Monday, November 5, 2018

อีสุกอีใส

หน้าหนาวให้ระวังโรคอีสุกอีใส

ผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัด ขณะเดียวกันก็จะมีผื่นขึ้นพร้อม ๆ กับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังมีไข้ ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ และคันมาก ลามไปทั่วร่างกาย ตามไรผม แล้วกระจายไปตามใบหน้าและลำตัว แผ่นหลัง หลังจากตุ่มน้ำใสขึ้นทั้งตัวแล้ว จะค่อย ๆ ยุบและแห้งลง และกลายเป็นสะเก็ดที่รอหลุด ระยะที่ตุ่มน้ำแห้งจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน และหลังจากนั้นจะเป็นเวลาที่สะเก็ดแผลจะค่อย ๆ แห้งขึ้นเรื่อย ๆ จนสะเก็ดหลุดออกเองและทำให้ผิวเป็นปกติ ซึ่งรวมระยะเวลาในการเป็นโรคอีสุกอีใสประมาณ 2 สัปดาห์ โดยทั่วไปผื่นหายได้โดยไม่มีแผลเป็น ยกเว้นมีเชื้อแบคทีเรียมาแทรกซ้อน โรคนี้เมื่อหายแล้วมักจะมีเชื้อหลบอยู่ที่ปมประสาท ซึ่งอาจจะออกมาเป็น งูสวัด ในภายหลังได้

การรักษาแบบเจาะจง คือ การใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้นซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง

ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ช่วงออกอาการไข้ไปจนถึงช่วงแผลแห้งตกสะเก็ด ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหากเพื่อป้องกันการติดต่อ โดยระยะแพร่เชื้อจะเริ่มตั้งแต่ 24 ชม. ก่อนที่ผื่นหรือตุ่มแห้งหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-7 วัน เช่น แยกห้องนอน รวมถึงแยกของใช้ของผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากการใช้ของร่วมกัน

วัคซีนอีสุกอีใสสามารถฉีดครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี และเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี วัคซีนโรคอีสุกอีใส นอกจากป้องกันโรคได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็น และช่วยลดความรุนแรงของโรคเมื่อเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสหลังฉีดวัคซีนแล้วด้วย ห้ามฉีดในหญิงมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือน หลังจากฉีดยา

โรคอีสุกอีใส วิธีรักษาอีสุกอีใส เด็กหรือผู้ใหญ่ก็เป็นได้
https://health.kapook.com/view9163.html

โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) หรือ Human herpes virus type 3 เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ โรคอีสุกอีใส ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือสัมผัสถูกของใช้ที่เปื้อนตุ่มน้ำของคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัด แม่กระทั่งสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางปากจมูก

สภาพอากาศหนาวเย็นยังส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของโรคอีสุกอีใสในเด็กกันเป็นจำนวนมาก มีทั้งไข้และคันตามเนื้อตามตัว อีกทั้งมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามตัว ทำให้เด็กที่เป็นโรคนี้ต้องเจ็บปวดและทรมานร่างกายมาก ทั้งยังต้องหยุดเรียนหนังสือ ปัจจุบันมีเด็กในจังหวัดพะเยาทุกโรงเรียน ยังพบเด็กเป็นโรคอีสุกอีใสกันมากอยู่ บางห้องเรียนเป็นโรคอีสุกอีใสกันกว่า 5 คน ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ 1-2 อาทิตย์

http://www.thairath.co.th/content/584559

ไข้ออกผื่นหมายถึง อาการเป็นไข้(ตัวร้อน)พร้อมๆกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามตัว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มไวรัส ได้แก่ โรคหัด หัดเยอรมัน(เหือด) อีสุกอีใส และส่าไข้ น้อยคนที่อาจเกิดจากการแพ้ยา ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 5-10 วัน

1. หัด จะมีไข้สูงจัดวันยังค่ำคืนยันรุ่ง (แม้กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยได้ผล) พร้อมกับอาการเป็นหวัดและไอ หน้าแดง ตาแดง หลังมีไข้ประมาณ 3-4 วัน จะมีผื่นแดงๆเล็กๆขึ้นตามหน้าแล้วกระจายไปตามลำตัวและแขนขา ขณะมีผื่นขึ้นก็ยังคงมีไข้สูงต่อไปอีก 1-2 วัน หลังจากนั้นไข้จึงค่อยๆลดลง คนไข้มักจะนอนซมและเบื่ออาหาร มักกินเวลาประมาณ 7-10 วัน กว่าจะหาย

2. หัดเยอรมัน จะมีไข้ไม่สูงนัก ครั่นเนื้อครั่นตัวเป็นพักๆ และมีผื่นแดงๆ เล็กๆ ขึ้นที่หน้า ลำตัว และแขนขา โดยมากจะไม่มีอาการของหวัดหรือไอ คนไข้จะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง สามารถกินข้าว วิ่งเล่น เรียนหนังสือ หรือทำงานได้เช่นปกติ ถ้าใช้นิ้วมือคลำบริเวณข้างคอ หลังคอ และท้ายทอย มักจะได้ก้อนตะปุ่มตะป่ำขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่บวมโตจากโรคนี้ มักจะหายได้ภายในเวลา 5-7 วัน

3. อีสุกอีใส จะมีไข้เป็นพักๆ และมีตุ่มใสๆ ขึ้นที่บริเวณหน้าและคอในวันแรกที่ไม่สบาย ต่อมาจะมีตุ่มใสๆขึ้นกระจายตามลำตัวและแขนขา มักจะมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาตุ่มจะค่อยๆสุก และตกสะเก็ด กินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์กว่าจะหาย

4. ส่าไข้ พบในเด็ก 1-2 ขวบ จะมีไข้สูงจัดตลอดเวลา (กินยาลดไข้ก็ไม่ได้ผล) นอนซึม และเบื่ออาหารโดยไม่เป็นหวัด จะจับไข้อยู่ประมาณ 3-4 วัน แล้วไข้จะลดลงได้เอง พอไข้ลดจะมีผื่นแดงๆเล็กๆ ขึ้นทั่วตัว ลักษณะแบบผื่นของหัด พอผื่นขึ้นเด็กจะกลับฟื้นคืนเป็นปกติทุกประการ ผื่นมักจะค่อยๆหายไปภายใน 3 วัน

5. แพ้ยา คนที่เป็นไข้หากกินยาแล้วมีอาการแพ้ ก็จะมีตุ่มนูนๆ ขึ้นแบบเดียวกับลมพิษ ซึ่งจะมีอาการคันคะเยอเป็นอย่างมาก บางคนอาจมีอาการบวมคันที่หนังตาและริมฝีปากร่วมด้วย คนไข้มักจะมีอาการหลังกินยา 15-30 นาที พอหมดฤทธิ์ยาผื่นอาจหายได้เอง แต่ถ้ากินยาแบบเดิมอีกก็จะมีผื่นคันเกิดขึ้นได้อีก คนไข้อาจมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ก่อน ยาที่แพ้ได้ง่ายได้แก่ แอสไพริน เพนิซิลลิน และซัลฟา

• พักผ่อนดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ (เช่น อาหารพวกเนื้อ นม ไข่ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค) ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้

• กินยาลดไข้ ถ้ามีไข้สูง ตัวที่แนะนำคือ พาราเซตามอล ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ถึง 2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง

• ถ้ามีอาการคัน ให้ทายาแก้ผดผื่นคัน (คาลาไมน์โลชั่น) และควรตัดเล็บให้สั้น ป้องกันมิให้เกาจนติดเชื้อที่ผิวหนัง

• ยาปฏิชีวนะไม่ต้องให้ ยกเว้นเมื่อมีเสลดสีเหลืองหรือเขียวหรือตุ่มกลายเป็นหนอง


https://www.doctor.or.th/article/detail/5692
http://www.bangkokvoice.com/2013/06/03/bv-health-41/
http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/viral_infection.htm

อาการของโรคงูสวัดจะเริ่มจากการปวดแสบร้อนบริเวณชายโครง, ใบหน้า และแขน เมื่อผ่านไปได้สัก 2-3 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแสบและกลายเป็นตุ่มน้ำใส โดยผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่มหรือเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท ตามปกติผื่นอาจจะหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์

จุดที่น่ากลัวจริง ๆ คือ "ภาวะแทรกซ้อน" เช่น อาการปวดเรื้อรังอีก 3-12 เดือน, การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณตา, ภาวะแทรกซ้อนทางหู หรืออาจรุนแรงระดับปอดอักเสบ และเยื้อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนพบมากถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุเกิน 50 และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุเกิน 70 ปี

อาการปวดจากโรคงูสวัดยังมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตผู้ป่วย อาทิ เกิดอาการเหน็บชา, ขยับร่างกายไม่ได้, เบื่ออาหาร, นอนไม่หลับ, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, อารมณ์แปรปรวน, สูญเสียความมั่นใจ, ไม่อยากเข้าสังคม และยิ่งผู้ป่วยมีอายุมาก อาการก็อาจจะรุนแรงตามไปด้วย และอาจเรื้อรังเป็นแรมปี

เชื้อไวรัสซอสเตอร์ติดต่อผ่านทางการหายใจและสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง หากเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคอีสุกอีใส 

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, เด็กเล็ก, สตรีมีครรภ์, ผู้ป่วยเบาหวาน, ไตวายเรื้อรัง, ปอดอุดตันเรื้อรัง ก็ต้องหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคงูสวัด เพราะมีความเสี่ยงต่อโรคสูงไม่แพ้กัน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438228765

Triamcinolone Acetonide Dental Paste USP, 0.1%

ยาทาแผลในปาก

มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้คัน และทำให้หลอดเลือดหดตัว โดยไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคและไม่ได้แก้ปวด ใช้นิ้วป้ายยา ทาบางๆ วันละ 2-4 ครั้ง หลังอาหาร และ ก่อนนอน

ห้ามใช้ในช่องปากและลำคอที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส เช่น อีสุกอีใส เริม งูสวัด วัณโรค
ผลข้างเคียงคือกดภูมิต้านทาน ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดเชื้อราในช่องปาก ถ้าทาแล้วไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ให้หยุดยา และไปพบทันตแพทย์ หรือ แพทย์

เนื่องจากยาทาในช่องปากจะมีการดูดซึมเหมือนการกินยา การใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็ก จึงควรพิจารณาระหว่างข้อดีและข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

เก็บยานี้ที่เย็น หรือ อุณหภูมิห้อง อย่าเก็บยาในช่องแช่แข็ง
ถ้าทิ้งไว้นานยาจะแข็งใช้ไม่ได้

ใช้ยาระวังพิษ รักชีวิตอย่าคิดลองยา
มีปัญหาเรื่องการใช้ยา โปรดปรึกษาเภสัชกร

https://www.drugs.com/pro/triamcinolone-paste.html
http://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3
Photo

เจลสร้างเนื้อเยื่อแผลหายเร็วมาก ซอคโคเซอรีล Solcoseryl Jelly 10% ขนาด 20 กรัม

เจลรักษาแผลสด แผลไฟไหม้ แดดเผา น้ำร้อนลูก แผลกดทับ แผลเรื้อรัง เนื้อเจลมีคุณสมบัติคงความชุ่มชื้นให้แก่ผิวทำให้เซลล์ และยังเร่งขบวนการสมานแผล ผลทำให้แผลหายเร็ว การสร้างผิวหนังสมบูรณ์ ลดการเกิดแผลเป็น

แผลที่เหมาะสมต่อการใช้ซอคโคเซอรีล Solcoseryl Jelly 10% คือ แผลสด แผลถลอกขีดข่วน แผลสดจากแผลไฟไหม้ แผลสดจากการถูกท่อไอเสียรถ แผลเปิดน้ำร้อนลวก แผลรูลึก แผลอีสุกอีใส แผลกดทับของผู้ป่วย แผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถใช้กับแผลสดรอยสิวได้

สามารถใช้ได้ทั้งเด็กเล็ก ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรได้ มีความปลอดภัยสูง

วิธีการใช้ ทาบางๆบริเวณแผล ทุกครั้งที่ทำแผล หรือเปลี่ยนผ้าก็อซ เริ่มตั้งแต่แผลยังเป็นแผลสด

**การล้างแผลให้ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ ไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ในการล้างแผล เพราะแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ จะไปขัดขวางการสร้างเซลล์ใหม่ โดยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ เป็นการล้างคราบเจลที่ทาออก หลังจากนั้นทาเจลใหม่ทับได้เลย อาจปิดปากแผลได้ เพื่อช่วยให้การสมานแผลรวดเร็วขึ้น*

*การปิดแผลด้วยผ้าก็อซ บางครั้งเมื่อเปลี่ยนจะมีการติดของแผลกับผ้าก็อซ ทำให้เจ็บ หรือมีเลือดออก อาจใช้แผ่นรองแผลที่มีขี้ผึ้งฆ่าเชื้อ เผื่อป้องกันไม่ให้ผ้าก็อซดึงเนื้อแผล*

>>>>>>>

เป็นยาเร่งเนื้อเยื่อ หมอให้ใช้เวลาทำเลเซอร์ที่หน้า หมอบอกว่ามันเป็นเจลลี่ช่วยเคลือบไว้ไม่ให้แผลมันสะเก็ดจ้า ถ้าแผลมันไม่ตกสะเก็ดมันก็จะสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาเติม หน้าจะได้ไม่เป็นหลุม หรือ เอาไว้ทาสมานแผลเวลาไปแกะสิวช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น...

หาซื้อที่ไหนไม่ได้ มาเลย @Better Pharmacy - เจ็ดยอด เชียงใหม่​
แต่ถ้าของหมดต้องขออภัย เพราะมีลูกค้าซื้อใช้ประจำ ใช้กับคนที่เป็นแผลกดทับ โดยทาเจลทุกครั้งที่เปลี่ยนแพมเพิส นอกเหนือจากนี้ก็ยังมี น้ำมันเขียวจันทน์ไม้หอม ที่เร่งการสร้างเนื้อเยื่อในแผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลผ่าตัด และแผลอื่นๆได้เช่นกัน
Photo

วัคซีนพื้นฐาน EPI program ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)

วัคซีนทางเลือก (Optional Vaccine) เช่น วัคซีนเสริมป้องกันโรคอุจจาระร่วงโรต้า วัคซีนเสริมป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ วัคซีนเสริมป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนเสริมป้องกันเชื้อฮิบ วัคซีนเสริมป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนเสริมป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ วัคซีนเสริมป้องกันไอพีดี (หรือนิวโมคอคคัส คอนจูเกต) วัคซีนเสริมป้องกันไข้หวัดใหญ่

วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ Recommended vaccine for travelers ควรปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง

มีสรรพคุณ เป็นยาเย็น หอมเย็น หรือ บางชนิดมีรสขม เมื่อประกอบเป็นตำรับแล้ว จัดเป็นยาเย็น ทำให้ตำรับยาเขียวส่วนใหญ่มีสรรพคุณ ดับความร้อนของเลือดที่เป็นพิษ มักใช้ยาเขียวในเด็กที่เป็นไข้ออกผื่น เช่น หัด อีสุกอีใส เพื่อกระทุ้งให้พิษไข้ออกมา เป็นผื่นเพิ่มขึ้น และหายได้เร็ว 

การใช้ยาเขียวในโรคไข้ออกผื่นในแผนไทย ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส แต่ต้องการกระทุ้งพิษที่เกิดขึ้นให้ออกมามากที่สุด ผู้ป่วยจะหายได้เร็วขึ้น ผื่นไม่หลบใน มีหลายคนที่กินยาเขียวแล้วจะรู้สึกว่ามีผื่นขึ้นมากขึ้นจากเดิม แพทย์แผนไทยจึงแนะนำให้ใช้ทั้งวิธีกินและชโลม โดยการกินจะช่วยกระทุ้งพิษภายในให้ออกมาที่ผิวหนัง และการชโลมจะช่วยลดความร้อนที่ผิวหนัง

ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก 

Acyclovir

อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เป็นยาต้านเชื้อไวรัสโรคเริม ชนิด HSV-1, HSV-2 ที่แสดงอาการในบริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ริมฝีปาก อวัยวะเพศ หรือ

แม้แต่เยื่อหุ้มสมอง นอกจากนี้ยังใช้รักษาโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใส โดยบรรเทาอาการปวด ลดระยะเวลาเกิดเป็นแผลตุ่มน้ำพอง

ใช้ได้ในหญิงมีครรภ์ (USFDA Pregnancy Category B) และหญิงให้นมบุตร
ในกรณีที่ใช้ยาทา ควรใช้แบบครีมหรือเจลที่ละลายน้ำได้ ไม่ควรใช้แบบขี้ผึ้ง

ห้ามใช้
1.ผู้ที่แพ้ยา Acyclovir หรือ Valacyclovir

ข้อแนะนำ
1.ดื่มน้ำตามมากๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ที่กินยามากกว่าวันละ 4 กรัม
2.ระวังในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคทางระบบประสาท

จะต้องะมัดระวังเมื่อกินร่วมกับยาดังนี้
1. CIMETIDINE, PROBENECID จะเพิ่มระดับยา Acyclovir
2. ciclosporin จะต้องตรวจการทำงานของไต
3. theophylline จะทำให้เกิดพิษจาก theophylline
4. zidovudine จะทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท มึนงง เซื่องซึม

Acyclovir จะเพิ่มการขับออกของ
Vitamin B12
Vitamin K
Calcium
Chromium
Vitamin B6

หยุดยาทันทีเมื่อ
1.มีจุดจ้ำเลือดเกิดใต้ผิวหนัง
2.ปัสสาวะลดลง หรือ ฉี่ไม่ออก ข้อเท้าบวม หายใจลำบาก

อาการข้างเคียงอื่นๆจากการใช้ยา
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องเสีย
รู้สึกไม่สบายตัว

ขนาดยาในผู้ป่วย severe aids with CD4 count <50/µLและ ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูก
ให้กิน Acyclovir 800 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง
Photo

 ล้างมือสำคัญอย่างไร                          
 มือเป็นสิ่งที่เราใช้ตลอดเวลา และโรคหลายโรคก็ติดต่อทางมือ โดยมือเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อทั้งทางเดินหายใจและการสัมผัส


โรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านทางมือที่พบบ่อยๆคือ
    1.โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ใข้หวัดใหญ่ โรคหัด หัดเยอรมัน
    2.โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค    โรคพยาธิชนิดต่างๆซึ่งติดต่อใด้จากการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้แล้วหยิบจับอาหารเข้าไป
    3.โรคติดต่อทางการสำผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา โรคเริม
    4.โรคที่ติดต่อได้หลายทาง เช่น โรคอีสุกอีใสอาจติดต่อได้จากการสำผัสและจากการหายใจ



ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
หยุด!เชื้อโรคร้ายเข้าสู่ร่างกายคุณ
ด้วยการล้างมือให้สะอาดถูกวิธี 7 ขั้นตอนอย่างง่าย
ตามชื่อขนมกันนะค่ะและใช้สบู่ทุกครั้งในการล้างมือ

1.ขนมถั่วแปบ ฝ่ามือถูฝ่ามือ
2.ขนมชั้น ฝ่ามือถูหลังมือ และนิ้วถูซอกมือ
3.ขนมสอดไส้ ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
4.ขนมซาลาเปา หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
5.ขนมทองม้วน ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
6.ขนมจีบ ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ
7.ขนมโดนัท ถูรอบข้อมือ

ปฏิบัติครบ 7 ขั้นตอน
สุขภาพดี ชีวีมีสุข

http://student.mahidol.ac.th/~u4909260/page%204.htm
http://www.piyapong.ac.th/ข่าวสารสัมพันธ์/วิธีการล้างมือ-7-ขั้นตอนอย่างถูกสุขลักษณะ.html
Photo

ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก…

ยาเขียว บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ควรใช้น้ำกระสายยา เพื่อช่วยละลายตัวยา ทำให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น แรงขึ้น เช่น น้ำสุก น้ำดอกมะลิ มีรสหอมเย็น ช่วยเสริมฤทธิ์ของยาตำรับ

ยาเขียวยังใช้เป็นยาแก้ไข้ออกผื่น เช่น หัด อีสุกอีใส ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ทั้งวิธีกินและทาหรือชโลม การใช้ยาเขียวในโรคไข้ออกผื่นในแผนไทย ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส แต่ต้องการกระทุ้งพิษที่เกิดขึ้นให้ออกมามากที่สุด ผู้ป่วยจะหายได้เร็วขึ้น ผื่นไม่หลบใน

ตำรับยามีองค์ประกอบเป็นดอกไม้ 4 ชนิด ได้แก่ พิกุล บุนนาค สารภี เกสรบัวหลวง ซึ่งมีละอองเรณูผสมอยู่ ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีประวัติการแพ้ละอองเกสรดอกไม้

นอกจากนี้ยังไม่เคยมีรายงานความปลอดภัยในกลุ่มคนไข้เลือดออก อีกทั้งสมุนไพรส่วนหนึ่งมักมีรายงานการยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด หรือละลายลิ่มเลือด เช่น พรมมิ เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/156/ยาเขียว-ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก/
Photo


ส่าไข้ : จะเกิดผื่นแดงขึ้นหลังจากที่ไข้ลดลงแล้วเท่านั้น มีลักษณะเป็นจุดแดง ไม่มีอาการคัน

หัด : จะมีผื่นขึ้นในระหว่างที่ยังเป็นไข้ (ประมาณวันที่ 4 ) ผื่นของหัดจะขึ้นจากตีนผม ซอกคอก่อน แล้วลามไปตามใบหน้าลำตัวและแขนขา เมื่อหายแล้วจะพบรอยดำจางๆของผื่นหลงเหลืออยู่บ้าง

อีสุกอีใส :ผื่นจะขึ้นในวันที่ 1-2 ของการเป็นไข้ โดยจะเป็นผื่นแดงราบก่อน แล้วจึงกลายเป็นตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง

กว่าที่เราจะทราบว่าเป็นส่าไข้จริงๆ ก็ต่อเมื่อไข้ลดและออกผื่นแล้ว ซึ่งก็เป็นระยะครบวงจรของโรคแล้ว และการออกผื่นก็ไม่ได้มีอาการคันใดๆ ผื่นสามารถหายได้เองในระยะเวลา 3-5 วัน

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pookpause&month=24-07-2011&group=3&gblog=27
http://womenways.club/ส่าไข้-ไข้ลดเมื่อไหร่ผ/
Antiviral therapy of varicella-zoster virus infections

Primary infection caused by varicella-zoster virus (VZV) is manifest by varicella (chickenpox), while reactivation of latent virus causes herpes zoster (shingles). In immunocompetent children, varicella is usually not a serious disease, but can cause severe morbidity and mortality in adults and in immunocompromised individuals. Similarly, herpes zoster is associated with much greater morbidity in patients with impaired cell-mediated immune responses. In addition, herpes zoster can cause prolonged pain (postherpetic neuralgia) that can be very difficult to manage, particularly in older individuals. The outcomes of varicella and herpes zoster, especially in immunocompromised patients, have been dramatically improved by the development of safe and effective antiviral drugs with potent activity against VZV. Early drugs with modest efficacy and substantial toxicity (e.g., interferon, vidarabine, etc.) have been replaced by antiviral agents with enhanced in vitro activity, improved pharmacokinetic properties, and excellent safety profiles.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK47401/
Photo

Chickenpox
Key points to remember

Chickenpox is very easy to catch, and is infectious for one to two days before the rash starts up until the last blister has dried.

The rash usually starts between 10 to 21 days after the first exposure to chickenpox.

Antibiotics will not cure chickenpox.

A chickenpox vaccination is given to children aged 18 months as part of their normal schedule of vaccinations.

The Royal Children's Hospital Melbourne
https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Chickenpox_Varicella/


😍สรุปการรักษาสุกใส แบบรวมตำรา5เล่ม
👶🏻ตำราเด็ก(Nelson/Redbook)
👴🏻ตำราผู้ใหญ่ (Sandford/Mandell/Harrison)

😅สรุปความรู้ดังนี้
1)ไวรัสสุกใสจะหยุดแบ่งตัวหลังจากผื่นขึ้นแล้ว 3 วัน แพร่กระจายก่อนตุ่มขึ้น2วันและหยุดแพร่กระจายเมื่อทุกตุ่มตกสะเก็ด

2)การให้ยา Acyclovir (ช่วยลดอาการได้1วันและลดตุ่มได้25%)
พิจารณาดังนี้
2.1)ควรให้ภายใน24ชม.หลังผื่นขึ้น ในคนปกติอย่างช้าไม่เกิน72ชม.หลังผื่นขึ้น
(ส่วนคนภูมิคุ้มกันต่ำควรให้หลังผื่นขึ้นไม่เกิน72ชม.)
😀ให้กับใครบ้าง!!!!
ทุกแนวทางทุกตำราไม่ใด้ให้ทุกคน..จะให้เมื่อ...
2.2)ให้ในเด็กคลอดก่อนกำหนด, อายุ >12ปี,วัยรุ่น,ผู้ใหญ่ตอนต้น(adolescent/young adults)เนื่องจากอายุช่วงนี้เป็นแล้วจะรุนแรง,มีโรคประจำตัวคือ โรคผิวหนัง,โรคปอดเรื้อรังเช่น COPD,Asthma,BPD,กิน ASA แบบระยะยาว(เสี่ยงเกิด reye syndrome), ใช้steroid แบบพ่นทั้ง short,intermittent, เป็นเคสที่2(ส่วนใหญ่จะอาการหนักกว่าคนแรก)

😂3)ขนาดยา
3.1)Redbook2015/Mandell/Sandford/Nelson/Harrison)
:-แบบยากิน;
📌กรณีไม่รุนแรง
-เด็กอายุ<16ปี-Acyclovir(20mg/kg/dose)ให้4เวลา ระยะเวลานาน 5วัน, สูงสุด 3,200 mg/day (หรือ 800 mgx4เวลา)

📌กรณีรุนแรง
เช่นปอดอักเสบหรืออายุ>16ปี,วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ -ให้ 800mgx5 เวลา (6,10,14,18,22น. )(สูงสุด 4,000mg/day) ระยะเวลา5วัน

:-แบบฉีด กรณีคนไข้ภูมิคุ้มกันต่ำ
Acyclovir 30mg/kg/dayหรือ 1,500mg/m2/day แบ่งให้3เวลา นาน7-10วัน

Acyclovir ให้ในหญิงตั้งครรภ์ได้ (class B)

👅ปล...ปกติแอดมินให้เกือบทุกราย..ถ้ามาเร็วภายใน1-3วัน..ประโยชน์ ช่วยลดไวรัสแบ่งตัว ลดจำนวนตุ่ม ลดอาการรุนแรง ลดการแพร่กระจาย+ แนะนำกินน้ำเยอะๆเพราะขับทางไต อย่าล้วงแคะแกะเกา ตัดเล็บ(กลัวติดแบคทีเรียซ้ำเติม).. ส่วนยาเขียว no comment

😻😻จำง่ายๆๆ✌🏻✌🏻
(1)เด็ก 20 mg/kg/dose ให้ 4 เวลา
(สูงสุด 800 mg กิน 4 เวลา ;5วัน) ไม่เกิน3,200mg/day
(2)ผู้ใหญ่ 800 mg กิน 5(ไม่เกิน4,000mg) เวลา (6,10,14,18,22) จำนวน5วัน

😈แอดมินสายโหด
Infectious ง่ายนิดเดียว
24 April 2017 ·




ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2018.11.05

No comments:

Post a Comment