Thursday, July 12, 2012

Antithyroid drug Q&A


KP Wellness

2:15 PM (edited)  -  Limited
Q) thyroid & antithyroid drug

A) ต่อมธัยรอยด์จะสร้างฮอร์โมน thyroxine (T4) และ triiodothyronine (T3) ซึ่งอัตราการสร้างขึ้นกับปริมาณของ thyrotropic hormone (TSH) และ iodide (ได้จากไอโอดีนจากอาหารซึ่งดูดซึมที่ลำไส้เล็กส่วนต้นและอยู่ในรูปของ iodide)

iodide - - * - - > iodium ion - - * * - - > MIT, DIT
* peroxidase, H2O2
** thyroid peroxidase และมีการจับกับ thyrosine residue
MIT = monoiodotyrosine
DIT = diiodotyrosine

ซึ่งการ coupling DIT 2 โมเลกุลได้ thyroxine
การ coupling DIT กับ MIT ได้ triiodotyronine
โดย T4 จะเป็น prohormone จะเปลี่ยนเป็น T3(ออกฤทธิ์ในระดับเซลล์ทั้งหมด) ด้วย 5'-deiodinase

โรคที่เกี่ยวกับต่อมธัยรอยด์
1.ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)ได้แก่
1.1 มีการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป เช่น
1.1.1) grave’s disease (autoimmune-มักพบความผิดปกติที่ตา)
1.1.2) TSH-secreting pituitary adenoma
1.1.3) Multinodular goiter

1.2 มีธัยรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเนื่องจากต่อมธัยรอยด์ถูกทำลาย
1.2.1) Lypmphotic thyroiditis
1.2.2) Granulomatous thyroiditis
1.2.3) Subacute thyroiditis
1.2.4) การฉายรังสี

อาการของโรค : ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะกินเก่งขึ้น เหงื่อออกมาก ผมบางเส้นเล็กลง ตาโปน, lig leg, lid retraction, คอคลำได้ก่อนนิ่มๆ โดยอาจฟังเสียง bruits/thrills ได้ หัวใจเต้นเร็ว บวม หัวใจล้มเหลวชนิด high output systolic murmur, ใจสั่น ท้องเสีย ขาดประจำเดือนหรือมาน้อยลง มีการแยกของ nail bed (Plummer’s nails) ร้อนวูบวาบ ผิวชื้น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มือสั่น(tremor) หงุดหงิด กระสับกระส่ายอยู่ไม่นิ่ง นอนไม่หลับ

2.ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism) ได้แก่
2.1 primary hypothyroidism เกิดจากต่อมธัยรอยด์สร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอ
2.2.1) ขาดสารไอโอดีน - การขาดไอโอดีนร่างกายจะไม่สามารถสร้าง T4 ,T3 ได้เพียงพอจึงมีผลทำให้ TSH หลั่งมากขึ้นกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิด simple goiter หรือ non toxic goiter
2.2.2) ได้รับ ไอโอดีนมากเกินไป เช่น สาหร่ายทะเล
2.2.3) การผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ หรือการรักษาภาวะ hyperthyroidism ด้วย radioactive iodine
2.2.4) myxedema(ภาวะหมดสติจากการขาด thyroid hormone),
2.2.5) hashimoto’ disease (automimmune thyroiditis
2.2.6) ภาวะต่อมธัยรอยด์น้อยกว่าปกติจากการตั้งครรภ์
2.2 secondary hypothyroidism เกิดจากความผิดปกติของต่อม anterior pituitary ในการหลั่ง TSH โดยอาจมีสาเหตุจาก adenoma, การผ่าตัดหรือการฉายแสงที่บริเวณต่อม pituitary, ภาวะ sarcoidosis

2.3 tertiary hypothyroidism เกิดจาก hypothalamus ไม่สามารถหลั่ง TRH ได้
อาการของโรค : ขี้หนาว น้ำหนักตัวเพิ่มแม้ว่าความอยากอาหารจะลดลง เหงื่อออกน้อย เหนื่อยง่ายขึ้น ผมแห้ง แตกปลาย หยาบ คิ้วบางลงและร่วง หน้าบวมฉุ ลิ้นโต หนังตาบวม คอพอก (goiter พบในภาวะ primary hypothyroidism) หัวใจโต เสียงหัวใจผิดปกติ เจ็บยอดอก หัวใจล้มเหลว ชนิด low output failure, dyspnea ท้องผูก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ ผิวแห้งและเย็น เล็บเปราะเหลือง ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง รู้สึกฟั่นเฝือ ซึมเศร้า หมดแรง อยากนอนมากขึ้น
-----------------------------------------------------------
ค่าปกติของการตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์
Total thyroxine (T4) = 64-154 mmol/L
Total triiodothyronine (T3) = 1.4-2.6 mmol/L
Free thyroxine (FT4) = 9-24 pmol/L
Thyrotropic hormone (TSH) = 0.3-0.5 m U/L
Sensitive thyrotropic hormone (s TSH) = 0.3-0.5 m U/L
-----------------------------------------------------------

ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะ Hypothyroidism

Thyroxine (Eltoxin  (T4)

ประโยชน์ทางคลินิก
1. Replacement therapy – ใช้ในการรักษาภาวะขาด thyroid hormone และ myxedema
Dose – เริ่มต้น 1.6 microgram / kg (ประมาณ 100 mcg ในสตรีและ 100-150 mcg ในบุรุษ) ระดับยาที่ใช้ในการรักษาต่อเนื่องคือ 100-200 mcg/day

2. THS suppression therapy
2.1 ใช้ใน nontoxic goiter, thyroid nodule (ก้อนของต่อมธัยรอยด์) โดยจะกดการหลั่ง TSH บางส่วน ส่วนใหญ่ใช้วันละ 100-150 mcg / day
- สำหรับ nontoxic goiter อาจเกิดจากการขาด iodine หรือ autoimmune thyroiditis การให้ไอโอดีนหรือการให้ thyroid hormone ก็จะทำให้ต่อมยุบได้ไม่แตกต่างกัน
- ในกรณีของ thyroid nodule ถ้าก้อนไม่ยุบลงก็ต้องทำการผ่าตัดต่อไป

2.2 ใช้หลังจากการรักษามะเร็งของต่อมธัยรอยด์ เพื่อทำให้ขนาดของต่อมธัยรอยด์ลดลง โดยจะกดการหลั่ง TSH อย่างสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้วันละ 2.2-2.5 mcg / kg / day
สตรีตั้งครรภ์ที่มีการทำงานของต่อมธัยรอยด์น้อยกว่าปกติ ต้องให้ thyroxine เพียงพอในช่วงแรก ๆ ของการพัฒนาสมองของทารก ควรเพิ่มระดับของ thyroxine ที่จะทำให้ระดับ TSH อยู่ในเกณฑ์ปรกติ


ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะ Hyperthyroidism

Propylthiouracil / Methimazole (Thyroid Inhibitor) -
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
1. ยับยั้งเอนไซม์ thyroid peroxidase จึงทำให้ระดับ T4 ,T3 ลดลง
2. ยับยั้งเอนไซม์ 5’-deiodinase ที่จะเปลี่ยน เป็น T4 เป็น T3

ประโยชน์ทางคลินิก
1. ใช้ยาต้านธัยรอยด์ในผู้ป่วยอายุน้อยและต่อมธัยรอยด์โตไม่มาก มีอาการน้อยนาน 1-2 ปี แต่อาจเกิด relapse อีก
2. ใช้ร่วมกับสารกัมมันตรังสีของไอโอดีน เพราะสารกัมมันตรังสีออกฤทธิ์ช้าประมาณ 2-4 เดือน จึงจำเป็นต้องให้ยาต้านธัยรอยด์เพื่อคุมอาการก่อน
3. ใช้ก่อนผ่าตัดต่อมธัยรอยด์เพื่อให้การทำงานของต่อมธัยรอยด์อยู่ในภาวะปกติ โดยใช้ยาต้านธัยรอยด์ก่อนผ่า 6 สัปดาห์และอีก 2 สัปดาห์ก่อนผ่านให้ KI solution เข้มข้นร่วมด้วย เพื่อลดเลือดมาเลี้ยงที่ต่อมธัยรอยด์ ทำให้ผ่าง่ายขึ้น 

KP Wellness

1:51 PM (edited)  -  Limited
Q) ข้อควรปฏิบัติหลังการกลืนแร่
ผู้ป่วย hyperthyroid ที่รับการรักษาด้วยการกลืนน้ำแร่ไอโอดีน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

A) หลักการรักษาผู้ป่วยด้วยน้ำแร่ คือการนำเอา iodine ไปอาบรังสีเพื่อรักษา เมื่อท่านกินน้ำแร่ไอโอดีนต่อมธัยรอยด์จะจับแร่ดังกล่าวไว้ รังสีจะถูกปลดปล่อยออกมาทำลายต่อมธัยรอยด์ แม้ว่ารังสีที่ได้รับจะมีปริมาณไม่มากแต่ท่านควรป้องกันคนใกล้ชิดของท่านมิให้ได้รับรังสีนั้นโดยวิธีการดังนี้

การปฏิบัติตัว
1.ในช่วง 2-3 วันแรกให้แยกตัวจากผู้อื่น โดยการแยกห้องนอน งดการกอด จูบ หรือมีเพศสัมพันธ์
2.ลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่นโดยเฉพาะโดยเฉพาะในเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์  และควรอยู่ห่างจากผู้ป่วยอย่างน้อย 2 เมตร เนื่องจากการปริมาณรังสีที่ได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัส ดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้น้อยที่สุด
3.รักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ระวังเรื่องการกำจัดปัสสาวะ เช่น ราดน้ำหรือชักโครกเป็นสองเท่า เนื่องจากกัมมันตรังสีไอโอดีนจะขับออกทางปัสสาวะโดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกภายหลังการกลืนน้ำแร่ไอโอดีน

ข้อควรระวัง
1.หากตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับน้ำแร่ และควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนให้สารนี้
2.หากเลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเองให้งดให้นมบุตรเนื่องจากน้ำแร่สามารถผ่านทางน้ำนมได้
3.หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 6 เดือนหลังรับกัมมันตรังสีไอโอดีน หรือจนกว่าจะหายจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=9058  
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

1:36 PM  -  Limited
Q) dimetapp ใช้ในคนที่เป็น hyperthyroid
dimetapp ที่เขียนไว้ว่าห้ามใช้ในคนที่เป็น hyperthyroid นั้น เป็น contraindication หรือ precaution

A) Dimetapp® elixir ตัวยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ในผู้ป่วย hyperthyroid คือ phenylephrine

Phenylephrine ในขนาดการรักษายามีฤทธิ์กระตุ้นโดยตรงต่อ alpha-adrenergic receptor ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดเลือดหดตัว Phenylephrineจึงเพิ่ม peripheral resistance ทำให้เพิ่มแรงดัน systolic และ diastolic ผลของ phenylephrine ต่อหัวใจคือ ทำให้เกิด bradycardia ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มของ vagal activity ที่เป็น reflex จากการเพิ่มขึ้นของ arterial blood pressure แต่เมื่อใช้ยาในขนาดสูงยาอาจกระตุ้น ß1-adrenergic receptor ที่หัวใจทำให้เพิ่มแรงบีบตัวและอัตราการเต้นของหัวใจ

ผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism) ส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจคือ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ, เพิ่ม cardiac output, stroke volume, pulse pressure และ left ventricular contractility นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยประมาณ 40% และ 15% มี sinus tachycardia และ atrial fibrillation

ดังนั้นยา Dimetapp®จึงอาจมีผลซ้ำเติมอาการทางระบบหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยได้ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังอย่างสูงในผู้ป่วยที่เป็น hyperthyroidism ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำ และหยุดใช้ยาทันทีเมื่อไม่มีอาการ

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=12248 
Collapse this post
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง เภสัชกรรมคลินิค เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet


KP Wellness

2:18 PM  -  Limited
Q) คนไข้ที่ผ่าตัด parathyroid gland จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องให้ ให้ calcitriol ร่วมกับ calcium  suplement

A) ผู้ป่วยที่มีภาวะ hypoparathyroidism จากการผ่าตัด parathyroid gland (parathyroidectomy) จะเกิดภาวะ hypocalcemia ตามมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ Calcium Supplement ร่วมกับ Vitamin D (เพื่อเพิ่มการดูดซึม Calcium ที่ลำไส้) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี Serum Calcium levels ต่ำกว่า 7.5 mg/dl มักจะต้องให้ vitamin D ควบคู่ไปด้วยเสมอ

สำหรับรูปแบบของ Vitamin D ที่ให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ พบว่า นิยมใช้ Calcitriol หรือ 1,25 – dihydroxy D3 มากกว่า vitamin D2 ( calciferol) เนื่องจากออกฤทธิ์เร็วกว่า(onset ประมาณ 3-7 วัน) และมีประสิทธิภาพดีกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนรูป vitamin D ในร่างกายให้เป็น active form (1,25 dihydroxychole- calciferol) ซึ่งเกิดขึ้นที่ไตจะต้องอาศัยการทำงานของเอนไซม์ 1-2 hydroxylase ที่ไต และการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดย parathyroid Hormone

พบว่าถ้าขาด Parathyroid Hormone ดังเช่นผู้ที่ตัดเอาต่อม Parathyroid ออกไป การทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวจะลดลงด้วยส่งผลให้ระดับ 1,25 -(OH)2 D ในกระแสเลือดลดลงและการดูดซึม Calcium จากลำไส้จะลดลง

ส่วนในแง่ของการใช้ Vitamin D2 พบว่า ยังคงมีการใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยภาวะ Hypoparathyroidism เนื่องจากราคาถูก แต่อย่างไรก็ตาม ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะนอกจากยาจะออกฤทธิ์ช้า (onset ~ 4-12 สัปดาห์ ) แล้วยาชนิดนี้ยังมี t 1/2 ยาว ถูกกำจัดออกจากร่างกายช้า ดังนั้น อาจก่อให้เกิดพิษจากยาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะนานถึง 16-18 สัปดาห์ หลังหยุดใช้ยา

นอกจากนี้การใช้ vitamin D 2 ยังมีข้อจำกัดที่ว่า หากผู้ป่วยมีการทำงานของไตบกพร่อง เช่น chronic renal failure, end - state renal disease ผู้ป่วยจะไม่สามารถสร้าง 1,25 (OH)2 D ซึ่งเป็น active form ได้ จึงจำเป็นต้อง ให้ Vitamin D Supplement ทดแทนในรูปของ Calcitriol ซึ่งเป็น active metabolite ของ Vitamin D

ในทางตรงข้าม Calcitriol มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น ดังนั้นปัญหาของ prolonged hypercalcemia ที่อาจเกิดจาก Calcitriol overdosage จะเกิดขึ้นไม่นานและจะแก้ไขได้ง่ายกว่า อีกประการคือ ถ้าผู้ป่วย severe renal impairment วิตามินดี จะไม่สามารถเปลี่ยนเป็น active from ได้ จึงจะเป็นที่จะต้องใช้วิตามินในรูป Calcitriol

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=15  
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง เภสัชกรรมคลินิค เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

No comments:

Post a Comment