Wednesday, May 4, 2016

กระดูกพรุน

เพิ่มมวลกระดูกสูงสุดให้มากที่สุด
1.เสริมแคลเซียม
2.เสริมวิตามินดี
3.ออกกาลังกาย
4.ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน


http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ngenprivate/2013/th/knowledge_gen_private/130-osteoporosis.html
Shared publicly
    Add a comment...

    คนทั่วไปต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม สตรีตั้งครรภ์ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 1,200 มิลลิกรัม สตรีก่อนวัยหมดระดูควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ส่วนสตรีหลังวัยหมดระดูต้องการแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม 

    ยาในรูปแคลเซียมคาร์บอเนตให้แคลเซียมได้มากที่สุดคือร้อยละ 40 แต่แคลเซียมกลูโคเนตให้แคลเซียมได้น้อยที่สุดคือร้อยละ 9 ดังนั้น จะต้องกินแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,500 มิลลิกรัมจึงจะได้แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม หรือ จะต้องกินแคลเซียมกลูโคเนตวันละ 11-12 กรัมจึงจะได้แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมตามความต้องการ

    แคลเซียมที่ดูดซึมง่ายกว่าและไม่ต้องการภาวะกรดในกระเพาะอาหารในการแตกตัวเพื่อการดูดซึม คือ แคลเซียมซิเทรท แคลเซียมซิเทรทอาจกินในขณะที่ท้องว่างได้ ข้อเสียคือราคาสูงกว่าและมีปริมาณแคลเซียมต่ำกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต

    แคลเซียมเม็ดฟู่มักมีองค์ประกอบของแคลเซียมคาร์บอนเนตเพื่อให้มีปริมาณแคลเซียมมากๆและผสมแคลเซียมแลคโตกลูโคเนตช่วยการดูดซึม แคลเซียมชนิดนี้มีราคาแพงกว่าแคลเซียมคาร์บอนเนต แต่อาจทำให้มีอาการท้องอืดได้เช่นกันเนื่องจากมีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอนเนตด้วย

    แคลเซียมทุกชนิดไม่ควรกินพร้อมยาประเภทอื่นเพราะทำให้การดูดซึมยานั้นๆน้อยลง และไม่ควรกินหลังอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากทำให้การดูดซึมน้อยลงและอาจจับกับผักทำให้อืดแน่นท้อง

    วิตามินซี ให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีขึ้นจากทางเดินอาหาร และวิตามินดียังช่วยเก็บแคลเซียมไม่ให้ถูกขับออกทางไตด้วย สำหรับวิตามินรวมที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบมักจะมีปริมาณแคลเซียมไม่พอสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หากจะกินยานี้ก็ต้องกินอาหารที่มีแคลเซียมเสริม


    อ่านเพิ่มเติม
    http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/30/ยารักษาโรคกระดูกพรุน-ใช้อย่างไร/
    http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/218/แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน-ตอนที่2/
    http://www.rtcog.or.th/html/articles_details.php?id=15
    http://www.pr.chula.ac.th/index.php/15-article/81-1-000-1-200-360-600-800-40
    Shared publicly
      Add a comment...

      การกินแคลเซี่ยมเสริมมากๆ ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน กินอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงให้เพียงพอต่อวัน ประมาณ 800-1200 มิลลิกรัม จะปลอดภัยกว่า ข้อมูลจาก NOF
      http://nof.org/calcium

      1) เบาหวานเพิ่ม risk ต่อการเกิดกระดูกพรุนและกระดูกหัก
      2) เลือกยาให้ถูก ในรายที่เป็นกระดูกพรุน มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักสูง หรือในคนที่หักมาแล้ว ช่วยดูด้วยว่ามียาเบาหวานที่ส่งผลเสียหรือไม่ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมครับ

      ...............................

      วันนี้เช้าได้บรรยายเรื่อง Diabetes and Osteoporosis ในงานประชุมประจำปีราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยครับ

      ระหว่างรอขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน เลยขอเขียนสรุปยารักษาเบาหวานกับผลกระทบต่อกระดูก สั้นๆ นะครับ
      อย่างน้อยจะได้ทำเกิด awareness ในการเลือกใช้ยา เพราะยาบางตัวอาจส่งให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดกระดูกหักมากขึ้น

      1. Insulin: โดยกลไกจะทำให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น จากการกระตุ้นการทำงานของ osteoblast แต่ผลออกมาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีด insulin เกิดกระดูกหักมากขึ้น สาเหตุมักเกิดจาก hypoglycemia, duration ที่เป็นมานาน, และมักจะมีภาวะแทกซ้อนจากเบาหวานอยู่แล้ว

      2. SU : กระตุ้นการหลั่ง insulin ซึ่งน่าจะมีผลดีต่อกระดูก แต่มีการศึกษาน้อยและส่วนใหญ่ออกมาว่า Neutral ต่อกระดูกครับ

      3. Metformin: ส้มหล่นอีกแล้วครับ จากการกระตุ้น AMPK มีผลทั้งเพิ่ม bone formation ผ่านทาง RUNX2 ทำให้ MSC (mesenchymal stem cell) เจริญไปเป็น mature osteoblast รวมทั้งทำให้ลด RANKL และเพิ่ม OPG ทำให้ bone resorption ลดลง ผลการศึกษาทางคลินิก อย่างน้อย 3 studies ใหญ่ที่พบว่าลดการเกิดกระดูกหักได้ 20-40%

      4. Alpha glucosidase inhibitor: ไม่มีการศึกษามากนัก แต่ที่ออกมาคือ Neutral

      5. TZDs ทั้ง Rosiglitazone และ Pioglitazone ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เพิ่ม bone turnover, bone loss และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักชัดเจน เกิดจากการที่ PPARgamma ไปทำให้ MSC เปลี่ยนไปเป็น adipocyte เพิ่มขึ้นเลยทำให้เจริญไปเป็น osteoblast ลดลง นอกจากนี้ยังไม่ยับยั้ง RUNX2 เลยทำให้ bone formation ลดลง

      6.GL-1 RA: GLP1 จะยับยั้ง bone resorption ในขณะที่ GLP2 and GIP กระตุ้น ผลออกมาไปในทางคลินิกจริงๆ น่าจะดี แต่กลับกลายเป็นแค่ neutral เป็นส่วนใหญ่

      7. DDP-4 inh: ผลออกมากจาก meta-analysis ลดกระดูกหักได้..ส้มหล่น แต่ study ยังไม่ strong มากพอที่จะทำให้ผมคล้อยตามมากนัก

      8. SGLT2 inh ยาจะยับยั้งการดูดกลับ Na + glucose ที่ proximal tubule เลยทำให้มีการดูดกลับ Na คืน แต่มันพา phosphate เข้ามาด้วยทาง Na-P cotransport พอ P เพิ่ม ทำให้ PTH and FGF-23 เพิ่ม.. PTH ทำให้ bone resorption แม้ว่าจะทำให้ 1,25OH2D เพิ่ม แต่ FGF-23 ทำให้ 1,25OH2D ลด แต่อิทธิพลของ PTH ที่เพิ่มเลยส่งเสียต่อ bone มากกว่า และจากการศึกษาดูเหมือนว่า net แล้วทำให้ 1.25 OH2D ลดลง เลยทำให้กระดูกหัก ผลจาก clnical studies พบว่า Canagliflozin ทำให้กระดูกหักเพิ่ม DAPA ทำให้กระดูกหักเพิ่มในคนที่มี moderate renal impairment (GFR <60) ส่วน EMPA ยังไม่มีข้อมูลว่าเพิ่มการหัก

      เป็นข้อมูลสรุปสั้นๆ และคิดว่าเป็น practical point ที่สำคัญครับ

      ต่อไปนี้เวลาเจอคนไข้เบาหวาน ผมฝาก 2 ข้อให้นึกถึง

      1) เบาหวานเพิ่ม risk ต่อการเกิดกระดูกพรุนและกระดูกหัก
      2) เลือกยาให้ถูก ในรายที่เป็นกระดูกพรุน มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักสูง หรือในคนที่หักมาแล้ว ช่วยดูด้วยว่ามียาเบาหวานที่ส่งผลเสียหรือไม่ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมครับ

      Endocrinology by Prof. Chatlert Pongchaiyakul 
      https://www.facebook.com/Endocrinologyreview/posts/1256170064400846
      Photo
      Shared publicly
        Add a comment...

        กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุดระหว่าง
        อายุ 30-35 ปี การสลายของกระดูกในผู้หญิงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
        และรุนแรงในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือนเรียกว่า
        postmenopausal bone loss โดยจะมีอัตราการลดลงของมวล
        กระดูกถึงปีละ 3-5% อันเป็นผลจากการลดลงของฮอร์โมนเอส
        โตรเจน 
        กระดูกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำ
        เดือนจึงมักจะเกิดขึ้นก่อนในตำแหน่งที่มีปริมาณกระดูกโปร่ง
        มาก เช่น กระดูกสันหลัง เมื่อผ่านช่วงนี้ไปมวลกระดูกจะสูญเสีย
        ในอัตราที่ช้าลง เหลือพอๆกับอัตราการสูญเสียมวลกระดูกใน
        เพศชาย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางคนก็ยังมีการสูญเสียกระดูก
        ในอัตราการที่สูงอยู่ตลอดช่วงอายุก็ได้

        อ่านเพิ่มเติม
        http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article436_87812.pdf
        http://www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/content/activity_%20lh/2.2.2.html
        Shared publicly
          Add a comment...

          กระดูกพรุน
          โรคนี้พบมากในคนสูงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีรูปร่างผอม ตัวเล็ก จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ สะโพก และสันหลัง โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับแสงแดดอ่อนๆ เป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราจัด เป็นต้น
          รายละเอียด :>> http://bit.ly/1lddplC
          Shared publicly
            Add a comment...

            อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

            กระดูกในร่างกายของเราประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ กระดูกส่วนนอก และ กระดูกส่วนใน เมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้น มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดน้อยลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกจึงเปราะ แตก หรือหักได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา เป็นเรื่องอันตรายและทรมาน โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่มวลกระดูกไม่ได้ดี หรือหนาแน่นเหมือนเมื่อวัยหนุ่มสาว

            ความหนาแน่นของมวลกระดูก

            ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงก่อนอายุ 30 ปี มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นมากที่สุด แต่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว ความหนาแน่นของกระดูกจะเริ่มลดลง การสลายของกระดูกจะเร็วกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกบางลงและอ่อนแอ การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density) หรือ BMD จะช่วยให้เรารู้ถึงความหนาแน่นของกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกาย การตรวจวินิจฉัยจะใช้วิธีการตรวจทางรังสีที่เรียกว่า Bone Densitometer การตรวจมวลกระดูกสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และผู้ที่อาจประสบกับภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งภาวะกระดูกพรุนคือภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง โครงสร้างของกระดูกเสื่อมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในผู้สูงอายุ และวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่กระดูกเกิดภาวะเสื่อมตามวัย กระดูกเปราะบาง มีโอกาสหักได้ง่าย

            โดยปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้นคือ ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เพราะรังไข่หยุดการทำงาน การผลิตฮอร์โมนจะลดลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ร่างกายของผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก การได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ รวมถึงน้ำอัดลม ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมรวมถึงโรคประจำตัวบางชนิด และการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

            ปกป้องมวลกระดูกด้วยอาหาร

            กระดูกของคนเรามีการพัฒนาและค่อยๆ เติบโตตั้งแต่เรายังอยู่ในครรภ์ของแม่ ไปจนถึงอายุ 25-30 ปี เพราะฉะนั้นการเลือกบริโภคอาหารเพื่อรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก และเป็นการสะสมแคลเซียมตั้งแต่เนิ่นๆ ก็เป็นการช่วยให้มวลกระดูกแข็งแรงตามที่ควรจะเป็น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อมวลกระดูกเสียแต่วันนี้ ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับกระดูกในอนาคต การเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินแร่ธาตุช่วยในการบำรุงกระดูก ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนว่า แร่ธาตุชนิดใดที่มีความสำคัญต่อกระดูกกันบ้าง

            1.แคลเซียม (Calcium) แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีมากในร่างกาย พบได้มากในกระดูกและฟัน ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน การเสริมแคลเซียมด้วยอาหาร พบมากในอาหารประเภท นมสด ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง งาดำ ผักใบเขียว เต้าหู้ เป็นต้น

            การดูดซึมแคลเซียมขึ้นอยู่กับระดับของวิตามินดีในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี หรือวิตามินดีอยู่น้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยเช่นกัน ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น คือ ควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดบ้าง

            2.ไนอะซีน (Niacin) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ได้จากโปรตีนในอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยจะทำหน้าที่ช่วยน้ำย่อยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ มีส่วนสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม สามารถพบได้ในอาหารประเภท ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา เป็ด ไก่ เป็นต้น

            3.แมงกานีส (Manganese) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นเอนไซม์จำเป็น มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย ช่วยในการปกป้องกระดูกไม่ให้สูญเสียแคลเซียมมากเกินไป นอกจากนี้ประโยชน์อื่นๆ ของแมงกานีสคือ ช่วยเรื่องการตอบสนองของกล้ามเนื้อ ให้สามารถยืดหดตัวได้ดี ช่วยให้ความจำดีลดอาการหงุดหงิด พบได้ในอาหารประเภท ผักใบเขียว ผักกะหล่ำ ไข่ ตับ ถั่ว เนื้อสัตว์ และ อาหารทะเล เป็นต้น

            4.วิตามินดี (Vitamin D) ทำหน้าที่เสริมในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสให้กับกระดูกและฟัน ปกติแล้วร่างกายเราได้รับวิตามินดีจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดด โดยจะทำปฏิกิริยากับผิวหนัง เกิดการสร้างวิตามินดี นอกจากนี้วิตามินดียังพบได้ในอาหารประเภท น้ำมันตับปลา ปลาทูน่า และปลาแซลมอน เป็นต้น

            5.ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นแร่ธาตุที่อยู่ภายในเซลล์ทั่วร่างกาย โดยทำงานร่วมกับแคลเซียมในรูปของแคลเซียมฟอสเฟต ทำหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลกรดด่างของของเหลวในเซลล์ ทั้งยังช่วยในการปกป้องกระดูกและฟัน แหล่งอาหารที่มีฟอสฟอรัสคือ อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ปลาเล็กปลาน้อย (ที่สามารถรับประทานได้ทั้งตัว) เนยแข็ง ถั่วต่างๆ

            ดังนั้น เราควรปกป้องมวลกระดูกของเราตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน หรือเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักได้ง่าย เมื่อวัยสูงขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่บำรุงแคลเซียม เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก จึงเป็นวิธีที่ใกล้ตัวที่สามารถปฏิบัติได้ แต่ก็ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลดีกับกระดูกของเราในระยะยาว...
            Cr.ข่าวhttp://health.haijai.com/3934/
            Photo

            20 ตุลาคม วันกระดูกพรุนโลก "STOP AT ONE” หักครั้งเดียวก็เกินพอ
            โรคกระดูกพรุน ไม่ใช่อุบัติเหตุ ป้องกันและบำรุงกระดูกไว้ .....ก่อนสายเกินไป
            เพชรสังฆาต....สมุนไพรช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้แข็งแรง

            มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก จากการที่มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้เพิ่มขึ้น และเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ เพื่อจำลองให้เกิดสภาวะเหมือนหญิงวัยทอง โดยมีผลเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน คือ raloxifene

            โดยน่าจะเป็นผลจากการที่ในเพชรสังฆาตพบสารกลุ่ม ไฟโตเอสโตรเจนมาก เนื่องจากในหนูที่ได้รับเพชรสังฆาต พบการเพิ่มขึ้นของระดับเอสโตรเจน และวิตามินดีในเลือด

            ข้อดีของเพชรสังฆาต เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน พบว่าเพชรสังฆาต ให้ผลดีทั้งในเรื่องของความหนา ความแข็งแรง และความหนาแน่นมวลกระดูก ขณะที่เอสโตรเจน จะไม่มีผลในเรื่องความหนาแน่นของมวลกระดูก เพชรสังฆาตยังมีฤทธิ์ลดอาการปวด โดยการศึกษาหนึ่ง ทดลองให้รับประทานวันละ 3200 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าให้ผลดีในการลดอาการปวดข้อ

            https://www.facebook.com/abhaiherb/photos/a.136960229702392.26552.136694259728989/751629668235442/
            Photo
            Shared publicly
              Add a comment...

              "กระดูกพรุน" ภัยร้ายใกล้ตัวที่ไม่แสดงอาการ รู้ตัวก็สายแล้ว
              updated: 26 ก.ค. 2556 เวลา 15:27:36 น.
              ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
              http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374827243

              1.) ช่วงการสร้างมวลกระดูกเริ่มต้นเมื่อแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30 ปี

              2.) ช่วงการคงมวลกระดูกเมื่ออายุ 30 – 45 ปี

              3.) ช่วงการสลายมวลกระดูกเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป โดยการสร้างกระดูกใช้เวลานานถึง 4 เดือน ในขณะที่แคลเซียมปริมาณเท่ากันถูกดึงออกจากกระดูกในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น การได้รับแคลเซียมจากอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กจนวัยชราจะช่วยดูแลสุขภาพของกระดูกได้ดี และช่วยลดความเสี่ยงของปัญหากระดูกบางปัญหาได้ โดยช่วงอายุที่กระดูกดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุดคือ 18 - 30 ปี
              PhotoPhotoPhoto
              2013-07-29
              3 Photos - View album
              Shared publicly
                Add a comment...

                Calcium 360° | แคลเซียมกับการป้องกันภาวะกระดูกพรุน
                http://www.nutrilite.co.th/nutrilite/microsite/calcium/3-to-prevent-osteoporosis-with-calcium.html
                PhotoPhotoPhoto
                2015-06-13
                3 Photos - View album

                การป้องกันภาวะกระดูกและมวลกล้ามเนื้อลดลงในผู้สูงวัย ในส่วนของมวลกระดูกต้องพิจารณาตั้งแต่วัยเด็ก 

                หากวัยเด็กมีการวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้นสม่ำเสมอ รับแสดงแดดยามเช้าอย่างพอเหมาะ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ   บุคคลนั้นก็จะมีมวลกระดูกที่ดี โดยมวลกระดูกสูงสุดจะอยู่ในช่วงอายุ 30 ปี จากนั้นมวลกระดูกจะลดลงร้อยละ  0.3-0.5  ต่อปี และหากลดลงถึงร้อยละ 30  ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลา 60 ปี

                ภาวะกระดูกพรุนจึงมักพบในผู้สูงอายุ โดยพบว่าผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 1 ใน 3  ขณะที่ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไปราว 1 ใน 4 มีภาวะกระดูกพรุน

                การป้องกันภาวะกระดูกและมวลกล้ามเนื้อลดลง ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ให้เด็กได้วิ่งเล่น ออกกำลังกาย เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดี และสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ  

                การเจาะเลือดวัดปริมาณวิตามินดี พบว่า คนอายุ 18-24ปีต่ำที่สุด อาจเป็นเพราะวัยรุ่นไม่ถูกแดด ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน ส่วนการป้องกันในคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายที่เหมาะสมเพียงพอ 

                นอกจากนี้ ผู้หญิงถ้ารักษาการมีประจำเดือนจนถึงอายุประมาณ 50 ปี ร่างกายจะมีฮอร์โมนนาน ช่วยส่งเสริมให้ไม่เกิดภาวะกระดูกพรุนเร็ว

                http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421827305
                Shared publicly
                  Add a comment...

                  นมไฮแคลเซียม ไม่มีผลช่วยเสริมกระดูกมากกว่านมสดธรรมดา

                  ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนฯ เผย “นมไฮแคลเซียม” ไม่มีผลช่วยเสริมกระดูกมากกว่านมสดธรรมดา เตือนประชาชนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ระบุการสะสมแคลเซียมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
                  ศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย และประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนในพระอุปถัมภ์ฯ เปิดเผยว่า ถึงแม้นมจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย และเป็นแหล่งแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่นมไฮแคลเซียม (Hi Calcium) กลับไม่มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างกระดูกให้มากขึ้นกว่านมสดธรรมดา

                  การดื่มนมไฮแคลเซียมในขณะท้องว่าง ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมผงที่ผสมอยู่ในนมได้ เนื่องจากไม่มีน้ำกรดช่วยในการดูดซึม แต่ถ้าดื่มนมไฮแคลเซียมพร้อมกับรับประทานอาหาร น้ำกรดที่หลั่งออกมาจะถูกน้ำนมซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ลดความเป็นกรดลง ทำให้กระบวนการย่อยดูดซึมแคลเซียมผงที่เติมลงไปในนมไม่สามารถละลาย และแตกตัวเป็นแคลเซียมอิสระได้ ฉะนั้น การดื่มนมไฮแคลเซียมจึงไม่ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์

                  ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมเสริมที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป จึงไม่ควรรับประทานมื้อเดียวกับนม แคลเซียมเสริมจะต้องรับประทานแยกกับนมคนละมื้อ ไม่ควรอยู่ในมื้อเดียวกันโดยเด็ดขาด

                  ศ.กิตติคุณ นพ.เสก กล่าวเพิ่มเติมว่า ความต้องการแคลเซียมของแต่ละวัยแตกต่างกัน ในวัยเด็ก ควรได้รับปริมาณแคลเซียมประมาณ 600 มก.ต่อวัน ในวัยรุ่นควรได้รับประมาณ 1,000-1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 800-1,000 มก.ต่อวัน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมสูงถึง 1,500 มก.ต่อวัน และผู้สูงอายุในวัยทอง ต้องการปริมาณแคลเซียมมากที่สุด เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มก.ต่อวัน ฉะนั้น การสะสมปริมาณแคลเซียมควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก ทำได้โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ข้าว ถั่ว ผัก ผลไม้ และดื่มนมวันละประมาณ 2 แก้วๆ ละ 250 มล. ซึ่งร่างกายจะได้รับแคลเซียมประมาณ 500-600 มก.จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

                  แคลเซียมกับความต้องการของคนต่างวัย

                  เชื่อว่าทุกคนคงรู้ถึงคุณประโยชน์ของแคลเซียมเป็นอย่างดีแล้ว ว่ามีผลดีต่อร่างกายที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเมื่อเร็ว ๆ นี้มีงานวิจัยที่พบว่า แคลเซียมสามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อโรคความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือนและมะเร็งลำไส้ แต่คนส่วนน้อยมักละเลยว่า การได้รับแคลเซียมต่อวันนั้นย่อมต้องคำนึงถึงวัยเป็นสำคัญด้วย ดังนั้นจึงมีข้อมูลมานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ

                  หญิงตั้งครรภ์

                  สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน จำเป็นต้องได้รับมากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูก เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลนแคลเซียม นอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูก หรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้

                  วัยเด็ก

                  เด็ก ๆ ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสมแคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้าแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูก และความหนาแน่นของกระดูกต่ำเป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อน หรือโรคกระดูกค่อมงอได้

                  สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภคให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้

                  วัยหนุ่มสาว

                  จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วงอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

                  สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียมที่ต้องการ เพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติ ก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

                  วัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ

                  คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูง ถ้าร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง

                  ดังนั้น คนในวัยสูงอายุที่มีการเสริมแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูก เมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็ น้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้

                  http://www.djnarich.com/
                  http://health.kapook.com/


                  https://www.facebook.com/FoodandHealthforyou/posts/614547335260949


                  KP150221
                  Photo
                  Shared publicly
                    Add a comment...

                    กระดูกมีความเปราะบาง ภาวะความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ร่วมกับโครงสร้างภายในของกระดูกเกิดความเสื่อม ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกจึงหักหรือยุบตัวได้ง่าย จุดที่มีการหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง สะโพกและข้อมือ อาการที่พบคืออาการปวดเรื้อรังตามแนวกระดูกสันหลัง เนื่องจากกระดูกยุบตัวลงหลังโก่งค่อม กระดูกในส่วนต่าง ๆ ผิดรูปร่างไป

                    การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้โดยการทำให้กระดูกหนาแน่นและแข็งแรงที่สุดในช่วงก่อนอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายมีมวลเนื้อกระดูกสูงสุด หากพ้นวัยนี้แล้วร่างกายไม่สามารถสะสมเนื้อกระดูกได้เพิ่มขึ้น

                    http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=TNRPT5709250010002
                    Shared publicly
                      Add a comment...

                      วันนี้แวะกาดสวนแก้ว มีวัดมวลกระดูกของคณะเทคนิคการแพทย์ มช. เลยเอาข้อมูลมา share กัน

                      การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
                      http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=16

                      ผู้ที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก 

                      • ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี) หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง

                      • ผู้ที่มีกระดูกหักเกิดขึ้นทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ข้อเท้าพลิก ยกของหนัก ลื่นล้ม หรือ ตกจากเก้าอี้ โดยเฉพาะกระดูกหักในบริเวณ ข้อมือ หัวไหล่ สันหลัง สะโพก และ ส้นเท้า

                      • ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่ากระดูกสันหลังผิดปกติ เช่น หลังโก่ง หลังคด ความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้วเมื่อเทียบกับความสูงที่สุดช่วงอายุ 25-30 ปี ( ความสูงที่สุดสามารถวัดได้เทียบเท่ากับ ความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง )

                      • เป็นโรคบางอย่าง เช่น ไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง เป็นต้น

                      • รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ(ยาธาตุน้ำขาว) ยาขับปัสสาวะ 

                      • ผู้ที่ผอมมาก ๆ ผู้ที่ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 

                      • สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน

                      #มวลกระดูก #กระดูกพรุน
                      Photo
                      Shared publicly
                        Add a comment...

                        การถอนฟัน ฝังรากเทียม หรือการผ่าตัดในช่องปากในผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่มใหม่นี้ จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะกระดูกตายภายหลังการรักษา ซึ่งจะทำให้แผลถอนฟันหรือแผลผ่าตัดไม่สามารถหายได้เอง หรือเกิดการติดเชื้อที่แผลถอนฟันภายหลังการรักษา 

                        ยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่มใหม่ ชื่อว่า "บิสฟอสโฟเนท" (bisphosphonate) เช่น ฟอสาแมกซ์ (fosamax), บอนิวา (boniva) ยาที่กินสัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรือเป็นยาฉีดทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี 

                        http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443760100
                        Shared publicly
                          Add a comment...

                          สมุนไพรอภัยภูเบศร
                          ซีรีย์ 2 : สมุนไพรดูแลข้อกระดูกของพ่อ

                          สำหรับใครที่มีคุณพ่ออายุมากแล้ว ชอบบ่นปวดเมื่อยบ่อยๆ หรือมีปัญหาข้อเสื่อม กระดูกพรุน...อภัยภูเบศรขอแนะนำสมุนไพร
                          เถาวัลย์เปรียง ขมิ้นชัน เพชรสังฆาต
                          เถาวัลย์เปรียง
                          มีสรรพคุณถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี แก้เส้นเอ็นขอด มีงานวิจัยเทียบกับยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน ทั้งในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม พบว่ามีประสิทธิภาพในการแก้ปวด ลดอักเสบ เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน บางรายงานยังพบว่าเถาวัลย์เปรียงยังมีผลระคายเคืองทางเดินอาหารน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย เป็นสมุนไพรอีกตัวหนึ่งที่ใช้แทนยาแก้ปวดได้ โดยทานครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น

                          ขมิ้นชันในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
                          มีงานวิจัยพบว่าขมิ้นชัน ช่วยลดการอักเสบได้ โดยมีการใช้สารสกัดขมิ้นขนาด 500 มิลลิกรัมรับประทานวันละ 4 ครั้งหลังอาหารติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ พบว่ามีประสิทธิผลและปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วย ibuprofen 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

                          เพชรสังฆาต
                          มีการใช้แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวท สำหรับบำรุงกระดูก โดยมีผลเพิ่มมวลกระดูก สมานกระดูกที่หัก และลดอาการบวมและอักเสบได้ เพชรสังฆาต ไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนแคลเซียม สามารถทานเพชรสังฆาตร่วมกับแคลเซียมได้ โดยรับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 1-3 มื้อ หลังอาหาร
                          ติดตามซีรีย์ 9 ชุดสมุนไพรดูแลสุขภาพคุณพ่อ/ herb for health's father sereis ทางเพจ FB : สมุนไพรอภัยภูเบศรค่ะ


                          https://www.facebook.com/abhaiherb/photos/a.136960229702392.26552.136694259728989/776800399051702/


                          KP141209
                          Photo
                          Shared publicly
                            Add a comment...

                            ว่านชักมดลูก มีสารไฟโตเอสโตรเจน เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน ที่ได้จากพืชในธรรมชาติ

                            สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้เหง้าว่านชักมดลูกรักษาอาการของสตรี เช่นประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร และไส้เลื่อน 

                            สารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีศักยภาพสำหรับรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวามและแสบร้อนผิวหนัง หงุดหงิด ไขมันในเลือดสูง ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และที่สำคัญคือกระดูกพรุน ไฟโตเอสโตรเจนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นและต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย และพัฒนาเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งโรคมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ 

                            ว่านตัวเมียและสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าไวตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท นอกจากนั้นยังช่วยรักษาและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย 

                            สารโฟราซิโตฟีโนนในว่านชักมดลูกที่แสดงฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น จึงลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี 

                            สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทช่วยให้การลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไปในตับและเสริมให้เกิดการขับโคเลสเตดรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ 

                            ว่านชักมดลูกทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้นโดยต้านออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นที่ผนังหลอดเลือดแดง

                            ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ป้องกันการสูญเสียแคลเซียม รัษาระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกได้เช่นเดียวกับกลุ่มหนูที่กินเอสโตรเจน และดีกว่าเอสโตรเจนตรงที่ทำให้ขนาดมดลูกของหนูทดลองโตขึ้นน้อยกว่า 

                            ว่านตัวเมียแสดงฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ได้โดยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษในร่างกาย 
                            Shared publicly
                              Add a comment...

                              มีงานวิจัยที่ออกมาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหา บอกว่า คนสูงอายุที่กินวิตะมินดี ไม่ได้ช่วยอะไรเลยในเรื่องของการป้องกันกระดูกพรุน ไปยกเวทยังจะช่วยป้องกันได้มากกว่า กลายเป็นว่าต่อไปนี้ ก็ไปซื้อเวทขนาดสัก 3 กิโลมา ให้คนสูงอายุยกขึ้นยกลงทุกวัน จะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันกระดูกพรุนได้ ว่าแต่ว่าคุณท่านจะทำหรือไม่เท่านั้น .... 


                              http://lacrossetribune.com/wisconsin-study-boosting-vitamin-d-makes-no-difference-in-bone/article_12773b17-d7a4-5e53-9e58-aa43c6e14d44.html
                              Shared publicly
                                Add a comment...

                                อาการที่สำคัญของข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอก มีเสียงดังกรอบแกรบเมื่อเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวได้ลดลง มักเป็นเรื้อรังและปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานในท่างอเข่า การขึ้นลงบันได หรือลงน้ำหนักบนข้อนั้นๆ และทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน หากการดําเนินโรครุนแรงขึ้นอาจปวดตลอดเวลา แม้เวลากลางคืนหรือขณะพัก

                                การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ใช้ยา เริ่มแรกจะเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม และการลดน้ำหนัก ส่วนยาที่ใช้จะเป็นยาบรรเทาปวดตามอาการ หรือยาที่มีผลต่อกระดูกอ่อน หรือน้ำไขข้อ เช่น glucosamine

                                แคลเซียมไม่ได้เป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในกรณีเพื่อรักษาหรือป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อม แต่แคลเซียมเป็นยาที่มีประโยชน์ ในกรณีใช้รักษาหรือป้องกันโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดได้มากขึ้นเพื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยหมดประจำเดือน ขนาดแคลเซียมที่แนะนำให้รับประทานแต่ละวันก็จะแตกต่างกันไป โดยทั่วไปปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในผู้ใหญ่จะเป็น 800 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากอายุมากกว่า 50 ปี แนะนำเป็น 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน


                                http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=3839
                                Shared publicly
                                  Add a comment...

                                  สูตรน้ำสมุนไพร........เป็นยาอายุวัฒนะรักษาได้สารพัดโรค มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง รักษาโรคได้ดังต่อไปนี้
                                  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
                                  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
                                  - มะเร็งปากมดลูก
                                  - มะเร็งลำไส้
                                  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
                                  - มะเร็งทางเดินอาหาร
                                  - เนื้องอกตามอวัยวะต่างๆ
                                  - โรคไต
                                  - โรคนิ่ว
                                  - โรคภูมิแพ้ ไซนัส
                                  - โรคหลอดเลือดหัวใจ
                                  นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยสิ่งต่างๆดังนี้:
                                  - ล้างฟอกไตให้สะอาด บำรุงไต
                                  - ล้างพิษออกจากลำไส้
                                  - ยับยั้งกระดูกผุ ลดภาวะกระดูกพรุน
                                  - บำรุงโลหิต
                                  - ลดน้ำตาลในโรคเบาหวาน
                                  - ปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลย์ในหญิงวัยทอง
                                  - ฟื้นฟู ตับ ไต และหัวใจ
                                  สูตรการทำน้ำทับทิม
                                  1. นำผลทับทิมสด (ผลห้ามปอกเปลือกหรือเอาเมล็ดออก ให้นำไปล้างน้ำแล้วใช้ทั้งผล) มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปใส่เครื่องปั่น หรือเครื่องคั้นน้ำผลไม้แยกกากก็ได้ ให้ได้น้ำคั้นจากเปลือก เมล็ด และเนื้อทับทิม (ใช้ทับทิม 1 ลูก ต่อ 1 ท่าน)
                                  2. ใส่น้ำโซดาลงไป (ควรเป็นโซดาแช่เย็น) เพื่อให้เกิดปฏิกริยาในการกลั่นยาให้ได้ผลดี (โซดาประมาณ 1 แก้วต่อทับทิม 1 ผล)
                                  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา ให้ใส่น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา (ต่อทับทิม 1 ผล)
                                  4. ผสมทุกอย่างให้เข้าก่อน ทำดื่มวันละ 3 เวลา หรืออย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง (วันละ 3 ครั้งจะเห็นผลเร็วมาก)
                                  ประสบการณ์จากผู้ที่ใช้สูตรยานี้
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่งหายจากโรคนิ่วในไตภายในเวลา 1 สัปดาห์
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง อาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองดีขึ้น 50% ภายใน 1 สัปดาห์
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง อาการมะเร็งต่อมลูกหมากดีขึ้น 50% ภายใน 4 วัน
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง ยกเลิกการผ่าตัดบายพาส หลังกินยาสูตรนี้ไปเพียง 2-3 สัปดาห์
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง หายจากโรคไซนัสเรื้อรังหลังกินยาสูตรนี้ไปเพียง 2 สัปดาห์
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง อาการมะเร็งปากมดลูกหายไปกว่า 80% ภายใน 10 วัน
                                  - ผู้ป่วยท่านหนึ่ง อาการปวดขาเรื้อรังหายขาดภายใน 7 วัน
                                  Photo
                                  • 2w

                                  อาหารอร่อยกว่ายา..
                                  มาทานอาหารแทนยากันดีกว่า


                                  ๑. ไขมันในเลือดสูง 
                                  แทนที่จะหายามากินให้ปวดหัว ตับพัง
                                  ก็หากระเทียมสดมากินสักวันละ ๑๐ กลีบ
                                  กับกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว

                                  ๒. ปวดหัว 
                                  ให้หาผักคะน้าหรือปวยเล้ง (แมกนีเซียม) 
                                  กินวันละ ๕ ขีดและกินปลาทูอีกวันละ ๒ ตัว (น้ำมันปลาลดการอักเสบได้) 
                                  หรือจะชงโกโก้กินหน่อยก็ช่วยได้

                                  ๓. เป็นหวัด ไอ จามบ่อย 
                                  ให้หมั่นแปรงลิ้น
                                  และกิน กระเทียม หอม พริกให้มากเข้าไว้

                                  ๔. ภูมิแพ้ 
                                  แค่กินฝรั่งวันละ ๕ ชิ้น
                                  กับเมล็ดฟักทองวันละ ๑ กำมือ (สังกะสี)

                                  ๕. แพ้ฝุ่น ละออง ไรฝุ่น 
                                  หาโยเกิร์ตแบบรสธรรมชาติ และนมเปรี้ยวไม่หวานจัดมากิน

                                  ๖. โรคหืด หอบ ไอ เรื้อรัง 
                                  กินต้มยำไก่, กินหัวหอมใหญ่ หอมแดง ต้นหอม
                                  และเอาหอมซุกไว้ใต้หมอน

                                  ๗. ไขข้อ อักเสบ 
                                  หาปลาเนื้อมันกินวันละ ๒ ขีด เช่นปลาทู, ปลาสวาย, 
                                  ปลาแซลม่อน, ปลาซาร์ดีน, ปลาทูน่าหรือแม้แต่ปลากระป๋อง

                                  ๘. กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบบ่อย 
                                  ให้กินน้ำกระเจี๊ยบไม่หวานจัดวันละ ๓ มื้อ 
                                  หรือน้ำแครนเบอรี่ ของฝรั่งในปริมาณเท่ากัน (เปรี้ยวจัดมาก)

                                  ๙. ท้องอืด แก๊สมาก 
                                  ให้กินกล้วยหักมุกปิ้งหรือขิงบ่อยๆ

                                  ๑๐. ท้องผูก 
                                  ชงน้ำผึ้งดื่มวันละ ๓ ช้อนโต๊ะ
                                  และให้กินน้ำมะขามต้มติดเนื้อมาก เช้า เย็น

                                  ๑๑. โรคกระเพาะอาหาร 
                                  หากล้วยหักมุกปิ้งกิน, กินกล้วยหรือกินผักกระหล่ำปลีให้มาก

                                  ๑๒. เวียนหัว คลื่นไส้ง่าย 
                                  ให้หาอาหารทำจากขิงรับประทาน เช่น ปลาผัดขิง ไก่ผัดขิง, น้ำขิง, 
                                  ชาขิง หรือเต้าฮวย

                                  ๑๓. วัยทอง วูบวาบ อารมณ์ปรวน 
                                  ให้กินปลาทูน่าให้มาก และกินเต้าหู้เหลืองวันละ ๑ แผ่น
                                  ถ้ากินเต้าหู้แล้วเบื่อให้สลับกับถั่วลิสงวันละ ๑ กำมือก็ได้

                                  ๑๔. หงุดหงิดง่าย 
                                  ให้กินอาหารร่าเริง คือ ข้าวเหนียวดำ ข้าวโพด กลอย 
                                  กล้วยหอมและปลาทูน่า

                                  ๑๕. กระดูก พรุน 
                                  ให้กินงาดำวันละ ๔ ช้อนโต๊ะ (ได้แคลเซียมมาก) 
                                  มะม่วงจิ้มกะปิ และ สับปะรด ซึ่งมีธาตุสมานกระดูกอยู่มาก (แมงกานีส)

                                  ๑๖. ความจำไม่ดี 
                                  ให้กินปลาทูวันละ ๒ ขีด หอยแครงและหอยนางรมซึ่งมีธาตุสังกะสี 
                                  ช่วยสมองได้

                                  ๑๗. มะเร็ง เต้านม 
                                  ให้กินบร็อคโคลีหรือคะน้าวันละ ๕ ขีด

                                  ๑๘. มะเร็งปอด ทางเดินหายใจ 
                                  ให้กิน เสาวรส ฝรั่ง ส้ม มะนาว มะขามป้อม มะละกอ มะม่วง ให้มาก 
                                  เพราะวิตามินซีช่วยสมานหลอดเลือดในปอดได้ดี 
                                  แต่ต้องระวังวิตามินเอโดยเฉพาะผู่ที่ ยังสูบบุหรี่อยู่

                                  ๑๙. ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน 
                                  กินแอปเปิ้ลเขียววันละ ๑ - ๒ ผล หรือน้ำแอปเปิ้ลเขียวปั่นทั้งกาก 
                                  จะเป็นการล้างพิษในตัวด้วย

                                  ๒๐. เจ็บอก โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ 
                                  กินปลาทะเล น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน 
                                  ผลอโวคาโดเพราะเหล่านี้มีไขมันดีไปช่วยขับตะกรันน้ำมันเก่าออก 
                                  ถ้าชอบดื่มชา ให้หาชาเขียวสดมาชงดื่มเองวันละถ้วย

                                  ๒๑. ความดัน สูง 
                                  ต้องตัดบุหรี่และอาหารเค็ม ลองหาข้าวโอ๊ตไม่ขัดสีมากินและผัก
                                  ขึ้นฉ่ายสดหรือปั่นก็ได้ จะช่วยคุมความดันให้ดีขึ้น

                                  ๒๒. เบาหวาน ถามหา 
                                  ให้เลี่ยงแป้งกับน้ำตาล และ กินผักเขียวจัดอย่างคะน้า 
                                  บร็อคโคลี ผักโขมให้มาก 
                                  ถ้าอยากหวานให้กินส้มโอและฝรั่ง เพราะมีน้ำตาลอยู่น้อยมาก


                                  ที่มา :
                                  http://onknow.blogspot.com/2011/08/blog-post_4110.html

                                  Photo
                                  5 เรื่องต้องแฉจากถ้วยโยเกิร์ต

                                  โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วย เป็นแหล่งรวมสารอาหารถึง 11 ชนิด และแต่ละชนิดก็เป็นตัวแม่สำหรับร่างกายทั้งนั้น อย่างไอโอดีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 โปรตีน วิตามินบี 12 ทริปโทฟาน โพแทสเซียม โมลิปเดนัม สังกะสี และวิตามินบี 5 คนที่กินโยเกิร์ตเป็นประจำถึงได้อายุยืนแถมแข็งแรงกันเหลือเกิน

                                  การทานโยเกิร์ตที่ได้ผลที่สุดควรจะทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ที่ไม่มีการแต่งกลิ่นแต่งรสเพิ่มน้ำตาลลงไป แต่ถ้าสาวแซบไม่ชอบความเปรี้ยวของมัน จะเอาไปทานแทนมายองเนส หรือปั่นรวมกับผลไม้ให้เป็นน้ำผลไม้อร่อยๆ ก็เป็นไอเดียโซคูลอย่างหนึ่ง

                                  เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตเกิดมาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดเลวทั้งหลาย การกินโยเกิร์ตจึงทำให้อาการท้องเสียของคุณทุเลาลงอย่างรวดเร็ว

                                  ถึงแม้จะทำมาจากนม แต่โยเกิร์ตให้โปรตีนและแคลเซียมสูงกว่านมธรรมดา เพราะลำไส้ของเราย่อยนมไม่ได้ แต่สำหรับโยเกิร์ตกลับทำได้ชิลๆ เพราะในโยเกิร์ตมีกรดแลคติกที่จะช่วยย่อยแคลเซียมให้เล็กลง ทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้

                                  แคลเซียมสูงที่ได้จากโยเกิร์ต จะทำให้สาวแซบเป็นสาวกระดูกเหล็ก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ความดันสูง มะเร็งในลำไส้ และยังกระตุ้นระบบเผาผลาญทำให้คุณผอมเองโดยไม่ต้องเหนื่อย

                                  การกินโยเกิร์ตทำให้ปากสะอาด กำราบกลิ่นปากและโรคเหงือก และยังเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายด้วย เพราะแบคทีเรียในโยเกิร์ตทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินเคและบีในลำไส้ได้ดีขึ้น

                                  ประโยชน์ใน `พริกไทยเม็ดเล็ก`

                                  ขอนำประโยชน์ดีๆ กับเครื่องเทศใกล้ๆ ตัว ที่ถูกใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ลงในอาหารให้เราได้รับประทานกันแทบทุกวัน นั่นก็คือ พริกไทย เครื่องเทศมากประโยชน์ชนิดนี้ มาดูกันดีกว่าว่า เจ้าพริกไทยเม็ดเล็กๆนี้ จะมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง

                                  คุณค่าทางด้านโภชนาการของพริกไทย
                                  1. มีแคลเซียมในปริมาณที่สูงมาก โดยเฉพาะพริกไทยอ่อน ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงอยู่เสมอ และแคลซียม ยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย
                                  2. มีฟอสฟอรัส วิตามินซี ซึ่งวิตามินซีนั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
                                  3. มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอ และมีส่วนช่วยในการมองเห็น
                                  4. มีสารที่ชื่อว่า ไปเปอรีน และ ฟินอลิกส์ ซึ่งทั้งคู่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสรรพคุณในการป้องกันมะเร็ง

                                  สรรพคุณของพริกไทย
                                  ตำรายาจีนใช้พริกไทยแก้ปวดท้อง ท้องเดินจากโรคอหิวาต์ โรคมาลาเรีย และแก้ไข้ ส่วนน้ำมันพริกไทยดำ (blackpepper oil) มีสารชื่อ พิเพอรีน (piperine) กลิ่นฉุนจัด ระคายเคืองต่อผิวหนัง เมื่อใช้ต้องเจือจาง สำหรับสูดดมหรือทาถูช่วยลดอาการหนาวสั่นจากหวัดและไข้หวัดใหญ่ ทำให้หายใจโล่งและช่วยฆ่าเชื้อโรค ผสมน้ำมันนวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ กลิ่นพริกไทยมีฤทธิ์กระตุ้นความสนใจสภาพแวดล้อม ให้ตื่นตัวเสมอ เพิ่มพลังใจ และความเข้มแข็ง ตำรายาอินเดีย ใช้กลั้วคอ แก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย


                                  https://www.facebook.com/OuayUn/photos/a.196916776996486.44415.150176071670557/857531757601648/ 
                                  Photo
                                  Shared publicly
                                    Add a comment...

                                    ขยับกายวันนี้... ป้องกัน 7 โรคร้าย
                                    กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้กล้ามเนื้อ โดยใช้พลังงานมากกว่าขณะพักผ่อน พูดง่ายๆ คือ ขยับร่างกายนั่นเอง ช่วยลดการเกิดโรค 7 โรค คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งเต้านม และโรคกระดูกพรุน
                                    http://www.doctor.or.th/article/detail/13261

                                    ANDROCUR เป็นยาที่น้องๆนะฮะทั้งหลาย หาซื้อมากินกัน เพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย ลดสิว และอื่นๆ แต่ขอบอกให้ทราบว่า

                                    1.คนที่เป็นโรคตับ คนท้อง หญิงให้นมบุตร รวมทั้งผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามใช้

                                    2. ไม่ควรกินเกินวันละ 2 เม็ด เพราะ เป็นพิษต่อตับ และ ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

                                    ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน

                                    การกินยามากกว่าครึ่งเม็ด เป็นระยะเวลานานๆ มีโอกาสเกิดเนื้องอกที่เยื่อหุ้มสมองได้ 

                                    เนื่องจากยาเป็นพิษต่อตับ ควรตรวจเจาะเลือดตรวจสภาพตับทั้งก่อนและขณะใช้ยา ถ้าการทำงานของตับแย่ลง ต้องหยุดยาทันที 

                                    นอกจากนี้ ก็ต้องจำไว้ด้วย ห้ามกิน ANDROCUR ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ 
                                    Ketoconazole, itraconazole, clotrimazole, ritonavir จะทำให้เกิดพิษสะสมจาก ANDROCUR เพิ่มมากขึ้น

                                    ส่วนยา rifampicin, phenytoin, St John's wort จะทำให้ ANDROCUR ออกฤทธิ์ได้น้อยลง จ่ายเงินไปก็เสียของ

                                    และที่สำคัญ งดเหล้า ... เพื่อลดโอกาสการเกิดพิษต่อตับ 


                                    อยากจะกินยา ก็ต้องเรียนรู้พิษที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา
                                    ไม่ใช้เห็นเขาใช้ ก็ใช้มั่ง และ ใช้อย่างขาดความรุ้ความเข้าใจ ...
                                    สุดท้าย คนที่รับเคราะห ก็คือตัวเอง ....

                                    ว่าแต่ว่า จะมีใครสักกี่คนที่กิน ANDROCUR แล้วไปเจาะเลือดตรวจสภาพตับ ....


                                    http://www.mims.com/Malaysia/drug/info/Androcur/?type=full#Dosage
                                    https://www.medicines.org.uk/emc/medicine/1808
                                    Photo
                                    Shared publiclyView activity
                                      Add a comment...

                                      สารอาหารสำหรับคุณพ่อคุณแม่วัย 40 ปีขึ้นไป อยากให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรงฟิตเปรี๊ยะ ต้องให้ท่านได้รับ วิตามินอี + วิตามินซี + โคเอ็นไซม์ คิวเทน + เบต้าแคโรทีน + น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (สำหรับคุณแม่) + แคลเซียม + สังกะสี (สำหรับคุณพ่อ)

                                      “วัยทอง” ควรได้รับวิตามินซี, โคเอ็นไซม์ คิวเทน และเบต้าแคโรทีน เพื่อเสริมฤทธิ์วิตามินอี รวมถึง น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เพื่อลดอาการร้อนวูบวาบ และเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวพรรณ ในขณะที่แคลเซียมก็เป็นอีกสารอาหารสำคัญ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน

                                      http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418892463
                                      Shared publicly
                                        Add a comment...

                                        การรวบรวมข้อมูลเอสโตรเจนจากพืช
                                        โดย: ฐิตินันท์ โชคชนะชัยสกุล, ธันย์ชนก เลี่ยวศรีสุข ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 49

                                        คำค้นหา: เอสโตรเจนจากพืช, วัยหมดประจำเดือน, กวาวเครือขาว, ว่านหางช้าง, ว่านชักมดลูก, Phytoestrogen, menopause, Pueraria mirifica, Belamcanda chinensis, Curcuma comosa

                                        บทคัดย่อ:
                                        ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดประจำเดือนเพื่อช่วยลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น แต่พบว่าการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์บางชนิดมีผลข้างเคียง คือ ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (phytoestrogens) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเพื่อนำมาใช้แทนฮอร์โมนสังเคราะห์ โครงการพิเศษนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการศึกษาพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์เอสโตรเจน ได้แก่ กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก และว่านหางช้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-2010 จากแหล่งข้อมูลทางวิชาการโดยใช้ฐานข้อมูลคือ Pubmeds, Sciencedirect และวารสารทางการแพทย์ต่าง ๆ
                                        ผลการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 3 ชนิดแสดงฤทธิ์เอสโตรเจน โดยมีเพียงกวาวเครือขาวที่มีการศึกษาถึงระดับคลินิกและพบว่าสามารถลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง อีกทั้งมีผลลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากวาวเครือขาวมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนได้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นพิษและผลข้างเคียงในการใช้ระยะยาว เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีปัญหาและต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการใช้พืชสมุนไพรไทยอีกด้วย

                                        http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-research-special-abstract.php?num=49&year=2553

                                        [PDF]กวาวเครือขาว - กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ
                                        http://research.msu.ac.th/msu_journal/upload/articles/article839_35681.pdf
                                        Photo
                                        Shared publicly
                                          Add a comment...


                                          นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไอเดียสุดเจ๋ง นำสารสกัดจากใบหม่อนและผักแพว แปรรูปเป็นโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ชูจุดเด่นสารสกัดจากผักแพวและใบหม่อน มีประโยชน์เพิ่มความจำ ทั้งมีแคลเซียมสูงต้านภาวะโรคกระดูกพรุน ล่าสุดจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

                                          http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000107174

                                          No comments:

                                          Post a Comment