Thursday, December 6, 2018

Loratadine - ลอราทาดีน

รับลอราตาดีแถมขนมจีบซาละเปามั้ยคะ ... ติ๊งต่อง ...
ลอราทาดีน - Loratadine
ยาต้านฮีสตามีนเพื่อบรรเทาการอักเสบของจมูกจากภูมิแพ้และผื่นลมพิษ
กินยานี้แล้วอาจง่วงซึม ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักรกลที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก
ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้ หรือเคยมีประวัติแพ้ยาเด็สลอราทาดีน (desloratadine )
ระวังการใช้ยานี้ในหญิงให้นมบุตร เนื่องจากไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย (ระวัง ไม่ได้หมายความว่า ใช้ไม่ได้)
Safety of Over-the-Counter Antihistamines, Decongestants, and Expectorants in Pregnancy
US FDA Pregnancy risk category* - B

http://pharmacy.skto.moph.go.th/good%20reason%20of%20drug/loratadine%20cetirizine.pdf
Over-the-Counter Medications in Pregnancy - - American Family Physicians .Oct 15, 2014 Issue
https://www.aafp.org/afp/2014/1015/p548.html
Photo

รับลอราตาดีแถมขนมจีบซาละเปามั้ยคะ ... ติ๊งต่อง ...
อย.จึงเล็งเห็นถึงประโยชน์และข้อดีของประชาชนที่จะได้รับจากการปรับลดประเภทยานี้ เพราะจะทำให้เข้าถึงยาที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพ
(ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตรา - สำนักงานคณะกรรมการ ...2018.10.17 http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/New/H20181017-1.pdf
Photo
Photo
05/12/2018
2 Photos - View album

ผู้ที่เร่งให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลส่วนหนึ่งเกิดมาจาก​ อย.
อย. แจงกรณีการปรับประเภทยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน” มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบจากคณะกรรมการยาซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว และได้มีการเฝ้าระวังติดตามผลข้างเคียงบนพื้นฐานของความปลอดภัยโดยเล็งเห็นถึงประโยชน์และข้อดีที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับประเภทยาดังกล่าว ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยยังคงต้องเป็นยาที่ขายในร้านขายยา ซึ่งร้านขายยาส่วนใหญ่จะมีเภสัชกรแนะนำในการใช้ยาอยู่แล้ว และจะปรับเฉพาะขนาดบรรจุแผงละไม่เกิน 10 เม็ด กล่องละไม่เกิน 2 แผง เท่านั้นโดยต้องระบุข้อความ “ใช้เฉพาะโรคภูมิแพ้ ไม่ลดน้ำมูกในโรคหวัด” บนฉลากยา ขอผู้บริโภคมั่นใจการพิจารณาดำเนินการอยู่บนพื้นฐาน ประโยชน์ของประชาชน
ติดตามข่าวที่น่าสนใจ>>>https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat=&id=1513

ยาลอราทาดีนเป็นยาอันตราย และที่ผ่านมาก็มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รวมถึงการเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ได้มาก โดยข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (HPVC) อย. ในปี 2561 หรือระยะเวลาเพียงแค่ปีเดียว พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาลอราทาดีนมากถึง 501 เคส
หาก อย.ปรับลดสถานะยาลอราทาดีนลงเหลือเพียงยาบรรจุเสร็จฯ ยาลอราทาดีนจะถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่สมเหตุสมผลอย่างแน่นอน โดยเฉพาะการถูกซื้อมารับประทานเพื่อลดน้ำมูกในโรคหวัด ทั้งที่ยาดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพกับการลดน้ำมูกสักเท่าใด
ขนาดของยาลอราทาดีนที่เหมาะสมคือ 1 เม็ด ซึ่งจะออกฤทธิ์ครอบคลุมระยะเวลา 1 วัน แต่ประชาชนทั่วไปมักจะคุ้นชินกับการรับประทานยาเช้า เที่ยง เย็น ก่อนนอน หรือทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือรับประทานตามอาการ นั่นจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากยา อาทิ ง่วงซึม ปากแห้ง รวมไปถึงหากมีการใช้ร่วมกับยาที่เกิดปฏิกิริยากันด้วยแล้ว จะก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
พ.ร.บ.ยา ระบุว่าไม่สามารถโฆษณายาอันตรายได้ แต่หากมีการปรับลดสถานะลงมา จะทำให้ผู้ผลิตสามารถโฆษณาแสดงสรรพคุณของยาผ่านสื่อต่อประชาชนทั่วไปได้ ซึ่งตรงนี้จะยิ่งทำให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะนี้การปรับลดสถานะยาผ่านมติคณะกรรมการยาแห่งชาติแล้ว แต่ อย.ยังไม่ได้ประกาศออกมา
https://prachatai.com/journal/2018/11/79769

หลังจาก อย. เปลี่ยนประเภทยา ‘ลอราทาดีน’ (Loratadine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ จากเดิมที่เป็นยาอันตราย จ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร กลายเป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ซึ่งมีผลให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา ทำให้มีข้อกังวลว่า การเปลี่ยนสถานะของยาประเภทนี้อาจเป็นอันตรายต่อการใช้ยาของประชาชน
https://waymagazine.org/loratadine/


หมดปัญหากวนใจเรื่องภูมิแพ้ด้วยตัว“ยาลอราทาดีน” : Rama Square ช่วง สาระปันยา 5 ก.ค.61(3/3) https://www.youtube.com/watch?v=3GDjGPwGgOM

การใช้ยา Loratadine ขนาด 10 mg เพื่อลดน้ำมูกสำหรับผู้ใหญ่ ควรให้วันและกี่ครั้ง
loratadine เป็นกลุ่ม anti-histamine gen 2 เรียกง่ายๆก็ยาแก้แพ้ นั่นแหละครับ แต่ชนิดนี้ไม่จะไม่มีอาการง่วงนอน แต่ผลในการลดน้ำมูกน้อยมาก
ขนาดยาที่มีการแนะนำให้ใช้อยู่ในช่วงระหว่าง 10-20 mg ต่อวัน แต่ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับหรือไตบกพร่องจำเป็นต้องได้รับการปรับขนาดยาลง เช่น ได้รับยาในขนาด 10 mg วันเว้นวัน หรือ 5 mg วันเว้นวัน ตามการทำงานของตับหรือไต ณ ขณะนั้นของผู้ป่วย
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย (พบประมาณ 2%-10%) ในผู้ใหญ่ที่ได้รับยาในขนาดปกติ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย และปากแห้ง ส่วนอาการที่อาจพบจากการได้รับยาเกินขนาด เช่น อาการง่วงนอน ใจเต้นเร็ว (รวมถึงอาจพบในกรณีที่ใช้ยาเป็นเวลานาน) และปวดศีรษะ ซึ่งก็สามารถพบได้เช่นกันในกรณีที่ได้รับยาในขนาดที่แนะนำ
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง     เภสัชกรรมคลินิค - http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=9380&gid=1
http://pha.narak.com/topic.php?No=86244
http://www.yaandyou.net/index.php/component/drug/?nsetidT=2292&drugtype=t&drugname=Boots+loratadine+10+mg.

การเป็นยาสามัญประจำบ้านจะระบุทั้งความแรงและขนาดบรรจุด้วย
เช่น CPM 4 mg เป็นยาอันตราย
CPM 2 mg ขนาดบรรจุในแผง 4 หรือ 10 เม็ดเป็นยาสามัญประจำบ้าน
Dimenhydrinate 50 mg ขนาดบรรจุในแผง 2 เม็ด เป็นยาสามัญประจำบ้าน
แต่ในโลกของความเป็นจริง ทั้ง CPM (เป็นยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน ชนิดง่วง) และยา Dimenhydrinate (เป็นยาแก้วิงเวียน แก้เมารถ) ถูกวางขายในร้านชำต่างๆ มีทั้งแผงละ 10 เม็ด หรือเป็นแบบกระปุกละ 100 เม็ด และเป็น CPM ขนาด 4 mg ด้วยซ้ำ ตรวจร้านชำมา ไม่เคยเห็น CPM 2 mg เลยซักกะที
สิ่งที่อย.ลดระดับยา Loratadine 10 mg (เป็นยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน ชนิดไม่ง่วง non-sedating antihistamine)จากยาอันตราย มาเป็นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ด้วยการระบุขนาดบรรจุไม่เกินกล่องละ 30 เม็ด แปลว่า ก็ให้มีกล่องละ 30 เม็ดได้
ในขณะที่รพ.ทั่วประเทศไทย ถูกกำหนดให้ทำเรื่อง RDU (Rational Drug Use หรือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล) มีตัวชี้วัดเรื่องการใช้ non-sedating antihistamine ให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ น้อยกว่าร้อยละ 20 เท่านั้น เพราะยาแก้แพ้กลุ่มไม่ง่วง จะมีประสิทธิภาพน้อยในการลดน้ำมูก แต่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาภูมิแพ้
จะทำอย่างไรต่อ ถ้ายา Loratadine ถูกประกาศออกมาให้เป็นยาบรรจุเสร็จฯ สิ่งที่กังวลใจ
1. ยา Loratadine จะถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ในการลดน้ำมูกในโรคหวัด ซึ่งไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
2. ขนาดการใช้คือ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพราะยานี้ออกฤทธิ์ได้ยาวมาก ( จะเริ่มออกฤทธิ์ที่ ครึ่ง – 1ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุด ที่ 8 -12ชั่วโมง และยายังคงมีฤทธิ์นานกว่า 24 ชั่วโมง elimination half-life of loratadine is 8–14 hours and that of its metabolite is 17–24 hours, which accounts for the 24-hour duration of action of the drug)
แต่ชาวบ้านบ้านเรา ไม่ค่อยอ่านวิธีใช้ข้างกล่องกันนี่สิ โอกาสที่จะกินยามากกว่าวันละ 1 เม็ด มีแน่นอน อันจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาได้มาก เช่น ง่วงซึม ปากแห้ง และหากใช้ร่วมกับยาที่เกิดปฏิกิริยากัน จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น
และด้วยการที่มันออกฤทธิ์ได้ยาว ผู้ป่วยโรคตับและไต ไม่ควรใช้ยานี้หรือต้องมีการปรับขนาดยาลง เพราะผู้ป่วยโรคตับและไต การกำจัดยาจะลดลง
3. ยา Loratadine ถึงแม้ตัวมันเองไม่ค่อยเกิดผลข้างเคียงเท่าไหร่ แต่.... ยานี้เกิด drug interaction (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ได้กับยาอื่นเยอะมาก ที่ห่วงคือภาวะ torsade de points และ QT prolong (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ที่จะเกิดขึ้นหากใช้ยา Loratadine ร่วมกับยาอื่นๆได้หลายตัวมาก เช่น Erythromycin , Clarithromycin , Ketoconazole , Itraconazole , Metronidazole , ยากลุ่ม ARV (Protease Inhibitors) ยากลุ่ม SSRIs , Amiodarone
การเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น อันตรายและผลข้างเคียงก็เกิดได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยในการปรับยา Loratadine จากยาอันตรายเป็นยาบรรจุเสร็จฯ
ร่าง https://goo.gl/n62htV และ https://goo.gl/CBFZy3
ส่งความเห็นไปที่ druglaw@fda.moph.go.th ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561

ตั้งครรภ์ได้11สัปดาห์แล้วเป็นหวัด ไปหาหมอแล้วหมอให้ยามาเยอะ
เป็นมาได้3วันแล้วค่ะ วันแรกมีอาการเจ็บคอ วันที่2มีน้ำมูกและเสมหะตลอด วันที่3นี่หนักเลยทั้งน้ำมูก น้ำตา ขี้ตา แล้วก็มีเสมหะไม่หยุดเลย แต่เสมหะไม่ได้มีสีเขียวเข้ม เป็นแค่สีขาวๆใสๆ เพียงแค่เหนียวมาก ไม่อยากทานยา แต่ไปหาหมอ หมอให้ยามา6ชนิดเลย มีทั้งยาแก้อักเสบติดเชื้อ AMOXYCILLIN 500 MG ยาแก้ไอละลายเสมหะBROMHEXINE 8 MG ยาแก้แพ้อากาศ LORATADINE(carinose) 10 MG ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก CPM 4 MG (อันนี้ง่วงมาก) วิตามิน VIT 500 MG และพารา PARACETAMOL(patblu) และเวลาไอก็เจ็บที่ท้องน้อยมาก
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11813a44260c9455
อยู่ร้านยา คำที่ลำบากใจมากคำหนึ่ง (แต่ยังไม่ถึงกับทำให้หมดกำลังใจแบบบางคน .. ฮา ... ) นั่นคือ คำว่า "ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง"
คำๆนี้ มาจากภาษาอังกฤษว่า Non sedating Antihistamine ซึ่งเป็นศัพท์โบราณใช้กันมาตั้งแต่ยุค 2000 ปัจจุบันปี 2018 เขาไม่ใช้กันแล้ว
ลองมองไปทางภาพซ้ายมือ เอามาจาก Australian Prescriber ปี 2018 จะเห็นว่า ยาแก้แพ้มี 2 กลุ่ม คือ ง่วงมาก และ ง่วงน้อย ไม่มีกลุ่มไหนที่ระบุว่าไม่ง่วง เพราะ ผลของการไม่ง่วง อาจเกิดกับบางคน แต่บางคนอาจมึน หรือ ง่วงน้อยๆได้ และยิ่งถ้าไปกินกับเหล้า รับรอง ง่วงแน่ๆ (ก็ยังมียกเว้นในบางตัว แต่จะสู้ราคากันมั้ย)
ทีนี้มองภาพทางขวามือ เอามาจากศิริราช หมอปารยะเขียนไว้เมื่อปี 2558 บอกว่า ยาแก้แพ้มี 3 กลุ่ม คือ รุ่น 1 รุ้น 2 รุน 3 ไม่มีระบุว่ารุ่นง่วง หรือ รุ่นไม่ง่วง
ปัญหาเกิดจาก "การไม่มีความรุ้" ของผู้ซื้อ เห็นมาหลายรายแล้ว บอกว่าซื้อยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง พอเภสัชตอบกลับไปว่า มีง่วงมากกับง่วงน้อย แบบไม่ง่วงไม่มี เพราะมันขึ้นกับบุคคล บางคนกินแล้วไม่ง่วง แต่บางคนอาจกินแล้วมึน ก็ได้เห็นอาการไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ ทีั้งๆที่มันใช่ เคยกิน แต่ก็ไม่แน่ใจ ไม่ซื้อและ ไปหายาแก้แพ้แบบไม่ง่วงร้านอื่นก็ได้ ร้านนี้ไม่เอา เภสัชก็ไม่แคร์ กลับไปนั่งดุหนังต่อ
ก็เลยมานั่งคิดเล่นๆว่า การที่ตรงเกินไปมันไม่ได้ตังค์ การที่ไปนั่งอธิบายว่า ไม่ง่วงไม่มี อาจจะยังไม่ถึงเวลาในยุคนี้ เพราะยังเป็นคำที่เขาใช้กันเกร่อในปัจจุบัน จำเราจะต้องตั้งชื่อเล่นให้มันว่า "ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง" จะได้ in trend เข้ากับยุคสมัย และก็จะได้ตังค์ ก็น่าจะเข้าท่าดี
ปล.นี่ยังไม่ได้พูดถึุงยาแก้หวัดแบบไม่ง่วง ที่ทำให้ไม่ได้ตังค์เช่นกัน ร้านบ้าๆไม่แคร์ความรู้สึกลูกค้าเอาเสียเล้ยยยยยยยยย
Antihistamines and allergy
https://www.nps.org.au/australian-prescriber/articles/antihistamines-and-allergy
โรคภูมิแพ้ และยาต้านฮิสทามีน
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1175
Photo
Photo
05/12/2018
2 Photos - View album


sedating antihistamine อาจทำให้เกิดparadoxical effect ในเด็กเล็ก โดยทำให้เด็กมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่าย ร้องกวน นอนไม่หลับ ประสาทหลอนและหากได้รับยาเกินขนาดอาจเสียชีวิตได้ พบว่าระหว่างปี ค.ศ. 2004-2005 ในสหรัฐอเมริกามีเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบที่ต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากการใช้ยากลุ่มนี้มากถึง 1,519 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2008 สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ยาแก้หวัด-แก้ไอ ที่ซื้อได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (ซึ่งมักมียาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine และ brompheniramine เป็นส่วนประกอบ) เป็นยาที่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ในขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรปเช่นประเทศอังกฤษประกาศไม่ให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ส่วนเด็กอายุ 6-12 ปี ผู้ปกครองที่ซื้อยาต้องได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร
ยาแก้แพ้ใช้กับโรคภูมิแพ้ ไม่ใช่หวัด
โดย นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล
http://www.thaidrugwatch.org/news_detail.php?n_no=484


Add a comment...






BETTER PHARMACY @CNX
4 เมษายน เวลา 20:51Food & Health
LORATADINE
ลอราทาดีน / Loratadine
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ ๖๖
ราชกิจจานุเบกษา (เดือนเมษายน 2562)
ลอราทาดีน / Loratadine
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ ๓๒
ราชกิจจานุเบกษา (เดือนเมษายน 2562)


ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ


FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2019.04.04

No comments:

Post a Comment