Wednesday, May 4, 2016

มือเท้าปาก

เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (เด็กโตพบเป็นส่วนน้อย) ที่มาด้วยเรื่อง ไข้สูงเฉียบพลัน มีอาการ เจ็บคอ น้ำลายไหล งอแง ไม่กินนม ไม่กินข้าว เมื่อตรวจดูในช่องปากพบว่ามีแผลขาวบนพื้นแดงอักเสบ ทั้งบริเวณ กระพุ้งแก้ม เหงือก ภายในช่องปาก เพดานปากทั้งนอกและใน ด้านข้างทอนซิล ลิ้นไก่
ร่วมกับตรวจบริเวณ มือ เท้า หัวเข่าและก้น ไม่พบแผลหรือตุ่มใสของโรคมือเท้าปาก บอกได้เลยว่าเป็นโรคแผลเริมเต็มช่องปากหรือเหงือกและช่องปากอักเสบจากเชื้อเริม (Primary herpetic gingivostomatitis)

โดยเฉพาะที่บริเวณเหงือก หากมีการอักเสบ (Gingivitis) บวมแดง สีม่วงคล้ำ เลือดออกง่าย พบได้เฉพาะในโรคนี้เท่านั้น แตกต่างจากโรคมือเท้าปาก ที่มีแผลอักเสบคล้ายกันกระจายทั่วช่องปากได้เช่นกัน แต่ไม่มีการอักเสบของเหงือก

การดูแลรักษาโรคแผลในปากจากเชื้อเริมที่เป็นมากๆ
1.การรักษาเพิ่มเติมด้วยเครื่องเพิ่มความชื้นแบบละอองเย็น (Ultrasonic humidifier)
2.คำแนะนำในการดูแลรักษาคนไข้แผลในปากจากเชื้อไวรัสในเด็ก
2.1.สิ่งที่ทำให้แผลในปากเจ็บ และอักเสบมากขึ้นคืออาหารที่เป็นของแข็งและของร้อนๆ เช่น ข้าว นมร้อนๆ ห้ามรับประทาน
2.2.สิ่งที่ทำให้แผลในปากหายเจ็บ และอักเสบน้อยลงคืออาหารที่เป็นของเหลว น้ำและของเย็นๆ เช่น น้ำเย็นๆ นมเย็นๆ ไอสครีม ให้รับประทาน
2.3.แก้ภาวะขาดน้ำของเด็กจะช่วยทำให้แผลในปากหายเร็วขึ้น หายเจ็บ อาการทั่วไปดีขึ้น หายเพลียและซึมได้
2.4.ระยะแรกอาจต้องงดข้าวและนมก่อน แล้วให้รับประทานน้ำเกลือแร่เป็นผงผสมน้ำเย็นๆ รับประทานน้อยๆ บ่อยๆ เรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน เมื่ออาการเจ็บแผลในปากดีขึ้น จึงรับประทานนมเย็นๆและไอสครีมได้ในภายหลัง

https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/videos/423042694546849/
https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/posts/304761069708346
https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/videos/304648699719583/
https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/posts/304639613053825

คนไข้เด็กที่มีอาการเจ็บปากมากเนื่องจากมีแผลในช่องปากมาก กินนม กินข้าว กินน้ำไม่ได้ ซึม อ่อนเพลีย นอกจากการดูแลรักษาตามปกติแล้ว การรักษาเพิ่มเติมด้วยเครื่องเพิ่มความชื้นแบบละอองเย็น (Ultrasonic humidifier) นี้จะทำให้อาการเจ็บปากหายได้เร็ว ช่วยแก้ไขภาวะขาดน้ำเฉพาะที่ได้ ทำให้แผลในปากหายได้เร็วกว่าปกติ

เมื่อได้ป้อนน้ำเกลือแร่ผสมน้ำเย็นๆ น้อยๆ บ่อยๆ เรื่อยๆ ทั้งวัน จนได้ปริมาณเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการและขาดมาก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้หยุดวงจรของโรคคือ เจ็บปาก กินไม่ได้ และขาดน้ำลงได้ อาการไข้จะหายไปได้เร็วกว่าปกติและหายโดยไม่ต้องกินยาแก้ไข้

อ่านต่อ
คำแนะนำ เทคนิค วิธีการและเคล็ดลับในการดูแลรักษา
โรคมือเท้าปากและโรคแผลในช่องปากจากเชื้อไวรัสในเด็ก
จากประสบการณ์ 25 ปี
https://www.facebook.com/notes/370960173088435/
Photo

เด็กผู้หญิงอายุ 1 ปี มาด้วยเรื่องกินนมแล้วคาย มีเสมหะมา 2 วัน
ไปหาหมอใกล้บ้าน บอกคออักเสบ ให้ยาปฏิชีวนะมากิน
กินยามา 2 วัน ไม่ดีขึ้น แม่สงสัยว่าลูกเจ็บคอ เพราะมีน้ำลายไหล
มาตรวจพบว่า พบแผลบริเวณหลังคอ 5-6 ที่ ทั้งสองข้าง
ตรวจมือและเท้า ไม่พบตุ่มหรือแผลใดๆ

เฮอร์แปงไจนา Herpangina หรือแผลหลังคอ เป็นโรคแผลในคอจากเชื้อไวรัสในเด็กที่เบาที่สุดในบรรดา 3 โรค เพราะตุ่มหรือแผลในปากจะเกิดขึ้นเฉพาะที่เพดานปากเหนือทอนซิล

มักมีไข้สูงเฉียบพลันในวันแรกจนทำให้เด็กชักจากไข้สูง
หลังรักษา 1 วัน อาการจะดีขึ้น รักษาหายเร็วกว่าและง่ายกว่าแผลในคอจากโรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) และโรคแผลเริมในช่องปาก ( Primary herpetic gingivostomatitis)

https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/videos/304432236407896/
https://www.facebook.com/HandFootMouthDisease/posts/443117305872721

หวั่นโรคมือเท้าปากระบาด ช่วงอากาศหนาวเย็น กำชับผู้ปกครองเข้มงวดเรื่องความสะอาด ให้เด็กหมั่นล้างมือ ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ทำความสะอาดสถานที่ เครื่องใช้ ของเล่นเด็ก ตรวจสุขภาพเด็กทุกเช้า หากพบว่าเด็กมีไข้หรือพบตุ่มใสขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า หรือตุ่มในปาก ในกระพุ้งแก้ม ให้แยกเด็กออก และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ 

ให้หยุดพักที่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่นที่โรงเรียน ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนเชื้อ และหากพบเด็กป่วยในเวลาไล่เลี่ยกันมากกว่า 2 คน ขอให้พิจารณาปิดเรียนและทำความสะอาด

หมายเหตุ เมื่อสักครู่มี CASE พี่เป็นตุ่มที่เท้า จากนั้นน้องเป็นตุ่มที่มือ ทำให้นึกถึงโรคนี้ แนะนำให้ดูอาการ ถ้าอาการหนักกว่านี้ ควรไปหาหมอโดยด่วน จริงๆต้องแจ้งโรงเรียนด้วยว่าลูกป่วยด้วยอาการแบบนี้ จะได้ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

อีกประการนึกถึงกฏหมาร้านยาฉบับใหม่ที่จะออกในอนาคต ที่ร้านยาคุณภาพ จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 15 ตารางเมตร ในขณะที่ร้านยาเล็กๆในชุมชน พบปัญหาต่างๆในชุมชนมากกว่าร้านยาคณภาพ กลับไม่ได้รับการส่งเสริม เพียงเพราะว่า พื้นที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่กำหนด ... อนิจจาประเทศไทย ...

http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=354545
http://www.tnamcot.com/2015/01/25/สธ-เตือนระวังโรคมือเท้า/

อยากรู้ว่าการล้างมือ....ช่วยป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ได้อย่างไร?

ค้นหาคำตอบกันได้ที่ งาน SiPH Washing Hand 15 ตค.นี้

15 ตุลาคม วันล้างมือโลก SiPH จัดกิจกรรม SiPH Washing Hands เรียนรู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ควรล้างด้วยสบู่ และครบ 6 ขั้นตอน รับความรู้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ล้างมือที่ถูกวิธี ช่วยลดการติดเชื้อโรค เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และ โรคที่เกิดจากการสัมผัส เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ ปิดท้ายงานด้วย workshop สบู่แฟนซี ไปล้างมือสะอาดกันต่อที่บ้าน



https://www.facebook.com/piyamaharajkarun/photos/a.297925960250417.69231.290325507677129/968354409874232/ 
Photo

โรคมือ เท้า ปาก เชื้อเอนเทอร์โรไวรัส 71 (EV 71) ก่อให้เกิดอาการรุนแรง มีสัดส่วนสูงกว่าทุกปีเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา

อาการที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. มีไข้ ร่วมกับแผลในปาก และตุ่มที่มือหรือเท้า
2. มีเฉพาะไข้ และแผลในปาก แต่ไม่มีตุ่มที่มือหรือเท้า
3. มีอาการไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส และมีอาการเหม่อลอย ให้รีบพาพบแพทย์ทันที เนื่องจากเชื้ออาจกระจายจนก้านสมองอักเสบ ส่งผลต่อการควบคุมการเต้นของหัวใจ ทำให้อัตราการเต้นผิดปกติ และเด็กมีโอกาสหัวใจวาย น้ำท่วมปอด และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน

หากลูกมีไข้ อย่าวางใจโดยเฉพาะไข้ 38 องศาต่อเนื่อง ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

http://news.mthai.com/hot-news/general-news/461308.html

โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71
Siriraj E-Public Library

เป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขาได้ ผู้ป่วยมักมีอาการมากอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก หายเองโดยไม่มีปัญหา แต่อาจมีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือพบปัญหาแทรกซ้อนได้

ติดต่อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น สัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคนี้จึงมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=492

โรคเด็กสุดฮิตช่วงหน้าฝน

ไข้หวัดใหญ่
ไข้เลือดออก
มือเท้าปาก
Photo

หน้าฝนนี้ โรคมือเท้าปากเปื่อย ถือว่าเป็นโรคที่มองข้ามไม่ได้ 
อย่าลืมดูแลลูกน้อยให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น หากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

ส่วนตัวคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลตัวเองพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างวิตามินซี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานกันด้วยนะคะ


https://www.facebook.com/MEGAWeCare/photos/a.183872328302338.42259.171083159581255/957173090972254/


KP150921
Photo

อย่าตระหนก “โรคมือ เท้า ปาก” ล้างมือช่วยได้

โรคมือ เท้า ปาก อาจไม่น่ากลัวอย่างคิด พร้อมตอบข้อสงสัย ผู้ใหญ่มีสิทธิ์ป่วยได้ไหม ใช่โรคเดียวกับปากเท้าเปื่อยหรือไม่
ขณะที่ข่าวการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก กำลังเป็นที่สนใจ 'มุมสุขภาพ' มีข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยไว้ว่า โรคมือ เท้า ปาก คือกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส พบบ่อยในเด็กทารก เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส สาเหตุของโรคนั้นมีหลายชนิด เช่น คอกแซกกี เอ ชนิดย่อยต่างๆ, คอกแซกกี บี, เอคโคไวรัส, แอนเทอโรไวรัส 71 ส่วนที่พบบ่อยสุด คือ คอกแซกกี เอ 16

ผลจากการติดเชื้อไวรัสนี้จะทำให้มีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มพองใส ไม่คันแต่กดแล้วเจ็บ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม นอกจากนี้ยังอาจเกิดที่ฝ่ามือ นิ้วเท้า และฝ่าเท้า ทว่าบางรายที่ติดเชื้ออาจไม่ปรากฏอาการตุ่มพองตามบริเวณที่ระบุข้างต้น แต่กลับมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวมน้ำ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก้านสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้มีสัญญาณอันตราย เมื่อเกิดอาการต้องรีบส่งแพทย์ คือ ไข้สูงไม่ลด ซึม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง และเกิดภาวะอัมพาตคล้ายโปลิโอ

การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเขตร้อนชื้น เกิดแบบประปรายตลอดปี พบบ่อยช่วงหน้าฝนที่มีอากาศเย็นและชื้น การติดต่อมีทั้งได้รับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยกระเด็นเข้าปาก ส่วนการติดต่อผ่านทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย

อย่างไรก็ตาม การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย แม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังคงแพร่เชื้อได้บ้าง เนื่องจากเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระต้องใช้เวลานานราว 6-8 สัปดาห์

วิธีการรักษาโรคมือ เท้า ปาก แพทย์จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โรคนี้หากผู้ป่วยกินได้และพักผ่อนเพียงพอ อาการก็จะไม่รุนแรง และมักหายได้เองในช่วง 7-10 วัน ที่สำคัญหากผู้ป่วยเป็นเด็กทารก หรือเด็กเล็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง 
กรณีที่พบว่า บุตรหลานป่วยโรคมือ เท้า ปาก ควรรีบพาเด็กพบแพทย์ แจ้งคุณครูที่โรงเรียน หยุดรักษาตัวที่บ้าน 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ควรพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ใช้ผ้าปิดจมูกเมื่อไอจาม อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงดูผู้ป่วยต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

ในเรื่องการป้องกัน โรคนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นจึงต้องรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี เช่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังขับถ่าย ทว่าเชื้อไวรัสก่อโรคมือ เท้า ปาก ก็ถูกทำลายได้ไม่ยาก โดยแสงอุลตราไวโอเล็ตในแสงแดด ในสภาพที่แห้ง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน รวมถึงการทำลายโดยการต้มที่ 50-60 องศาเซลเซียส นาน 30 ปี, ถูกน้ำยาซักล้างทั่วไป,  และโดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ

ข้อสงสัยที่ว่า ผู้ใหญ่สามารถติดโรคมือ เท้า ปาก จากเด็กได้หรือไม่ ตามข้อมูลของกรมควบคุมโรค เผยว่า ผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้จากการได้รับเชื้อขณะเป็นเด็ก โดยภูมิต้านทานนี้จะจำเพาะกับชนิดไวรัสที่เคยได้รับ หากได้รับเชื้อใหม่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ก็สามารถป่วยได้ โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แต่สามารถแพร่เชื้อไปยังเด็กหรือผู้อื่นได้ ส่วนกรณีหญิงตั้งครรภ์ได้รับเชื้อ เพื่อความปลอดภัยก็ควรพบแพทย์ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการรายงานว่า มีผลทำให้แท้งบุตร หรือเด็กพิการ

สำหรับผู้ที่กำลังสับสนระหว่างโรคมือ เท้า ปาก กับโรคปากเท้าเปื่อย ว่าใช่โรคเดียวกันหรือไม่? กรมควบคุมโรค ไขคำตอบไว้ว่า โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบเฉพาะในคน และติดต่อจากคนสู่คน ขณะที่โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ได้เกิดจากไวรัสตัวเดียวกัน ทั้งยังเป็นโรคติดต่อที่เกิดกับสัตว์กีบ อาทิ โค กระบือ แพ แกะ สุกร สัตว์จะเป็นแผลที่ปากและกีบเท้า มีอัตราป่วยตายต่ำ ไม่จัดเป็นโรคติดต่อถึงคน
Photo

ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2558 พบผู้ป่วย จำนวน 25,359 ราย อายุ 1 ขวบป่วยมากที่สุด รองมา 2 และ 3 ขวบ ที่สำคัญ ลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด อันดับ 7 ของประเทศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2558 มีเด็กป่วยแล้ว 587 คน อัตราป่วย 78.05 ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 5 ปี พบทุกอำเภอ

ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แก่เด็กในความดูแลสม่ำเสมอ ด้วยการกินอาการปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ความสะอาดของอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ ควรหลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชน
ผู้ปกครองควรล้างมือก่อนสัมผัสตัวเด็ก อุปกรณ์ ของใช้ ของเล่น และสิ่งขับถ่ายต่างๆทุกครั้ง และขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ได้ดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส มักระบาดในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล ติดต่อง่าย เข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือหรือภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ ของเล่นที่ปนเปื้อน น้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระของผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อ 3-5 วัน จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย มีอาการตุ่มพองเล็กๆ ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้น กระพุ้งแก้ม ทำให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ จะรักษาตามอาการ แต่ห้ามให้ยาแอสไพริน หากเด็กรับประมานอาหารได้ พักผ่อนเพียงพอ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง หายเองได้ในเวลา 7-10 วัน แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้จาก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะปอดบวมน้ำ เป็นต้น หากมีไข้สูงไม่ลด ซึม อาเจียน หอบ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=150916115614

ข้อมูลสำนักระบาดวิทยาตั้งแต่ 1 มกราคม – 7 กรกฎาคม 2556 พบผู้ป่วยแล้ว 18,181 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ร้อยละ 74 เป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบได้มากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้ หรือเรียกว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) มีหลายชนิด ที่พบบ่อยคือไวรัสคอกซากี โดยพบผู้ป่วยได้ประปรายตลอดปี แต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน เนื่องจากอากาศเย็น ชื้น ไวรัสเจริญเติบโตได้ดี

เด็กมีไข้ปานกลางถึงไข้สูง ร่วมกับมีอาการเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดง ตุ่มพองขึ้นตามมือเท้า ลักษณะไม่คัน ขอให้พาไปพบแพทย์ โรคนี้รักษาได้ ส่วนใหญ่มักอาการไม่รุนแรง หายได้เองภายใน 7-10 วัน มีจำนวนน้อยมากที่จะมีโรคแทรกซ้อน

การรักษาจะใช้แบบประคับประคองบรรเทาอาการ เช่น ลดไข้ แก้ปวด ผู้ปกครองควรเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะๆ ให้เด็กกินอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไอศกรีม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้มากๆ หากเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดอาการปวดแผลภายในปาก ที่สำคัญ จะต้องป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต  ซึ่งสามารถสังเกตจากอาการของเด็กได้ หากพบว่าเด็กมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมกินนม หรืออาหาร หรือดื่มน้ำแล้วอาเจียนบ่อย มีอาการหอบแขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือน้ำท่วมปอด

ป้องกันได้ง่าย โดยใช้หลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากเข้าไปในที่ชุมชนหรือใช้ห้องน้ำสาธารณะ

http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=199550

#ปากเท้าเปื่อย   #มือเท้าปาก   #เชียงใหม่   #ไวรัส  #เด็ก 

พะเยา - พบเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก 7 ราย ต้องสั่งปิดเรียน 7 วัน พร้อมระดมครู-เจ้าหน้าที่เข้าทำความสะอาด

http://manager.co.th/asp-bin/mgrShort.aspx?NewsID=9580000005319

ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันตนเอง โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด “กินร้อน...ช้อนกลาง และล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ...ไอจามปิดปาก ผู้ใดมีอาการเจ็บป่วยต้องแยกตัวไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่น”

การทำความสะอาดกำจัดเชื้อก่อโรคมือเท้าปาก ถึงแม้เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ 70% จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้มากมายหลายชนิด แต่ไม่ได้ผลในการฆ่าเชื้อเอนเทอโรไวรัส รวมถึงเชื้อก่อโรคมือเท้าปากที่กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขวันนี้ ดังนั้น แม้สะดวกแต่ไม่ได้ผลในการกำจัดเชื้อ

วิธีทำความสะอาดที่เหมาะสม คือ การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เพื่อชะล้างเชื้อจากผิวหนัง เช่นเดียวกันกับการทำความสะอาดพื้นผิว โต๊ะเก้าอี้ อุปกรณ์อื่นๆ และพื้น

ส่วนการฆ่าเชื้อที่พื้นและอุปกรณ์จะต้องใช้ Sodium hypochlorite 0.5% เช่น ไฮเตอร์ Clorox ในกรณีที่เป็นผง ให้ใช้ขนาด 5 กรัม กับน้ำ 950 ซีซี เก็บไว้ใช้ได้นาน 7 วัน ยกเว้นถ้าเปลี่ยนสีแสดงว่าหมดอายุต้องทิ้ง เตรียมใหม่ น้ำยานี้ใช้ทำความสะอาดพื้นผิว สิ่งของ เครื่องใช้ ชุบน้ำยาชุ่มเช็ดบนพื้นผิวที่ต้องการ หรือราดที่พื้น ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วจึงล้างหรือเช็ดออก

การนำอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้วตากแดดให้แห้ง จะช่วยเสริมการกำจัดเชื้อได้ดีขึ้น ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้ออื่นที่ใช้ไม่ได้คือ แอลกอฮอล์ 70% ไลซอล อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ไอโซโปรพานอล (isopropyl alcohol) ความร้อนต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส...สำหรับอาหารควรอุ่นให้เดือดหรือร้อนจัดอย่างน้อย 10 นาที

http://www.thairath.co.th/content/279648

มีรายงานตัวเลขผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2557 พบว่าผู้ป่วยที่มักพบเพิ่มขึ้นในฤดูหนาว 8 โรค มากที่สุดคือ โรคอุจจาระร่วง 42,047 ราย ตามด้วยโรคปอดบวม 6,217 ราย เสียชีวิต  3 ราย โรคไข้หวัดใหญ่ 4,420 ราย เสียชีวิต 11 ราย  โรคตาแดง 1,975 ราย โรคมือเท้าปาก 1,806 ราย ชีวิต 1 ราย โรคคางทูม 131 ราย โรคหัด 18 ราย และโรคหัดเยอรมัน 9 ราย

http://www.hedlomnews.com/?p=4309

 กลุ่มโรคติดต่อ ได้แก่ โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคหัด โรคสุกใส โรคมือ เท้า ปาก และโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก รวมไปถึงภัยสุขภาพต่าง ๆ เช่น อันตรายจากการดื่มสุราแก้หนาว อันตรายจากการท่องเที่ยวในฤดูหนาว
ซึ่งตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ย.57 ในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบกว่า 500 ราย เสียชีวิตจำนวน 20 ราย สำหรับกลุ่มเสี่ยงคือเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=141126153818

สำหรับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ที่ต้องเฝ้าระวังในไทยอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศในช่วงนี้ ประกอบด้วย 1.โรคไข้กาฬหลังแอ่น 2. โรคไข้เลือดออก 3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา 4.โรคไข้หวัดนก 5.ไข้เหลือง 6.โรคชิคุนกุนยา 7.โรคมือเท้าปาก 8.โรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซูอิส 9.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) 10.โรคทูลารีเมีย 11. โรคเมลิออยโดซิส 12.โรคลิชมาเนีย และ13.โรควีซีเจดี หรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่

NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กำลังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและในไทย โดยกลุ่มโรคที่จัดอยู่ในขั้นวิกฤต มี 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอดเรื้อรัง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420446049

กรมควบคุมโรคแนะศูนย์เด็กเล็กปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก หลังพบผู้ป่วยกว่า 2.4 หมื่นราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
Photo





1 comment:

  1. ฉันมักเป็นแผลในช่องปากw88 Thai http://xn--12c4cd2acb3axx6jpg.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86/

    ReplyDelete