Thursday, March 21, 2019

Parkinson

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมอง โดยมีความผิดปกติอย่างช้า ๆ
ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีส่วนในการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดพามีน
ซึ่งช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจึงมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวผิดปกติซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรค
อาการที่น่าสงสัยของโรคพาร์กินสัน
• สั่น
• การเคลื่อนไหวช้า
• กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
• การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง
• สีหน้าไร้อารมณ์
• หลังค่อม ตัวงุ้มลง
• ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง
• ท้องผูก
• ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ
• เขียนตัวหนังสือเล็กลง
การรักษาโรคพาร์กินสันยังเป็นการรักษาผู้ป่วยเพื่อประคับประคองอาการ
ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้





สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพาร์กินสัน
Secondary parkinsonism หรือ Symptomatic parkinsonism
หมายถึงผู้ป่วยมีอาการของโรคพาร์กินสันซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองที่สร้างโดปามีน
ถูกทำลายและทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน

ผลจากการใช้ยา ได้แก่
- ยาแก้วิงเวียนศีรษะ เช่น flunarizine, cinnarizine เป็นต้น
- ยาแก้อาเจียน เช่น metoclopremide, prochorperazine เป็นต้น
- ยาต้านโรคจิต เช่น haloperidol, chlorpromazine เป็นต้น
- ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น reserpine, methyldopa เป็นต้น
- ยารักษาโรคหัวใจ เช่น กลุ่มยาต้านแคลเซียม คือ diltiazem เป็นต้น
ผลของสารเคมี ได้แก่
- ยาบ้า คาร์บอนมอนนอกไซด์ ทองแดง ไซยาไนด์ เมธานอล
- MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้น
และใช้เป็นสารเหนี่ยวนำทำให้สัตว์ทดลองเกิดอาการคล้ายพาร์กินสันในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น\

ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่
- ภาวะที่เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองบ่อย ๆ เช่น นักมวย
ปัจจัยด้านพยาธิสภาพของสมอง ได้แก่
- ภาวะโพรงสมองโตเนื่องจากความดันของสมองผิดปกติ
- เกิดตามหลังโรคไข้สมองอักเสบ
- การติดเชื้อในสมอง เช่น เชื้อรา วัณโรค โรคเอดส์ ไวรัส เป็นต้น
- โรคเนื้องอกในสมอง
- โรคหลอดเลือดในสมองตีบตัน
โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)
http://www.pharmacy.su.ac.th/biop/htdocs/disease/100-2012-09-03-02-24-20
โรคพาร์กินสัน กับผู้สูงอายุ
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=112
สำหรับแพทย์ในเวชปฏิบัติ - chulapd
http://www.chulapd.org/uploads/download_list/2/a-02.pdf
คู่มือพาร์กินสัน Parkinson Handbook - chulapd
http://www.chulapd.org/uploads/download_list/4/a-04.pdf
โรคพาร์กินสัน / อาการผิดปกติตอนกลางคืนในผู้ป่วยพาร์กินสัน (nocturnal symptoms)
http://www.chulapd.org/th/parkinson-disease/7/





ยาโดพามีน อะโกนิสต์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
รักษาและบำบัดอาการโรคพาร์กินสัน
รักษาอาการอัลไซเมอร์
รักษาภาวะสมาธิสั้น
รักษาอาการขาอยู่ไม่สุข
บำบัดการติดสุรา-ยาเสพติด
อาการข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ ประสาทหลอน ง่วงนอนอย่างฉับพลัน และวิงเวียนศีรษะ
อันเนื่องมาจากความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นแพทย์จึงมักเริ่มรักษาโดยใช้ยานี้ขนาดต่ำๆก่อน
จากนั้นจึงค่อยปรับขนาดเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยพิจารณาการตอบสนองของการรักษา
จากตัวผู้ป่วย
ยังมีข้อพึงระวังในการรับประทานยากลุ่มโดพามีน อะโกนิสต์บางประการเช่น
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
|หรือหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยารักษาอาการทางจิตเวช
ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดอาการความดันโลหิตต่ำติดตามมา
พาร์กินสันก็คือโรคสมองเสื่อมแบบหนึ่ง
โดยปกติจะไม่มีอาการจนกระทั่งสมองส่วนที่ผลิตโดปามีนถูกทำลายไปเกินครึ่งแล้ว
ดังนั้นการรักษาจึงต้องเน้นไปที่ให้โดปามีนทดแทนส่วนที่ร่างกายผลิตไม่ได้
แต่ปัญหาคือสารทดแทนโดปามีนนี่ร่างกายจะดื้อค่อนข้างง่าย
หมอจึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาให้อยู่บ่อยๆ อาจต้องเปลี่ยนสูตรยาบ้าง
แต่สักพักก็จะดื้อยาอีกอยู่ดี
พาร์กินสันเป็นโรคที่ทำให้หกล้มง่ายมาก ต้องระมัดระวังให้ดี







ยาอะไรบ้างที่ทำให้เกิดพาร์คินสัน

Drug-induced parkinsonism: diagnosis and management




วันนี้มีคนหลังไมค์มาคุยเรื่องอาหารเสริม ก็เลยคุยยาวจากบ่ายโมงยัน 5 โมงเย็น 
หลังจากซักเรื่องราวต่างๆ มันก็ทะแม่งๆตรงที่บอกว่าเป็นพาร์กินสัน 
แถมเมื่อไม่กี่วันก็เพิ่งไป ADMIT ที่โรงบาล เพราะสั่นอย่างไม่มีสาเหตุ
ก็เลยต้องมานั่งค้นว่า พาร์คินสันเกิดจากอะไร มีสาเหตุจากอะไร
ก็เลยถามไป เคยถูกชกมั้ย เคยล้มหัวฟาดพื้นมั้ย เคยเล่นยามั้ย หรือ เคยกินยาอะไรมาบ้าง
จนมาได้คำตอบที่ว่า เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วไปน็อคที่เมืองจีน เมืองจีนรักษาไม่ได้
ก็ส่งมาบำรุงญาติจนได้ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ AORTIC VALVE
แล้วก็ได้ยามากินยาตามรูปจนปัจจุบันหมอเพิ่มขนาดให้เป็น 200 มิลลิกรัม
จากเดิมที่กิน 100 มิลลิกรัม
ยาในรูปมันเป็นยากลุ่ม Calcium Channel Blockers ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
และปัญหาทางหัวใจ ซึ่งแน่นอนว่าต้องกินเป็นระยะเวลานานๆ อย่างรายนี้กินมาเป็น 10 ปี
หมอก็ยังไม่สั่งให้หยุดยา อาการข้างเคียงจากการใช้ยาก็มีอยู่โดยทั่วไป แต่อาการข้างเคียงอื่นๆ
ที่อาจพบได้ นั่นคือ ยานี้เหนี่ยวนำให้เกิดอาการสั่นคล้ายกับโรคพาร์กินสัน
ซึ่งคำเตือนก็มีปรากฏอยู่ในฉลากยาเช่นกัน และอาการก็ได้เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
แต่ก็ไม่มีใครเฉลียวใจว่าปัญหามันเกิดจากการใช้ยา
แต่ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า "ไม่มีใครเตือน"
ได้ถามไปว่า เคยบอกหมอมั้ยว่า กินยานี้แล้วสั่น ก็ได้คำตอบมา่ว่าบอกหมอแล้ว
แต่หมอก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะคนไข้เยอะ
(แก้ต่างให้เสร็จสรรพ เพราะหมอเป็นพระเจ้าช่วยรักษาชีวิตให้รอด)
อีกอย่างยานี้ทำให้เกิดอาการสั่นสันนิบาตรลูกนกได้ แต่มันเกิดได้น้อย
หมอเลยไม่ได้สนใจ แต่ถ้าเกิดกับใครมันก็คงไม่สนุก
คนไข้รายนี้มีอาการอื่นๆเยอะแยะ กินยามากมายหลายขนาน เพราะเป็นหลายโรค
เวลาไปหาหมอ ก็หาหมอแยกโรค หมอก็รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น
โดยไม่ได้ review ในภาพรวม ซึ่งผลจากการใช้ยาเป็นระยะเวลานานๆ
มันก็แสดงออกมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครเฉลียวใจ เช่น เซ็กส์เสื่อม ท้องผูก
จนหนักที่สุดก็คือพาร์กินสัน ก็ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาพาร์กินสัน
ได้ยารักษาพาร์กินสัน แต่ไม่มีใครมานั่งดูว่ากินยาอะไรมาบ้าง มีผลจากการใช้ยาอย่างไร
หลังจากประมวลเรื่องราวต่างๆ ก็เลยฟันธงไปว่า
โรคพาร์กินสันที่เกิด ไม่ใช่โรคจากธรรมชาติ แต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ยา
ถามว่าแล้วจะจัดการต่อไปอย่างไร
1. review ยาทั้งหมดที่กิน
2. ไปหาหมอ บอกเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นได้มั้ย เพราะสั่นแบบนี้มันไม่ไหว
และถึงจะเปลี่ยนยา โรคพาร์กินสันก็ไม่ได้หายไปทันที ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี
กว่าที่ร่างกายจะฟื้นตัว ค่าโดปามีนในสมองจึงจะกลับเป็นปกติ
ที่เล่ามา ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเภสัชกร
เพราะเภสัชกรเป็นผู้รู้พิษภัยจากการใช้ยา
หมอจะรักษายังไงก็เรื่องของหมอ แต่เรื่องยาต้องผ่านเภสัช
เภส้ชมีหน้าที่ทักท้วงการจ่ายยาของหมอ ว่ามันเสี่ยง จะเกิดผลร้ายจากการใช้ยาขนาดไหน
และนี่ก็คือ CASE หนึ่งที่เกิดจากต่างคนต่างรักษาโรคที่ตัวเองถนัด
แต่ผลร้ายตกอยู่ที่คนไข้ ถ้าเป็นเมืองนอกคงต้องฟ้องกันแหลกราญ แต่นี่เมืองไทย
"กราบขอบพระคุณครับ หนูเข้าใจตัวกรรมครับ หนูไม่ตำหนิใครครับ"





ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

LINE ID - BETTERCM
.....................



UPDATE  -  2019.03.21

No comments:

Post a Comment