Monday, November 5, 2018

เสียงจิ้งหรีดในหู

สัญญาณอันตรายจากหู ที่ควรไปพบแพทย์
1.ได้ยินเสียงตุ้บๆเหมือนเสียงหัวใจเต้นในหู ให้ระวังเรื่องความดันในหูชันกลางสูง อาจเกิดจากเนื้องอกบางชนิด
2. ได้ยินเสียงจี๊ดๆ เหมือนเสียงจิ้งหรีดร้องในหู ให้ระวังเรื่องเส้นประสาทหูเสื่อม เมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น บ้านหมุน หูอื้อ ได้ยินเสียงเบาลง พบได้บ่อยในคนเครียดจัดๆ หรือ กินเค็มจัดๆ
3. หูดับฉับพลัน หรือ หูอื้อตอนตืนนอน ให้ระวังแก้วหูทะลุ หรือ มีสิ่งอุดตันในรูหู
4. ได้ยินเสียงคนพูดในหู โดยไม่มีคนอยู่ (โรคจิตเภทเบื้องต้น)
Add a comment...

สัญญาณเตือนสำหรับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ที่พอสรุปได้ ประมาณ 18 อาการ ดังนี้

1.วิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนบ้านหมุนติ้ว 2. เกิดอาการหน้ามืดจนเป็นลม 3.ภายในกระเพาะอาหารรู้สึกปั่นป่วน 4.คลื่นไส้อาเจียน 5.เหงื่อออกมากผิด ปกติ 6.หูอื้อ คล้ายน้ำเข้าหู 7.มีเสียงดังในหูคล้ายกับจิ้งหรีด หรือแมลงร้อง 8. รู้สึกตึงๆ ภายในหูเหมือนมีแรงดันอยู่ 9.เริ่มมีปัญหาการได้ยิน ได้ยินเสียงเบาลง 10.รู้สึกหนักหรือหน่วงๆภายในหู 11.นอนไม่หลับ 12.ควบคุมการทรงตัวไม่ได้ 13.เกิดอาการบวมคั่งของน้ำในหูชั้นใน 14.ปวดศีรษะคล้ายไมเกรน 15.เดินหรือยืนไม่ได้ เกิดอาการเซล้มลงทุกที 16.สายตาเริ่มพร่ามัว 17.เกิดหูแว่ว หรือได้ยินเสียงอะไรเบาๆ อยู่ข้างหู 18.อาจถึงขั้นหูดับหรือหูตึงได้


ถามว่าเสียงวิ้งในหูจะหายไปได้ไหม ตอบว่า ยากส์..ส์ มีตัวเอสด้วยนะ แปลว่ายากมาก แต่ว่ามีโอกาสที่มันจะรบกวนเราน้อยลง แปลไทยให้เป็นไทยก็คือว่าทนๆไปเถอะ เดี๋ยวก็จะด้านไปเอง

มันเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการถ่ายทอดและรายงานเสียงนับตั้งแต่หูชั้นกลาง หูชั้นใน เส้นประสาท ก้านสมอง และเนื้อสมองใหญ่ มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เราบอกสาเหตุได้จริงจัง

หูโดนพิษยา (ototoxicity) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เพราะยาที่เป็นพิษต่อหูมีมาก ที่ใช้กันมากที่สุดก็คือยากล่อมประสาทหรือยาคลายกังวล (benzodiazepine) และยาต้านซึมเศร้าทั้งแบบเก่า (tricyclic) และแบบใหม่ (SSRI), ที่ใช้กันมากรองลงไปก็ได้แก่ยาปฏิชีวนะกลุ่ม aminoglycoside และยาปฏิชีวนะยอดนิยมปัจจุบันอย่าง clarithromycin, ยาหัวใจกลุ่ม ACEI, ยาแก้ปวดแก้อักเสบสมัยใหม่กลุ่ม COX-2 inhibitor, ยารักษาโรคกระเพาะ (proton pump inhibitor) ยาความดัน (calcium blocker) ยาขับปัสสาวะ ยารักษาต่อมลูกหมากโต, ยากันชัก

วิธีรักษาขั้นต่อไปก็คือ make your heart แปลว่า “ทำใจ” ไงครับ เป็นวิธีรักษาที่เจ๋งที่สุด เพราะงานวิจัยพบว่าไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงก็ดี ความดังก็ดี ล้วนไม่ใช่ตัวกำหนดคุณภาพชีวิตของคนเป็นโรคเสียงวิ้งในหู การสนองตอบของเจ้าตัวเองต่างหาก ที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิต
รู้จักยาละลายขี้หู. นายแพทย์จรัล กังสนารักษ์

ยาละลายขี้หู หรือยาหยอดที่ทำให้ขี้หูอ่อนตัว
ขี้หู (Ear wax) สร้างจากต่อม apocrine และ sebaceous สามารถต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและราได้ ขี้หูจะถูกขับออกมาได้เองโดยการเคลื่อนตัวออกของ epithelium migration แล้วมาค้างตาม 1/3 ของรูหูส่วนนอก ขณะที่เคี้ยวอาหาร หาว และกลืนน้ำลาย จะเกิดการดึงรั้งขี้หูให้มาค้างอยู่ตามบริเวณรูหูส่วนนอก
ขี้หูอุดตันเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
- การใช้ไม้พันสำลี (cotton bud) การปั่นหูกลับทำให้ขี้หูถูกดันลึกเข้าไป
- รูหูที่คดเคี้ยว
- ต่อมไขมันน้อยเกินไปทำให้ขี้หูขาดความชื้น
- และขนในรูหูมีมากเกินไป
ในกรณีที่ขี้หูอุดตันและแข็ง ติดแน่นจนไม่สามารถเอาออกได้โดยวิธีคีบเกี่ยวออก หรือวิธี ล้างหู ควรหยอดสารที่ทำให้ขี้หูอ่อนตัวก่อน 3-5 วัน ค่อยมาเอาออกภายหลัง สารดังกล่าวที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันทาผิวเด็ก(baby oil)
พึงระลึกไว้เสมอว่า หลังจากให้หยอดยาเหล่านี้แล้ว ต้องไปเอาขี้หูที่เหลือออกภายใน 3-5 วัน การใช้ยาหยอดติดต่อกันนานเกินไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองมาก ถ้าไม่แน่ใจว่าแก้วหูทะลุ ไม่ควรใช้ยาหยอดเหล่านี้ เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นในทำให้หูหนวกได้

https://www.facebook.com/dcj.sink/posts/606863782679702
ยาหยอดหู - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย
http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=17

คำแนะนำการใช้ยาหยอดหู

1. ตรวจดูชนิดของยาให้ถูกต้อง สำหรับยาที่เก็บในตู้เย็น ก่อนหยอดควรให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย เช่น ใส่ในกระเป๋าเสื้อสักครู่
2. ตะแคงศีรษะให้หูข้างที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน
3. ใช้ไม้พันสำลีเช็ดหนองออกจากรูหูให้สะอาด
4. ในผู้ใหญ่ดึงใบหูให้รูหูตรง โดยดึงใบหูไปด้านหลัง และดึงขึ้นด้านบน ส่วนเด็กให้ ดึงใบหูให้รูหูตรง โดยดึงใบหูไปด้านหลังและดึงลงด้านล่าง
5. หยอดยาเข้าไปในรูหู ตามที่แพทย์สั่ง
6. ตะแคงศีรษะไว้นาน 5-10 นาที เพื่อให้ยาสัมผัสกับผิวหนังมากที่สุด และมีเวลาดูดซึมเพียงพอ สำหรับการหยอดยาละลายขี้หูควรตะแคงศีรษะอย่างน้อย 15 นาที
7. เช็ดยาที่ไหลออกมานอกรูหู ไม่ควรเช็ดในรูหู ในกรณีแก้วหูทะลุ ยาอาจไหลลงคอทำให้รู้สึกขมในคอได้
8. ถ้ารูหูบวมมาก ไม่แน่ใจว่าจะหยอดยาผ่านเข้าไปได้หรือไม่ ควรใช้สำลีปั่นเป็นเส้นเล็กๆ แล้วสอดเข้าไปในรูหู เพื่อหยอดยาผ่านสำลีนี้ ควรเปลี่ยนสำลีทุกวัน จนกระทั่งรูหูกว้างพอที่จะหยอดยาได้ตามปกติ
9. หากมีผื่นบวม แดง หรือปวดหูมากขึ้นให้หยุดยา แล้วปรึกษาแพทย์ทันที

ข้อควรระวังในการใช้ยาหยอดหู
1. ในส่วนของยาหยอดหูที่เป็นยาปฏิชีวนะระวังในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยานั้น
2. ยาหยอดหู ที่มีส่วนผสมของยาต้านฮีสตามีนหรือยากลุ่ม decongestants ก็อาจมีอาการ ปากแห้ง ง่วงซึม และ มองเห็นภาพไม่ชัดได้
3. ยาหยอดหูที่มีส่วนประกอบของยาชา อาจเกิดอาการแพ้ได้ และดูดซึมได้ไม่ดีซึ่งทำให้ไม่นิยมใช้เนื่องจากสามารถลดอาการปวดหู โดยใช้ paracetamol แทนได้
4. ห้ามใช้ยาหยอดหูเองในกรณีที่มีเยื่อแก้วหูฉีกขาด
5. ผู้ป่วยที่ใช้ยาหยอดหูแล้วมีอาการบวมแดง หรือเป็นตุ่มใสขึ้นที่รูหูและใบหู อาจเกิดจากการแพ้ยา จึงควรจะหยุดยาหยอดหูนั้นทันที
6. การใช้ยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยากลุ่มสเตีรอยด์เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อราในรูหู
7. ถ้ายาหยอดหูมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายมาก ให้กำยาไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิก่อนหยดยาเพราะหากหยอดยาที่เย็นเกินไปลงในที่เยื่อแก้วหู จะมีผลต่อโครงสร้างของหูชั้นในทำให้เกิดอาการวิงเวียนและคลื่นไส้ได้

http://pharm.kku.ac.th/thaiv/pharmpractice/eent/lesson/ears/ear-doc.pdf
http://www.samrong-hosp.com/คัมภีร์การใช้ยา/ยาสำหรับหู

มีเสียงในหูเกิดขึ้นมาแทนที่ เป็นเสียงคล้าย ๆ เครื่องบินเจ็ท เวลาเรานั่งเครื่องบินจะได้ยินเสียงแบบนั้น นอกจากนั้นก็เป็นเสียงคล้าย ๆ จิ้งหรีดเรไรร้องอยู่ไกล ๆ เป็นแบบนี้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

อาการแบบนี้ทำให้เครียดจัดเลยครับ เมื่อรู้ว่ามันมีอาการแบบนี้ก็ไปหาหมอ ตรวจพบวา่าการฟังเสื่อมลงมากในหูข้างขวา หมอพยายามจัดยารักษาแบบฉุกเฉิน เป็นยาขยายหลอดเลือดฝอยในสมอง ยากระตุ้นการทำงานของสมองและประสาทการรับฟังที่เส้นเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงมันตีบ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากตรวจพบว่าความดันผมอยู่ที่ ๑๘๐/๘๔ หัวใจเต้น ๘๐ ครั้ง/นาที

ผมไม่รู้มาก่อนว่าความดันสูง เนื่องจากก่อนหน้านั้นสองปีเคยวัดอยู่ที่ ๑๔๐/๗๐ ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่อนข้างสูง
ปั่นจักรยานหนีโรคร้าย จากอดีตผมเคยเกือบพิการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เมื่อเส้นเลือดฝอยในสมองมันตีบเนื่องจากความดันโลหิตสูงมาก ทำให้เล้นเลือดเริ่มแข็งตีบลง เมื่อเกร็ดเลือดไปอุดตันจึงทำให้หูดับ การทรงตัวเสียไปบ้าง การพื้นฟูร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องที่ต้องจริงจังอย่างมาก หาไม่แล้วคงไม่มีวันนี้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ขณะที่ผมขับรถอยู่ก็เกิดหูดับไปทันทีทันใดแบบปิดสวิทช์ ผมตกใจมาก เพราะเสียงมันผิดไปหมด รถที่เสียงเงียบ ๆ กลับดั่งก๊อกแก๊ก ๆ ๆ ความถี่บางช่วงที่ก่อนหน้านั้นหูคนไม่ได้ยินกลับได้ยินชัดมากขึ้น เป็นกับหูข้างซ้าย แต่หูข้างขวาดับไปเลย แทบไม่ได้ยินเสียง

ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น ลงไปเปิดฝาโปรงรถดูเครื่องยนต์ก็ปกติ เมื่อกลับขึ้นมานั่งตำแหน่งคนขับพูดกับพ่อที่นั่งข้าง ๆ ปรากฏว่าผมไม่ได้ยินเสียงพ่อผมพูดตอบมา

เหตุเกิดแถว ๆ ทางขนานใต้ทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ใกล้เขตวังทองหลาง ผมก็พยายามขับรถกลับบ้านบางกะปิ อาบน้ำ พบว่าน้ำฝักบัวเสียงดังเหมือนน้ำตก มอเตอร์ไซค์ที่วิ่งในซอยเสียงดังเหมือนเฮลิคอปเตอร์ แต่เป็นเสียงที่ผิดเพี้ยนไปหมด ดังมากแบบนั้นอยู่ครึ่งวันก็กลับกลายเป็นเงียบ ไม่ได้ยินเสียงอีกเลย

มีเสียงในหูเกิดขึ้นมาแทนที่ เป็นเสียงคล้าย ๆ เครื่องบินเจ็ท เวลาเรานั่งเครื่องบินจะได้ยินเสียงแบบนั้น นอกจากนั้นก็เป็นเสียงคล้าย ๆ จิ้งหรีดเรไรร้องอยู่ไกล ๆ เป็นแบบนี้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

อาการแบบนี้ทำให้เครียดจัดเลยครับ เมื่อรู้ว่ามันมีอาการแบบนี้ก็ไปหาหมอ ตรวจพบวา่าการฟังเสื่อมลงมากในหูข้างขวา หมอพยายามจัดยารักษาแบบฉุกเฉิน เป็นยาขยายหลอดเลือดฝอยในสมอง ยากระตุ้นการทำงานของสมองและประสาทการรับฟังที่เส้นเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงมันตีบ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากตรวจพบว่าความดันผมอยู่ที่ ๑๘๐/๘๔ หัวใจเต้น ๘๐ ครั้ง/นาที

ผมไม่รู้มาก่อนว่าความดันสูง เนื่องจากก่อนหน้านั้นสองปีเคยวัดอยู่ที่ ๑๔๐/๗๐ ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่อนข้างสูง

ด้วยความประมาทช่วงนั้นทำงานสื่อสารมวลชน มีงานสังสรรค์มากมาย มีแอลกอฮอล์ มีอาหารที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

นอกจากหูผิดปกติเวลาเดินก็ผิดปกตินิดหน่อย เวลาออกไปอยู่กลางแดดสักครู่จะหูอื้อดังหึ่ง ๆ เหมือนเอาหัวไปซุกรังผึ้ง หน้ามืด ต้องนั่งลงไม่งั้นจะล้ม

ผมจึงไปพักฟื้นร่างกายที่บ้านเกิด อ.ปง จ.พะเยา หมอให้นอนนิ่ง ๆ ในช่วงฟื้นฟูสมองด้วยยาที่กินแล้วง่วงมาก ๆ กินยาแล้วหลับทั้งวัน เป็นแบบนี้อาทิตย์หนึ่งกลับไปหาหมอ ตรวจดูมันไม่ฟื้นคืนสภาพเลย

ก็รับยามา เป็นแบบนี้อยู่นานหลายเดือนจนผมคิดว่าน่าจะสู้ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อปรับสภาพการทำงานของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อให้เส้นเลือดฝอยโล่ง

จึงเริ่มออกกำลังการด้วยการเดิน เดินเร็วอยู่นานหลายอาทิตย์ จากการที่ละเลยทำให้ปวดข้อเข่า ข้อสะโพกเมื่อไปวิ่งจ๊อกกิ้ง วิ่งเบา ๆ ก็ไม่ได้ มันปวด ก็กลับมาเดินต่ออีกสามเดือน จนเดินได้ดีแล้ว ได้เหงื่อทุก ๆ วัน

จากนั้นก็เริ่มอ่านข้อมูลในอินเตอร์เน็ทพบว่าการปั่นจักรยานแบบแอโรบิคคือปั่นเรื่อย ๆ สม่ำเสมอนานเป็นชั่วโมง ๆ จะสามารถปรับสภาพกล้ามเนื้อ การทำงานของปอด การทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น โล่ง และหลอดเลือดฝอยเพิ่มมากขึ้นได้

ผมก็ไปซื้อจักรยานมาฝึกปั่นบนเทรนเนอร์ โดยยึดจักรยานไว้ เป็นแท่นเสมือนขี่จักรยานเมาเทนไบค์จริง ๆ คือสามารถเพิ่มความหนืดที่ล้อหลังได้ด้วย และเมื่อเปลี่ยนสปีดเป็นแบบต่าง ๆ ตามโปรแกรมการฝึกผมก็พบว่าเป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพสูงมาก

ระยะแรก ๆ ปั่นแบบพัฒนากล้ามเนื้อและข้อเข่า ปั่นเรื่อย ๆ อยู่เป็นเดือน จนเข้าสู่โปรแกรมการออกกำลังเพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่การปั่นแบบกีฬา คือต้องปรับกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ปอด หัวใจให้สมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน

ไม่ใช่อยู่ ๆ ซื้อจักรยานมาแล้วปั่นจ้ำสุด ๆ ไปตั้งแต่แรก ๆ การทำแบบนั้นจะได้ผลตรงข้าม คือบาดเจ็บที่ข้อเข่า กล้ามเนื้อรับไม่ไหว ปอดและหัวใจทำงานไม่ทัน การใช้ออกซิเจนไม่มีประสิทธิภาพ อาจหน้ามืดเป็นลมล้มลงตายได้ง่าย ๆ

ผมใช้เวลาเตรียมร่างกายอยู่ ๑ ปี จึงออกไปปั่นถนนครับ

ลองดูภาพ ก่อนปั่นน้ำหนักตัวผมเกินไปมาก ภาพแรกหลังจากปรับสภาพร่างกายปั่นอยู่กับที่มา ๑ ปี ก็เริ่มออกถนน ร่างกายแข็งแรงขึ้นมากแล้ว แต่ยังไม่เต็มที่ จึงปั่นต่อไปอีก ๓ ปี โดยช่วงหลัง ๆ สลับไปปั่นรถเสือหมอบด้วยครับ
PhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
ปั่นจักรยานสู้โรคร้าย (6 รูปภาพ)
6 Photos - View album

หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

เด็กที่มีหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้สูง, ร้องกวน ,เบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียน  ซึ่งเป็นอาการแสดงทั่วไปของภาวะการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย และจะมีอาการที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อบริเวณช่องหู คือ ปวดหู ซึ่งในเด็กเล็กๆ อาจมีเฉพาะการเอานิ้วมือไชหู หรือ ดึงใบหู ,ในเด็กโตอาจจะร้องปวดหูได้

 เมื่อมีการอักเสบมากจนเกิดแก้วหูทะลุจะทำให้อาการปวดหายไปแต่มารดาจะพาเด็กมาพบแพทย์ด้วยเรื่อง น้ำหนองไหลจากช่องหู 

แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาพาราเซตามอล  เพื่อบรรเทาอาการปวด  สำหรับยาฆ่าเชื้อแพทย์จะให้ antibiotics ที่มีผลครอบคลุมเชื้อโรค 3 ชนิดที่พบบ่อยในหูชั้นกลางคือ M. catarhalis, H.influenza,  S. pneumoniae    โดย อะม๊อกซีซิลิน(Amoxicilin) ยังคงเป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรกในการรักษาเพราะ ราคาถูก ,ได้ผลในการกำจัดเชื้อ และ มีความปลอดภัย ถ้ามีประวัติแพ้ยาเพนนิซิลิน แนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม erythomycin    การใช้ยาปฏิชีวนะควรให้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน และ อาการของเด็ก ควรจะเริ่มดีขึ้นใน 48 - 72 ชั่วโมง

http://www.entpmk.pmk.ac.th/webpage/Otitis%20Media.html
Untitled Document
Untitled Document
entpmk.pmk.ac.th

โรคไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic infectious disease) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน 

ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ

โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่าน

สาเหตุที่มีผู้ป่วยจำนวนมากมาจากการรับประทานเนื้อหมูหรือเลือดหมูดิบ เช่น ลาบ หลู้ ที่นำเลือดหมูสดๆ มาราดบนหมูสุกก่อนรับประทาน แม้ว่าเนื้อจะสุก แต่เลือดดิบก็ทำให้เกิดโรคได้เหมือนกัน ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการติดโรคในภาวะปกติ ได้แก่ ผู้บริโภคเนื้อหมูหรือเลือดหมูดิบ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา รวมทั้งการบริโภคเนื้อหรือเลือดสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุก

อาการทั่วไป
- มีไข้สูงเฉียบพลัน คลื่นเหียน ปวดศีรษะ

อาการเฉพาะ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทหูจะทำให้การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลันจนถึงขั้นหูหนวก หูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตาจะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ 
ผู้ป่วยบางคนที่รอดชีวิตมา ยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน 

การป้องกันไข้หูดับทำได้โดย
1. สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
2. ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
3. เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
4. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
5. ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
6. ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036196
http://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_67.php

โรคไข้หูดับ เชื้อต้นเหตุชื่อ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส อยู่ในจมูกและคอของหมูปกติ กรณีที่หมูอ่อนแอลงเชื้อจะทำให้หมูป่วย เมื่อคนไปสัมผัส หรือกินเนื้อหมูป่วยที่ดิบ หรือสุกๆดิบๆ จะมีอาการภายใน 3วัน คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน บางรายเดินเอียง ชัก ช๊อก มีจ้ำเลือดตามตัว ข้ออักเสบ หัวใจ ไตหรือตับวาย ซึ่งผู้ป่วยโรคหูดับ อาจมีอาการหูหนวก ตาบอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ในคนอีกด้วย 

มักเกิดในคนที่ชอบกินลาบ หลู้ ส้า เนื้อหมูดิบ หรือสุกๆดิบๆ ตลอดจนผู้ที่ชื่นชอบรับประทานหมูกะทะปิ้งย่างแบบสุกๆดิบๆ 

ป้องกันนั้นควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน สด ไม่มีสีแดงคล้ำ หรือมีเลือดคั่งมากๆ ควรนำเนื้อหมูมาปรุงสุกเท่านั้น

สำหรับเกษตรกรเลี้ยงหมูที่ได้ใกล้ชิดกับหมูป่วยแล้วไม่ได้สวมถุงมือ ไม่สวมรองเท้าบูท ป้องกันการติดเชื้อด้วยการหลีกเสี่ยงการสัมผัสหมูหรือซากหมูด้วยมือเปล่า และชำระร่างกายทุกครั้งหลังสัมผัสหมู

http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=140417112110

หูไม่ได้ยิน รักษาอย่างไร ??/

ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุก่อนแล้วค่อยทำการรักษาโดย

การรักษา จะแบ่งเป็นการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด
อย่างไรก็ตามหูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน, เส้นประสาทหู, และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทหูเสื่อม มักจะรักษาไม่หายขาด

ยกเว้นสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้หูเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ส่วนประสาทหูเสื่อมบางรายไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่รักษาไม่ได้ อาจหายเองก็ได้หรือจะเป็นอยู่ตลอดชีวิตก็ได้

1. แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่ และจะหายหรือไม่

2. ถ้าหูอื้อไม่มากยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อีกข้างยังดีอยู่ ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ

3. ถ้าหูอื้อมากไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง, ยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น
- ยาบำรุงประสาทหู

4. ถ้าหูอื้อ เกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง
- ถ้าเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต, โรคกรดยูริกในเลือดสูง, โรคซีด โรคเลือด ต้องควบคุมโรคให้ดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ, ชา, เครื่องดื่ม น้ำอัดลม (สารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (สารนิโคติน)
- พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ https://www.facebook.com/782325125176791/photos/a.788131104596193.1073741827.782325125176791/843201295755840/
ขึ้น ลง... #เครื่องบิน มีปัญหา #ปวดหู #หูอื้อ …ทำอย่างไรดี

โดย ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ 
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด หรือไซนัสอักเสบ

 ควรใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทางจมูก เช่น รับประทานยาแก้แพ้ , ยาหดหลอดเลือด เช่น pseudoephedrine และ/หรือใช้ยาสตีรอยด์พ่นจมูก หรือยาหดหลอดเลือด (topical decongestant เช่น ephedrine, oxymetazoline) พ่นจมูก อาจร่วมกับการล้างจมูก และ/หรือการสูดไอน้ำร้อน

ควรรับประทานยาหดหลอดเลือด (oral decongestant) ก่อนเครื่องบินขึ้น หรือลงประมาณ ½ ชั่วโมง และ/หรือใช้ยาหดหลอดเลือด (topical decongestant) พ่นจมูกก่อนเครื่องบิน ขึ้น หรือลงประมาณ  5 นาทีด้วย

ผู้ที่มีปัญหาเรื่องหู เวลาขึ้น ลงเครื่องบิน ควรพกยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นและชนิดรับประทานไว้ด้วยเสมอ

http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=125

หูดับ ฉับ พลัน มาได้งัย ??

อาการหูดับ คือ อาการที่ การได้ยินลดลงทันที ยิ่งถ้าใครเคยไปฝึกยิงปืนมาด้วยละก็จะรู้จักโรคนี้ทันที เมื่อได้ยินเสียงปืนดังมากๆ จะทำให้แก้วหูเกิดการกระแทกจาก แรงดันอากาศ ภายนอก ทำให้ หูดับแับพลันได้ แต่... แท้จริงแล้วอาการหูดับฉับพลัน นั้นมีหลากหลายสาเหตุ ที่ไม่เกี่ยวกับเสียงดัง
โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน และอาการของ โรคหูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้

สาเหตุ
1.เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้

2.เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้ ประเภทเดียวกันกับหลอดเลือดในสมองตีบ

3.ภาวะ ภูมิเพี้ยน ( Autoimmune disease )
เช่น โรค SLE -โรคพุ่มพวง และ โรค miniere

4.การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane ซึ่งอากเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง บริเวณศรีษะก็ได้

อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการหูดับ อย่างนิ่งนอนใจ ถ้าหูดับหูอื้อไม่หาย หรือไม่ดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง แนะนำพบแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูกด่วน

ควรป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตันอีกโดย
- ไม่ใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูอีก ถ้าน้ำเข้าหูทำให้รู้สึกรำคาญจนต้องปั่น หรือเช็ดหู ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าโดยหาสำลีชุบวาสลิน หรือที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำ ซึ่งมีขายตามร้านกีฬา มาอุดหูเวลาอาบน้ำ หรือผู้หญิงที่สวมหมวกอาบน้ำ ควรดึงหมวกให้มาคลุมใบหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู
- อาจใช้ยาละลายขี้หู หยอดในหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไป เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หู ในช่องหูชั้นนอกได้

ไม้สำลีห้ามใช้ปั่นในรูหูครับ ใช้เช็ดได้รอบๆ ครับ คุณหมอบอกมาครับ

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=748
http://www.thaihealth.or.th/Content/10863-แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน.html
http://health.sanook.com/3377/
Shared publicly
    Add a comment...

    สถาบันบำราศนราดูร พบผู้ป่วยหูอื้อ เพราะขี้หูอุดตัน เหตุจากใช้คอตตอนบัดขนาดใหญ่ปั่นในรูหู เดือนละกว่า 100 ราย ...

     วิธีการทำความสะอาดหูอย่างถูกวิธี และไม่เป็นอันตรายนั้น ขอให้ทำความสะอาดเฉพาะใบหูและบริเวณปากรูหู โดยใช้สำลีหรือผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบสบู่หรือน้ำ เช็ดเบาๆ บริเวณใบหู ก่อนอาบน้ำให้เด็กขอให้ใช้สำลีอุดหูเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู

     ไม่ควรฟังเพลงเสียงดังนานเกินไป จะทำให้เกิดโรคหูตึงไปจนถึงหูดับถาวร ข้อจำกัดในการอยู่ในที่เสียงดังคือ ถ้าอยู่ในที่ที่มีเสียงดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ไม่ควรอยู่นานเกินวันละ 8 ชั่วโมง และต้องมีเครื่องป้องกันเสียงสวมครอบหูไว้ด้วย รวมทั้งหากเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณหู หรือได้ยินเสียงไม่ชัดเจน ไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง ขอให้มาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาให้ตรงตามโรคและถูกวิธี”

    http://www.thairath.co.th/content/246323

    สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ มีหลายสาเหตุพอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้
              1) การอุดกั้นสัญญาณเสียง  ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด เป็นต้น
              2) ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง

    http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=486
    เยื่อแก้วหูอักเสบเฉียบพลัน - Siriraj E-Public Library

    อาการ
                1.ปวดหู  เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นอาการสำคัญที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการปวดอาจจะรุนแรงหรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยเด็กถ้าปวดมักจะร้องตลอดเวลา ไม่ยอมหลับ มักปวดตอนกลางดึก อาจมีของเหลวไหลออกมาจากช่องหู
                2.ไข้  ผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ 
                3.หูอื้อ ผู้ป่วยอาจรู้สึกตื้อ ๆ ในช่องหูคล้ายได้ยินไม่ค่อยชัด

    การรักษา
                1.ยาต้านจุลชีพ:ในรายที่สงสัยว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรรับประทานยาต้านจุลชีพอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่ถ้าสงสัยว่าเกิดจากเชื้อไวรัสไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การอักเสบของเยื่อบุแก้วหูดังกล่าวมักหายได้เอง
                2.ยาหยอดหู:ถ้าสงสัยว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาจหยอดยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาต้านจุลชีพ และเลือกยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาชาด้วย เพื่อลดอาการปวด
                3.ยาแก้ปวด และลดไข้ หรือบรรเทาอาการ

              ถ้าผู้ป่วยมีตุ่มน้ำบนเยื่อแก้วหู ตุ่มน้ำดังกล่าว มักจะแตกออกได้เองประมาณ 2-3 วันหลังเกิดโรค ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดมาก อาจเจาะตุ่มน้ำให้แตกออก เพื่อลดอาการปวดได้

    http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=827

    การดูแลรักษาหูและต่างหูหลังการเจาะหู
           - สัปดาห์แรกหลังเจาะ ไม่ควรโดนน้ำ
           - ใส่ต่างหูคู่แรกไป รอแผลแห้ง 6 สัปดาห์ จึงถอดเปลี่ยนได้
           - ทำความสะอาดต่างหูและทายาฆ่าเชื้อที่ได้รับไป โดยไม่ต้องถอดต่างหู
           - หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี
    นั่ง #เครื่องบิน ที่ไร ทำไมต้อง #หูอื้อ

    วิธีที่จะช่วยลดและป้องกันอาการ #ปวดหู ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง กลืนน้ำลายบ่อยๆ หรือหาวติดๆ กันเพื่อให้ท่อยูสเตเชียนของเราทำงานตลอดเวลา

    แต่ถ้ามีอาการเป็นหวัด หรือมีอาการทางจมูก อย่างการคัดจมู, น้ำมูกไหล ขึ้นมาแล้วล่ะก็ ควรใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทางจมูก เช่น รับประทานยาแก้แพ้ หรือใช้ยาพ่นจมูก เพื่อทำให้การอักเสบภายในจมูกลดน้อยลง ช่วยให้รูเปิดท่อยูสเตเชี่ยนไม่บวมช้ำ และกลับมาทำงานเป็นปรกติได้เร็วขึ้น 

    เอามือบีบจมูกไว้ ปิดปาก แล้วเป่าลมให้ออกหูครับ
    มันจะดังป็อป แล้วหูก็หายอื่อ... ^^

    สำหรับผู้ที่เป็นโรคไซนัสหรือลองแก้ไขแล้วยังมีอาการอยู่ อาจจะช่วยด้วยการพ่นยาหดหลอดเลือดเข้าไปในจมูกอีกทุก 10 -15 นาที ผู้ที่มีปัญหาเรื่องหู เวลาขึ้น ลงเครื่องบิน ควรพกยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นและชนิดรับประทานไว้ด้วย 

    http://www.scbsme.com/th/sme-society/health/658/นั่งเครื่องบินที่ไร-ทำไมต้องหูอื้อ

    http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2012/04/E11914907/E11914907.html

    http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2011/10/E11195669/E11195669.html
    Photo

    เตือนหยุดเหล้าทันทีเสี่ยงประสาทหลอนหูแว่ว https://www.thairath.co.th/content/1339706

    ยาหยอดหู | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
    http://www.doctor.or.th/clinic/detail/8948

    Rama Update แนะ 8 วิธีช่วยเซฟหูจากการได้ยินเสียงดังและนาน จากกรณีข่าว คนไทยมีปัญหาการได้ยินกว่า 2.7 ล้านคน เหตุใช้ “หูฟัง” นาน อยู่ในที่เสียงดังมากขึ้น อ. พญ.อรวี ฉินทกานันท์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

    อาการเวียนศรีษะ บ้านหมุน น้ำในหูไม่เท่ากัน 

    สาเหตุเกิดจาก สารอาหารในเลือดไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองขาดสารอาหารจนเกิดอาการเวียนศรีษะบ้านหมุน ซึ่งสาเหตุเกิดจากหลายกรณีดังต่อไปนี้ 

    1. ระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ 
    .. ต้องเริ่มแก้ที่ระบบการย่อย โดยการปรับสมดุลให้กระเพาะด้วยยาโรคกระเพาะ ,ขับของเก่าเน่าเสียที่ตกค้างในร่างกายออกด้วย สมุนไพรธรณีสันฑะฆาติ ,เร่งการย่อย และดูดซึมด้วยน้ำเอนไซม์ Probiotic 

    2. สารอาหารในเลือดตก 
    ... งดการทานกาแฟแทนอาหารมื้อเช้า ถ้าจะทานแนะนำให้ทานหลังอาหาร ,หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ควรทานอาหารที่ปรุงสุกสดใหม่ และ แนะนำให้เติมสารอาหารให้เลือด ฟื้นฟูตับที่มีหน้าที่ผลิตเลือด และเป็นสารอาหารตั้งต้นในการผลิตเลือดด้วย สาหร่ายเกลียวทอง ทานตื่นนอนตอนเช้า + น้ำ 2 แก้ว ก็จะช่วยเพิ่มสารอาหารในเลือดได้อย่างรวดเร็ว 

    3. ดื่มน้ำไม่ถูกวิธี 
    .. ถ้าไม่ดื่มน้ำเลือดก็จะข้นเป็นโคลน ลำเลียงสารอาหารและอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงปลายประสาทลำบาก แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 1.5 - 2 ลิตร โดยวิธีการแบ่งดื่มทั้งวัน ,หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะช่วง ก่อนและหลังอาหาร 20 นาที เพื่อรักษาความเข้มข้นของน้ำย่อยในกระเพาะ

    By The Arokaya Shop
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=711534118866997&set=a.420804081273337.95306.387283101292102
    Photo

    รายการเรื่องนี้ต้องถามหมอ ตอนแคะหู: Matichon TV https://www.youtube.com/watch?v=fGVgO8tH53E

    น้ำเข้าหู ปวดหูทำยังไง : พบหมอรามา ช่วง Rama Update 13 เม.ย.61(1/6) https://www.youtube.com/watch?v=WpTZm1N9xCo

    ภัยเงียบ...ขี้หู/ผศ. นพ.ปารยะ อาศนะเสน
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085921
    Photo

    การเจาะ เช่น การเจาะหู เจาะสะดือ เจาะลิ้น หน้า อวัยวะเพศ หัวนม  ผลเสียจากการสัก เจาะ  อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เป็นฝี หนอง โรคบาดทะยัก วัณโรค ผิวหนัง ตับอักเสบ ซิฟิลิส เอดส์ หรือเกิดอาการแพ้ เช่น แพ้โลหะ ที่ใช้เจาะ ใส่ เช่น แพ้นิเกิ้ล แพ้สีที่ใช้สัก  บางคนอาจเกิดแผลเป็น หรือเกิอกาการกำเริบของโรคผิวหนัง ที่มีอยู่ก่อน เช่น สะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้หากต้องการลบรอยสักจะเจ็บมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า

    http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371546641
    การกลั้นจามอาจทำอันตราย​ต่อหู


    When you hold in a sneeze, air and pressure can travel up your Eustachian tubes—small passageways linking your throat to your middle ear—and cause your eardrum to rupture.
    โรคบ้านหมุน - VERTIGO
    รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน โสต ศอ นาสิกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจมูกและภูมิแพ้

    อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากโรคที่ไม่ร้ายแรง เช่น โรคขี้หูอุดตัน ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคที่ร้ายแรงได้ เช่น เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ เนื้องอกของประสาททรงตัว หรือโรคของระบบประสาทส่วนกลาง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ล้ม เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะเกิดเลือดออกในสมอง หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรู้จักโรคนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

    โรคบ้านหมุน หรือโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แต่แท้จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนไป หรือรู้สึกว่าตัวผู้ป่วยเองหมุนหรือไหวไป ทั้งๆ ที่ตัวผู้ป่วยเองอยู่เฉยๆ ความรู้สึกดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการรับข้อมูล หรือการเสียสมดุลของระบบประสาททรงตัวของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยตา ประสาทสัมผัสบริเวณข้อต่อ อวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ระบบประสาทส่วนกลางที่ฐานสมอง และตัวสมองเอง โดยทั้งหมดนี้จะทำงานเกี่ยวเนื่องกัน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวกับอวัยวะการได้ยินอยู่ใกล้ชิดสัมพันธ์กันจากหูไปสู่สมอง โรคของระบบทรงตัวที่ทำให้บ้านหมุนจึงมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยิน หูอื้อ และมีเสียงดังรบกวนในหูได้ รวมถึงเมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ก็มักจะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลูกตา (ตากระตุก หรือ nystagmus) การเซ การล้ม อาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกร่วมด้วยได้

    สาเหตุ
    โรคบ้านหมุน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

    โรคของหู
    หูชั้นนอก ได้แก่ หูชั้นนอกอุดตัน จากขี้หู เนื้องอก หนอง หรือการอักเสบจากหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลางอักเสบ กระดูกช่องหูหักจากอุบัติเหตุ

    เลือดคั่งในหูชั้นกลาง (hemotympanum) จากอุบัติเหตุ หรือการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ

    หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (หูน้ำหนวก)

    ท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างโพรงหลังจมูก และหูชั้นกลาง ทำงานผิดปกติ หรือมีการอุดตันจากโรคจมูกอักเสบเฉียบพลัน (หวัด) หรือเรื้อรัง (เช่น โรคแพ้อากาศ หรือจมูกอักเสบภูมิแพ้) โรคไซนัสอักเสบ การดำน้ำ การขึ้น-ลงที่สูง ก้อนเนื้องอกที่โพรงหลังจมูก

    การทะลุของเยื่อที่ปิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (perilymphatic fistula) จากการไอ เบ่ง หรือจามแรงๆ หรือเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน

    หูชั้นใน ได้แก่ การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) โดยเชื้ออาจลุกลามมาจากหูชั้นกลางที่อักเสบเฉียบพลัน หรือเยื่อหุ้มสมองที่อักเสบ หรือหูชั้นกลางที่อักเสบเรื้อรัง (หูน้ำหนวก) และมีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดจากการติดเชื้อซิฟิลิส ไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต

    การอักเสบของหูชั้นในจากสารพิษ (toxic labyrinthitis) ได้แก่ ยาที่มีพิษต่อระบบประสาททรงตัวในหูชั้นใน เช่น ยาต้านจุลชีพ กลุ่ม aminoglycoside, quinine, salicylate, sulfonamide, barbiturate

    การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้มีเลือดออกในหูชั้นใน ฐานสมอง ก้านสมอง หรือสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว

    การได้รับแรงกระแทก การบาดเจ็บจากเสียงดัง เช่น ระเบิด ประทัด การยิงปืน หรือการผ่าตัดบริเวณหู

    โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease)

    โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (benign paroxysmal positional vertigo หรือ BPPV) ซึ่งอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนจะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ศีรษะหันไปทางใดทางหนึ่ง และมักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ (เป็นวินาที มักไม่เกิน 1 นาที)

    โรคของทางเดินประสาท และสมอง
    เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (vestibular neuronitis)
    เนื้องอกของประสาททรงตัว (vestibular schwannoma)
    โรคของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่

    ความผิดปกติของกระแสโลหิตที่ไปเลี้ยงระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัวไม่พอ อาจเกิดจากไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ (สารนิโคติน ทำให้เส้นเลือดตีบตัว) การดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (สารกาเฟอีน ทำให้เส้นเลือดตีบตัว) เบาหวาน เลือดข้นผิดปกติ ซีด กระดูกคอเสื่อม หรือมีหินปูนบริเวณกระดูกคองอกไปกดหลอดเลือดขณะมีการหันศีรษะหรือแหงน เครียด หรือวิตกกังวล (ทำให้เส้นเลือดตีบตัวชั่วคราว) โรคหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจขาดเลือด)

    การเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว

    การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง

    สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ (hypothyroidism) โรคเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ ซีด เลือดออกง่ายผิดปกติ) โรคหลอดเลือดแข็งและตีบจากโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกคอเสื่อม โรคไต ระดับยูริกในเลือดสูง โรคความดันโลหิตต่ำ โรคภูมิแพ้

    4. ไม่ทราบสาเหตุ

    กลุ่มเสี่ยง
    คนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคบ้านหมุนคือ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหู ทางเดินประสาท และสมองดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งโรคของต่อมไทรอยด์ โรคเลือด และหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกคอเสื่อม และโรคไต

    อาการที่ปรากฏ
    สัญญาณเตือนที่ควรระวังของโรคบ้านหมุน ได้แก่ มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง รู้สึกมึนๆ งงๆ เบาๆ โหวงๆ มีตากระตุก เดินแล้วเซ จะล้ม มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกร่วมด้วย

    การวินิจฉัย
    การวินิจฉัยสาเหตุของโรคบ้านหมุนจะอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจทางหู คอ จมูก การตรวจตา การตรวจเส้นประสาทสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำขณะเปลี่ยนท่า) และการตรวจพิเศษ เช่น

    - การเจาะเลือดเพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ เบาหวาน ระดับไขมันในเลือดที่สูง ระดับยูริกในเลือดที่สูง การอักเสบของร่างกาย (erythrocyte sedimentation rate: ESR) ซึ่งอาจบ่งถึงโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต การติดเชื้อซิฟิลิส หรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป

    - การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่

    - การตรวจการได้ยิน เพื่อดูว่ามีโรคของหูชั้นกลาง หรือหูชั้นในหรือไม่

    - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography) เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่

    - การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง (brainstem electrical response audiometry) โดยใช้เสียงกระตุ้นทางเดินประสาทที่ผ่านหู ตั้งแต่หูชั้นใน ประสาทสมองที่เกี่ยวกับการได้ยินไปสู่ก้านสมอง และผ่านไปกลีบสมอง วิธีนี้สามารถตรวจความผิดปกติของโรคในสมองส่วนกลางได้รวดเร็วและแม่นยำ

    - การตรวจระบบประสาททรงตัว โดยเครื่องวัดการทรงตัว เพื่อแยกความผิดปกติของภาวะข้อเสื่อมจากโรคหูชั้นในและโรคของสมอง

    - การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ เพื่อดูว่ามีกระดูกคอเสื่อมหรือไม่

    - การถ่ายภาพรังสี เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูว่ามีโรคของทางเดินประสาท หรือสมองหรือไม่

    - การตรวจการไหลเวียนของกระแสโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวน์ ซึ่งจะบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของกระแสโลหิตได้

    การรักษา
    การรักษาตามอาการ ได้แก

    - ให้ยาที่กดการรับรู้ของประสาททรงตัว เพื่อให้หายจากอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน

    - ให้ยาสงบ หรือระงับประสาท

    - ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน

    - ให้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ซึ่งการให้ยาดังกล่าวนี้ เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ

    - เมื่ออาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนน้อยลงแล้ว ควรให้เริ่มการบริหารระบบทรงตัว (head balance exercise) เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้ การบริหารดังกล่าวเป็นการฝึกฝนการปรับวิสัยการทรงตัวต่อตัวกระตุ้นสมมุติที่สร้างขึ้น ซึ่งจะสร้างนิสัย “เคยชิน” ต่อสภาวะนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในอวัยวะทรงตัว เพื่อให้สามารถทรงตัวได้อย่างดีในสภาวะต่างๆ ได้แก่ การฝึกบริหารสายตา ฝึกกล้ามเนื้อ คอ แขนขา ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและคอ รวมทั้งการเดิน และยืน

    - ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะ บ้านหมุนแล้ว ควรป้องกันไม่ให้มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนอีก โดย
    * หลีกเลี่ยงเสียงดัง
    * ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด ควบคุมโรคให้ดี
    * หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาททรงตัว เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
    * หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
    * หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
    * ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารกาเฟอีน) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
    * พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดที่จะไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    การรักษาตามสาเหตุของโรค
    การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะเวียนศีรษะ บ้านหมุน
    - เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนขณะเดิน ควรหยุดเดิน และนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจทำให้ผู้ป่วยล้มเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียน หรือบ้านหมุนมาก ควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนน้อยลงค่อยๆ ลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วง หรือเพลียได้ ถ้าง่วง แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นหลังตื่นนอน

    - ไม่ควรว่ายน้ำ ดำน้ำ ปีนป่ายที่สูง เดินบนสะพานไม้แผ่นเดียว หรือเดินบนเชือกข้ามคูคลอง ขับรถ หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ขณะมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตราย

    - หลีกเลี่ยงสารกาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) และการสูบบุหรี่ ซึ่งจะลดเลือดที่ไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว

    - พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง

    - พยายามหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ในระหว่างเกิดอาการ ได้แก่ การหมุนหรือหันศีรษะไวๆ การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้ม เงยคอ หรือหันอย่างเต็มที่

    - พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สารก่อภูมิแพ้ (ถ้าแพ้) การเดินทางโดยทางเรือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    - เวลามีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนให้รับประทานยาที่แพทย์ให้ ดังนั้นควรพกยาดังกล่าว ในช่วงเวลาเดินทางเสมอ

    ถ้าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ดังนั้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

    https://www.facebook.com/absolutehealthclinic/posts/421329037927712
    Photo

    barotrauma - อันตรายจากการถูก “ตบบ้องหู”
    สาเหตุที่ทำให้แก้วหูทะลุหลังจากถูกตบบ้องหูนั้น เกิดจากการอัดแรงดันอากาศเข้าไปภายในช่องหูอย่างรวดเร็วและรุนแรง กระแทกแก้วหู ทำให้แก้วหูทะลุได้ทันที และมีเลือดออกได้ด้วย

    ถ้าแรงอัดอากาศไม่มากนัก เยื่อแก้วหูอาจเพียงอักเสบช้ำ มีเลือดตกบนแก้วหู แต่ไม่ทะลุ เยื่อแก้วหูอักเสบเพียงเล็กน้อย อาจมีอาการแค่หูอื้อชั่วคราว

    แต่ถ้าความกดดันอากาศที่กระแทกเข้าไปในช่องหูนั้นมีแรงดันมากอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำให้เยื่อแก้วหูทะลุ หรือถึงขั้นฉีกขาดได้ 

    หูอื้อและปวดในหูโดยทันทีที่ได้รับแรงกระแทกหรือเสียงดังมาก อาจรู้สึกว่าหูชาไปเลย ก่อนจะรู้สึก ปวดหรืออื้อ และเวลาผ่านไป 1 ชม ก็ยังไม่หายอื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

    หูอาจมีเสียงดังวิ้ง หรือ วี้ และได้ยินไม่ชัด ไม่ยอมหาย ใน 2-3 ชั่วโมง หรือมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมึนงง แสดงว่าแรงกระเทือนไปถึงหูชั้นใน อาจมีเยื่อของหูชั้นในฉีกขาดด้วย ต้องรักษาด่วน

    บางรายอาจ “มีเลือดออกมาจากช่องหู” บางรายรู้สึกว่า “หูดับ” ไปทันที ควรพบแพทย์ด่วน อาจมีเลือดออกในหูชั้นในก็ได้ อาจทำให้หูตึงถาวรได้
    สำหรับกรณีที่ถูกตบบ้องหู หรือ กกหูอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้ใบหูและเยื่อแก้วหูฉีกขาดแล้ว ถ้าแรงตบหรือแรงกระแทก มากพออาจทำให้สะเทือนถึงกะโหลกศีรษะทำให้กะโหลกร้าว หรือสะเทือนถึงสมอง ทำให้เกิดอาการ “มึนงง” “เวียนศีรษะบ้านหมุน” “เดินเซ” “ซึมลง ตอบสนองช้า” หรือถึงขึ้น “หมดสติ” ได้ จากเลือดตกในสมอง

    เมื่อมีอาการดังกล่าวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าเยื่อแก้วหูผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

    การทะลุของแก้วหูถ้าไม่กระทบกระเทือนไปถึงประสาทรับเสียงในหูชั้นใน และแก้วหูทะลุโดยไม่มีการติดเชื้อ แก้วหูอาจปิดได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์หรือถึง 1 เดือน แล้วแต่ว่ารูทะลุเล็กหรือใหญ่แค่ไหน และขาดแบบกระรุ่งกระริ่งหรือเปล่า

    ถ้าท่านได้รับการกระทบกระเทือนจนคิดว่าแก้วหูทะลุ หูอื้อปวด ควรรีบไปพบแพทย์หู ไม่ควรไปซื้อยาหยอดหูมาหยอด เพราะจะทำให้แผลทะลุเปียกชื้นและปิดได้ยาก ถ้าเป็นมากแพทย์อาจตรวจการได้ยินเพื่อให้รู้ว่ากระทบกระเทือนถึงกระดูกในหูชั้นกลางหรือประสาทรับเสียงหรือไม่ แพทย์อาจให้ยากิน แต่ไม่ใช่ยาหยอด 

    http://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/?name=knowledge&file=readknowledge&id=289no shares

    แก้วหูทะลุจากการกระทบกระแทก  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่แก้วหูที่ขาดจะกลับมาติดกันได้เองสูงมาก จึงมักไม่จำ เป็นต้องผ่าตัดซ่อมแซม 

    แก้วหูทะลุที่เกิดตามหลังการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ต้องพยายามนำสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในช่องหูชั้นนอก และหูชั้นกลางออกให้มากที่สุด แล้วให้ยาต้านจุลชีพ/ ยาปฏิชีวนะ ชนิดรับประทานและชนิดหยอดหู เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจรอให้แก้วหูปิดเอง ซึ่งมักเป็นระ ยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ 

    1.ไม่ควรทำความสะอาดภายในช่องหูด้วยตนเอง รวมทั้งการใช้ไม้แคะหู หรือไม้พันสำลี (Cotton bud) 
    2. ไม่ควรหยอดยาหยอดหูใดๆทั้งสิ้น 
    3. ห้ามน้ำเข้าหูเด็ดขาด 
    4. รีบพบแพทย์/แพทย์ หู คอ จมูก เพื่อการวินิจฉัย รักษาและการดูแลหูที่เหมาะสม 

    เราควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุดถ้ามีอาการแก้วหูทะลุดังกล่าวข้างต้น และกรณีมีเลือดออกจากช่องหู หูอื้อ และ/หรือการรับเสียงบกพร่อง ควรรีบพบแพทย์ หู คอ จมูกฉุกเฉิน หรือภายใน 24 ชั่วโมง 

    http://www.todayhealth.org//daily-health/บทความสุขภาพ/การรักษาแก้วหูทะลุ.html

    อาการที่ทำให้สงสัยว่าแก้วหูทะลุ จากแรงอัดอากาศ หรือได้ยินเสียงระเบิด หรือประทัด ?

    หูอื้อและปวดในหูโดยทันทีที่ได้รับแรงกระแทกหรือเสียงดังมาก อาจรู้สึกว่าหูชาไปเลย ก่อนจะรู้สึกปวดหรืออื้อ และเวลาผ่านไป 1 ชม. ก็ยังไม่หายอื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

    หูอาจมีเสียงดังวิ้ง หรือ วี้ และได้ยินไม่ชัด ไม่ยอมหาย ใน 2-3 ชั่วโมง หรือมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมึนงง แสดงว่าแรงกระเทือนไปถึงหูชั้นใน อาจมีเยื่อของหูชั้นในฉีกขาดด้วย ต้องรักษาด่วน

    บางรายอาจ “มีเลือดออกมาจากช่องหู” บางรายรู้สึกว่า “หูดับ” ไปทันที ควรพบแพทย์ด่วน อาจมีเลือดออกในหูชั้นในก็ได้ อาจทำให้หูตึงถาวรได้

    สำหรับกรณีที่ถูกตบบ้องหู หรือ กกหูอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้ใบหูและเยื่อแก้วหูฉีกขาดแล้ว ถ้าแรงตบหรือแรงกระแทก มากพออาจทำให้สะเทือนถึงกะโหลกศีรษะทำให้กะโหลกร้าว หรือสะเทือนถึงสมอง ทำให้เกิดอาการ “มึนงง” “เวียนศีรษะบ้านหมุน” “เดินเซ” “ซึมลง ตอบสนองช้า” หรือถึงขึ้น “หมดสติ” ได้ จากเลือดตกในสมอง

    เมื่อมีอาการดังกล่าวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าเยื่อแก้วหูผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
    ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุ โดยไม่มีสิ่งสกปรก และไม่มีการติดเชื้อในหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง แพทย์คงไม่ต้องให้ยาอะไร แม้แต่ยาหยอดหู เพราะร้อยละ 80-90 ของรูทะลุบนเยื่อแก้วหูผู้ป่วยสามารถปิดได้เอง ภายใน 4 สัปดาห์ เพียงแต่แนะนำไม่ให้น้ำเข้าหู โดยใช้สำลีชุบวาสลีน หรือวัสดุอุดรูหู (ear plug) 

    ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุโดยมีสิ่งสกปรก หรือมีการติดเชื้อในหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง อันอาจจะเนื่องมาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดแคะหู หรือมีน้ำสกปกติเข้าหูหลังจากที่เยื่อแก้วหูทะลุ ในกรณีนี้แพทย์ต้องพยายามนำสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในช่องหูชั้นนอกและหูชั้นกลางออกให้มากที่สุด และให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานและชนิดหยอดหูเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจรอให้เยื่อแก้วหูปิดเอง เป็นระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ 

    แต่ถ้ารูทะลุไม่สามารถปิดเองได้ อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูต่อไป

    http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=820

    http://www.healthtoday.net/thailand/HealthFocus/healthfocus_123.html
    Photo

    การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู [tympanoplasty type 1หรือ myringoplasty]

    ทำในรายที่เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังหรือหูชั้นกลางอักเสบ แล้วมีการทะลุของเยื่อแก้วหู และกระดูกหูอาจถูกทำลาย การผ่าตัดเพื่อ ให้การได้ยินเสียงดีขึ้น ในรายที่มีเส้นประสาทรับสัมผัสเสียงปกติอยู่ และการผ่าตัดเพื่อแก้ไขหรือป้องกันการอักเสบของ หูชั้นกลาง มิให้อักเสบ หรือลุกลามไปมากกว่าเดิม 

    ทำในรายที่แก้วหูทะลุ จากการได้รับบาดเจ็บหรือแรงกระแทกที่หู เช่นเกิดจากการแคะหู สิ่งแปลกปลอมเข้าหู การเขี่ยหู การตบหู การได้ยินเสียงดังจากวัตถุระเบิด

    http://www.phraehospital.go.th/or/tympanoplasty.html
    #ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หรือ BPSD

    ปัจจุบันสังคมบ้านเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จึงมีผลให้โรคอย่างโรคสมองเสื่อม (Dementia) พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ
    โดยปกติแล้ว หากพูดถึงโรคสมองเสื่อม คนทั่วไปส่วนมากมักจะนึกถึงปัญหาด้านความจำ แต่จริงๆ แล้วนอกจากอาการหลงลืม ยังพบว่าผู้ป่วยมักมีอาการอย่างอื่นมากกว่านั้น

    นั่นคือ "ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต"
    (Behavioral and Psychological Symptoms of Dementia ; BPSD)

    ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้"บ่อยมาก" และมักสร้างความลำบากใจให้กับผู้ดูแล ซึ่งบางครั้งปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตนี้ เป็นอาการที่"มาก่อน" หรือ"เด่นกว่า"อาการหลงลืมด้วยซ้ำ

    ในตอนนี้ก็มาลองดูกันนะครับว่าปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตที่พบได้บ่อยๆ มีอะไรบ้าง

    :( อาการหลงผิด (delusion) พบได้ 30-40 %
    :( อาการหูแว่วหรือประสาทหลอน (auditory hallucination and visual hallucination) พบได้ 20-30 %
    :( ภาวะซึมเศร้า (depression) พบได้ 40-50 %
    :( อาการเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว (apathy) พบได้ 70 %
    :( พฤติกรรมไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ (disinhibition) พบได้30-40 %
    :( อารมณ์หงุดหงิด โกรธ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย (irritable and labile mood) พบได้ 40%
    :( พฤติกรรมทำอะไรแปลก ๆ (aberrant motor behavior) พบได้ 30-40 %
    :( ปัญหาด้านการนอน (sleep problem) พบได้ 30-50 %
    :( ปัญหาด้านการกิน (Appetite) พบได้ประมาณ 40-50% ------------------

    1) #อาการหลงผิด (Delusion)
    พบได้ประมาณ 30-40% และมักทำให้เกิดปัญหากับตัวผู้ป่วยเองและญาติได้บ่อย ๆ

    อาการหลงผิด หรือ delusion นั้น แปลว่า “fixed false belief” นั่นคือ ความเชื่ออย่างผิด ๆ ที่เปลี่ยนไม่ได้ (และไม่มีเหตุผล)
    ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อาการหลงผิดที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ อาการหวาดระแวง (paranoid) เช่น คิดว่ามีคนมาขโมยของไป (มักจะเกิดร่วมกับการที่ผู้ป่วยหลงลืม วางของแล้วจำไม่ได้) มีคนจะมาทำร้าย หรือ สามี/ภรรยาของเขามีชู้หรือนอกใจ (ทั้งที่อายุปาไปหกสิบกว่าแล้ว _'') เป็นต้น
    อาการหลงผิดที่พบได้บ่อยๆ และมักทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวก็คือ การคิดว่าคนในบ้านขโมยของ ซึ่งสิ่งนี้ หลายๆครั้งถึงกับทำให้เกิดการทะเลาะกัน โดยคนที่หนีไม่พ้นจะถูกผู้ป่วยบอกว่าขโมยของไปก็มักจะเป็นคนที่ดูแลใกล้ชิดที่สุดนั่นแหละ จนลูกหลานที่ดูแลหลายคนเสียใจท้อแท้ เพราะดูแลเหนื่อยยากแทบตาย แต่ผู้ป่วยกลับไปพูดกับคนอื่นว่าตัวเองขโมยของในบ้านไป
    -> สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ สิ่งเหล่านี้เป็นอาการเจ็บป่วย เป็นอาการหนึ่งของโรค ผู้ดูแลจะได้ไม่ผิดหวังหรือน้อยใจไปกับคำ
    พูดของผู้ป่วย

    .

    2) #อาการหูแว่วและเห็นภาพหลอน (auditory hallucination and visual hallucination)
    พบได้ประมาณ 20% - 30% ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการหูแว่ว

    อาการหูแว่ว (auditory hallucination) คือ การที่ผู้ป่วยได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง แต่ผู้ป่วยจะได้ยินเหมือนว่ามีเสียงนั้นจริงๆ โดยผู้ป่วยอาจจะเล่าให้ฟังว่ามีใครมาพูดอะไรด้วย หรือมีท่าทางพูดคนเดียวโดยที่ไม่มีใครอยู่ข้างๆ
    อาการเห็นภาพหลอน (visual hallucination) คือการที่ผู้ป่วยเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง โดยผู้ป่วยอาจเคยพูดว่าเขาเห็นแปลกหน้าในบ้าน คนที่เสียชีวิตไปแล้ว หรืออาจเป็นสัตว์ สิ่งของก็ได้

    อาการทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้ผู้ป่วยหวาดกลัว ตกใจ หรือบางครั้งทำให้มีปัญหากับญาติได้เพราะญาติเองเถียงกับผู้ป่วยว่ามันไม่มีจริง ซึ่งทำให้กระตุ้นอารมณ์และพฤติกรรมวุ่นวายของผู้ป่วยได้

    3) #ภาวะซึมเศร้า (depression)
    พบได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม ถึงร้อยละ 40-50 ในขณะที่ความชุกของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุทั่วๆไป พบได้เพียงร้อยละ 1-5 เท่านั้น
    ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจะมี อารมณ์เศร้าเบื่อไม่อยากที่จะทำอะไร บางครั้งร้องไห้บ่อยๆ ไม่มีกำลังใจ รู้สึกตัวเองแย่เป็นภาระกับคนอื่น ท้อแท้ บางครั้งพูดว่าไม่อยากอยู่ อยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
    โดยภาวะซึมเศร้าอาจนำมา"ก่อน"การเกิดภาวะหลงลืม หรือเกิดภายหลังก็ได้
    มีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการซึมเศร้าเป็นครั้งแรกหลังอายุ 60 ปี เมื่อติดตามต่อไป 2 ปี ร้อยละ40 จะมีเริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อมตามมาภายหลัง

    4) #อาการเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว (apathy)
    ผู้ป่วยจะขาดความสนใจในสิ่งรอบตัว ไม่มีแรงจูงใจจะทำกิจกรรมต่างๆ ดูเฉยเมยไม่สนใจ ไม่มีความอยากที่จะทำเริ่มทำอะไรด้วยตัวเอง เริ่มต้นคุยกับคนอื่นน้อยลง มีส่วนร่วมกับคนในครอบครัวหรือสังคมน้อยลง ไม่สนใจเพื่อน ๆ ไม่มีความกระตือรือร้นในสิ่งที่เคยชอบทำมาก่อน ดังที่หลายคนอาจจะเคยเห็นผู้สูงอายุที่ทั้งวันนั่งอยู่กับเก้าอี้ตัวเดิม นั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร

    5) #พฤติกรรมไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ (disinhibition)
    ผู้ป่วยจะทำอะไรแบบหุนหันพลันแล่น เหมือนไม่คิด เช่น ผู้ป่วยอาจพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักอย่างเหมือนสนิทสนม พูดเสียงดังหรือก้าวร้าวกับคนอื่นแบบที่ไม่ควรจะพูด หรือพูดเรื่องหยาบคายลามก หรือมีการแตะเนื้อต้องตัวคนอื่น(แต๊ะอั๋งนั่นแหละครับ) อย่างไม่เหมาะสม บางครั้งอาจใช้เงินฟุ่มเฟือย เห็นอะไรก็ซื้อเลยไม่สามารถยับยั้งใจตัวเองได้ เป็นต้น

    6) #อารมณ์หงุดหงิดและเปลี่ยนแปลงง่าย (irritable and labile mood)
    ผู้ป่วยจะมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย (กว่านิสัยเดิมที่เคยเป็น) อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่อดทน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้แม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายจากอารมณ์ดีเป็นโมโหได้ในไม่กี่นาที ผู้ป่วยอาจดูเอาแต่ใจตัวเองมากขึ้นขัดใจไม่ได้ หรือชอบเถียง

    7) #พฤติกรรมแปลกๆ (aberrant motor behavior)
    โดยเฉพาะเมื่อโรคสมองเสื่อดำเนินไปมากๆ เช่น เดินไปเดินมาซ้ำๆ โดยไม่มีจุดหมาย , รื้อของออกมาแล้วจัดใหม่แล้วรื้ออีก หรือเอาของทั้งหมดในบ้านมากองรวมตรงกันกลางห้อง , ทำอะไรซ้ำ ๆ เช่นเอาเสื้อมาใส่แล้วถอดแล้วใส่อีก หยิบของมาดูแล้ววางแล้วหยิบมาดูใหม่ บางคนผุดลุกผุดนั่งซ้ำ ๆ หรือบางคนอาจจะนั่งเล่นนิ้วมือตัวเองได้ทั้งวัน
    อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนพบบ่อย ๆ คือการผู้ป่วยจะเก็บของต่างๆ บางครั้งก็เป็นขยะมาสะสมในบ้าน บางคนนั้นเก็บถุงพลาสติกมาเก็บสะสมในห้องเป็นหลายร้อยถุงจนรกไปหมด เป็นต้น

    8) #ปัญหาด้านการนอน (sleep problem)
    เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดสำหรับผู้ดูแลได้อย่างมาก เพราะทำให้ญาติต้องอดนอนไปด้วย ซึ่งจากตรวจผู้ป่วยในประเทศไทยพบว่าปัญหานี้เองที่มักจะทำให้ญาติต้องพาผู้ป่วยมารับการรักษา
    โดยปัญหาการนอนที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยจะนอนหลับยาก หลับแล้วตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับอีก บางคนตื่นขึ้นมาเดินไปเดินมา(อาจสัมพันธ์กับความคิดหลงผิดว่าของหาย) หรือตื่นมาตอนตีสองแล้วอาบน้ำแต่งตัวไปทำกับข้าวเหมือนว่าเช้าแล้วจนลูกๆหลานๆตกใจ

    9) #ปัญหาด้านการกิน (appetite)
    ผู้ป่วยมักจะกินน้อยลง เบื่ออาหาร กินแต่ของซ้ำๆ เหมือนเดิมแทบทุกวัน จนบางคนน้ำหนักลดลงหลายกิโล แต่ในบางคนอาจจะพบปัญหาตรงกันข้ามคือกินมากและกินบ่อยครั้ง กินทุก 2-3 ชั่วโมง บางครั้งกินไปแล้วก็บอกว่าไม่ได้กิน จนบางทีพบว่าทำให้ลูกทะเลาะกันเนื่องจากอีกคนหนึ่งเข้าใจว่าลูกที่ดูแลไม่ให้แม่กินข้าว (แต่จริงๆ คือให้กิน แต่คนไข้จำไม่ได้)

    * ดังนั้นแล้ว หากใครพบว่าปู่ ย่า ตา ยาย มีอาการคล้าย ๆ ที่เขียนด้านบนแล้วล่ะก็ ... การพาไปปรึกษาอายุรแพทย์ด้านสมองหรือจิตแพทย์แต่เนิ่น ๆ ก็ดีนะครับ *

    :) #หมอคลองหลวง

    เล่าเรื่อง Dexoph (เด็กซ์ออฟ) ให้พี่น้องประชาชนเพื่อรู้จักมันมากขึ้น
    ยาตัวนี้สามารถใช้ลดการอักเสบได้ทั้งหูและตา คือ หยอดได้ทั้งตาและหูนั่นเอง
    แต่ว่าจะมาหยอดซี้ซั้วไม่ได้นะคะ ต้องใช้ตามข้อบ่งใช้และไม่มีข้อห้ามใช้เท่านั้น
    ยาตัวนี้สามารถซื้อได้ตามร้านยา แต่ก็ขอบอกว่าต้องผ่านการสัมภาษณ์ประวัติกับเภสัชกรเท่านั้น อย่าให้หมอตี๋หมอหมวยหยิบให้แล้วจ่ายตังค์นะคะ แบบนั้นมันอันตรายมาก ๆ
    เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร เล่าเรื่องยาสรรพคุณของยาเด็กซ์ออฟเข้าใจง่าย ๆ ให้พวกเราฟังในเวป หาหมอ เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

    http://haamor.com/th/เด็กซ์ออฟ/

    ยาเด็กซ์ออฟมีสรรพคุณดังนี้
    ก. ชนิดยาหยอดตา:
    รักษาอาการติดเชื้อที่มีการระคายเคืองต่อตา #ตาอักเสบ มีอาการบวม #แดง #อาการคันของดวงตา
    รักษาอาการเยื่อบุตาอักเสบและ/หรือกระจกตาอักเสบ

    ข. ชนิดยาหยอดหู:
    รักษาอาการติดเชื้อและอาการอักเสบของหูชั้นนอก/หูติดเชื้อ
    รักษาอาการฝีในช่องหู

    และโดยปกติยาหยอดตา ยาหยอดหู ที่มีส่วนประกอบของ Dexamethasone ไม่ควรใช้นานต่อเนื่องเกิน 7 วัน และหลังเปิดใช้ยาแล้วควรเก็บยาภายในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง และเก็บยา ได้ไม่เกิน 1 เดือน

    มีข้อควรระวังการใช้เด็กซ์ออฟอย่างไร?

    มีข้อควรระวังการใช้เด็กซ์ออฟดังนี้เช่น
    X ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้ แพ้ยา Dexamethasone หรือแพ้ ยา Neomycin
    X ห้ามใช้กับผู้ที่มีการติดเชื้อวัณโรค เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสของลูกตา
    X ห้ามหยอดตาในผู้ที่มีบาดแผลเกิดที่กระจกตา
    X ห้ามหยอดหูในผู้ที่มีภาวะแก้วหูทะลุ/ฉีกขาด
    X ห้ามใช้ยากับเด็กทารก เด็ก สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
    X ขณะหยอดตาห้ามมิให้ปลายหลอดหยอดตาสัมผัสกับตา นิ้วมือ เปลือกตา/หนังตา เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆต่อหลอดยา
    X หยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้นหรือตามแพทย์สั่ง และไม่ควรใช้ยานี้เกิน 7 วัน
    X ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
    X ห้ามใช้ยาหมดอายุ
    X ห้ามเก็บยาหมดอายุ

    *** เพื่อพี่น้องประชาชนจะไม่ตื่นตระหนกกับการใช้ยาตำรับนี้มากจนเกินไป แต่ก็ต้องระวังว่าจะไม่ใช้แบบพร่ำเพรื่อโดยปราศจากข้อบ่งใช้ หรือ จุดที่บอกว่าเมื่อไหร่ต้องเริ่มใช้ยา โดยคุณเภสัชกรประจำร้านยาจะเป็นคนชี้ขาดว่าเมื่อไหร่ที่ควรเริ่มใช้และเมื่อไหร่ที่ต้องห้ามใช้จ๊ะ

    ก่อนจบขอฝากชื่อยี่ห้อของยาสูตรเดียวกันนี้สรุปโดยพี่เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร

    ด้วยความปรารถนาดีจากเครือข่ายเภสัชกรเซฟโดส
    เซฟโดส จ่ายยาปลอดภัย รับใช้สังคม
    การไปเล่นน้ำ เช่น ว่ายน้ำในสระน้ำ เล่นน้ำทะเล อาบน้ำสระผม แล้วน้ำเข้าหู เกิดอาการหูอื้อเหมือนน้ำขังในรูหูแล้วไม่ยอมออก ยิ่งใส่น้ำเข้าหูเขย่ากระแทกก็ยิ่งอื้อมากขึ้นไปอีก ส่วนใหญ่มักเกิดเนื่องจากมีขี้หูอุดตันในรูหูอยู่แล้ว พอน้ำเข้าหูทำให้ขี้หูพองตัว เกิดอาการรำคาญแน่นๆ มากขึ้นนั้นเอง ดังนั้นการรักษาจึงต้อง เอาขี้หูออกครับ

     ที่ผู้ป่วยรู้สึกมีเสมหะติดคอนั้น แท้ที่จริงเป็นเนื้อเยื่อในลำคอของเราเองที่บวมขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกหนาๆ เหมือนมีอะไรติดคอ แต่โดยธรรมชาติแล้วถ้ามีเสมหะจริง ผู้ป่วยจะต้องมีอาการไอ เพื่อขับเสมหะออกมา

    การล้างจมูกเป็นเพียงการให้ความชุ่มชื้นแก่จมูก และทำให้น้ำมูกที่เหนียวมากสามารถไหลออกมาได้สะดวกขึ้น 

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1433299444

    ผู้สูงอายุบางคนที่พูดเสียงดังมาก ๆ อาจจะมีอาการเริ่มต้นของอาการหูตึงได้ รศ.กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จะมาแนะนำวิธีเช็กความเสื่อมของหูเบื้องต้นด้วยการถูนิ้วข้างหู พร้อมทั้งบอกวิธีป้องกันความเสื่อมของหู รวมถึงหากหูตึงแล้วจะเลือกเครื่องช่วยฟังอย่างไร

    ควรทำความสะอาดแผลบริเวณที่เจาะด้วยแอลกอฮอล์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ แผลจึงจะหายสนิท  ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ หลังการเจาะหู คือการแพ้นิเกิลซึ่งผสมอยู่ในทอง โดยพบมากในเพศหญิง หรือโลหะที่เจือปนในทองของต่างหูไปกระตุ้นภูมิแพ้ในบางราย บางกรณีเกิดก้อนแข็งบริเวณที่เจาะ เพราะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไประหว่างเจาะหู และหากเป็นแผลอักเสบเรื้อรัง ไม่ควรละเลยปล่อยไว้นาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

    http://www.thairath.co.th/content/life/160576
    แนะนำแอพพลิเคชั่น “Eartone” หรือ “ตรวจการได้ยิน” ตรวจหูด้วยตนเอง

    https://www.hfocus.org/content/2018/03/15508






    ด้วยความห่วงใย
    .....................
    BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
    เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

    FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
    LINE ID - BETTERCM
    .....................




    UPDATE  -  2018.11.05

    No comments:

    Post a Comment