Thursday, December 6, 2018

Cetirizine - ซีเทอริซีน

ยาเซทริซีนซึ่งเป็นยาต้านฮีสตามีนผลิตในประเทศไทย มีประสิทธิภาพเทียบเท่าได้กับยานำเข้าต้นแบบ คือยาซีร์เทค และยาเดสลอราตาดีน ในการยับยั้งปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อสารฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้ ดังนั้นในกรณีที่มีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา ยาต้านฮีสตามีนที่ผลิตในประเทศไทยชนิดนี้ จึงถือว่ามีความเหมาะสมในการใช้รักษาโรคภูมิแพ้

การศึกษาประสิทธิภาพของยาซีร์เทค, ยาเซทริซีน, ยาเดสลอราตาดีนและยาหลอก ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในการยับยั้งการตอบสนองทางผิวหนังต่อสารฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6045

Issue Date: 2548
Photo
กินยายาต้านฮีสตามีนเพื่อบรรเทาการอักเสบของจมูกหรือเยื่อบุตาขาวจากภูมิแพ้ ผื่นลมพิษ ชื่อยา ซีเทอริซีน Cetirizine ขนาด 10 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา
- 9 เดือน อาจเกิดตับอักเสบ
- 2 ปี อาจเกิดทางเดินน้ำดีอุดตัน
โดยขึ้นกับความไวของแต่ละคน

อาการไม่พึงประสงค์
- กินยานี้แล้วอาจง่วงซึม ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักรกลที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง

ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้ หรือเคยมีประวัติแพ้ยาไฮดรอกซีซีน (hydroxyzine)

ระวังการใช้ยานี้ในหญิงให้นมบุตร เนื่องจากไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย (ใช้ได้แต่ให้ระวัง)

US FDA PREGNANCY CATEGORY B

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2960
Photo

ยาลดน้ำมูกที่ใช้ได้ ไม่มีผลกับน้ำนม ได้แก่ ยาลดน้ำมูกชนิดที่ไม่ทำให้ง่วง คือ ยา Cetirizine และ Loratadine

ไม่แนะนำยาลดน้ำมูกชนิดง่วงเพราะทำให้เด็กง่วงซึมได้ และควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือที่ออกฤทธิ์นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นเวลานานด้วย

ยาที่ไม่แนะนำ ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ

ยาแก้ปวดลดไข้ ยาระงับปวดลดไข้ที่ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก ได้แก่ ยา paracetamol ,ibuprofen

กลุ่มยาแก้อักเสบ แก้ปวดกล้ามเนื้อที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่แนะนำ เช่น ยา Ibuprofen , Mefenamic Acid, Diclofenec

Dextromethorphan เป็นยากดอาการไอ ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก

– Diphenhydramine ยานี้อาจทำให้ลูกง่วงซึมได้

ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ)
– กลุ่มที่ใช้ได้ คือ กลุ่ม Penicillin เช่น Amoxicillin ,Cloxacillin, Amoxicillin&Clavuranic acid, Ampicillin เป็นต้น และ กลุ่ม Cephalosporin’s เช่น Ceftazidime,Ceftriaxone

– กลุ่มที่ไม่ควรใช้ คือ Metronidazole, Chloramphenicol, Ciprofloxacin,Tetracycline หรือ Doxycycline ซึ่งจะทำให้ลูกมีปัญหาฟันดำในระยะยาว

คุณหมอขอเคลียร์ "กินยาแก้แพ้ แทนยานอนหลับ เสี่ยงผลข้างเคียงโดยไม่รู้ตัว"

หมอเจอคำถามมากมายจากทั้งคนไข้ กระทู้ในพันทิพก็มาก เกี่ยวกับเรื่อง กินยาแก้แพ้แทนยานอนหลับ วันนี้เลยขอมาตอบข้อสงสัยเรื่องนี้ให้เคลียร์ๆค่ะ
------------------------------------
ก่อนอื่น หมอขออนุญาตแบ่งยาแก้แพ้แบบง่าย ๆ เป็นสองกลุ่ม คือแบบที่ "กินแล้วง่วง" (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) กับ "กินแล้วไม่ง่วง" (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) ซึ่งคนไข้หลายๆ คนที่เป็นภูมิแพ้และต้องกินยาแก้แพ้เป็นประจำ มักจะเลือกใช้ยาในกลุ่ม "กินแล้วไม่ง่วง" เพื่อให้ใช้ชีวิตตามปกติ ไปเรียน ไปทำงานได้อย่างไม่สะดุด แต่หมอทราบว่ามีหลายๆคน เลือกใช้ยาแก้แพ้แบบ "กินแล้วง่วง" ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภูมิแพ้ แต่หวังผลข้างเคียงที่ "กินแล้วง่วง" ของมัน ซึ่งก็คือคนที่เลือก "กินยาแก้แพ้แทนยานอนหลับ" นั่นเอง

หมอขอตอบไว้ชัด ๆ ตรงนี้เลยว่า "การกินยาแก้แพ้แทนยานอนหลับ" นั้น "ไม่ควรทำ ห้ามทำ และไม่แนะนำอย่างยิ่ง!" ห้ามขนาดนี้แล้ว แสดงว่ามันมีผลข้างเคียงใช่มั้ยคะหมอ? ใช่ค่ะ นอกจากจะเป็นการใช้ยาผิดประเภทแล้ว ยังทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย

ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้แบบ "กินแล้วง่วง" คือ คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และถ้ากรณีเป็นต้อหินรุนแรงอาจทำให้กำเริบได้ เราควรใช้ยาให้ตรงกับโรคจะดีกว่าค่ะ

ยากลุ่มนี้เมื่อใช้ไปนานๆไม่ทำให้เกิดอาการดื้อยา เหมือนยาปฏิชีวนะ แต่ควรใช้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้นนะคะ เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดยา กรณีที่ต้องใช้ยาเป็นเวลานานให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางค่ะ

ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่ควรระวังก็คือ "การใช้ยาแก้แพ้แบบง่วงในเด็กและผู้สูงอายุ" ค่ะ
การใช้ยาแก้แพ้แบบง่วงหรือยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1 ในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมากเช่น มีผลต่อระบบประสาท กระสับกระส่าย ใจสั่น เห็นภาพหลอน ร้อนวูบวาบ หรือในเด็กเล็กอาจทำให้ชักได้ ดังนั้นองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ใช้ในกรณีทีมีอาการคันรุนแรงที่ต้องการผลของยาที่ทำให้ง่วง หรือกรณีผู้ป่วยที่มีผื่นแพ้ผิวหนังชนิดลมพิษเฉียบพลัน จนมีอาการของระบบอื่น (anaphylaxis) กรณีจำเป็นต้องใช้ยาต้านฮีสตามีนเช่น แพ้อากาศ ลมพิษ ผื่นแพ้ผิวหนัง แนะนำให้ใช้ยารุ่นที่สอง หรือแบบ "กินแล้วไม่ง่วง" จะดีกว่าและผลข้างเคียงน้อยกว่า

สำหรับการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หมอก็มีคำแนะนำเรื่องยาแก้แพ้มาฝากค่ะ
หมอไม่แนะนำให้ซื้อยาใช้เองค่ะ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ในกรณีที่มีอาการน้ำมูก หรือคัดจมูก แนะนำให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือถ้ามีอาการแพ้อากาศรุนแรงให้ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (มียาเพียงบางตัวเท่านั้นที่ใช้ได้) หากมีอาการลมพิษ แนะนำให้ใช้ยาบางตัวได้ (ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)

ด้วยความห่วงใยจากหมอแอน ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล
#ภูมิแพ้ก็แพ้เรา #TUCAAP
--------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องประเภทของยาแก้แพ้

ประเภทของยาแก้แพ้หรือต้านฮีสตามีนแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ

* ยาแก้แพ้แบบ "กินแล้วง่วง" หรือยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1 เป็นยาที่มีใช้มานานแล้ว ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะชอบรับประทาน เพราะออกฤทธิ์เร็วแต่ระยะเวลาออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมงจึงควรรับประทานวันละ 3 ครั้ง ยากลุ่มนี้ทำให้ง่วงนอน เพราะมีคุณบัติผ่านเข้าสมองได้ดี นอกจากนี้มีคุณสมบัติต้านโคลิเนอร์จิก ซึ่งมีผลทำให้คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และถ้ากรณีเป็นต้อหินรุนแรงอาจทำให้กำเริบได้ ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่ chlorpheniramine, diphenhydramine, hydroxyzine

* ยาแก้แพ้แบบ "กินแล้วไม่ง่วง" ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2 ยาชนิดที่ไม่ง่วงหรือง่วงน้อย และมีคุณสมบัติต้านการอักเสบด้วย ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้นานเกือบ 24 ชั่วโมง จึงรับประทานเพียงวันละครั้ง นอกจากนี้มีคุณสมบัติจับกับตัวรับได้ดีจึงได้ผลการรักษาดีและผลข้างเคียงน้อยมาก โดยไม่ทำให้ง่วง ไม่ผลทำให้เสมหะแห้งเหนียว และไม่มีผลต่อระบบอื่นของร่างกาย ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ได้แก่ loratadine, cetirizine, fexofenadine, desloratadine, levocetirizine, bilastin, rupatadine

Oral antihistamines, like cetirizine (Zyrtec), chlorpheniramine (Chlor-Trimeton), diphenhydramine (Benadryl), fexofenadine (Allegra), and loratadine (Claritin) seem to be safe. So does cromolyn sodium (Nasalcrom) nasal spray and the steroid nasal spray Rhinocort,

During your first trimester, don't take decongestants by mouth, either. They may make some birth defects more likely. Watch out for antihistamines combined with a decongestant. Since there's not enough evidence for their safety, avoid antihistamine nasal sprays.

มีคนถามมาว่า กิน ZYRTEC ( cetirizine 10mg) วันละ 2 ครั้ง ได้มั้ย ก็ต้องตอบว่าได้ โดยสามารถกินได้มากถึงวันละ 4 เม็ด แต่มีคำถามที่ให้คิดคือ
1.จำเป็นหรือไม่
2.เพิ่มการทำงานของไตหรือไม่ ก็ต้องไปคิดดู

#cetirizine จะออกฤทธิ์แก้แพ้แก้คันได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากกินยา และออกฤทธิ์ได้นาน 24 ชั่วโมง ดังนั้นการกินยา 1 เม็ดวันละครั้ง จึงเพียงพอต่อการควบคุมอาการผื่นแพ้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน

การกิน cetirizine พร้อมอาหาร จะทำให้ออกฤทธิ์ได้ช้าลง

cetirizine ขับออกทางไตในรูปแบบเดิม โดยจะขับออกไป 50% หลังจากกินยาไปแล้ว 8.3 ชั่วโมง

มีการทดลองในคนมากกว่าอายุ 12 ปี ให้กิน cetirizine ในขนาดที่มากกว่าขนาดปกติ 6 เท่า นาน 1 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแต่อย่างใด

มีการทดลองเปรียบเทียบให้กินยาวันละครึ่งเม็ด 1 เม็ด และ 2 เม็ด ปรากฏว่า กินยา 1 เม็ด ให้ผลในการรักษาดีกว่าครึ่งเม็ด แต่ถ้ากินยา 2 เม็ด กลับให้ผลในการรักษาไม่ต่างจากการกินยา 1 เม็ด โดยเด็กอายุ 6- 11 ปี ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (seasonal allergic rhinitis) สามารถกินยาวันละ 10 มิลลิกรัมได้

จากคำถามที่ว่า กิน ZYRTEC วันละ 2 ครั้ง ได้มั้ย ก็ต้องถามกลับไปว่า มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ลองเปลี่ยนมากินยาตอนท้องว่างแล้วหรือยัง ลองเปลี่ยนมากินยาชนิดออกฤทธิ์เร็วแล้วหรือยัง ผลที่ได้เป็นอย่างไร พอใจมากน้อยแค่ไหน การใช่ชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร ทำไมถึงคิดว่ายาเม็ดเดียวคุมอาการไม่ได้ อาบน้ำร้อนจนทำให้ผื่นเห่อหรือเปล่า ทุกอย่างจึงอยู่ที่การตั้งคำถาม และแก้่ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

Cetirizine: a pharmacokinetic and pharmacodynamic evaluation in children with seasonal allergic rhinitis.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2571627

Oral bioavailability and pharmacokinetic study of cetrizine HCl in Iranian healthy volunteers
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3093629/

Cetirizine
https://www.drugs.com/pro/cetirizine.html

Use of cetirizine in dermatologic disorders.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10582734

ยา antihistamine แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 First generation หรือ Sedating Antihistamine เป็นกลุ่มที่ผ่านตัวกลางของระบบ blood brain barrier ได้ดี จึงมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาทสมองส่วนกลาง ผลคือทำให้เกิดอาการมึนซึม ไม่ค่อยสดชื่น ง่วงนอน และยังมีอาการอื่น ๆ เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก ตัวยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Chlophenilamine, Hydroxyzine, Tripolidine, Brompheniramine ข้อดีของยากลุ่มนี้คือสามารถลดอาการน้ำมูกไหลโดยเฉพาะน้ำมูกจากหวัด (น้ำมูกจากหวัดไม่ได้เกิดจาก Histamine) สามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่น ๆ

กลุ่มที่ 2 Second generation หรือ Nonsedating Antihistamine เป็นกลุ่มนี้ได้พัฒนาเพื่อแก้จุดด้อยของยาในกลุ่มที่ 1 โดยมีข้อดีกว่า First generation คือมี affinity ต่อ H1 receptor ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับ receptor ต่อ histamine ทำให้ได้ผลการรักษาได้ดีกว่ากลุ่มแรก ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่ยาวกว่า และมีผลต่อ central nervous system น้อยเมื่อเทียบกับ ว่า First-generation จึงไม่ทำให้ง่วง
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Terfenadine, Astemizole, Loratadine และ Cetirizine 

การเปลี่ยนแปลงจาก Pro-drug เป็น Active Drug เกิดที่ตับ โดยอาศัยเอนไซม์ Cytochrome P450 ดังนั้นจึงมีปัญหาการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction) กับยาบางตัว เช่น Ketoconazole และ Erythromycin ที่มีคุณสมบัติเป็น Enzyme Inhibitor คือมันจะยับยั้งการเปลี่ยนแปลงยากลุ่ม 2 ที่ให้ร่วมกันกับมันไปเป็น Active drug ได้น้อยลง ทำให้ระดับยากลุ่มที่ 2 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น มีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ จนบางรายอาจรุนแรงแก่ชีวิตได้

กลุ่มที่ 3 Third generation เป็น active metabolites ของ Second generation ยากลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติเหมือน second generation แต่หลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการเมตาโบไลท์ที่ตับยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Norastemizole, Fexofenadine, Descarboethoxy loratadine ซึ่งเป็น active metabolite ของ Astemizole, Terfenadine และ Loratadine ตามลำดับ

Cetirizine นั้นเป็น Active Metabolite โดยตรงของ Hydroxyzine ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จากข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์พบว่า Cetirizine สามารถออกฤทธิ์ได้หลังจากกินเข้าไป 15-60 นาที ในขณะที่ Loratadine (ยาตัวเก่าที่เคยมี) กว่าจะออกฤทธิ์จะต้องใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง ซึ่งช้ากว่า

ยากลุ่มนี้ไม่มีปัญหา Drug Interaction กับยากลุ่ม Ketoconazole หรือ Erythromycin แต่อย่างใด พบมี Drug Interaction บ้างในระดับเล็กน้อยกับยา Theophylline ที่ยา Theophylline มีผลทำให้การขจัดยา Cetirizine ออกจากร่างกายลดลง 16% จึงมีข้อแนะนำเชิงสันนิษฐานว่า หากเพิ่มขนาดยา Theophylline มากกว่า 400 mg และให้พร้อมกับ Cetirizine อาจเกิดปัญหา Drug Interaction ดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้ 

แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง     ข้อมูลยา และเภสัชภัณฑ์ - http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=13749&gid=7
http://www.naddalim.com/forum/viewtopic.php?f=36&t=1997

ข่าวล่าน่าสนสำหรับผู้ใช้ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงเป็นประจำ | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน - http://www.doctor.or.th/article/detail/3207

วิชาการจุฬา: น้ำมูกไหลกับการใช้ยา Antihistamine - - http://www.gotoknow.org/posts/369676

DrSant: ขอชื่อยาแก้แพ้ดีๆไปซี้อกินเองได้ไหมครับ เอาแบบไม่ง่วง - http://visitdrsant.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html

Antihistamine รุ่น 1 ( First generation) 
 CPM, ยาสูตร Actifed , Hydroxyzine(Atarax) ใช้ลดน้ำมูกในโรคหวัด , แก้คัน เน้นใช้ในระยะสั้น ไม่แนะนำให้ใช้รักษาภูมิแพ้

Antihistamine รุ่น 2 (Second generation )
Loratadine, Cetririzine ใช้ในภูมิแพ้เพื่อลดน้ำมูกและแก้คัน ใช้นานๆได้  ใช้ลดน้ำมูกในโรคหวัดไม่ดีนัก 

Cetirizine (Zyrtec) 5-10 มก.วันละเม็ด, 
Levocetirizine (Xyzal) 5 มก. ตอนเย็น, 
Fexofenadine (Allegra) 60 มก.วันละสองครั้ง
Loratadine (Claritin) 10 มก. วันละครั้ง 
Montelukast (Singulair) 10 มก. วันละครั้ง อันนี้ไม่ใช่แอนตี้ฮิสตามีนเป็นแอนตี้เลียวโคตรริอีน ซึ่งเป็นสารก่ออาการแพ้ที่ปล่อยออกมาจาก mast cell เช่นกัน

ไซนัสอักเสบไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อจริงเหรอ
จริงครับ

ส่วนใหญ่ไซนัสอักเสบเฉียบพลันมีสาเหตุจากไวรัส มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่จะเกิดจากแบคทีเรีย ดังนั้นยาหลักจึงเป็นยาลดอักเสบเช่นยาพ่นสเตียรอยด์ และยาอื่นๆตามอาการ.
การกินยาฆ่าเชื้อตั้งแต่แรกๆ นอกจากไม่ได้ประโยชน์ยังเพิ่มความเสี่ยงเรื่องผลข้างเคียงของยาโดยไม่จำเป็น เช่นท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน โอกาสแพ้ยาเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และเป็นการสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล

>>>>>>>>>>>

Q> ตอนนี้เป็นไซนัสอักเสบหมอให้น้ำเกลือมาล้างจมูกแต่มันก็ยังปวดอยู่ยังไม่หายทีเป็นมา๑อาทิตย์แล้วมีวิธีแนะนำมั้ยค่ะ

A> ลองหายาพ่นสเตียรอยด์ และยาพ่นลดบวมมาใช้ดูครับ

>>>>>>>>>>>

ทำไมควรพ่นยา steroid ทุกวัน.

ยาพ่นเป็นยาที่ต้องใช้เวลาในการออกฤทธิ์ ในโรคเรื้อรังแบบภูมิแพ้ หากพ่นๆ หยุดๆ นอกจากจะไม่ค่อยได้ผลแล้ว ก็จะเสียเงินโดยใช่เหตุ เนื่องจากราคาค่อนข้างสูงครับ. ข้อดีของยาพ่นแบบนี้คือพ่นวันละครั้ง ข้างละสองที ทำให้สะดวก ผมแนะนำว่าให้วางใกล้ๆ แปรงสีฟัน. แล้วเลือกเอาว่าจะพ่นเช้าหรือเย็น ส่วนใหญ่อยากแนะนำให้พ่นเช้าเพราะถ้าลืมยังมีเย็นให้แก้ตัว เมื่อแปรงฟันเสร็จก็พ่นยาต่อเนื่อง ก็เป็นกิจวัตรประจำวันครับ คราวนี้มักไม่ลืมละ

ยาพ่นพวกนี้ขวดนึงพ่นได้ประมาณหนึ่งเดือน ซึ่งแนะนำว่าพ่น 1-3 เดือนครับ

>>>>>>>>>>>>

มีคนไข้ถามมาว่าทาน amoxi มาแล้วแต่ไซนัสอักเสบยังไม่หาย ต้องทานยาฆ่าเชื้อตัวไหนต่อ

คำถามนี้มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายอย่างครับ...

1. ทานมากี่วัน อันนี้ส่วนใหญ่คนไข้มักทานน้อยไป เช่นสองวัน สามวัน จริงๆเราควรกินอย่างน้อย 7-10 วันครับ
2. เป็นไซนัสเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง หากเป็นเฉียบพลัน ต้องถามต่อว่า มีอาการรุนแรงเช่น มีไข้ ปวดใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ น้ำมูกเขียวข้นหรือไม่ เป็นเกินสิบวันหรือไม่ มีช่วงที่เหมือนจะเบาแล้วเป็นหนักขึ้นมาใหม่อีกหรือไม่ หากไม่มีเลย อาจจะไม่ต้องกินตั้งแต่แรก ใช้ยาพ่นอย่างเดียว แต่ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรกินต่อไปจนครบ 7-10 วันก่อน

3. กินครบแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น... อันนี้ต้องเริ่มมองหาตัวอื่นต่อ เช่น high dose amoxi, amoxiclav, doxy, clinda+third cef. ส่วนกลุ่มflox ไม่แนะนำแล้วครับ มีโอกาสเสี่ยงกับ Tendinitis / peripheral neuritis จากคำแนะนำของ USFDA กค.ที่ผ่านมา ...ซึ่งผมว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนน่าจะดีที่สุดครับ

4. หากเป็นมานานจนเรื้อรัง การกินยาฆ่าเชื้อไม่ได้ช่วยเท่าไรครับ สิ่งที่ช่วยมากกว่าน่าจะเป็นเรื่องการล้างจมูก การพ่นยาทางจมูก และยาสเตียรอยด์ ควรปรึกษาหมอน่าจะดีที่สุด

5. ถ้าเปลี่ยนยาแล้วยังไม่ดีขึ้นอีก จะทำไง... คราวนี้ผมคิดว่าถึงเวลาต้องเพาะเชื้อแล้วครับ

>>>>>>>>>>>>

กินยาแก้แพ้ตัวไหนดี
CPM, cetirizine, loratadine, fexofenadine, levocetirizine, desloratadine, rupatadine

ถ้าคนไข้ไม่ได้มีโรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง จะมีสามประเด็นที่ต้องพิจารณา

1. อยากได้ง่วงหรือไม่ง่วง
มีตัวที่ง่วงเพียงตัวเดียวในตัวอย่างที่ยกมาคือ CPM เนื่องจากยาเข้าสู่สมองได้ แต่ CPM มีข้อดีตรงนี้เป็นตัวที่สามารถทานได้ปลอดภัยถ้าตั้งครรภ์ กินแล้วได้พักนอนหลับ หาซื้อได้ทั่วไป

หากไม่ต้องการง่วง ตัวที่ดีที่สุดอาจจะเป็น Fexofenadine. แต่ส่วนตัว ถ้าไม่ใช่ CPM กินตัวไหนก็ไม่ง่วงเหมือนๆ กัน

2. เป็นโรคอะไร
หากเป็นหวัด การกินยาแก้แพ้จะช่วยลดน้ำมูกได้บ้าง หากทาน CPM จะง่วงทำให้ได้พักผ่อนครับ

ส่วนโรคไซนัสอักเสบ การทานยาแก้แพ้อาจจะช่วยบ้าง แต่ไม่ใช่ตัวหลัก และไม่ควรทาน CPM เพราะยิ่งทำให้เหนียว และสั่งน้ำมูกออกยาก

โรคที่ควรกินยาแก้แพ้จริงๆ คือ โรคภูมิแพ้ครับ ตัวไหนก็ได้

3. ราคา
ราคาถูกก็เป็นสี่ตัวแรกเพราะมีตัว generic แล้ว ตัวหลังจะแพงกว่ามากเพราะต้องนำเข้า โดยตัวที่ถูกที่สุด น่าจะเป็น CPM หาได้ตามร้านขายยาทั่วไปครับ

นอกจากนี้ยังมียาแก้แพ้ที่เป็นตัวผสมระหว่างแก้แพ้กับลดคัดจมูก เช่น sulidine cp อันนี้กินแล้วง่วงเหมือนกันครับ เพราะตัวแก้แพ้ในสูตรนี้เป็น chlophenilamine ซึ่งผ่านเข้าสมองได้ แต่โล่งจมูกดีจากฤทธิ์ของ phenylephine

นพ.วิรัช จิตสุทธิภากร

หมอหู-คอ-จมูก เวลาเป็นหวัด เจ็บคอนิดหน่อย น้ำมูกใส สั่งออกมาเริ่มเหลืองนิดหน่อย คัดแน่นจมูก ปวดเมื่อยตามหัว

กินยาแก้แพ้ - ล้างจมูก - พ่นจมูก
แต่ไม่กินยาฆ่าเชื้อ
ต่างจากสิ่งท่พวกคุณๆทำกันอยู่หรือเปล่าครับ

>>>>>>>>>>

วันนี้เป็นวันที่สี่ ของหวัด ... อาการเจ็บคอไม่มีแล้วครับ เหลือแค่อาการน้ำมูกซึ่งเหนียวขึ้น เหลืองขึ้น....ไม่มีอาการปวดเมื่อยตามตัวไม่มีไข้ ไอนานๆครั้ง เสียงแหบนิดหน่อย โดยรวมดีขึ้นกว่าเมื่อวานเยอะ ขออัพเดทการใช้ยาในโรคหวัดครับ

1. ตอนนี้ยังกินยาแก้แพ้ cetirizine เหมือนเดิม วันละครั้ง
2. เริ่มล้างจมูกตั้งแต่เมื่อวาน เพราะน้ำมูกขังในจมูก เหนียวมาก สั่งเองไม่หมดครับ
3. ยาพ่นแก้คัด oxymetazoline ยังคงพ่นอยู่ ถ้าไม่มีตัวนี้ ตายแน่

ผมยังไม่กินยาแก้ไอ เพราะที่ไอเป็นเพราะน้ำมูกไหลลงคอครับ ดังนั้นเรากินยาลดน้ำมูกอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว

จะเห็นว่าหมอเองเป็นหวัด ถึงวันที่สี่ ยังไม่ได้กินยาฆ่าเชื้อ เพราะว่าเชื้อหวัดเป็นไวรัส และกินยาฆ่าเชื้อไปก็ไม่ได้ทำให้หายเร็วขึ้น อีกประการน้ำมูกข้นเหลืองก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งว่าเป็นแบคทีเรียเสมอไปครับ

คำถามคือเมื่อไรเราจะเริ่มทานยาฆ่าเชื้อ (บางคนเรียกยาแก้อักเสบซึ่งไม่ใช่) ถ้าอีกสองวันอาการที่ดูจะดีขึ้นกลับแย่ลง หรือ มีอาการไข้ขึ้น ผมอาจจะเริ่มกินครับ

ผมไม่ได้กินวิตามินอะไร ไม่ได้กินอาหารเสริมใดๆ มีแค่ยาที่เขียนไว้เท่านั้น
เป็นหวัดผมแนะนำให้นอนเยอะๆ ล้างมือบ่อยๆ หากใส่ผ้าปิดจมูก-ปากได้ยิ่งดี แยกของใช้ เวลากินข้าวใช้ช้อนกลาง หรือแยกอาหารกินไปเลย เวลาไอ ปิดปาก-จมูก ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยๆ แต่ สิ่งเล็กๆน้อยๆ นี่พอเวลารวมกันก็จะสร้างความแตกต่างได้

เป็นหวัดรักษาเองได้ ไม่ต้องหาหมอนะครับ


ยาลดน้ำมูกชนิดกิน ได้แก่ ฟินิลเอฟรีน (Phenyleprine)
ยาแก้แพ้ที่กินแล้วง่วงนอนและลดน้ำมูกได้ คือยาแก้แพ้กลุ่มเก่า เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

แต่ “ยาแก้แพ้ที่ไม่ง่วงนอน ใช้กับโรคหวัดไม่ได้”
เช่น เซทิริซีน (Cetirizine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อย ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการหวัด ยิ่งไปกว่านั้น หมอรพ.เอกชนอาจเปลี่ยนเป็นยาแก้แพ้ที่มีราคาค่อนข้างแพงอย่างเฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine) หรือชื่อการค้าว่า เทลฟาส (Telfast) ที่เหมาะกับคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิมมากกว่า

ยาลดน้ำมูกชนิดใช้เฉพาะที่ หมายถึงยาที่หยอดหรือพ่นเข้าไปในจมูกโดยตรง

#หวัด







ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2018.12.06

No comments:

Post a Comment