Saturday, September 12, 2020

หอบหืด & อุปกรณ์พ่นยา

💥 หอบหืด & อุปกรณ์พ่นยา 💥
NOTE
Essential of Respiratory Devices for Pharmacists วันที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 13:00-16:00 น. (CPE 3 หน่วยกิต) https://app.i-regist.com/v2/pat/index.php?r=register&project=63-F24
🚨🚨
Metered Dose Inhaler (MDI) + Spacer
รศ.ดร.ภญ. สุณีเลิศสินอุดม (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
PODCAST (เริ่มนาทีที่ 29) bit.ly/32l6ocE
🚨🚨
ปัญหา
ยาที่มี PARTICLE SIZE ใหญ่ VELOCITY สูง ยาจะตกที่ช่องปากหรือทางเดินหายใจส่่วนบน การกลั้นหายใจจะทำให้ยาตกลงไปลึกเรื่อยๆ จนเข้าสู่บริเวณที่ออกฤทธิ์ของยา
ข้อดี
สะดวก ราคาถูก คุ้มค่าคุ้มราคา ความชื้นไม่ได้มีผลกับยา
ตัวยาเป็น ACTIVE INHALER ผู้ป่วยไม่มีแรงมากก็สูดยาได้
ข้อเสีย
การสูดเร็วๆ ทำให้ตัวยาตกในช่องปาก เกิดฝ้าขาว
เกิด Cold Freon® effect ทำให้ไอ
ต้องมี COORDINATION ที่ดี จึงจะได้ยา
บางยี่ห้อไม่บอกว่ายาหมด
ข้อควรจำ ** MDI **
ให้กดพร้อมสูด
สูดช้าๆลึกๆ
กลั้นหายใจให้นานที่สุด
บ้วนปากกลั่วคอ
การสูดยาทำได้ 2 แบบ
คือ 1 closed mouth อมที่ปากกระบอกให้แนบสนิท
หรือ 2 open mouth เว้นห่างจากปาก 2 นิ้ว หรือ 4 เซนติเมตร ซึ่งการกดจะยากกว่า
ในกรณีที่สูดไม่ได้จริงๆ ตัวยาออกมาเป็นควัน ให้ใช้ MDI WITH SPACER
ขั้นตอนการใช้
💡เปิดฝา เขย่า
(เพื่อให้ตัวยากับ PROPELLANT เข้ากัน dose ที่ได้จะตรงตามที่ระบุไว้)
หายใจออกให้สุด (COPD ถ้าทำไม่ไหว ให้ใช้ยาอื่น)
💡สูดช้าๆลึกๆ
(สูดทางปากเหมือนดูดน้ำด้วยหลอด)
(ยาที่เพิ่งได้มา ให้ทดลองกดดูก่อนว่ามีตัวยาออกมาหรือไม่)
💡กลั้นหายใจให้นานที่สุด 4-10 วินาที (เพื่อให้ยาลงลึกเข้าสู่ปอดมากที่สุด) จากนั้นจึงหายใจออกตามปกติ
💡บ้วนปากกลั้วคอหลังใช้ยา (สำหรับยาสเตียรอยด์)
💡ปิดฝา เก็บยาในที่อุณหภูมิปกติ ไม่ต้องแช่เย็น
🚨
MDI WITH SPACER
volume มากกว่า 100cc
ระยะทางมากกว่า 10-13 cm
ชนิด
1. mouthpiece spacer - one way valve เปิดเมื่อหายใจเข้า
2. valve with mask - face mask spacer สำหรับเด็ก
3. Open-Ended Spacer ปลายเปิด ไม่มีลิ้น
4. ACE KIT สำหรับคนไข้ใส่ท่อช่วยหายใจ
ข้อดี
ละอองยามีขนาดเล็กลงในขนาดที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น 20-25% ทำให้ LUNG DEPOSIT ดีขึ้น
ลดการสะสมของยาที่คอหอยและช่องปากลงได้ 10-15 เท่า
ลดการไม่ประสานกันของยากับการหายใจเข้า
ไม่เกิด Cold Freon® effect
ขั้นตอน
💡เขย่า
💡เอา MDI ต่อกับ spacer
ถ้ามี VALVE ไม่จำเป็นต้องสูดทันที
แต่ถ้าเป็น Open-Ended กดปุ๊ป ก็ต้องสูดทันที
💡สูดช้าๆลึกๆ
face mask spacer ให้่สูดช้าๆลึกๆทั้งทางปากและทางจมูก
ถ้ากลั้นหายใจไม่ได้ ให้สูด 5-10 ครั้ง
6 ขวบขึ้นไปให้ใช้แบบ mouthpiece spacer สูดได้ 2 ที
💡กลั้นหายใจ 4 - 10 วินาที
💡ถ้าต้องสูด 2 puff ให้เว้น 1 นาที แล้วทำซ้ำใหม่
💡บ้วนปากกลั้วคอ
ปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตย์
spacer ที่มันวาว จะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตย์ ให้ล้างทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง ด้วยน้ำยาล้างจาน 1:5000 อย่าเอาผ้าไปเช็ด
ไฟฟ้าสถิตย์จะทำให้ตัวยาติดในกระบอก แต่ผลทางคลีนิกไม่ได้แตกต่างกัน ให้พ่นยาทิ้งไปในกระบอกก่อน 2puff ในครั้งแรก หลังจากนั้นใช้ตามปกติ และเช็ด mouthpiece ทุกครั้งหลังจากพ่นยา
🚨
ACE®MDI SPACER Kit W/Mouthpiece
Aerosol Cloud Enhancer,(ACE KIT)
(podcast นาทีที่ 49)
ใช้กับคนไข้ ICU หรือ semi ICU
การดูยาหมด
💡ปัจจุบันสารขับเคลื่อนไม่ใช่ CFC อย่าเอาไปลอยน้ำ
💡ตัวที่ไม่มี COUNTER DOSE ถ้าใช้ทุกวันๆละ 2 PUFF ยา 200 puff จะใช้ได้ 50 วัน เภสัชต้องคำนวณระยะเวลาการใช้ยาให้
🚨ในกระบอกยาหลังจากที่ยาหมด จะมี PROPELLANT ค้างอยู่ได้เกือบ 20 กด
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ทุกวัน ถ้ายาเริ่มเบาให้แยกให้ได้ถึงความแตกต่าง อย่าฝืนใช้
📣การใช้ยาหมดอายุ ยังดีกว่า พ่นยาหมด
Device Pitfall in Real Practice
รศ.ดร.ภญ. สุณีเลิศสินอุดม
(คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
MDI
ให้กดพร้อมสูด
สูดช้าๆลึกๆ กลั้นหายใจ
ปัญหาที่เกิดขึ้น
สูดหายใจทางจมูก
ให้เข้าใจว่า สูดทางปากเหมือนดูดน้ำด้วยหลอด
ถ้าสูดสั้นแล้วหยุด หรือ ตกใจพ่นที่ปากแล้วหยุดจนเห็นควัน
แก้ไขด้วยการ add spacer
พ่นยา แต่ไม่ได้เปิดฝา
คว่ำเครื่องพ่น ทำให้กดได้แค่ 1 กด หลังจากนั้นจะกดตัวยาไม่ออก
พ่นยาโดยไม่ได้เอาปากกระบอกจ่อตรงปาก
หายใจทางจมูก ทำให้ไม่ได้ยา
ไม่มีแรงกด (กดแล้วไม่ลงดังฟึด) อาจใช้นิ้วโป้ง หรือ ใช้นิ้วทั้ง 2 ข้าง กดให้ลง
อย่างเช่นคนไข้รูมาตอยด์จะไม่มีแรงกดยา ให้เปลี่ยนไปใช้ยารูปแบบอื่น
กดรัวพร้อมกันทีเดียว 4 กด ทำให้ PARTICLE SIZE ใหญ่ขึ้น และตกค้างที่บริเวณช่องปาก
counter dose เห็นเลข 0 แค่ตัวเดียว ก็บอกแล้วว่ายาหมด
🛑
MDI WITH SPACER
ข้อดี ละอองยาจะเล็กลง กลิ่นรสจะไม่เหมือนเดิม
ปัญหา พ่นผิดทาง (คว่ำแล้วพ่น)
สูดหายใจทางจมูก
🛑
DPI
ไม่ต้องบอกขั้นตอนต่างๆให้เยอะเกินไป
เปิดอุปกรณ์ให้ถูก
พร้อมเมื่อไหร่ค่อยสูด อย่าให้สูดตอนเหนื่อย
💡สูดแรงๆ เร็วๆ ลึก💡
(PASSIVE INHALER ต้องใช้แรงสูดพายาเข้าปอด)
(สูดเบา 2 ที ทำให้ยาตกที่ลิ้น 2 ครั้ง)
คนไข้ COPD หายใจเข้าออกนานๆจะเหนื่อย
การเปิดอุปกรณ์ไว้ ทำให้ชื้น
ยาห้ามแช่ตู้เย็น
TURBUHALER
ปัญหา
หมุนยังไม่ดีก็สูดยา
ไม่รู้จะหมุนทางไหนกันแน่
สูดยาไม่แรงพอ
ไม่มีแรงในการสูด
หายใจรดเข้าไปตรงปากกระบอก
ปัญหาเรื่องยาหมด
ACCUHALER
ปัญหา
ไม่ได้ถือในแนวขนาน
สูดยาไม่แรงพอ
Counter dose ตัวเลขเล็ก มองไม่เห็น
SINGLE DOSE DEVICE
ได้แก่ HANDIHALER และ BREEZHALER
ปัญหา
แคปซูลยาพ่น คิดว่าเป็นยากิน
เจาะรูยาจนแคปซูลเละ
หรือไม่ได้เจาะรูยา
ไม่ได้ใส่แคปซูลใหม่ ใช้แคปซูลเดิมซ้ำ
แรงสูดไม่ได้เยอะพอ (ต้องมากกว่า 30 L/มิล)
บทความเกี่ยวข้องอื่นๆ
💎บทความวิชาการ
การนำส่งยาและอุปกรณ์สูดพ่นยาสำหรับโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(Drug delivery and Inhaler devices used in asthma and chronic obstructive pulmonary disease) bit.ly/3bO9gBW
💎PODCAST เรื่องการใช้อุปกรณ์ยาพ่นสเตียรอยด์
ตอน1 💢 bit.ly/32l6ocE
ตอน2 💢 bit.ly/2RkFKdu
💎วิธีการใช้ยารูปแบบต่างๆ bit.ly/32lrlUE
💎 NOTE ย่อ bit.ly/2Fod4xN
POSTED 2020.09.12



ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ


FACEBOOK / BetterPharmacyCMG

.....................

No comments:

Post a Comment