Thursday, September 10, 2020

ยาคุมกำเนิด กับ ซึมเศร้า

💢 ยาคุมกำเนิด กับ ซึมเศร้า 💢
จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อรับรองว่า โรคซึมเศร้า คือผลกระทบสำคัญอันเนื่องมาจากการปรับฮอร์โมนเพื่อคุมกำเนิด เชื่อว่าฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน อาจเชื่อมโยงหรือส่งผลต่อพัฒนาการของโรคซึมเศร้า
💢🛑
งานวิจัยโดย คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) พบว่ายาเม็ดคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin) หรือ (Combined pill) มีส่วนทำให้ผู้หญิงอายุ 20-34 ปีมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค/ภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้หญิงทั่วไป 23 เปอร์เซ็นต์ แต่ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่กินยาคุมชนิด Combine pill มีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ส่วนรายที่กินยาคุมที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว (Minipill) มีความเสี่ยงมากกว่าถึง 34 เปอร์เซ็นต์ และ 120 เปอร์เซ็นต์สำหรับหญิงสาววัยรุ่นที่กินยาคุมชนิด Minipill
ฮอร์โมนแบบวงแหวนสอดช่องคลอด (vaginal ring) มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายคิดเป็น 2.58 เท่า และฮอร์โมนแบบแผ่นแปะผิวหนังมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายคิดเป็น 3.28 เท่า โดยความเสี่ยงดังกล่าวเกิดสูงสุดช่วง 2 เดือนแรกของการใช้ยา
💥💢
หน่วยงาน Pharmacovigilance Risk Assessment Committee (PRAC) ของ European Medicines Agency (EMA) ให้เพิ่มคำเตือนลงในเอกสารที่เป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ของฮอร์โมนคุมกำเนิดด้วยข้อความทำนองว่า “อารมณ์ซึมเศร้าและภาวะซึมเศร้าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดรุนแรงและเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของพฤติกรรมที่เกี่ยวการฆ่าตัวตาย ผู้หญิงควรพบแพทย์หากเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงและมีอาการซึมเศร้า แม้เกิดภายหลังเริ่มใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดได้ไม่นาน”
📓
สมการของยาคุมกับโรคซึมเศร้า - waymagazine.org
📓
ฮอร์โมนคุมกำเนิด...เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหรือไม่?
📓
A first-choice combined oral contraceptive influences general well-being in healthy women: a double-blind, randomized, placebo-controlled trial
โรคซึมเศร้าโดยละเอียด
แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ภาวะซึมเศร้า เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนเพศหลากหลาย โดยพบได้สูงเป็น 1-3 เท่าของกลุ่มเพศชายหญิง
เราสามารถสังเกตว่าคนรู้จักของเรามีภาวะซึมเศร้าหรือไม่โดยดูจากอาการเหล่านี้
1. อารมณ์ดูเบื่อ ๆ เศร้า ๆ ไม่มีความสุข หรือหงุดหงิดง่ายอยู่บ่อย ๆ
2. ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบ หรือทำแล้วก็ไม่สนุก แยกตัวจากผู้อื่น
3. นอนไม่หลับหรือนอนมาก
4. กินน้อยลงหรือมากขึ้น มีน้ำหนักลดหรือเพิ่มมาก
5. ดูเหนื่อยเพลียไม่มีแรง
6. มักโทษตนเอง มองตนเองในทางลบ
7. สมาธิ-ความจำแย่ลง ทำงานผิดพลาด หลงลืมบ่อย ๆ
8. กระสับกระส่ายหรือทำอะไรเชื่องช้า
9. พูดหรือคิดเกี่ยวกับการตาย การฆ่าตัวตาย
 
ทั้งนี้โรคซึมเศร้าในกลุ่มคนเพศหลากหลายมีปัจจัยหลายด้านด้วยกัน เช่น
1. ตัวเอง เช่น การมีพันธุกรรม ของโรคซึมเศร้า มีปัญหาในกระบวนการและทักษะการแก้ไขปัญหาและการจัดการความเครียด
2. ครอบครัว เช่น การไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว การส่งเสริม-ช่วยเหลือเมื่อเกิดเผชิญปัญหา
3. สังคม-โรงเรียน-ที่ทำงาน เช่น การกลั่นแกล้งรังแก ดูหมิ่น การกีดกันทางการทำงาน การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
เจนวีพร้อมส่งต่อกำลังใจและดูแลสุขภาพจิตของคุณ🤟
Be yourself, safely
GenV clinic
บทความอื่นๆ
💥ผลข้างเคียงจากยาต้านเศร้าชนิดต่างๆ
💢 อาการถอนยาต้านเศร้า

POSTED 2020.09.10 



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ


FACEBOOK / BetterPharmacyCMG

.....................

No comments:

Post a Comment