Wednesday, August 24, 2016

สูงวัย...ไตแข็งแรง

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  11:31
 
คนไทยเป็นโรคไตมากถึง 17% หรือประมาณ 10 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรัง จำเป็นต้องฟอกเลือดมากถึง 5% หรือราว 1-2 แสนคน สาเหตุเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุดประมาณ 60-70% นอกจากนี้ เกิดจากโรคไตอักเสบ (SLE) และโรคนิ่ว

ความเสี่ยงในการเป็นโรคไตคือ
1.มีอาการบวม โดยเฉพาะหนังตาบวมหลังจากตื่นนอนตอนเช้า
2.ปัสสาวะมีฟอง เนื่องจากมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่กรณีนี้ต้องเป็นการปัสสาวะตามปกติ มิใช่การปัสสาวะหลังจากมีกิจกรรมทางเพศ
3.ปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ ทุกคืน ทั้งที่ผ่านมาไม่เคยมีอาการดังกล่าว

ส่วนความเชื่อที่ว่าอาการปวดหลังเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตด้วยนั้น จากการตรวจผู้ป่วยพบว่าไม่ถึง 5% ที่ภาวะไตเสื่อมเกิดจากอาการปวดหลัง นอกจากนี้ เอกลักษณ์หนึ่งของผู้ป่วยโรคไตคือ ผิวแห้งและดำคล้ำ เนื่องจากมีการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับสีผิวออกมา แต่หากเปลี่ยนถ่ายไตแล้วอาการผิวดำ แห้งจะหายไป

มีโรคกลุ่มหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการไตวายได้ คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงนิ่ว และทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ

ยาที่มีผลกระทบต่อโรคไตโดยตรงคือ
1.ยาแก้ปวดข้อ เช่น ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือยากลุ่ม NSAID หรือยาต้านการอักเสบ เพราะจะทำให้เลือดเกิดอาการคั่ง บวม เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ทำให้ไตเสื่อม
2.ยาไข้หวัด ลดน้ำมูก ซึ่งกินแล้วง่วง น้ำมูกแห้ง จะส่งผลให้ความดันขึ้น ทำให้ไตแย่ลง และ
3.ยาโรคความดัน ก็มีผลให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยาโรคความดันจำเป็นต้องกิน เพราะหากไม่กินควบคุมความดัน อาการความดันสูงก็จะส่งผลต่อไตเช่นกัน คือเป็นยาที่ไม่ว่ากินหรือไม่กินก็มีผลกระทบต่อไต


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000028748
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  12:47
 
ยา 10 ชนิดที่ทำลายไต
ยาฆ่าเชื้อ ciprofloxacin ยาซัลฟา เพนนิซิลลิน และยาล้างไต Rifampicin
ยาแก้ปวดกลุม NSAID เช่น บรูเฟน โกเฟน นูโรเฟน โซพรอกเซน
ยากลุ่ม COX-2 inhibitors เช่น Celebrex, ARCOXIA
ยาลดกรดกลุ่ม PPI เช่น MIRACID, Nexium, PREVACID
ยาฆ่าเชื้อไวสัส เช่น ยารักษาโรคเริม งูสวัส HIV
ยาลดความดันกลุ่ม ACEI เช่น captopril Enalapril Lisinopril
ยาแก้ปวดข้อรูห์มาตอยด์ SLE
ลิเทียม รักษาโรคไบโพล่าร์
ยากันชัก เช่น phenytoin
ยาเคมีบำบัด อินเตอร์ฟีรอน ยาต้านไทรอยด์

>>>>>>>>>>>>
http://www.empowher.com/kidney-failure/content/top-ten-drugs-cause-kidney-damage
Drug Prescribing in Renal Impairment
http://patient.info/doctor/drug-prescribing-in-renal-impairment Drug-InducedNephrotoxicity
http://www.aafp.org/afp/2008/0915/p743.html
The list of individual drugs that cause kidney damage is so long that it's hard to decide on the top ten. So I've chosen to list them by type of drug: antibiotic, analgesic, etc.
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  11:45
 
ยาเป็นดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษ จึงใช้ในระยะสั้นๆ อย่าใช้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง เกิดอาการขาบวม ไตเสื่อมได้ หรือ หัวใจวาย

อย่างเช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ยาลดความดัน ยาแก้อาการคัดจมูก

>>>>>>>>>

ยาแก้ปวดลดการอักเสบ และไตวาย

ไตเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงปริมาณมากแต่ละวันมีเลือดไหลผ่านไตโดยเฉลี่ย 180 ลิตรต่อวัน เลือดที่ไหลผ่านไตส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปใช้โดยตรง แต่ผ่านไปเพื่อให้ไตทำหน้าที่กรองของเสียและสารส่วนเกินออกจากเลือด โดยไตจะขับสารเหล่านั้นออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งของเสียและสารส่วนเกินภายในร่างกายส่วนใหญ่มาจากอาหารที่รับประทาน กระบวนการเผาผลาญของร่างกายในแต่ละวัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อรักษาโรค หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ ไตจะทำหน้าที่กำจัดสารเหล่านี้ออกจากร่างกาย แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ จะทำให้ของเสียและสารพิษคั่งในร่างกาย และเกิดผลเสียต่อร่างกายตามมาได้ สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่พบบ่อยและสามารถป้องกันได้คือการใช้ "ยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์" อย่างไม่เหมาะสม

ยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จะมีชื่อเรียกทางการแพทย์สั้นๆ ว่า "เอ็น-เสด (NSAIDs) เนื่องจากยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการลดอาการปวดและการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ดีจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ยากลุ่ม "เอ็น-เสด" นี้สามารถหาซื้อในเวลาซื้อขายได้หลายแบบ เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาแก้อักเสบ หรือ ยาแก้ยอก เป็นต้น ยาเหล่านี้ปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายผู้รับประทานยากลุ่มนี้จึงควรมีความรู้เพื่อที่จะสามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ยากลุ่ม "เอ็น-เสด" มักถูกใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อลดอาการปวดอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อ เนื่องจากยาเหล่านี้จะมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้ ยกเว้นยาแอสไพรินขนาดต่ำที่อาจถูกใช้ระยะยาว เพื่อป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ สมอง และหลอดเลือดส่วนปลายของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ยา "เอ็น-เสด" บางชนิดอาจเพิ่มความเสียงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ และมีผลข้างเคียงต่อไต ซึ่งยาจะทำให้ไตทำงานผิดปกติได้ดังนี้

1. ไตวายเฉียบพลัน อาจพบอาการปัสสาวะออกลดลง มีอาการบวมที่หนังตาและหน้าแข้ง
2. ไตวายเรื้อรัง มักเกิดในคนที่ใช้ยาเหล่านี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายปี
3. น้ำและเกลือคั่ง อาจพบอาการบวมที่หนังตามและหน้าแข้ง น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจพบความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ในกรณีที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำท่วมปอด หรือ หัวใจล้มเหลว
4. เกลือแร่โปแตสเซี่ยมในเลือดคั่ง เป็นผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุด เนื่องจากโปแตสเซียมที่สูงอาจทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติ และอาจรุนแรงถึงขึ้นหัวใจหยุดเต้น

ในคนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว การกินยา "เอ็น-เสด" ในระยะเวลาสั้นๆ มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงดังที่กล่าวมา แต่ต้องระมัดระวังอย่างมากในผู้ป่วยกลุ่มดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
2. ผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี
3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิดจะยิ่งทำให้ผลข้างเคียงของยา "เอ็น-เสด" เพิ่มทวีคูณมากขึ้น นอกจากนี้ยา "เอ็น-เสด" ยังทำให้การควบคุมความดันโลหิตแย่ลงไปอีกด้วย
4. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะ
5. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
6. ผู้ป่วยโรคตับแข็ง
7. ผู้ป่วยที่มีโรคเส้นเลือดเลียงไตตีบ
8. ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียร หรือ ท้องเสีย
9. ผู้ป่วยที่ได้รบการรักษาด้วยยาละลายเกล็ดเลือด หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

จะเห็นได้ว่าแม้จะเป็นยาที่ดี แต่ผลข้างเคียงของยาก็รุนแรง ก่อนการใช้ยาจึงควรสอบถามแพทย์ หรือ เภสัชกรถึงผลข้างเคียง และภาวะเสี่ยงต่อการใช้ยากลุ่มดังกล่าว ซึ่งจะทำให้การใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัย ยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีชื่อเรียกทางการแพทย์สั้นๆว่า "เอ็น-เสด" (NSAIDs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสีบ แก้ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ
1. ผลข้างเคียงต่อไต ทำให้เกิดไตวาย บวม ความดันโลหิตสูง และเกลือแร่โปแตสเซียมคั่ง
2. ผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเลือดออกในทางเดินอาหาร
3. ผลข้างเคียงต่อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และการทำงานของหัวใจล้มเหลว
ผลข้างเคียงบางอย่างอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ก่อนการใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์และ เภสัชกร

กลุ่มยา เอ็น-เสด (NSAIDs) ที่มีขายอยู่ทั่วไปมีหลายชนิด และยาที่ใช้บ่อยดังต่อไปนี้

ชื่อสามัญ ชื่อทางการค้า
Aspirin (แอสไพริน) Aspent (แอสเพนท์ ทัมใจ บวดหาย
Celecoxib (ซีลีค็อกสิบ) Celebrex ซีลีเบร็กซ์
Diclofenac ไดโคลฟีแน็ก Voltaren โวลทาเร็น
Etoricoxib อีโตรีค็อกสิบ Arcoxia อาค็อกเซีย
Ibuprofen ไอบูโพรเฟ็น Brufen บรูเฟ็น Nurofen นูโรเฟ็น
Indomethacin อินโดเม็ดทาซิน Indocid อินโดซิด Indomed
Meloxicam เมล็อกสิแค็ม Mobic (โมบิก) Melcam เมลแค็ม
Mefenamic acid Ponstan พอนสแตน
มีเฟ็นนามิก แอซิด
Naproxen นาพร็อกเซน Synflex ซินแฟล็ก
Piroxicam ไพร็อกซิเค็ม Feldene เฟลดีน Flamic ฟลามิก
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  11:40
 
ยาและสมุนไพรที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต

ยาอาจสะสมในร่างกาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อไตในผู้ที่มีโรคไตได้

ยาแก้ปวดลดอักเสบ กลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น ยามีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้

ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย

ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของสมุนไพร หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม

ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ

ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟต

อาหารเสริมต่างๆ มักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

สมุนไพร เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย (Ginko biloba) โสม (ginseng) กระเทียม (garlic) ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่ต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่าย

ยาระบายที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ispaghula husk อาจทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียมได้

ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงสมุนไพร (ทั้งในรูปแบบแคปซูล ยาน้ำ ชาชง) ยาแผนโบราณ ยาจีนต่างๆ เนื่องจากทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง รวมทั้งยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจนในการชะลอการเสื่อมของไต ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณสารที่สกัดได้

https://www.bumrungrad.com/th/nephrology-kidney-center-bangkok-thailand/procedures/ckd-care-chronic-disease
ยากับโรคไต
https://www.doctor.or.th/article/detail/5948
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  12:32
 
วิธีการดูแลไต

ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรดื่มน้ำ 8-10 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) ต่อวัน หรือตามที่ Institute of Medicine (IOM) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำ คือ ควรดื่มน้ำเฉลี่ย 3.7 ลิตรต่อวันในผู้ชาย และเฉลี่ย 2.7 ลิตรต่อวันในผู้หญิง
รับประทานอาหารและใช้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม

การรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รสหวานและเค็ม นอกจากนั้นการรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่มากเกินความจำเป็นก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไตได้

ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณสีข้าง การถูกตีหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสีข้าง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวาย

ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

งดบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์) และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน (ชา กาแฟ)

ยาทั่วไปที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยาในกลุ่ม “ NSAID” เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น
รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น

นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดอาการข้างเคียงของยา (ในที่นี้คือ เป็นพิษต่อไต) ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากการเกิด“ยาตีกัน” เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา Cyclosporine เพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงกินยา Ketoconazole หรือ Itraconazole เพื่อจะรักษาอาการติดเชื้อรา ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นและทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังแล้ว ต้องแจ้งชื่อยาหรือนำตัวอย่างยาที่ตนเองใช้ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

“มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”

จากโรคเบาหวานสู่โรคไตจะป้องกันหรือบรรเทาได้อย่างไร?
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=709

ดูแลไตอย่างไร...ให้อยู่กับเราไปนานๆ
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/244/วิธีการดูแลไต/
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  15:09
 
วิตะมินที่ช่วยปกป้องไต
วิตะมิน B6
Coenzyme Q10
silymarin
resveratrol
lipoic acid
Omega-3 fatty acids
folic acid (folate) and vitamins C and E
L-carnitine

>>>>>>>>>

renal vitamins contain vitamins B1, B2, B6, B12, folic acid, niacin, pantothenic acid, biotin and a small dose of vitamin C 60-100 mg

วิตะมินที่ผู้ป่วยโรคไตควรระวัง คือ วิตะมินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A D E K


http://www.lifeextension.com/magazine/2010/5/innovative-strategies-to-combat-kidney-disease/page-01
The ABCs of Vitamins for Kidney Patients
https://www.davita.com/kidney-disease/diet-and-nutrition/diet-basics/the-abcs-of-vitamins-for-kidney-patients/e/5311
Can Taking Too Many Vitamins Cause Liver and Kidney Damage?
http://www.livestrong.com/article/518825-can-taking-too-many-vitamins-cause-liver-and-kidney-damage/
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  18 Aug 2016
 
โรคไต ภัยร้ายใกล้ตัว

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  18 Aug 2016
 
ไม่น่าเชื่อว่าแม่ฮ่องสอนจะติดอันดับ 4 ของจำนวนผู้ที่เป็นโรคไต
สาเหตุคาดว่าน่าจะมาจากการกินเค็มติดต่อกันเป็นเวลานาน
Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  18 Aug 2016
 
โรคไต ภัยร้ายใกล้ตัว

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  18 Aug 2016
 
โรคไต ภัยร้ายใกล้ตัว

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ขณะนี้!! !! คนไทย 8 คน พบป่วยไตเรื้อรัง 1 คน ซึ่งพบเพิ่มขึ้นปีละ 7,800 ราย ตายสูงถึง 8 เท่า แล้วคุณจะไม่ดูแลไตของเรากันหรือ!!
นับเริ่ม....ตรวจเช็คสัญญาณเตือนว่าอาจเป็นไต รู้หรือยัง.......อะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง

อ่านต่อได้ใน...DDC Watch จุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2559
“โรคไต” ภัยร้ายใกล้ตัว
“3 ลด.....รักษาไต ลดเค็ม ลดน้ำตาล ลดความดัน ”
http://203.157.15.110/boe/viewddcw.php
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  1 Aug 2016
 
‘รพ.รามา’ เปิดตัวแบบประเมินออนไลน์ ‘ความเสี่ยงเกิดโรคไตในอนาคต’
http://med.mahidol.ac.th/cvmc/thaicv/
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  14 Jul 2016
 
ปี 2558 พบว่า 5 อันดับแรกของโรคที่พบมากในกลุ่มพระสงฆ์ ได้แก่
1.โรคเมตาบอลิซึ่มและไขมันในเลือดผิดปกติ
2.โรคความดันโลหิตสูง
3.โรคเบาหวาน
4.โรคไตวายหรือไตล้มเหลว และ
5.โรคข้อเข่าเสื่อม
ซึ่งสาเหตุหลักล้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคทั้งสิ้น


http://www.matichon.co.th/news/212144
ที่โรงพยาบาลสงฆ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดแถลงข่าว “เข้าพรรษานี้ ตักบาตรถาม (สุขภาพ) พระ” พร้อมเผย 5 อันดับโรคพบมาก มีสาเหตุจากอาหารที่ญาติโยมนำมาถวาย พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์ที่เข้ารับการรักษาใน รพ.สงฆ์ปี 2558 พบว่า 5 อันดับแรกของโรคที่พบมากในกลุ่ม...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  13 Jul 2016
 
หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม
พบว่ามีการผสมสารไนเตรททุกตัวอย่าง หลายยี่ห้อไม่ระบุว่า ผสมสารดังกล่าว อีกทั้งยังไม่ระบุว่าหมดอายุด้วย ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะไม่ทราบว่าผลิตตั้งแต่เมื่อไหร่ จะหมดอายุเมื่อไหร่ ซึ่งผิดตามพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522

ถ้ากินมากๆ เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับ เป็นอันตรายกับไต ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อ่อน ถ้าคนแพ้จะมีอาหารเฉียบพลันต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เสียชีวิตได้

https://www.yaklai.com/lifestyle/health/nitrate-nitrite/
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แถลงข่าว “ส่องหมูแผ่นกรอบ หมูหวาน ยี่ห้อไหนฝ่านมาตรฐานจาก 14 ยี่ห้อ” ว่า
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  12 Apr 2016
 
การบริโภคเวย์โปรตีนจะกินหลังออกกำลังกาย ก่อนนอนและตื่นนอน เพราะจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เป็นมัดๆ ในปัจจุบันเวย์โปรตีนมีหลากหลายยี่ห้อ เวย์โปรตีนนั้นสามารถกินได้ทุกช่วงเวลา แต่ก็ต้องออกกำลังกายควบคู่กับการเล่นเวทไปด้วย ไม่เช่นนั้นโปรตีนส่วนเกินก็จะตกค้าง จนกลายเป็นไขมันได้ในภายหลัง และที่อันตรายกว่านั้นอาจตกค้างอยู่ในตับและไต และจะทำให้น่ำหนักเพิ่มขึ้น

http://www.dailynews.co.th/article/280814
http://ped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_22_13_07.pdf

WHEY PROTEIN
กระแสความนิยมรับประทานโปรตีนชนิดพิเศษ หรือ “เวย์โปรตีน” ยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มนักออกกำลังกายที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
เมื่อวานได้อบรมเก็บคะแนนเรื่องโรคไต ปรากฏว่า ไอ้ที่เราปฏิบัติตัวมา เป็นสิ่งที่ถูกต้อง คือ ทน ทน ทน จนถึงที่สุด ไม่ไหวแล้ว ค่อยกินยา

แต่ในทางปฏิบัติ เขาบอกว่า เมื่อเริ่มมีอาการ อย่าทิ้งไว้ ให้รีบกินยา เพราะยิ่งกินยาเร็วเท่าไหร่ การอักเสบจะไม่ลุกลาม อาการเจ็บปวดจะไม่เพิ่มขึ้น

วันนี้ตื่นมาก็เริ่มมีอาการ ปวดหัว เอาเลย ตามทฤษฏี รีบกินยาก่อน คว้า ALKA SELTZER ละลายน้ำกินเลย ปรากฏว่า ยาเริ่มออกฤทธิ์ภายในครึ่งชั่วโมง แต่อาการหายไม่เด็ดขาด อาการตัวร้อนหมดไป แต่อาการปวดหัวยังค้างคาอยู่ พอมาที่ร้าน ก็เลยซัดยาพาราแบบออกฤทธิ์เร็วเข้าไป คราวนี้หายเป็นปลิดทิ้ง ตั้งแต่บ่ายจนป่านนี้ ยาเริ่มหมดฤทธิ์ เริ่มจะตัวร้อน เริ่มจะปวดหัวอีก

ทีนี้ไงรู้มั้ย ยาที่ทำให้เกิดโรคไตอันดับต้นๆก็คือ ยาแอสไพริน คนสมัยก่อนกินพวกบวดหาย ทันใจ กินไปเรื่อย มันมาส่งผลกันตอนแก่ๆนี่แหละ โรคไตถามหา ต้องฟอกเลือดกันวุ่นวาย เหตุเกิดจากการสะสมมาตั้งแต่หนุ่มๆ นานเป็นสิบๆปี

พอมาถึงตอนนี้ มันก็เลยกลายเป็นว่า ที่ฉันไม่กินยา คือ สิ่งที่ถูกที่สุด ...
หรั่งที่มันมีปัญหาเรื่องติดยาแก้ปวด ก็เพราะแบบนี้แหละ ปวดก็กินยา กินไปเรื่อย จนในที่สุดดื้อยา ต้องเพิ่มขนาด จนร่างกายพัง จากการได้รับสารเคมีเกินขนาดเป็นระยะเวลานานๆ

สุดท้าย ยาก็คือดาบสองคมดีๆนี่เอง ใช้ก็ดี ไม่ใช้ก็ดี สุดท้ายอยู่ที่เราว่าจะเอาไง จะทนยอมเจ็บปวด หรือจะไม่ทนตกเป็นทาสยา แล้วรอรับผลที่เกิดขึ้น

ใช้ยาระวังพิษ รักชีวิตอย่าคิดลองยา
มีปัญหาเรื่องการใช้ยา เชิญปรึกษาเภสัชกร
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
ยาแอสไพรินมีคุณต่อโรคหลอดเลือด แต่มีโทษต่อโรคไตเรื้อรัง การศึกษาการใช้แอสไพรินในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคไตในคนๆเดียวกัน พบว่ายาแอสไพรินยังให้คุณมากกว่าโทษ

โปแตสเซียมในเลือดสูงในคนไข้โรคไตระยะต้น ไม่ได้เกิดจากเนื้อไตเสื่อม ส่วนใหญ่เกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดัน เช่นยาในกลุ่ม ACEI (เช่น captopril, enaril, ) และยาในกลุ่ม ARB (เช่น Iosartan (Cozaar), losartan, Irbesartan เป็นต้น) ดังนั้นควรยอมให้โปตัสเซียมคงอยู่ระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อยได้ และควรไปโฟคัสที่การปรับเปลี่ยนยา อย่าไปโฟคัสที่การงดผลไม้และผักซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วย

- ยาที่ส่งผลกระทบต่อไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากที่สุด คือยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs และกลุ่ม COX-2 inhibitor ควรเลี่ยงให้ยาเหล่านี้บรรเทาปวดแก่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ โดยเลือกใช้ยากลุ่มที่ปลอดภัยกว่าทดแทน ได้แก่ paracetamol, glucosamine และน้ำมันปลา แต่หากไม่สามารถบรรเทาปวดได้ อาจพิจารณาใช้ยา Aspirin ในขนาดต่ำ แม้ว่ายาอาจรบกวนการขับถ่ายกรดยูริกของท่อไตอันนำไปสู่การตกตะกอนเป็นผลึกนิ่วในไตได้ แต่ไม่ส่งผลเสียต่อไตโดยรวม

- การใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็อาจทำให้ไตที่บอบช้ำอยู่แล้วจากภาวะไตวายทรุดตัวเร็วขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดการคั่งของสารน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย เพิ่มความดันโลหิต ส่งผลเสียโดยตรงต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

- เวลาให้ NSAIDs ผู้ป่วยมักได้รับยาลดกรดในกระเพาะอาหารร่วมด้วย โดยเฉพาะยาในกลุ่ม PPI เช่น Omeprazole ซึ่งพบได้บ่อยว่ายาในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อไตแบบ interstitial nephritis ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง รอยโรคชนิดเฉียบพลันและรุนแรงแต่สามารถแก้ไขให้ไตกลับมาทำงานได้หากหยุดยาได้ทัน แต่ชนิดเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไปก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าที่ของไตโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและแพทย์อาจไม่ทันได้ระวัง จึงควรทำการหยุดยาหากพบการเสื่อมหน้าที่ของไตลงโดยไม่ทราบสาเหตุก่อนที่จะสายเกินแก้

http://www.pharmyaring.com/qareply.php?id=21
http://visitdrsant.blogspot.com/2011/05/post-update-2.html
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
ไตวายเฉียบพลัน เกิดได้จากเหตุดังต่อไปนี้

ภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานานโดยสาเหตุต่างๆ
ติดเชื้อในกระแสเลือด
โรคไตชนิดรุนแรง
การที่มีเฮโมโกลบินอิสระไหลเวียนอยู่ในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการให้เลือดผิดหมู่
ภายหลังจากมีการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายอย่างมากมาย
จากการแพ้ยาหรือสารบางชนิดที่มีพิษต่อไตเช่นซัลโฟนาไมด์
จากการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะทันที เช่น ก้อนเลือดแข็งตัว นิ่วและหนอง เป็นหนอง
บางครั้งไตวายฉับพลันเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงไตลดลง เช่นมีภาวะตกเลือด หรือช็อคและทำให้ความสามารถในการขับของเสียลดลงอย่างมาก (เช่นจากไข้เลือดออก)

อาการสำคัญของไตวายเฉียบพลัน คือ มีปัสสาวะลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้า รักษาด้วยการให้สารน้ำให้พอและแก้ภาวะเลือดไปเลี้ยงไตลดลงได้ ไตจะกลับปกติ ในเวลาเพียง 24-72 ชั่วโมงเท่านั้น และจะมีปัสสาวะออกตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษาแบบไตวายเรื้อรัง

http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=33
http://www.vachiraphuket.go.th/www/hemodialysis/know2.php
http://www.piyavate.com/article/frontend/article_detail/id/323
ข่าวสารและกิจกรรม. ข่าวสารและกิจกรรม · บทความสุขภาพ · โรคกระดูกและข้อ · โรคเกี่ยวกับเด็ก · โรคหัวใจและหลอดเลือด · โรคระบบทางเดินปัสสาวะ · โรคมะเร็งและรังสีรักษา · โรคไต · โรคทั่วไป. บริการทางการแพทย์; บทความสุขภาพ · โรคไต; ไตวายเฉียบพลันเป็นอย่างไร ...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
บุหรี่กับโรคไต

บุหรี่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับโรคไต แต่ในที่สุดคนสูบบุหรี่ส่วนหนึ่ง ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็นโรคไต เพราะบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อไตทั้งโดยตรง และโดยอ้อม

การสูบบุหรี่ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดและความผิดปกติของไขมันในเลือด ทำให้เส้นเลือดเสื่อมเร็วขึ้น ตีบตันเร็วขึ้น จนเกิดโรคหัวใจ สมองเสื่อม และไตวายเร็วขึ้นกว่าผู้ป่วยความดันสูงที่ไม่สูบบุหรี่

CLIP http://www.thpaat.org/view_vdo.php?video_id=8&Page=2
http://www.ashthailand.or.th/th/data_center_page.php?id=516
บุหรี่กับโรคไต. จำนวนผู้รับชม | 376 ครั้ง บทสัมภาษณ์ : ศ.พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. กลับ. บทความ. 27 ข้อสำคัญการเลิก “บุหรี่”. เลิกบุหรี่เลิกง่าย ถ้าอยากจะเลิก. หนุ่มสาว !! อยากสวยหล่ออย่าคิด “สูบบุหรี่”. เพราะเรามีข้อมูลดีๆ เสริมสวยเสริมหล่อง่ายๆ เพียงคุณ "ไม่สูบบุหรี่". ลิงค์แนะนำ ...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
เหล้าเป็นพิษต่อตับ ทุกคนรู้อยู่ แต่ที่รู้กันน้อยกว่านั้นก็คือ เหล้าทำให้เกิดโรคไตได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อกินเหล้าร่วมกับยาพาราจะยิ่งเร่งก่อให้เกิดโรคไตเร็วขึ้น

https://www.kidney.org/atoz/content/alcohol
http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2013/12/03/acetaminophen-alcohol.aspx

https://www.doctor.or.th/clinic/detail/7250
http://www.1413.in.th/content-view-24.htm
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
Healthy Friday [by Mahidol]
ไตเรื้อรัง (ก่อนฟอกเลือด) เป็นโรคไต กินอย่างไร

ก่อนฟอกเลือด
https://www.youtube.com/watch?v=DpFy_ECL7Ns

ระยะฟอกเลือด
https://www.youtube.com/watch?v=UzKF-jpt8wc

กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง
https://www.doctor.or.th/article/detail/2189
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะสามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ในปัจจุบันนี้ผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นโรคไตกันเป็นจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการใช้ยาบางชนิดอย่างพร่ำเพรื่อในอดีต อาทิเช่น ยาบวดหาย ทัมใจ ซัลฟา กาน่า เจนต้า เฟนิลบิวตาโซน
สำหรับในปัจจุบันนี้ ยาหลายชนิดที่ใช้กันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มีส่วนทำให้เกิดโรคไตได้เช่นกัน อาทิเช่น ยาลดความดันบางชนิด ยาลดกรดบางชนิด ยาแก้ปวดบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ควรที่ผู้ใช้ยา ผู้สั่งจ่ายยา ผู้จ่ายยา ควรตระหนึกถึงผลของยาที่มีต่อไต

หมายเหตุ ต่อให้มี สปสช. ต่อให้มีสสส. ถ้ามัวแก้ปัญหาอยู่ที่ปลายเหตุ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเรื่องของโรคไตจากยา ไม่ใช่เรื่องของโง่ จน เจ็บ แต่เป็นเรื่องของการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดขึ้น

>>>>>>>>>>>>>>>>....

โครงการเผยแพร่ ความรู้เรื่องโรคไตสูประชาชน ครั้งที่ 1 เรื่องโรคไต ป้องกันได้ รักษาได้ วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม 2555 ณ.โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

ตอน 1
https://www.youtube.com/watch?v=lh9QwemrcZE
ตอน 2
https://www.youtube.com/watch?v=U-dRcutvdeE
ตอน 3
https://www.youtube.com/watch?v=EUJNTosEKTI
ตอน 4
https://www.youtube.com/watch?v=lh9QwemrcZE
ตอน 5
https://www.youtube.com/watch?v=cYBgJgqQNZc
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
บทความสำหรับผู้สนใจภาษาอังกฤษ สรุปยาที่เป็นพิษต่อไตทั้งหมด ที่ได้ POST ไปในวันนี้

Drug-Induced Nephrotoxicity
CYNTHIA A. NAUGHTON, PharmD, BCPS, North Dakota State University College of Pharmacy, Nursing, and Allied Sciences, Fargo, North Dakota
Am Fam Physician. 2008 Sep 15;78(6):743-750.
http://www.aafp.org/afp/2008/0915/p743.html

Among older adults, the incidence of drug-induced nephrotoxicity may be as high as 66 percent.Compared with 30 years ago, patients today are older, have a higher incidence of diabetes and cardiovascular disease, take multiple medications, and are exposed to more diagnostic and therapeutic procedures with the potential to harm kidney function.

http://www.aafp.org/afp/2008/0915/p743.pdf
2 photos
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  14 Mar 2016
 
วันไตโลก (World Kidney Day) 13 มีนาคม 2559

วันหนึ่งเราไม่ควรกินเกลือโซเดียมเกินกว่า 10 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับจากอาหารปกติที่รับประทานเข้าไปอยู่แล้ว

“เค็ม” ไม่จำเป็นต้องเป็นเกลือเสมอไป อย่างโค้ก หรือโซดา เป็นโซเดียมไบคาร์บอเนต ก็มีโซเดียม หรือในผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล มะเฟือง ส้มก็มีโปแตสเซียม ซึ่งคนเป็นโรคไต ก็กินผลไม้บางอย่างไม่ได้

โรคไตในเด็กพราะกินแป้ง กินหวาน กินเค็ม และทำกิจกรรมน้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เมื่ออ้วนตอนอายุ 10 กว่าขวบ จึงพบว่าคนวัยทำงาน บางคนอายุ 30-40 ปี จะเริ่มมีเบาหวาน ความดัน และไขมันสูง ทำให้เป็นโรคไตในเวลาต่อมา

ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ 10-20 ปีขึ้นไป ควบคุมเบาหวานไม่ดี จะทำให้เกิดอาการเส้นเลือดตีบ ซึ่งถ้าเส้นเลือดตีบในไตก็จะเป็นไตวาย

ความดันโลหิตสูง ถ้าปล่อยนานๆ เป็นสิบปี ความดันจะสูงไปเรื่อยๆ และทำลายเส้นเลือดที่ไตทำให้ไตเสีย
อาการจึงจะปรากฏชัด เช่น…
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีด คันตามตัว มีจ้ำตามตัว ฯลฯ

http://www.matichon.co.th/news/64613
ใครที่เคยเชื่อว่าโรคไตเกิดจากการบริโภค “เค็ม” แต่เพียงอย่างเดียว ต้องคิดใหม่ แท้ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันเป็นโรคไตกันมากขึ้น ครึ่งหนึ่งมาจากโรคเบาหวานเรื้อรัง อีก 25% มาจากความดันโลหิตสูง ที่เหลือเกิดจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม เช่น เนื้อเยื่อในไตอักเสบ กรรมพันธุ์บางอย่าง เป็นซีสต์ที่ไตแล้วทำให้ไตไม่ดี หรือเป็นนิ่วในไตแล้วอุดตันไตทำให้ไตเสีย โรคไตปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในโรคฮิตของคนเมือง ซึ่งนับวันจะยิ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  23 Feb 2016
 
อาการของโรคเบาหวานมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรืออาจไม่ปรากฏอาการเลยก็ได้ ลักษณะอาการที่พบบ่อยๆได้แก่
- สายตาพร่ามัว
- เป็นแผลเรื้อรัง
- ปวดและชาตามมือและเท้า
- มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง ปาก หรือ กระเพาะปัสสาวะบ่อยครั้ง
ปัสสาวะมาก กระหายน้ำบ่อย

ส่วนโรคแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาทิ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต และแผลติดเชื้อต่างๆ

ดังนั้นเพื่อนสมาชิกดูแลรักษาสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอกันด้วยนะคะ


https://www.facebook.com/niem1669/photos/a.184197408286083.35030.149774598395031/1030495433656272/ 
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  27 Jan 2016
 
จังหวัดกำแพงเพชร มีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 2 หมื่นคน มีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นปีละ 15-20 % มีบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 382 คน เป็นผู้ป่วยฟอกเลือดฉุกเฉิน 216 คน ล้างไตทางหน้าท้อง 382 คน ซึ่งผู้ป่วยโรคไต 1 คนค่าใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3 หมื่นบาทต่อเดือน ที่สำคัญคือคุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

“คลองขลุงโมเดล”  มีทีมสหวิชาชีพได้แก่ พยาบาล ประเมินอาการ บันทึกข้อมูล ดัชนีมวลกายรอบเอว แพทย์รักษาเพื่อให้ได้เป้าหมายตามคำแนวทางการรักษา เภสัชกรตรวจสอบวิธีการใช้ยาและปรับตามค่าความเสื่อมของไต สอนอ่านฉลาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAID)  โภชนากร/นักกําหนดอาหาร สอนการรับประทานอาหารสําหรับโรคไต อาหารโปรตีนตํ่า อาหารลดเค็ม

ยังมีเครือข่ายเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต.แห่งละ 3-5 ท่าน ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังร่วมกับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ ด้วยบันได 4 ขั้น ป้องกันโรคไต ประกอบด้วย

1. ประเมินการรับประทานอาหารผู้ป่วย บันทึกรายการอาหารและให้คําแนะนําการปรุงอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
2. วัดความดันโลหิต เก็บข้อมูล
3. ตรวจสอบการใช้ยา
4. ติดตามการออกกําลังกาย

ผลการศึกษาพบความเสื่อมของไต ลดลงช้ากว่าอัตราการเสื่อมปกติของไต ช่วยยืดเวลาล้างไตออกไปได้จากเดิม 7 ปี ออกไปเป็น 14 ปี ช่วยลดค่าใช้จ่ายในผู้ที่ต้องล้างไตที่มีประมาณ 1,000 คน โดยค่าล้างไตประมาณ 200,000 บาท ต่อคน ต่อปี ช่วยลดค่าล้างไต 200 ล้านบาทต่อปี

http://www.hfocus.org/content/2016/01/11597
“หมอโสภณ” ศึกษาดูงาน คลินิกชะลอไตเสื่อม “คลองขลุงโมเดล” นวัตกรรมต้นแบบของประเทศไทย ชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ภายใต้การดูแลของสหวิชาชีพ ด้วยอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาที่เหมาะสม เพื่อช่วยยืดเวลาไตวายจนต้องล้างไตออกไปได้อีก 7 ปี ช่วยประหยัดค่าล้างไตทั่วประเทศปีละหมื่นล้านบาท
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  22 Jan 2016
 
แมกนีเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอื่นๆ
ผู้ชายต้องการแมกนีเซียม 400-420 มิลลิกรัม
ในขณะที่ผู้หญิงต้องการแมกนีเซียม 310-320 มิลลิกรัม

ห้ามใช้แมกนีเซียม ในผุ้ป่วยโรคไต หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (heart block)
ห้ามกินแมกนีเซียมร่วมกับยาฆ่าเชื้อ ยาลดความดัน เบาหวาน ธัยรอยด์ ยาโรคหัวใจ

ผู้ที่มีแมกนีเซียมต่ำ ได้แก่ คนที่ดื่มเหล้ามากๆ ดื่มกาแฟ ดื่มน้ำอัดลม กินเค็ม เหงื่อออกมาก มีความเครียดสูง มีประจำเดือนนานหลายวัน

http://www.mmc.co.th/articles/42085872/แมกนีเซียม.html
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=maths&group=16
http://www.livestrong.com/article/272189-magnesium-for-muscle-joint-aches/
http://www.huffingtonpost.com/dr-mark-hyman/magnesium-the-most-powerf_b_425499.html
https://www.youtube.com/watch?v=HWxAw1YxC78
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  2 Dec 2015
 
"ไตวาย" มีอาการแบบไหนและจะรักษาอย่างไรเมื่อเกิดไตวายเฉียบพลัน



https://www.facebook.com/piyamaharajkarun/photos/a.297925960250417.69231.290325507677129/985336644842675/ 
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  21 Sep 2015
 
ยาในกลุ่ม NSAID ทั้งที่เจาะจงและที่ไม่เจาะจงกับ COX–2 นี้ เวลาใช้ต้องระวังหรือใช้ไม่ได้ในคนที่มีตับและไตไม่สมบูรณ์

ยา Naproxen Ibuprofen Diclofenac Celecoxib Etoricoxib Lumiracoxib Rofecoxib พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายเท่าต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ และการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด (ซึ่งรวมหัวใจล้มเหลว จากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง หัวใจเต้นผิดปกติ ลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดในปอดเข้าไปด้วย)

นอกจากนั้นยังมีผลข้างเคียงทำให้เกิดหัวใจวาย ยา ได้แก่ Cele–brex (Celecoxib) Arcoxia (Etoricoxib) Dynastat (Parecoxib) ยาในกลุ่ม NSAID และไม่ได้มีฤทธิ์เจาะจงต่อ COX-2 มีหลายตัว เช่น Voltaren (Diclofenac) Indocid (Indomethacin) Clinoril (Sulindac) (Phenylbutazone) Ponstan (Mefenamic acid) Mobic (Meloxicam) Feldene (Piroxicam) Brufen (Ibuprofen) Naprosyn (Naproxen) Aspirin (Acetylsalicylic acid) (Nimesulide)

เมื่อรวมความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด ตัวที่อันตรายที่สุด คือ Etoricoxib หรือ ชื่อการค้าคือ Arcoxia (4.07 เท่า) Diclofenac หรือ Voltaren (3.98 เท่า) Ibuprofen หรือ Brufen (2.39 เท่า) Celecoxib หรือ Celebrex (2.07 เท่า) Lumiracoxib (1.89 เท่า) Rofecoxib หรือ Vioxx (1.58 เท่า) และ Naproxen หรือ Napro-syn (0.98 เท่า)


http://m.thairath.co.th/content/500657
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  9 Sep 2015
 
Pharma Nord Bio-C

ประกอบด้วยวิตามินซี 750 มิลลิกรัมต่อเม็ด
อยู่ในรูปที่ไม่เป็นกรด ดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก ไม่กัดกระเพาะ กินตอนท้องว่างได้
ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
อยู่ในรูปของเกลือแคลเซียม ใช้ได้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ที่จำกัดเกลือโซเดียม

ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีภาวะเหล็กเกิน
หลีกเลี่ยงในผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นนิ่วในไต  ผู้ที่มีภาวะไตบกพร่อง หรือ มีภาวะ glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency (G-6-PD)

เม็ดยาเคลือบด้วยชั้นฟิล์ม ผสมสารกันแดด รวมทั้งอยู่ในรูป BLISTER PACK ป้องกันการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ได้สมบูรณ์แบบ

เม็ดยา 1 เม็ด ในรายละเอียดที่ต่างกัน ให้มากกว่าที่คุณคิด.

http://www.pharmanordsea.co.th/products/details/bio-c-vitamin
ผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินซี; ประกอบด้วยวิตามินซี 750 มิลลิกรัมต่อเม็ด; อยู่ในรูปที่ไม่เป็นกรด; สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร; ผลิตภายใต้มาตรฐาน Danish pharmaceutical control. 1 เม็ดประกอบด้วย, % RDA*. Vitamin C. (as calcium ascorbate), 750 mg, 938%. * RDA: Recommended Daily Allowance ...
1
Add a comment....

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  25 Apr 2015
 
Herbal one Cordyceps-plus ถังเช่า ตังถั่งเฉ้า-พลัส 30 เม็ด

ตังถั่งเฉ้า เป็นสมุนไพรที่มีลักษณะพิเศษคือฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า แพทย์จีนใชัตังถั่งเฉ้าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงปอด ตับ ไต สารสำคัญที่พบคือ Cordycepin, Polysaccharides.

-ช่วยทำให้ปอดนำออกซิเจนไปใช้ได้มากขึ้น ลดอาการของโรคภูมิแพ้ หอบ ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ
-เสริมการทำงานของตับ ไต
-ต่อต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
-ควบคุมระดับโคลเลสเตอรอลให้ปกติ
-ลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มพลังงานระดับเซลล์ ทำให้ร่างกายสดชื่น
-เพิ่มจำนวนอสุจิที่แข็งแรงให้มีมากขึ้น เสริมสุขภาพทางเพศให้เพิ่มขึ้น

วิธีใช้: รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง

ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย สารสกัดตังถั่งเฉ้า 150 ม.ก. สารสกัดโสม 100 ม.ก.
และสารสกัดเห็ดหลินจือ 75 ม.ก.

http://www.ouayunherb.com/product/24/herbal-one-ถังเช่า-ตังถั่งเฉ้า-พลัส-30-เม็ด-cordyceps-plus
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
ยาส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยา NSAID เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น

นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดพิษต่อไตที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น Cyclosporine ยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงรับประทานยาฆ่าเชื้อรา Ketoconazole หรือ Itraconazole ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น และทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังแล้ว ต้องแจ้งชื่อยาหรือนำตัวอย่างยาที่ตนเองใช้ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/244/วิธีการดูแลไต/
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1688845107998383.1073741846.1556024734613755&type=3
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
ยาที่มีผลกระทบต่อโรคไตโดยตรงคือ
1.ยาแก้ปวดข้อ เช่น ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือยากลุ่ม NSAID หรือยาต้านการอักเสบ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ทำให้ไตเสื่อม
2.ยาไข้หวัด ลดน้ำมูก ซึ่งกินแล้วง่วง น้ำมูกแห้ง จะส่งผลให้ความดันขึ้น ทำให้ไตแย่ลง และ
3.ยาโรคความดัน ก็มีผลให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยาโรคความดันจำเป็นต้องกิน เพราะหากไม่กินควบคุมความดัน อาการความดันสูงก็จะส่งผลต่อไตเช่นกัน คือเป็นยาที่ไม่ว่ากินหรือไม่กินก็มีผลกระทบต่อไต ดังนั้น การกินยาต่างๆ โดยเฉพาะยาความดันจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยต้องสังเกตอาการหากกินยาแล้วเวลาลุกขึ้นเกิดอาการวิงเวียน แสดงว่าความดันต่ำ คือมีการกินยามากเกินไป ต้องลดปริมาณยาลง
ส่วนยาบำรุง อาหารเสริมต่างๆ คนเป็นโรคไตควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่ากินได้หรือไม่

หมายเหตุ ทำไมคนสูงอายุในปัจจุบัน ถึงเป็นโรคไตกันมาก ก็เพราะในอดีตมีการใช้ยาทัมใจ บวดหาย กันอย่างพร่ำเพรื่อ รวมทั้งการใช้ยายอดฮิตอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นซัลฟา เฟนิลบิวตาโซน กาน่า เจนต้า รวมทั้งทีซี-มัยซิน หรือ กาโน่ ที่หมดอายุ จะเป็นพิษต่อไตเป็นอย่างมากและส่งผลเมื่ออายุมากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.doctor.or.th/article/detail/5948
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000028748
ยากับโรคไต เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ายานั้นมีคุณค่ามหาศาล ถ้าเราใช้ให้ถูกวิธี จะใช้บำบัดโรคได้หลายชนิด โดยไม่มีโทษภัยหรือมีน้อย แต่บ้านเราการที่ประชาชนมีเสรีในการซื้อยาใช้เองได้สารพัดชนิด โดยที่ไม
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
พึงสังวรณ์ไว้เมื่อใช้ยาดังต่อไปนี้
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ โปรดถามเภสัชกร
ถ้าเภสัชกรไม่รู้เรื่อง ก็ไล่ให้ไปอ่านหนึงสือหาความรู้ ...
......................................
ยาที่ทำอันตรายต่อไต

ยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม Quinolone, เพนนิซิลลิน ซัลฟา อาทิเช่น ciprofloxacin, methicillin, vancomycin, sulfonamides.

ยาแก้ปวดลดไข้ อาทิเช่น aspirin, ibuprofen, naproxen

ยา NSAID ในกลุ่ม COX-2 inhibitors อาทิเช่น CELEBREX, ARCOXIA

ยาลดกรดในกลุ่ม PPI อาทิเช่น omeprazole, lansoprazole (Prevacid), pantoprazole (Controloc), rabeprazol, esomeprazole (NEXIUM)

ยาฆ่าเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด Acyclovir (VILERM) หรือ รักษาโรค HIV เช่น indinavir, tenofovir

ยาลดความดันในกลุ่ม ACEI (เช่น captopril, enaril) และยาในกลุ่ม ARB (เช่น Iosartan (Cozaar), losartan, Irbesartan เป็นต้น)

ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาทิเช่น infliximab, chloroquine และ hydroxychloroquine

ยารักษาอาการไบโพลาร์ เช่น ลิเทียม

ยากันชัก อาทิเช่น phenytoin

ยาเคมีบำบัด อาทิเช่น interferons, pamidronate, cisplatin, carboplatin, cyclosporine, tacrolimus, quinine, mitomycin C, bevacizumab; ยาต้านธัยรอยด์ propylthiouracil รวมทั้งสารทึบแสงที่ฉีดเข้าร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค

ยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด เช่น epinephrine, nor-epinephrine
ยาที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด เช่น verapamil. diltiazem


http://www.empowher.com/kidney-failure/content/top-ten-drugs-cause-kidney-damage
https://www.kidney.org/atoz/content/drugs-your-kidneys
The list of individual drugs that cause kidney damage is so long that it's hard to decide on the top ten. So I've chosen to list them by type of drug: antibiotic, analgesic, etc.
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Apr 2016
 
คนปกติโดยทั่วไปจะไม่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง แต่ปัญหาที่สะสมมานาน โดยเฉพาะการใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน จะทำให้เกิดโรคไตได้ ซึ่งทั้งผู้ใช้ยา เภสัชกร แพทย์ และ บริษัทยา จะต้องพึงสังวรณ์ไว้ ....

>>>>>>>>>>>>>>

ไตวายเรื้อรัง เป็นมหันตภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค และเมื่อโรคนี้ลุกลามไปมากจนไม่สามารถจะทำให้ไตกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว สุดท้ายผู้ป่วยก็จะลงเอยด้วยการฟอกเลือด

 ผู้ที่จะเกิดโรคไต แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
    กลุ่มที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่ก่อน เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในไต เก๊าท์ หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตวาย กลุ่มนี้ ต้องดูแลและใช้ยาให้ได้ผลตามเป้าหมายที่แพทย์และพยาบาลแนะนำ
    กลุ่มที่มีโรคซ่อนอยู่แต่ไม่รู้ตัว ซึ่งกลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการ แต่จะทราบได้ก็ต่อเมื่อตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ ดังนั้นการพบหมอเพื่อตรวจร่างกายประจำปีจะสามารถหาโรคไตตั้งแต่เริ่มแรกหรือ เมื่อยังไม่แสดงอาการ

อาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจเป็นโรคไต
     ในทางการแพทย์มีอาการสำคัญ 6 อย่าง ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจมีโรคไต ได้แก่
    ปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะลำบาก
    ปัสสาวะกลางคืน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
    ปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ
    อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า
    ปวดเอว ปวดหลัง
    ความดันโลหิตสูง

http://www.siphhospital.com/th/news/article.php?cate_id=6
http://www.kalasin3.go.th/view.php?article_id=2368
http://www.piyavate.com/article/frontend/article_detail/id/89

http://www.kalasin3.go.th/view.php?article_id=2368
https://www.doctor.or.th/article/detail/11952
http://www.saintlouis.or.th/index.php/he
https://www.bumrungrad.com/th/nephrology-kidney-center-bangkok-thailand/ckd-care-chronic-disease
โรคไตเรื้อรังไม่ยากเกินเข้าใจ. ไตเป็นอวัยะที่สำคัญไม่น้อย หากเราไม่ดูแลสุขภาพให้ดี ไตของเราก็อาจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคไตเรื้อรัง. อ่านต่อ · ปรับพฤติกรรมสกัดเบาหวาน...ยับยั้งโรคไต. 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีอาการแทรกซ้อนของโรคไตวายเรื้อรังร่วมด้วย ...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  1 Apr 2016
 
Pharma Nord Bio-Magnesium 200mg

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับแมกนีเซียมในร่างกาย
การดูดซึมผิดปกติไม่สมบูรณ์ เช่น ผ้ที่มีลำไส้ผิดปกติ ผู้สูงอายุ
ท้องเสีย ท้องร่วง การใช้ยาถ่าย
ตั้งครรภ์ วัยเจริญเติบโต
ขับออกทางปัสสาวะมากขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวาน ดืมเหล้าจัด ใช้ยาขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของแมกนีเซียม
นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ ลดการเกิดตะคริว ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ
ผู้ที่ดื่มเหล้า ช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับ จากพิษของอัลกอฮอล์
ช่วยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อหัวใจ
ลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน
ลดการปวดเกร็งกล้ามเนื้อก่อนมีประจำเดือน
บำรุงกระดูก โดยกินร่วมกับแคลเซียม วิตะมิน D3 และ วิตะมินเค

ระวังในผู้ป่วยโรคไต และห้ามใช้ร่วมกับยาเตตร้าซัยคลิน

http://www.pharmanord.eu/products/bio-magnesium
Highly soluble and absorbable magnesium complex Bio-Magnesium contains a complex with three different magnesium salts in a matrix making it fast-soluble and easily absorbed Supports the maintenance of normal bone and teeth. Contributes to normal nerve function and normal muscle contractions Contributes to reduced fatique Manufactured under Danish pharmaceutical control
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  14 Mar 2016
 
"โพแทสเซียมคลอไรด์" ที่ใช้ให้รสเค็มแทนโซเดียม ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะทั้งโซเดียมหรือโพแทสเซียมคลอไรด์  จะทำให้ไตทำงานหนัก เมื่อโพแทสเซียมสะสมในไตเป็นปริมาณมาก จะเกิดอาการชาตามแขนขา ซึ่งถ้าหนักมากๆ อาจมีผลให้หัวใจหยุดเต้นได้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1457955903
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  28 Feb 2016
 
สเตียรอยด์ เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ชายที่ใช้มันเป็นทางลัด ในการสร้างหุ่นเฟิร์มกล้ามแน่นๆ เพราะว่าสารชนิดนี้มันทำงานได้ดีในการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะว่า Anabolic steroids จะเข้าไปเพิ่มจำนวนฮอร์โมน testosterone ในร่างกายของเรา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการพัฒนามวลกล้ามเนื้อให้เพิ่มขึ้นนั่นเอง
แต่ยังไงก็ตาม การใช้สาร สเตียรอยด์ ก็ถือเป็นสิ่งที่อันตราย และมีผลข้างเคียงอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การก่อให้เกิดโรคหัวใจ ปัญหาเรื่องไต, มะเร็ง, สภาวะซึมเศร้า และปัญหาโรคแทรกซ้อนอีกมากมาย

http://www.careandliving.com/5-วิธีดูว่าคนเล่นกล้ามคน/
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=70%3Asteroid&catid=18%3Aknowledge&Itemid=35
5 วิธีดูว่าคนเล่นกล้ามคนไหนใช้สาร สเตียรอยด์ ในการเพิ่มกล้ามเนื้อให้ใหญ่โตขึ้นได้ด้วยตาเปล่า. Strong bodybuilder doing exercise in the gym. สเตียรอยด์ เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ชายที่ใช้มันเป็นทางลัด ในการสร้างหุ่นเฟิร์มกล้ามแน่นๆ เพราะว่าสารชนิดนี้มันทำงานได้ดีในการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะว่า ...
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  17 Jan 2016
 
ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย มักเป็นจากการติดเชื้อที่ไต ผู้ป่วยที่มีอาการบวม ปัสสาวะเป็นเลือด หอบเหนื่อยและซีดลง อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบของไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบางชนิดมักจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น ตรวจพบไตบวมน้ำระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา

การป้องกันและลดความเสี่ยงสำหรับโรคไตมีดังนี้
(1)โรคอ้วน ความดันเลือดสูงและเบาหวาน มักพบร่วมกันได้ โดยในปัจจุบันเด็กนิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและเกลือสูง เด็กที่มีลักษณะอ้วนท้วนสมบูรณ์มากเกินไป อาจจะยังไม่มีภาวะเหล่านี้ในวัยเด็ก แต่จะเริ่มพบโรคแทรกซ้อนเหล่านี้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน ซึ่งภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมน้ำหนัก ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน รวมถึงการออกกำลังกายอยู่เสมอ
(2)โรคติดเชื้อที่ไต สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่กลั้นปัสสาวะ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำปริมาณที่มากขึ้นเพื่อไม่ให้ท้องผูก เนื่องจากว่าการที่มีท้องผูกเรื้อรัง จะทำให้ระบบการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ไตอีกด้วย

โรคไตหลายชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพียงแค่ ไม่กลั้นปัสสาวะมีการ ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวาน มันและหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

http://www.hfocus.org/content/2016/01/11553
หากเราพูดถึงผู้ป่วยโรคไต ส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานและโรคความดัน ซึ่งโรคเหล่านี้จะมาพร้อมกับภาวะไตวาย จึงจำเป็นต้องได้รับการฟอกไต และในส่วนใหญ่แล้วประชาชนน้อยคนนัก ที่จะทราบว่าโรคไตก็สามารถเป็นในเด็กได้ ซึ่งถ้าหากไม่รีบรักษาหรือป้องกันก็อาจนำไปสู่สภาวะไตวายระยะสุดท้าย 
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  2 Dec 2015
 
ไม่ใช่แค่เกลือ หรือ น้ำปลา อย่างที่คิด แต่มันคือความเค็มที่แฝงมาในส่วนผสมของอาหารที่เราทาน ยิ่งทานบ่อยๆ ในปริมาณมากๆ อาจเสี่ยงต่อโรคไต



https://www.facebook.com/piyamaharajkarun/photos/a.297925960250417.69231.290325507677129/986938078015865/ 
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  2 Dec 2015
 
ภาวะแทรกซ้อนของไข้เลือดออก

ลูกชายเคยเป็นไข้เลือดออกขั้นรุนแรงไตวายฟอกไต24ช.มเสันเลือดในสมองแตกนอนรักษาอยู่ห้องไอซียู ที่ศิริราช1 เดือนกับ3วันตอนนี้หายเป็นปกติดีแล้วค่ะเรียนอยู่ปี3ค่ะตอนนี้ ขอให้ทุกๆคนระวังตัวอย่าให้ยุงกัดน่ะค่ะเป็นไข้เลือดออกนา่่กลัวมาก



https://www.facebook.com/piyamaharajkarun/photos/a.297925960250417.69231.290325507677129/982596261783380/ 
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  26 Nov 2015
 
โรคอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตชาวลำปาง คือ โรคหัวใจ และหลอดเลือด สูงถึงร้อยละ 81.94 อันดับ
2 โรคมะเร็ง สูงถึงร้อยละ 75.16 ส่วนอันดับ
3 โรคระบบทางเดินหายใจ
อันดับ 4 อุบัติเหตุทางถนน
อันดับ 5 โรคไตวาย
อันดับ 6 ติดเชื้อในกระแสเลือด
อันดับ 7 เบาหวาน
อันดับ 8 ปอดอักเสบ

โรคมะเร็งทุกชนิดมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จากการไม่ดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน และยังมีความเสี่ยงทั้งสุรา และบุหรี่ จึงอาจทำให้กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวลำปางจะป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด รองลงมา มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งสมอง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1448527224
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  14 Nov 2015
 
ไข้เลือดออก อธิบายดีอ่านสนุกเข้าใจง่าย
http://variety.teenee.com/foodforbrain/73257.html
อาหารสมอง : นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมปอ ทฤษฎี ไตวาย (อธิบายดีสุดใน 3 โลก)
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  17 Oct 2015
 
โรคไต ป้องกันได้

https://www.facebook.com/BetterPharmacyCmg/posts/786716388104139
1
Add a comment...






No comments:

Post a Comment