากขึ้นจนอาจเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันมี case report ติดเชื้อสิวแล้วเสียชีวิต
3. สามารถส่งต่อการดื้อยาให้กับเชื้ออื่นๆที่อยู่บนผิวหนังได้ อาทิเช่น strep. staph. จะก่อให้เกิดการดื้อยาของเชื้ออื่นๆ เกิดความยากลำบากในการรักษาโรคอื่นๆ

มีงานวิจัยในผู้ที่ได้รับยาฆ่าเชื้อ จะพบว่า มีเชื้อ strep. อยู่ในลำคอ มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินยาฆ่าเชื้อ ซึ่ง 85% จะเป็นเชื้อ strep. ที่ดื้อยา tetracycline ที่ใช้รักษาสิว

คนที่ใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาสิว จะเป็นหวัดมากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาสิว 2.15 เท่า ซึ่งบางตัวอาจลามเข้าสู่กระแสเลือด และอาจก่อโรคที่รุนแรงขึ้นจนอาจเสียชีวิตได้

การใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาสิวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ 80% เป็นสิว สิวเป็นโรคเรื้อรังเทียบเท่ากับหอบหืด ใช้เวลาในการรักษานาน และใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาสิวอย่างพร่ำเพรื่อ มีงานวิจัยในหมอผิวหนัง 1% แต่สั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อมากถึง 5% ใน community นั้น ปัญหาเชื้อดื้อยาจึงเป็นปัญหาระดับโลก จึงต้องเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อในขนาดและระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้

การใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาสิว จะใช้ยาในกลุ่ม cycline ขนาดต่ำๆ ก็มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดีมาก โดยเลือก DOXY และ TETRACYCLINE เป็นอันดับแรก

ERYTHRO จะใช้ในผู้ที่กิน DOXY และ TETRA แล้วเกิดคลื่นไส้อาเจียนมาก แต่จะมีความนิยมน้อย เนื่องจากเชื้อดื้อยาเกิดขึ้นมาก

ORAL CLINDAMYCIN ใช้ได้ แต่ไม่นิยม เนื่องจากมี side effect ที่รุนแรงในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งกลุ่มที่ดื้อยา erythro จะมี cross resistance ต่อ CLINDA ด้วยเช่นกัน

BACTRIM หรือ QUINOLONES จะเป็น second line drugs ที่ไม่ค่อยนิยมใช้กัน



ที่มาของภาพ http://contemporarypediatrics.modernmedicine.com/contemporary-pediatrics/content/tags/acne/approach-acne-management


**ACNE2016**24
Photo


ใครที่ทนยา Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) ไม่ได้ สามารถใช้ยา Azithromycin (อะซิโธรมัยซิน) เพื่อรักษาสิวแทนได้ (azithromycin pulse therapy) ร่วมกับการทายา topical adapalene (Differin) ในตอนกลางคืน

azithromycin pulse therapy is equivalent to doxycycline at 12 weeks in the efficacy of the treatment for moderate to severe acne vulgaris Therefore, oral azithromycin pulse therapy may be a good alternative to doxycycline in the management of acne for those unable to tolerate doxycycline.

Comparison of the Efficacy of Azithromycin Versus Doxycycline in Acne Vulgaris: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30065581
Photo








ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................

No comments:

Post a Comment