Wednesday, May 4, 2016

ANTIBIOTIC SMART USE

PhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
2015-03-23
9 Photos - View album

ในขณะที่เมืองไทยกำลังรณรงค์เรื่อง ANTIBIOTIC SMART USE (อย่างได้ผลหรือเปล่าก็ไม่อาจจะทราบได้) ที่อเมริกากำลังรณรงค์เรื่องการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่เข้าอนุพันธ์ของฝิ่น ซึ่งไทยเราใช้กฏหมายควบคุม ร้านยาจ่ายยาชนิดนี้ไม่ได้ ยกเว้นในโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งก็ดีสำหรับการควบคุม แต่ก็ไม่ดีสำหรับผู้ที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง

http://www.cdc.gov/drugoverdose/
Photo

ลองตอบคำถามดู

1.ถ้าเป็นไข้ต้องกินยาปฏิชีวนะ ไข้จึงจะลด ใช่หรือไม่
2. ถ้าเป็นไข้ จาม น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ต้องกินยาแก้อักเสบจึงจะหาย
3. หากป่วยจากอาหารเป็นพิษ ต้องกินยาฆ่าเชื้อ หรือ ยาปฏิชีวนะ
4. การกินหรือทายาปฏิชีวนะ จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

ที่มา
คู่มือการดําเนินโครงการ Antibiotics Smart Use - กระทรวงสาธารณสุข
http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu38dl.pdf
Photo
Photo
2013-06-05
2 Photos - View album

เอกสารรณรงค์การใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม ในโครงการ GRIP (The Global Respiratory Infection Partnership) ลองอ่านศึกษาหาความรู้กัน (ขออภัยที่ไม่มี SCANNER จะได้ถ่ายออกมาได้สวยๆ)

http://www.grip-initiative.org/


ANTIBIOTIC SMART USE
PhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
2015-06-03
15 Photos - View album

ท้องเสียมีมูกปนเลือด มีไข้ หรือ ถ่ายเป็นน้ำปริมาณมาก ถึงจะกินยาฆ่าเชื้อได้
อาการท้องเสียแบบอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ
กินได้แค่น้ำเกลือ ORS กับ คาร์บอน (เพื่อลดความกังวลใจ???)

ANTIBIOTIC SMART USE - ACUTE DIARRHEA


http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu111dl.pdf%EF%BB%BF
PhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
2015-04-25
6 Photos - View album



นานๆจะได้เห็นสักที อย่างในรูปที่สมควรจะได้รับยาฆ่าเชื้อ ถ้ามีอาการเจ็บคอ ลองอ้าปากส่องกระจก แล้วเอาไฟฉายเล็กๆส่อง ถ้าเห็นเป็นฝ้าขาวที่ต่อมทอมซิล ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโต และที่สำคัญคือ จะต้องไม่ไอ และบางรายอาจจะมีไข้ร่วมด้วย ... ถ้ามีอาการดังกล่าว เอาไปเลยครับ ยาฆ่าเชื้อ 
แต่ถ้าแค่นอนตากพัดลมแล้วเจ็บคอ เจ็บคอแค่วันเดียว คอแดงนิดหน่อย แต่ฝ้าขาวไม่มี ไม่สมควรได้รับยาฆ่าเชื้อครับ 
ลองใช้วิธีอื่นไปพลางๆก่อน เช่น ยาอมแก้เจ็บคอ ยาบ้วนปากกลั้วคอ กินฟ้าทะลายโจร หรือแม้แต่ยาพ่นลำคอ ถ้าทำอย่างไรแล้วไม่หาย อ้าปากดูด้วยตนเอง แล้วเห็นอย่างในรูป อยากได้ยาฆ่าเชื้อ ... เอาไปเลยครับ ... ด้วยความยินดี ... ทั้งหมดเพื่อตัวท่านเองนะครับ ที่ยังจะมียาราคาเหมาะสมเอาไว้ใช้ในอนาคต ... ถ้าไม่เริ่มที่ตัวท่านเอง แล้วใครจะเริ่มต้นให้ครับ ....

ANTIBIOTIC SMART USE
PhotoPhotoPhotoPhotoPhotoPhoto
2015-06-05
6 Photos - View album

จากหลักเกณฑ์ของ CDC เรื่องของการใช้ยาฆ่าเชื้อ 
สรุปได้ว่า 
1. ไข้หวัดเจ็บคอโดยทั่วไป รักษาตามอาการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ
2. .ในกรณีหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน จะใช้ยาฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น (GABHS)
3. ในกรณีที่ปวดไซนัสต่ำกว่า 7 วัน ห้ามให้ยาฆ่าเชื้อ จะใช้ยาฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อมีอาการปานกลาง - รุนแรง เท่านั้น 
4. ในกรณีที่คออักเสบเฉียบพลัน ถ้าไอน้อยกว่า 3 อาทิตย์ ห้ามใข้ยาฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะวัยทำงานทั่วไป ที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดปอดอักเสบ

Antibiotic treatment of nonspecific upper respiratory infections in adults does not enhance illness resolution or prevent complications, and is therefore not recommended.

Purulent secretions in the nares and throat (commonly reported and seen in patients with an uncomplicated, upper respiratory tract infection) neither predict bacterial infection nor benefit from antibiotic treatment.

The large majority of adults with acute pharyngitis have a self-limiting illness, which would do well with supportive care only. All patients with pharyngitis should be offered appropriate doses of analgesics, antipyretics and other supportive care.

Limit antibiotic prescriptions to those patients with the highest likelihood of GABHS.
    Clinically screen all adult patients with pharyngitis for the presence of the 4 Centor criteria: (1) history of fever, (2) tonsillar exudates, (3) no cough, and (4) tender anterior cervical lymphadenopathy (lymphadenitis).

The preferred antibiotic for treatment of acute GABHS pharyngitis is penicillin, or erythromycin for a penicillin-allergic patient.

The clinical diagnosis of acute bacterial rhinosinusitis should be reserved for patients with rhinosinusitis symptoms lasting 7 days or more and who have maxillary facial/tooth pain or tenderness (especially when unilateral) and purulent nasal secretions. Patients who have rhinosinusitis symptoms for less than 7 days are unlikely to have a bacterial infection.

Antibiotic therapy should be reserved for patients meeting the criteria for the clinical diagnosis of acute bacterial rhinosinusitis who have moderately severe symptoms, and for those with severe rhinosinusitis symptoms—especially those with unilateral face pain

Routine antibiotic treatment of uncomplicated bronchitis is not recommended, regardless of duration of cough.

uncomplicated acute bronchitis, should focus on ruling out pneumonia. In the healthy, non-elderly adult, pneumonia is uncommon in the absence of vital sign abnormalities or asymmetrical lung sounds, and chest radiography is usually not indicated. 

Patient satisfaction with care for acute bronchitis is most dependent on the doctor-patient communication rather than on whether or not an antibiotic is prescribed.

http://www.cdc.gov/getsmart/campaign-materials/info-sheets/adult-approp-summary.html
Group A beta-hemolytic streptococcal infections - GABHS 
is the most common bacterial cause of tonsillopharyngitis

Classic streptococcal tonsillopharyngitis has an acute onset; produces concurrent headache, stomach ache, and dysphagia; intense tonsillopharyngeal erythema, yellow exudate, and tender/enlarged anterior cervical glands. only about 20% to 30% of patients present with classic disease. 

Physicians overdiagnose streptococcal tonsillopharyngitis by a wide margin, which almost always leads to unnecessary treatment with antibiotics. 

Prevention of rheumatic fever is the primary objective for antibiotic therapy of GABHS infections, but a reduction in contagion and faster clinical improvement also can be achieved.

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9745311
http://www.aafp.org/afp/2009/0301/p383.html
Photo


จากหลักเกณฑ์ของ CDC เรื่องของการใช้ยาฆ่าเชื้อ 
สรุปได้ว่า 
1. ไข้หวัดเจ็บคอโดยทั่วไป รักษาตามอาการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ
2. .ในกรณีหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน จะใช้ยาฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น (GABHS CRITERIA)
3. ในกรณีที่ปวดไซนัสต่ำกว่า 7 วัน ห้ามให้ยาฆ่าเชื้อ จะใช้ยาฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อมีอาการปานกลาง - รุนแรง เท่านั้น 
4. ในกรณีที่คออักเสบเฉียบพลัน ถ้าไอน้อยกว่า 3 อาทิตย์ ห้ามใข้ยาฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะวัยทำงานทั่วไป ที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดปอดอักเสบ

/////////////////////////////

นอนตากพัดลมแล้วเจ็บคอ .... จะกินยาฆ่าเชื้อ ... ไม่สมเหตุสมผลเลยนะครับ ....
แล้วถามว่า จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าไม่กินยาฆ่าเชื้อ

อมลูกอมที่มีตัวยาแก้อักเสบ ตัวยาแก้เจ็บคอ ยาชา ลูกอมที่ทำให้ชุ่มคอ
กินยาแก้อักเสบ แก้ปวด 
อมลูกอมบางชนิด ที่ลดการเกาะของเชื้อไวรัสที่ลำคอ
กลั้วคอด้วยยาอมบ้วนปากบางชนิด
หรือจะใช้ยาพ่นบางชนิดที่ลดอาการแสบคอ เจ็บตอได้
ฟ้าทะลายโจรสกัดแก้เจ็บคอ ของ GPO หรือ ของอ้วยอันก็มี

มีวิธีรักษาได้หลายวิธี นอกเหนือจากการใช้ยาฆ่าเชื้อ ....
และที่สำคัญ อย่าลืมแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เจ็บคอ
CASE นี้นอนตากพัดลมแล้วก็คอแห้ง ก็ย่อมเจ็บคอเป็นธรรมดา 

ถามว่าทำไมถึงไม่ให้ยาฆ่าเชื้ออย่างพร่ำเพรื่อ
คำตอบ ก็เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ซึ่งต่อไป ยาฆ่าเชื้อที่จะเอามารักษาโรคต่างๆ จะหาได้ยากขึ้น และต้องใช้ยาที่แพงขึ้น

ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ... มีการใช้ยา CIPROFLOXACIN อย่างพร่ำเพรื่อ จนเชื้อดื้อยากันเป็นแถว ใช้ยาดังกล่าวรักษาโรคไม่ได้ เวลาที่จำเป็นต้องใช้ยากันจริงๆ ก็หายาที่เหมาะสมไม่ได้ แล้วถามว่าใครเป็นผุ้เดือดร้อน นอกจากตัวคุณเอง

ดังนั้น คิดดูให้ดีก่อนที่จะกินยาฆ่าเชื้อ
ไปหาหมอทุกครั้ง ขอหมอได้ทุกครั้ง
ไปร้านยาทุกครั้ง เอายาฆ่าเชื้อมาได้ทุกครั้ง
คนที่เดือดร้อนในอนาคต คือตัวคุณเองครับ ....ไม่ใช่ใครอื่น ...

ถ้าคุณอยู่ในประเทศทางยุโรป รับรองได้ว่า คุณจะไม่มีวันได้ยาฆ่าเชื้อไปอย่างง่ายๆ หมอจะให้คุณทรมานไปจนกว่าจะครบเเกณฑ์ที่ได้รับยาฆ่าเชื้อ
ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์จะไปขอหมอยังไง หมอก็ไม่ให้ครับ 

PLEASE KEEP IN MIND
"ไข้หวัดเจ็บคอทั่วไป" ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ"

.........................................
ด้วยความห่วงใย

BETTER PHARMACY เจ็ดยอด เชียงใหม่
เราคัดสรรแต่สิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อคุณ

FACEBOOK/BetterPharmacyCMG
LINE ID - BETTERCM
.........................................

ANTIBIOTIC SMART USE
Photo


No comments:

Post a Comment