Tuesday, December 4, 2018

OTC Medications

ยาทั้งหมดที่มีใช้ในโลกนี้ล้วนแต่มีความเสี่ยงจากอาการไม่พึงประสงค์ ความเสี่ยงดังกล่าวไม่ได้ลดน้อยลงเมื่อมีการเปลี่ยนประเภท
จากยาที่ต้องใช้ใบสั่งยามาเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา

ความเสี่ยงหลัก 5 ด้าน
ด้านที่ 1: ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ยาที่ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในฉลาก
ด้านที่ 2: ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ยาผิดอย่างตั้งใจเพื่อผลการรักษาที่เพิ่มขึ้น
ด้านที่ 3: ความเสี่ยงที่เกิดจากการรับประทานยาโดยอุบัติเหต
ด้านที่ 4: ความเสี่ยงจากการใช้ยาเกินขนาดอย่างตั้งใจ
ด้านที่ 5: ผลลัพธ์ที่แย่ลงเนื่องมาจากการดูแลจัดการอาการด้วยตนเอง

อ่านเพิ่มเติม
http://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=399

#ปฏิรูปอย
Photo
Photo
29/11/2018
2 Photos - View album


ยา OTC คืออะไร
คือ ยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา

เมืองนอกที่เจริญแล้ว จะแบ่งยาออกเป็น prescription drug คือยาที่ต้องมีใบสั่งยา ไปรับยาจากเภสัชกรร้านยา กับ OTC DRUG คือ ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยา ประชาชนไปที่ร้านยาเลือกซื้อยานั้นได้โดยอิสระ ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นยาที่อยู่ได้เฉพาะในร้านยา กับยาที่สามารถวางขายได้ทั่วไป เช่นในปั๊มน้ำมัน ในร้านขายของชำ

ส่วนเมืองไทย prescription drug ก็ไม่มี OTC DRUG ก็ไม่ชัด
จะบอกว่า prescription drug คือยาควบคุมพิเศษก็ไม่ใช่่ OTC DRUG คือยาสามัญประจำบ้าน+ยาบรรจุเสร็จก็ยังไม่ใช่่ เพราะบ้านเรายังไม่มีระบบใบสั่งยาที่ชัดเจนเต็มรูปแบบ ใครใคร่ค้าค้าได้อย่างเสรี โดยมีกฎหมายเอาไว้ใช้ควบคุมยามเจ้าหน้าที่ไปครวจสอบแค่นั้น ไม่เชื่อก็ลองแวะไปดูร้านขายของชำใกล้บ้าน หรือ ร้านขย.2 (รู้จักกันมะ) หรือ ร้านผดุงครรภ์ก็ยั้งได้ (อิอิ) ส่วนคลีนิกไม่ต้องพูดถึง เพราะสาธารณสุขไทยไม่ขอแตะ

เหตุที่เมืองไทยมีปัญหาก็เพราะต่างคนต่างทำ ทำงานเฉพาะของตัวเองโดยไม่ต้องสนใจใคร ผลจึงออกมาก็อย่างที่เห็น ในขณะที่คนภายนอกเขามองภาพรวม ว่ามันเละเทะ ถ้าเป็นอย่างนี้ประเทศไม่เจริญ ไม่เดินต่อไปข้างหน้า มีแต่คำว่าถอยหลัง

แล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร คำเดียวสั้นๆ คือ ปฏิรูปอย.
และถ้าให้เด็ดกว่านั้นก็ต้อง ปฏิรูปสาธารณสุขทั้งระบบ
Photo
Photo
29/11/2018
2 Photos - View album


หมากฝรั่งนิโคตินเลิกบุหรี่ตอนอาจารย์สอนก็เน้นว่าต้องระวังในการใช้เพราะมันอันตรายมาก แล้วไง ใครแคร์ ตอนนี้พวกก็กระเหี้ยนกระหือรือแก้ประเภทยาจากยาอันตราย เป้นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ช่ยาอันตรายให้ใครขายก็ได้จ้า ไม่ต้องมีความรู้ก็ขายได้ ยุคข้าราชการทาสนายทุนนี่มันดีจริงๆ ประชาชนตายง๊ายง่าย ยังมีรายการยาอันตรายอีกเพียบที่จะกลายเป้นยาบรรจุเสร็จ แหม พวกนายทุน เจ้าสัวเมืองไทย นี่จัญไรจริงๆ จริยธรรม คุณธรรมไม่สน เอาแต่ทำสิ่งที่ผิดให้กลายเป็นถูกด้วยกฎหมาย ไม่ชั่วทำไมได้นะเนี่ย อาเตี่ย อาปา อาม๊าลื้อสอนมาดีจริงๆ

ปล.อย่าอ้างเมืองฝรั่งว่าเขาก็เป็น OTC เพราะ OTC บ้านเขาขายในร้านขายยาไม่ใช่ร้านของชำ

เมื่อระบบยาไม่เหมือนกัน การลดระดับยาก็ย่อมส่งผลไม่เหมือนกันด้วย

การลดระดับจาก "ยาอันตราย" เป็น "ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ" ของไทยย่อมส่งผล"ไม่เหมือน"กับการลดระดับจาก prescribed drug ไปเป็น OTC ของสหรัฐอเมริกา
การลดระดับจากการไม่ใช้ใบสั่งเป็นเพียงการลดขั้นตอนการวินิจฉัยและสั่งใช้ด้วยแพทย์ แต่การใช้ยาส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องได้รับคำแนะนำ หรือถูกคัดกรองจากเภสัชกรอยู่ดี

สำหรับยาบรรจุเสร็จ ฯ ของประเทศไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง แค่เรียกชื่อยาให้ถูกก็ลำบากแล้ว อย่าถึงกับต้องให้อ่านเอกสารกำกับยาก่อนใช้เลย

เหมือนอย่างกรณีนิโคตินทดแทน แม้ว่าจะปลอดภัย (ตามข้อมูลปัจจุบัน) แต่ต่างประเทศเขามีแนวทางกำกับสำหรับ staff
http://www.wrha.mb.ca/staff/tobacco/files/InterimGuidance.pdf

แล้วเมืองไทย ??

แล้วเคยมีการประเมินผลกระทบที่ตามมาเหมือนต่างประเทศเขาไหมว่ามันเป็นจริงตามที่คิดหรือเปล่า

Even though acetaminophen and ibuprofen are OTC medications, it is vital that practitioners understand how to recommend them properly, especially in conjunction with other medications that may be prescribed



Safe and Effective Use of Common OTC Analgesics in Convenient Care
http://contemporaryclinic.pharmacytimes.com/journals/issue/2016/june2016/safe-and-effective-use-of-common-otc-analgesics-in-convenient-care

The FDA classifies the first-generation antihistamine diphenhydramine as an antitussive, and most OTC cough preparations contain either diphenhydramine or dextromethorphan. Citing a lack of evidence that diphenhydramine suppresses cough, researchers from the Albert Einstein College of Medicine and Montefiore Medical Center conducted a study to determine the drug’s effectiveness.

They evaluated diphenhydramine’s effect on cough reflex sensitivity in 22 subjects with acute viral upper respiratory tract infection. The results, which were published in the online version of the International Journal of Clinical Pharmacy, indicated that diphenhydramine works, as patients were less likely to cough when challenged with capsaicin if they had taken the diphenhydramine-containing formulation, compared with the dextromethorphan or placebo.

OTC Medications for GI Disorders in Pregnancy

คนท้องอึดอัดแน่นท้องท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง

คลื่นไส้อาเจียน
Pyridoxine (vitamin B6) 10-25 mg วันละ 3-4 ครั้ง
doxylamine 12.5 mg วันละ 3-4 ครั้ง
diphenhydramine 25 - 50 mg ทุก 4-6 ชั่วโมง
dimenhydrinate 50 to 100 mg ทุก 4-6 ชั่วโมง

กรดไหลย้อน GERD/Heartburn
Alginates
ranitidine (75 mg วันละครั้ง) , cimetidine, famotidine

ท้องเสีย
ผงเกลือแร่แก้ท้องเสีย ให้ใช้เป็นอันดับแรก
Loperamide (IMODIUM, NOXY) ให้ใช้ด้วยความระมัดระวัง
ยาธาตุน้ำขาว คนท้องกินได้ แต่ควรกินชนิดที่ไม่มีอัลกอฮอล์
Lactobacillus acidophilus

ท้องผูก
Psyllium
bisacodyl ชนิดกินและชนิดเหน็บ
มะชามแขก

ริดสีดวงทวาร
กินยาพาราแก้ปวด
ทาสเตียรอยด์ครีมอ่อนๆแก้คัน

ท้องอืดแน่น ตดบ่อย GI Gas
กินอาหารที่มีกากใยสูง
กินนมเปรี้ยวที่มี oligosaccharides





Patients with URTI and #cough symptoms often come to retail clinics looking for something to relieve their symptoms.

First-generation antihistamine and decongestant combination use in URTI has led to quicker improvement of postnasal drip, throat clearing, and coughing. In contrast, study results have shown no efficacy for newer generation antihistamines in reducing cough and cold symptoms.

#หวัด #ไอ
OTC and Homeopathic Options for Acute Cough
OTC and Homeopathic Options for Acute Cough
contemporaryclinic.pharmacytimes.com

In a safety alert, the FDA said that loperamide is 'a safe drug when used as directed,' at a maximum daily adult dose of 8mg per day for OTC use and 16mg per day when prescribed.

สำหรับคนทั่วๆไปและนักศึกษาเภสัชปีต้นๆ เรามาลองทำความเข้าใจกันไหมว่าระบบยาที่ ideal หรือในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาเป็นยังไง

1. ยาแผนปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น โดยผู้มีสิทธิ์สั่งใช้ยาคือแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เท่านั้น
1.2 ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร เป็นยาส่วนใหญ่ที่อยู่ตามร้านยา ซึ่งเภสัชกรจะสามารถจ่ายโดยการดูอาการและซักประวัติผู้ป่วย
1.3 ยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อได้ หรือ OTC drug เป็นยารักษาอาการเบื้องต้น มีอันตรายน้อย ใครขายก็ได้ หรือเก็บไว้ประจำที่บ้านก็ได้

2 สถานประกอบการด้านสุขภาพแต่ละแห่ง มีสิทธิ์สั่งและจ่ายยาได้แค่ไหน
2.1 สถานประกอบการที่มีทั้งแพทย์และเภสัชกรประจำ เช่นโรงพยาบาล สามารถสั่งยาและจ่ายยาได้ครบทุกประเภท
2.2 สถานประกอบการที่มีเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ แต่ไม่มีเภสัช เช่นคลินิคแพทย์ สามารถสั่งใช้ยาทุกประเภทได้โดยไม่ผ่านเภสัช แต่ต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน และใช้ภายในสถานประกอบการเท่านั้น สังเกตว่าใช้คำว่าสั่งใช้ ไม่ใช่สั่งจ่าย แต่ถ้าจะให้ยาผู้ป่วยกลับบ้าน ถ้าเป็น 1.1 ต้องเขียนใบสั่งยาและให้ผู้ป่วยเอาใบสั่งไปซื้อที่ร้านยา ถ้าเป็น 1.2 จะเขียนใบสั่งยาก็ได้ หรือไม่เขียนเป็นทางการ แต่ให้ผู้ป่วยไปซื้อที่ร้านยา มีเพียง 1.3 ที่คลินิคสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้เลย
2.3 สถานประกอบการของสัตวแพทย์ ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าเป็นยาใช้ในสัตว์ สัตว์แพทย์สามารถสั่ง และจ่ายได้ทุกประเภทที่ระบุว่าเป็นยาสัตว์โดยไม่ต้องผ่านเภสัช แต่ถ้าเป็นยาที่ใช้ในคนแต่สัตว์แพทย์ต้องการนำมาใช้ในสัตว์ ต้องเขียนใบสั่งยาให้เจ้าของสัตว์มาซื้อที่ร้านยาตามประเภทของยาในข้อ 1
2.4 สถานประกอบการเวชกรรมแผนโบราณ หรือแผนไทย แพทย์แผนไทยสามารถสั่งจ่ายยาที่เป็นยาแผนโบราณได้ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถสั่งจ่ายหรือเขียนใบสั่งยาแผนปัจจุบันได้ ยกเว้นแค่ยาตาม 1.3 ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยของตนต้องใช้ยาในข้อ 1.1 ต้องส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาล (2.1) หรือคลีนิค (2.2) และให้แพทย์เป็นผู้รักษาต่อไป ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยตนต้องใช้ยาในข้อ 1.2 สามารถแนะนำให้ผู้ป่วยไปซื้อยาต่อที่ร้านยาได้ ซึ่งได้แค่แนะนำเท่านั้น จะเขียนเป็นใบสั่งยาไม่ได้ และเภสัชที่ร้านยาจะเป็นผู้ซักประวัติและเลือกยาให้ผู้ป่วยเองต่อไป
2.5 สถานพยาบาลหรือกายภาพบำบัดที่เปิดโดยพยาบาลหรือนักกายภาพ จะจ่ายยาได้เฉพาะข้อ 1.3 เท่านั้น ถ้าคิดว่าลูกค้าตนต้องการยาข้อ 1.1 ต้องแนะนำไปโรงพยาบาลหรือคลินิค ถ้าคิดว่าต้องการ 1.2 ต้องแนะนำไปซื้อที่ร้านยา ย้ำว่าแนะนำเท่านั้น ห้ามเขียนใบสั่ง
2.6 ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำ สามารถขายยาได้ทุกประเภท แต่ถ้าเป็นประเภท 1.1 ต้องมีใบสั่งแพทย์ ห้ามจ่ายเอง ประเภท 1.2 สามารถจ่ายได้โดยการซักประวัติและจ่ายยาตามอาการของผู้ป่วย ถ้าต้องใช้ยาข้อ 1.1 หรือคิดว่าต้องตรวจร่างกาย วินิจฉัยเพิ่มเติม หรือมีอาการซับซ้อน หรือเกินกว่าที่จะรักษาตามอาการได้ ต้องแนะนำให้ไปพบแพทย์ตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ต่อไป

3. ความเป็นจริงในปัจจุบันและจะเป็นอย่างไรถ้าพรบ.ใหม่ผ่าน
3.1 คลินิคสั่งใช้ยาและจ่ายยาทุกประเภท โดยผู้จ่ายยามักเป็นเพียงลูกจ้างของคลินิค (ทำหน้าที่ตั้งแต่เวชระเบียน การเงิน จนถึงจัดยา จ่ายยา) ทำให้ขาดการตรวจสอบความสมเหตุผลของการใช้ยา และคุณภาพของยา การเก็บรักษายาที่ไม่มาตรฐาน และมักมีราคายาสูงเกินจริง เนื่องจากมักมีการรวมค่า doctor fee เข้าไปกับค่ายา ซึ่งถ้า พรบ.ใหม่ผ่าน แพทย์จะสามารถทำทุกอย่างได้และถูกต้องตามกฏหมาย
3.2 ร้านยายังมีร้านยาที่แขวนป้าย และให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนเภสัชกร บางร้านยังมีการจ่ายยาตามข้อ 1.1 โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ บางร้านยังมีการขายยาโดยนึกถึงธุรกิจมากกว่าการปฏิบัติวิชาชีพ ถ้าพรบ.ใหม่ผ่าน ผู้ปฏิบัติหน้าที่จะไม่ใช่แค่เภสัช แต่อาจเป็นวิชาชีพอื่นๆ ก็มาทำหน้าที่ได้ แพทย์ ทันตะ สัตว์แพทย์ พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย และปัญหาที่ยังมีอยู่ก็ใช่ว่าจะหายไปหรือลดลง และจะยิ่งควบคุมยากมากขึ้น ร้านยาจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และอาจไม่ใช่แค่ร้านยา แต่สถานพยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย จะยกระดับตัวเองมีทั้งการบริการปกติ และมีการขายยาเพิ่มขึ้นมาอีก

4. สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจหรือปรับทัศนะ
4.1 ยา OTC หรือตามข้อ 1.3 ใช่ว่าจะไม่มีประสิทธิภาพหรือรักษาโรครักษาอาการไม่ได้ และความจริงก็มียาที่อยู่ในรายการ OTC ที่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้เพียงพอ และสามารถให้พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทยเลือกใช้ได้ครบถ้วนทุกอาการที่อยู่ในขอบเขตการทำหน้าที่ของวิชาชีพเหล่านี้ ปัญหาคือยากลุ่มนี้ราคาถูก กำไรน้อย แต่มันเป็นปัญหาของผู้ทำธุรกิจ ไม่ใช่ปัญหาประชาชน
4.2 ถ้าคนไข้ไปคลีนิคเสียค่าหมอแต่ไม่ได้ยา ต้องมาจ่ายค่ายาอีก ทำให้เหมือนจ่ายสองต่อ ราคาแพง แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ ราคาอาจถูกกว่ารับยาจากคลีนิคโดยตรงก็ได้ และได้ยาที่ตรงมากกว่า (คลีนิคมักมี item ยาน้อยกว่าร้านยา) คุณภาพยาดีกว่าเพราะมีการควบคุมยาเข้าร้านยา การเก็บรักษา ได้ข้อมูลยาครบถ้วนมากกว่า (การให้คำแนะนำในการใช้ยา ชื่อยา ร้านยามักให้ข้อมูลมากกว่าคลีนิค) ตรงนี้บางคนอาจกังวลว่า สุดท้ายคนไข้จะตรงไปร้านยาเลย เพราะไม่อยากจ่ายค่าหมอ ซึ่งทางแก้คือการออกกฏหมายประกันสังคมต่างๆ ที่คนไข้ไปคลีนิคอาจเสียค่าหมอไม่มากหรือไม่เสีย แต่ทางคลีนิคจะไปเบิกกับระบบประกันสังคมต่อไป
4.3 ร้านยา ต้องรู้บทบาทว่าตัวเองไม่ใช่ร้านขายยาอย่างเดียว และต้องใช้วิชาชีพนำธุรกิจ คนที่แขวนป้ายแต่ไม่ปฏิบัติวิชาชีพควรจะหมดไปได้แล้ว คนปฏิบัติวิชาชีพก็คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การบังคับใช้กฏหมายก็ต้องเข้มแข็ง จริงจัง ผิดก็ว่าไปตามผิด
4.4 ประชาชนต้องเข้าใจว่ายาเป็นสินค้าที่ต่างจากสินค้าทั่วไป มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสผิดพลาดง่าย มีข้อควรระวังในการใช้ ดังนั้น การหาซื้อยาง่ายๆ จ่ายยาง่ายๆ หรือผู้บริโภคถูกเสมอ ไม่ใช่การได้รับบริการที่ดี แต่เป็นการยื่นความเสี่ยงต่อชีวิตให้กับประชาชนด้วยซ้ำ

Narin Chansri
1 September 2014
Narin Chansri
Narin Chansri
facebook.com

ฟังวิทยุจากอังกฤษกี่ช่องๆ ได้ยินแต่ยานี้โฆษณาออกอากาศ ... 
ยานี้ที่อังกฤษจัดให้เป็นยา OTC เมื่อเดือนกุมภาที่ผ่านมา จากแต่ก่อนที่เภสัชจ่ายให้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา

ส่วนยาอื่นๆใน EU ที่จัดเป็นยา OTC ก็อย่างเช่น orlistat, pantoprazole, rabeprazole, esomeprazole and ulipristal acetate. 

NEXIUM ในเมืองไทยมีขนาด 20 กับ 40 มิลลิกรัม 

การกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน 1 ปี จะมีผลทำให้กรดในกระเพาะอาหารลดลง ลดการดูดซึมแคลเซียม และทำให้เกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูก มีความเสียงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งจะต้องระมัดระวังในผู้สูงอายุ 

ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร ส่วนหญิงมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์

ห้ามกินร่วมกับยาบางชนิด อาทิเช่น itraconazole, ketoconazole, warfarin, vitamin B12, St. John's Wort

http://www.nexiumcontrol.co.uk/
http://www.pharmaceutical-journal.com/news-and-analysis/news/heartburn-drug-esomeprazole-is-first-proton-pump-inhibitor-to-be-sold-outside-pharmacies-in-the-uk/20067745.article
http://www.nhs.uk/Medicine-Guides/pages/MedicineOverview.aspx?condition=Gastrointestinal%20ulcers&medicine=Nexium
http://www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter10_3/nexium.pdf
Homepage PCH
Homepage PCH
nexiumcontrol.co.uk

ยาและสมุนไพรที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต
คนทั่วไปมักเข้าใจว่ายาในกลุ่ม OTC (Over-the-Counter Drugs) หรือยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายเบื้องต้น เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเสีย วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาจีนและสมุนไพรต่างๆ เป็นยาที่ปลอดภัยเนื่องจากสามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่ในความจริงแล้วยาเหล่านี้อาจสะสมในร่างกาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อไตในผู้ที่มีโรคไตได้

ยาแก้ปวดลดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น ยามีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้

ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย

ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของสมุนไพร หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม
ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ

ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟต

อาหารเสริมต่างๆ มักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

สมุนไพร เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย (Ginko biloba) โสม (ginseng) กระเทียม (garlic) ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่ต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่าย

ยาระบายที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ispaghula husk อาจทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียมได้

https://www.bumrungrad.com/th/nephrology-kidney-center-bangkok-thailand/procedures/ckd-care-chronic-disease
http://www.nkh.go.th/nk/Doc_PDF/meetingdoc/9.pdf
PhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
2016-10-11
5 Photos - View album


เมื่อสักครู่มีเด็กน่าจะเป็นระดับมัธยม มาซื้อยาคุมฉุกเฉิน ก็เลยสงสัยว่า อายุขั้นต่ำเท่าไหร่ถึงจะกินยาคุมฉุกเฉินได้ US FDA ได้ออกประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2003 ว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้ทุกคน มีสิทธิที่จะซื้อยาคุมฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา 

ที่อเมริกา ยาคุมฉุกเฉิน จัดเป็นยากลุ่ม OTC ที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงยา โดยให้กินเม็ดเดียวครั้งเดียว (levonorgestrel 1.5 มิลลิกรัม) โดยให้กินทันทีภายในเวลา 3 วัน หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน 

ส่วนยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในเมืองไทย อาทิเช่น  POSTINOR, MADONNA หรือ NORPAK มี levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม 2 เม็ด ซึ่งสามารถกิน 2 เม็ดทันทีได้เช่นกัน โดยมีอาการข้างเคียงคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว มึนงง เต้านมคัดตึง ในกรณีที่มีอาการดังกล่าว สามารถกิน 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ได้เช่นกัน โดยยานี้จะยับยั้งการตกไข่ และป้องกันการตั้งครรภ์ ในกรณีที่ตั้งครรภ์แล้ว ยานี้ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์

ยาคุมฉุกเฉินจะทำให้เลือดออกกะปริดกะปรอย ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ในกรณีที่กินยานี้ เมื่อครบกำหนดเมนส์มา 1 อาทิตย์ผ่านไปแล่ว เมนส์ก็ยังไม่มา ควรทดสอบการตั้งครรภ์ หรือถ้า 3-5 อาทิตย์ หลังกินยา แล้วมีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีสาเหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ให้พบสูติแพทย์โดยด่วน

ถามว่า ทำไมไม่ลองค้นข้อมูลของ THAI FDA 
คำตอบประมาณว่า ตอนนี้ THAI FDA ให้ความสำคัญกับชื่อสกลุผู้ซื้อยาแก้ไอ ยาอมแก้ไอ มากกว่าเรื่องพวกนี้ ก็เลยไม่ให้ความสำคัญกับ THAI FDA สักเท่าไหร่  เรื่องเหวี่ยงแหจับมดนี่คนไทยเราเก่ง ...

http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnouncements/ucm358082.htm
http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnouncements/ucm350230.htm
http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2006/021045s011lbl.pdf
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/ยาคุมฉุกเฉิน-เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้/
Photo







ด้วยความห่วงใย
.....................
BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK / BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.....................




UPDATE  -  2018.12.04

No comments:

Post a Comment