Thursday, July 26, 2012

ยาคุมกำเนิด Q&A

KP Wellness

10:50 AM  -  Public
Q) การกินยาคุมกำเนิดในสตรีให้นมบุตร

A) โดยทั่วไป สตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตรเต็มที่ จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ชั่วคราว ซึ่งหมายความว่า
1. ทารกจะต้องได้นมแม่อย่างน้อย 85% ของอาหารที่ทารกได้รับทั้งหมด และ
2. ยังไม่มีรอบเดือนมา และ
3. ทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน จึงจะมีผลป้องกันได้เต็มที่

สตรีหลังคลอดตามปกติ จะไม่มีไข่ตกใน 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ว่าจะให้นมหรือไม่ และแม้ว่าจะให้นมบุตรเต็มที่ดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดได้ แต่จะเริ่มรับกินได้เมื่อใดนั้น ขึ้นกับชนิดของยาคุมกำเนิดที่จะเลือกใช้

ยาคุมกำเนิดที่จะใช้ได้มีสองประเภทคือ
1. ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีแต่โปรเจสตินอย่างเดียว ได้แก่ ชื่อการค้า Exluton ชนิดนี้เริ่มสามารถรับประทานได้เลยหลังคลอด
2. ชนิดฮอร์โมนรวม มีทั้งโปรเจสตินรวมกับ เอสโตรเจน มีหลากหลายชื่อการค้า ชนิดนี้โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ในสตรีที่ให้นมบุตร

เนื่องจากเอสโตรเจนที่มีจะไปมีผลทำให้การสร้างน้ำนมลดลงรวมทั้งปริมาณโปรตีนในน้ำนมลดลง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นจริงกับยาคุมที่ปริมาณเอสโตรเจนในขนาดสูง (50 ไมโครกรัมหรือมากกว่า) ซึ่งเป็นยาคุมพวกรุ่นแรกๆ ในปัจจุบันมีเอสโตรเจนสูงสุด 50 ไมโครกรัมเท่านั้น พบว่าถ้าปริมาณเอสโตรเจนในยาคุมนั้นมีต่ำๆ เช่น 20 ไมโครกรัม เป็นต้น จะมีผลต่อการสร้างน้ำนมและต่อคุณภาพน้ำนมน้อยมาก ดังนั้นในปัจจุบันจะพบได้ว่ามีการจ่ายยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมชนิด low dose pill ให้กับสตรีที่ให้นมบุตร เพื่อคุมกำเนิด

ประเด็นอยู่ที่ จะเริ่มยาคุมชนิดนี้ได้เมื่อ ใดยสามารถเริ่มได้หลังจาก 3-6 สัปดาห์นับจากคลอด จะต้องไม่เร็วกว่า 3 สัปดาห์หลังคลอด เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าว สตรีหลังคลอดอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด และเอสโตรเจนในยาคุมจะไปเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว จึงไม่แนะนำการให้ยาคุมชนิดฮอรโมนรวมเร็วกว่า 3 สัปดาห์หลังคลอด

มีการแนะนำว่า ควรให้หลังจาก 8-12 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าการสร้างน้ำนมได้เกิดเต็มที่แล้ว โดยไม่ต้องกังวลผลที่อาจจะเกิดการกดการสร้างน้ำนมจากเอสโตรเจน

กรณีสตรีไม่ได้ให้นมบุตร ก็แนะนำว่าเริ่มให้หลังจาก 3-6 สัปดาห์เช่นกัน ไม่เร็วกว่า 3 สัปดาห์

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=543 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

10:46 AM  -  Public
Q) ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

A) ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
(Emergency Contraceptives)
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดภายหลังการร่วมเพศ มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ได้แก่ postcoital pills, morning-after pills และ emergency contraceptives pills ใช้คุมกำเนิดในหญิงที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กรณีที่เกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น (ถุงยางอนามัยเกิดขาดหรือรั่ว ลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น) หรือมีการร่วมเพศผิดจารีตประเพณี (เช่น พ่อกับลูก) หรือ ถูกข่มขืน โดยเริ่มรับประทานยา ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีการร่วมเพศ

ตารางที่ 1 ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินและขนาดที่ใช้รับประทาน +


--------------------------------------------------------------------------------

Ethinyl estradiol + Ethinyl estradiol 100 มคก + Norgestrel
Norgestrel 1 มก 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชม.
Ethinyl estradiol 2.5 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน
Conjugaled estrogens วันละ 30 มก นาน 5 วัน
Estrone 5 มก วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน
Diethylstillbestrol 25 มก วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน
Levonorgestrel 0.75 มก 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชม
Danazol 400 มก 2-3 ครั้ง (หรือ 800 มก 3 ครั้ง หรือ 800-1200 มก 2 ครั้ง) ห่างกัน 12 ชม
Mifepristone 600 มก ครั้งเดียว


--------------------------------------------------------------------------------


+ เริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังการร่วมเพศ

ยาที่นำมาใช้มีมากมาย (ตารางที่ 1)1-3 ได้แก่

เอสโตรเจนและโปรเจสตินขนาดสูง อาจใช้ร่วมกันหรือใช้แต่ละชนิดเดี่ยวๆ

Danazol เป็นแอนโดรเจนสังเคราะห์ ที่เป็นอนุพันธ์ ethisterone (ethinyl testosterone)

Mifepristone เป็นสเตรอยด์สังเคราะห์ มีฤทธิ์แรงในการต้านโปรเจสเตอโรน นำมาใช้ร่วมกับ โปรสตาแกลนดินในการทำให้แท้งบุตร แต่ได้มีการศึกษา เพื่อนำมาใช้คุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่าให้ประสิทธิผลดี

Intrauterine devices (IUDs) เป็นการใส่ห่วงเพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยเริ่มใส่ห่วง ภายใน 5 วันหลังมีการร่วมเพศ แม้ไม่ใช่ยาแต่ขอนำมากล่าวด้วย

Yuzpe regimen คืออะไร ?

ในปี ค.ศ.1977 แพทย์ชาวแคนาดา ชื่อ Yuzpe 5 เป็นผู้ที่เริ่มนำเอสโตรเจนและโปรเจสตินมาใช้ร่วมกัน เพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยใช้ ethinyl estradiol 100 ไมโครกรัม ร่วมกับ dl-norgestrel 1 มิลลิกรัม เริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังการร่วมเพศ ให้ 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง ต่อมาได้ดัดแปลง โดยนำ levonorgestrel (ซึ่งมีฤทธิ์แรงกว่า dl-norgestre) มาใช้แทนโดยใช้ขนาดลดลง ในทางปฏิบัติได้นำเม็ดยาคุมกำเนิด ที่มีจำหน่ายทั่วไปมาใช้ โดยรับประทานในขนาดสูงขึ้น แต่ใช้เพียง 2 ครั้ง (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ให้ประสิทธิผล เท่าเทียมกับ Yuzpe regimen
(ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิงที่ 2)


--------------------------------------------------------------------------------

ชื่อการค้า ส่วนประกอบ จำนวนเม็ดต่อ
1 ครั้ง +
Ovral 0.05 mg EE+0.05 mg norgestrel 2
Nordette 0.03 mg EE+0.15 mg LNG 4
Microgest
Microgynon
Rigevidon
Trinordiol 0.03 mg EE+0.125 mg LNG 4
Triquilar (เม็ดสีเหลือง)


--------------------------------------------------------------------------------


EE = ethinyl estradiol, LNG = levonorgestrel
+ ต้องรับประทาน 2 ครั้ง โดยทิ้งช่วงห่าง 12 ชั่วโมง

ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

การจะเริ่มต้นรับประทานยาช่วงใดก็ตามภายใน 72 ชั่วโมงหลังการร่วมเพศ ล้วนให้ประสิทธิผลในการคุมกำเนิดพอๆ กัน 6 อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงการใช้ยาครั้งต่อไปด้วย เช่น ไม่ควรเริ่มรับประทานยาตอนบ่ายสามโมง เพราะการรับประทานครั้งต่อไปซึ่งต้องห่างกัน 12 ชั่วโมง จะตรงกับเวลาตีสาม จึงควรเลื่อนไปเริ่มเวลาหนึ่งหรือสองทุ่ม เป็นต้น
สำหรับ IUD ที่ใช้เพื่อการคุมกำเนิดฉุกเฉิน ให้เริ่มใส่ห่วงภายใน 5 วังหลังการร่วมเพศ

ประสิทธิผลของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

โดยทั่วไปในการร่วมเพศหนึ่งครั้ง มีโอกาสตั้งครรภ์ 0-26% หากมีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน แบบ Yuzpe regimen อย่างถูกต้อง คือ เริ่มรับประทาน ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการร่วมเพศ จะช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ ลงได้ประมาณ 75% 2,7,8 สำหรับการใช้ levonorgestrel อย่างเดียว ในขนาดรับประทาน 0.75 มิลลิกรัม 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง

ได้มีการศึกษาแบบ double-blind, randomized, multicenter เปรียบเทียบกับ Yuzpe regimen พบว่า การใช้ levonorgestrel อย่างเดียวให้ประสิทธิผลสูงกว่า คือมี relative risk 0.36 (95% confidence interval เท่ากับ 0.18-0.70) และป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85% (74-93%) เทียบกับ Yuzpe regimen ซึ่งป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 57% (39-71%) และการใช้ levonorgestrel อย่างเดียว ยังทำให้เกิดคลื่นไส้และอาเจียนได้ต่ำกว่า 9 ส่วนการใช้ IUD ในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยเริ่มใส่ห่วงภายใน 5 วัน หลังการร่วมเพศ จะให้ประสิทธิผลสูงกว่า Yuzpe regimen คือคุมกำเนิดได้ถึง 90-99% 2,4 ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า ห่วงที่ใส่นั้นยังคงอยู่ต่อไปอีกนานกว่าจะนำออก (จัดเป็น long-term method)

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินออกฤทธิ์อย่างไร ?

กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบชัดเจน แต่คาดว่า เอสโตรเจนและโปรเจสตินที่ใช้ร่วมกันตลอดจนยาชนิดอื่น อาจออกฤทธิ์โดยรบกวนการทำหน้าที่ตามปกติของรังไข่ รบกวนความพร้อมของชั้นบุโพรงมดลูก (endometrium) ที่จะรองรับไข่ที่ผสมแล้ว (fertilized ovum) ตลอดจนเร่งการเคลื่อนไหว ของท่อนำไข่ (fallopian tube) ทำให้ไข่ที่ผสมแล้วถึงมดลูกเร็วเกินไป ในขณะที่มดลูกยังเตรียมตัวไม่พร้อม ไข่ที่ผสมแล้วจึงไม่อาจฝังตัวได้ 1-3

สำหรับ IUD ก็เช่นเดียวกัน ออกฤทธิ์โดยก่อให้เกิด ปฏิกิริยาการอักเสบบริเวณชั้นบุโพรงมดลูก ทำให้ไม่เหมาะสม ต่อการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว นอกจากนี้ยังเร่งการเดินทางของไข่ ให้เคลื่อนผ่านท่อนำไข่ไปอย่างรวดเร็ว 2,4 (หาก IUD นั้นมีทองแดงเป็นส่วนประกอบด้วย ทองแดงยังอาจเป็นพิษต่อไข่ที่ผสมแล้ว)

การคุมกำเนิดฉุกเฉินออกฤทธิ์ต่างจาก การคุมกำเนิดโดยทั่วไปอย่างไร ?

การคุมกำเนิดโดยทั่วไปออกฤทธิ์ในขั้นตอน ก่อนเกิดการผสมระหว่างไข่กับตัวอสุจิ เช่น การยับยั้งการตกไข่ รบกวนการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิโดยทำให้มูกปากมดลูกข้นหนืด เป็นพิษต่อตัวอสุจิ ตลอดจนปิดกั้นไม่ให้ตัวอสุจิเข้าไปสู่โพรงมดลูก เป็นต้น ส่วนการคุมกำเนิดฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ในขั้นตอน หลังจากที่เกิดการผสมระหว่างไข่กับตัวอสุจิแล้ว ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่กล่าวแล้วข้างต้น

การคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นการทำแท้งใช่หรือไม่ ?

การคุมกำเนิดฉุกเฉินตามวิธีที่กล่าวข้างต้น ออกฤทธิ์ต่อการทำหน้าที่ของรังไข่ ท่อนำไข่ และชั้นบุโพรงมดลูก จึงไม่ใช่เป็นการทำแท้งเนื่องจากไม่ได้มีผลกำจัด blastocyst ที่ฝังตัวเรียบร้อยแล้วให้หลุดออกไปจากโพรงมดลูก

อาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

อาการที่พบบ่อยเมื่อใช้ยาพวกเอสโตรเจนและโปรเจสติน ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งอาจต้องให้การรักษา ด้วยยาระงับการอาเจียนร่วมด้วย (เช่น dimenhydrinate 50-100 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือ promethazine 25 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นต้น) 2 อาการอื่นๆ ที่พบได้แก่ เจ็บเต้านม ปวดมวนในท้อง ปวดศีรษะและวิงเวียน อาการข้างเคียงต่างๆ มักเป็นชั่วคราวและหายไป ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจากใช้ยาในระยะสั้น แม้จะใช้ในขนาดสูงก็ตาม

การใช้เอสโตรเจนและโปรเจสตินเพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินนี้ ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อ clotting factors หากเกิดผลเสียบ้าง ก็จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ และจากผลการศึกษาทั้งแบบ cohort และ case-control พบว่าการใช้ฮอร์โมนร่วมดังกล่าว ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อ idiopathic venous thromboembolism เมื่อติดตามดูผลนานถึง 45 วัน 10

ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

การใช้ผิดวัตถุประสงค์ ยาเหล่านี้ใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น แต่การที่ยานี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น postcoital pills และ morning-after pills ทำให้เกิดความเข้าใจผิด คิดว่าสามารถนำมาใช้ได้เป็นประจำภายหลังที่มีการร่วมเพศทุกครั้ง การใช้พร่ำเพรื่อก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้หลายประการ

ปัญหาทางเพศ อาจมีการร่วมเพศ ที่ขาดการไตร่ตรองเพิ่มมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น

การแพร่เชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ได้ช่วยป้องกันโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงต่างจากการใช้ถุงยางอนามัย อีกทั้งผู้ใช้บางรายเข้าใจผิดคิดว่า ยาช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้ จึงขาดความระมัดระวัง

การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากประสิทธิผล ของวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินนี้ด้วยกว่าวิธีคุมกำเนิดตามปกติ ที่ใช้ทั่วไปอย่างมาก หากใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยใช้เป็นประจำ หลังการร่วมเพศทุกครั้ง ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้สูงกว่า

"ด้วยเหตุนี้ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ต้องให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้"

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=2934 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

10:42 AM  -  Public
Q) literature review การใช้ฮอร์โมนในสาวประเภทสอง

A) เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศ ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปฮอร์โมนผสม 2 ชนิดคือ estrogen และ progesterone ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้ประเภทที่มีระดับ estrogen น้อย ๆ เพื่อลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ตึงคัดเต้านม เป็นต้น หรือนิยมใช้ชนิดที่เป็น progesterone สังเคราะห์ ที่มีฤทธิ์ androgen ต่ำ เช่น desogestrel, norgestimate หรือชนิดที่มีฤทธิ์ต้าน androgen เช่น cyproterone acetate ดังนั้นกลุ่มสาวประเภทสองจะใช้ผลเหล่านี้เพื่อจะช่วยลดลักษณะที่แสดงความเป็นชายได้ เช่น หน้ามัน เป็นสิว หรือ ขนดก โดยเฉพาะ cyproterone acetate ที่นิยมใช้รักษาสิวและภาวะขนดก (hirsutism)

นอกจากนี้การที่ผู้ชายกินยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมกำเนิดจะทำให้ สรีระทางร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หน้าอกอาจโตขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น

ส่วนการใช้ Premarin ในผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศนั้นจะใช้กรณีที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง เนื่องจาก Premarin มีส่วนประกอบของ conjugated estrogen ซึ่งปกติจะใช้เป็นฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) ในหญิงหลังหมดประจำเดือน หรือหญิงที่ตัดมดลูก เพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบ, ช่องคลอดแห้ง, ป้องกันกระดูกพรุน หรือใช้ในหญิงที่มีฮอร์โมน estrogen ต่ำ

สำหรับในผู้ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิง ได้รับ Premarin เพื่อไปกดฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่ทำให้แสดงลักษณะเพศชายเดิม และเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดลักษณะความเป็นหญิง แต่ขนาดที่ใช้จะแตกต่างจากการใช้เป็นฮอร์โมนทดแทน จากที่ใช้ 0.625-1.25 มิลลิกรัมต่อวัน ในที่นี้จะใช้ 5 -10 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างสูง จากการศึกษา ทางคลินิกของ Polderman และคณะที่ให้ high dose ethinyloestradiol แก่ผู้ที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิงจำนวน 30 คน และให้ high dose testosterone แก่ผู้ที่แปลงเพศจากหญิงเป็นชายจำนวน 22 คน พบว่าระดับฮอร์โมน androgen ลดลง 27-48 % ในกลุ่มที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง และเพิ่มขึ้น 23-70% ในกลุ่มที่แปลงเพศจากหญิงเป็นชาย สรุปว่าการให้ high dose sex steroid hormone มีผลต่อการสร้าง androgen อย่างเด่นชัด

 อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้ estrogen ในผู้ชายที่แปลงเพศแล้วไม่ได้มีผลในเรื่องโครงสร้างกรามหรือขนาดมือ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงผลของ estrogen ที่มีต่อ พฤติกรรมทางเพศในผู้ชาย 7 คน ที่ได้รับฮอร์โมนนี้ก่อนผ่าตัดแปลงเพศ พบว่า Estrogen จะไปกด ระดับฮอร์โมน testosterone ทำให้ไม่มี testosterone อิสระจึงยับยั้ง spontaneous erection และ sexual activity ได้
นอกจากนี้ผู้ชายที่ได้รับ estrogen อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด thromboembolytic disease, myocardial infarction และ strroke ได้เช่นเดียวกับในผู้หญิง และการสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงนี้ ดังนั้นควรแนะนำเรื่องการออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ควรสูบบุหรี่

สำหรับแหล่งข้อมูลที่สามารถหา literature review ได้ เช่น Pubmed, Sciencedirect โดยใช้คำค้น เช่น literature review and transsexual, conjugated estrogen, hormone therapy เป็นต้น

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=4717 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

10:38 AM  -  Public
Q) มีโรคประจำตัวคือ ไม่เกรน ไม่ทราบว่ายาคุมจะมีผลกับไมเกรนหรือไม่ วิธีการเลือกทานยาคุมเนิด ให้เหมาะกับตนเอง จะมีวิธีการเลือกอย่างไรบ้าง

A) อาการไม่พึงประสงค์ของยาคุม
ในแต่ละคน อาจจะเกิดอาการข้างเคียง ไม่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติของคนๆนั้น และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งคนที่ใช้ยาตัวเดียวกัน อาจไม่จำเป็นต้องเกิดอาการข้างเคียงเหมือนกันก็ได้

1. กรณี estrogen มากไป= ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ประจำเดือนมากกว่าปกติ เต้านมโต มดลูกโต เส้นเลือดอุดตัน
2. กรณี estrogen น้อยไป= ประจำเดือนมาน้อย เต้านมเล็ก มดลูกเล็ก เกิดเลือกออกในช่วงแรก-ช่วงกลางของรอบเดือน (14 วันแรก)
3. กรณี progestogen มากไป = น้ำหนักเพิ่ม เป็นสิว หน้ามัน ขนดก ซึมเศร้า เพลีย เต้านมเล็ก ประจำเดือนมาน้อย ตกขาว(ติดเชื้อ)
4. กรณี progestogen น้อยไป = เกิดเลือกออกในช่วงหลังของรอบเดือน (14 วันหลัง)

ยาเม็ดคุมกำเนิดในไทย มีหลายชนิดด้วยกันคือ
1. minipills เป็นยาคุมที่มีเพียงตัวยา progestogen เพียงอย่างเดียว ในขนาดต่ำๆ (เช่น Exluton)
ข้อดี
ใช้ได้ดีในคนที่ไวต่อ estrogen + ไม่เกิดอาการข้างเคียงของ estrogen เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม + เหมาะกับคนที่มีข้อห้ามใช้ estrogen เช่น คนที่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน (thromboembolism) หรือคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด + คนที่ให้นมบุตร เพราะไม่ทำให้น้ำนมลดลง + คนที่อายุมากกว่า 35 ปีและสูบบุหรี่ค่อนข้างมาก + ไม่ส่งผลกระทบต่อ lipid และ carbohydrate metabolism
ข้อเสีย
พบความผิดปกติของรอบเดือนได้ง่าย เช่น เลือดออกกระปริดกระปรอย ประจำเดือนมาไม่ตรง + ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้อยกว่ากลุ่ม combinrd pills
ข้อห้ามใช้
มีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูก + มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ทราบสาเหตุ + เป็นโรคดีซ่าน

2. combined pills เป็นยาคุมที่ตัวยาประกอบด้วย estrogen และ progestogen แบ่งเป็น 2 ชนิด
2.1 monophasic combined pills ประกอบด้วย estrogen และ progestogen ในปริมาณที่เท่ากันทุกเม็ด
2.2 triphasic combined pills ประกอบด้วย estrogen และ progestogen ในปริมาณที่ต่างกัน 3 ระดับ เพื่อเลียนแบบการหลั่งตามธรรมชาติของฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด ทำให้อาการข้างเคียงต่างๆ ลดน้อยลง
ข้อดี
นอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยบำบัดอาการต่างๆได้ เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ ภาวะเต้านมคัดหลังคลอดบุตร รักษาสิว การเลื่อนประจำเดือน ใช้ในคนที่หมดประจำเดือนป้องกันภาวะกระดูกพรุน
ข้อเสีย
มีอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดจาก estrogen และ progestogen

3. postcoital or morning after pills รู้จักกันในชื่อยาคุมฉุกเฉิน

โดยสรุปก็คือ ยาคุมกำเนิดอาจจะทำให้อาการไมเกรนแย่ลงได้ ถ้าคุณเป็นคนที่ไวต่อ estrogen ดังนั้นการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดอาจเลือกใช้เป็นแบบ minipills ซึ่งเป็นยาคุมที่มีเพียงตัวยา progestogen เพียงอย่างเดียว ก็จะหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงจาก estrogen ได้ค่ะ นอกจากนี้อาจเลือกใช้เป็นแบบยาฉีดก็ได้นะคะแล้วแต่ความสะดวกของผู้ใช้เอง

ยาฉีดคุมกำเนิด
ตัวยาที่ใช้ในยาฉีด จะเป็นพวกยากลุ่ม progestogen เมื่อฉีดยาเข้าไปในร่างกายแล้ว ตัวยาคุมจะค่อยๆถูกปลดปล่อยออกมาทีละน้อย ทำให้ยาอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 3 เดือน ยาจึงจะหมด

กลไกของยาฉีดคุมกำเนิด
1. ทำให้เยื่อบุมดลูกไม่เหมาะสมกับการฝังตัวของไข่
2. ทำให้เยื่อเมือกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียว ตัวอสุจิจึงเข้าผสมกับไข่ได้ยาก
3. ตัวยา progesterone ในขนาดสูง ทำให้ผนังและกล้ามเนื้อมดลูกฝ่อไม่เจริญ
Note การใช้ยาฉีดยังทำให้เกิดการตกไข่ได้ (ovulation)
ข้อดี
ฉีดครั้งเดียวอยู่ได้นาน 3 เดือน + มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ 99.5% + ไม่เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ + ใช้ได้ดีในคนที่ไวต่อ estrogen
ข้อเสีย
ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มาไม่ตรง หรือไม่มีประจำเดือน + หลังจากหยุดใช้ยาแล้ว โอกาสจะมีบุตรอีกจะช้า อาจเป็นปีหรือหลายปีก็ได้
คนที่ควรใช้ยาฉีดควรจะเคยมีบุตรมาแล้ว และเป็นคนที่มักจะลืมกินยาคุมบ่อยๆ

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=6581 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

10:32 AM  -  Public
Q) การกินยาคุมกำเนิดพร้อมกับยา antibiotic ประเภท amoxycillin จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลงหรือเปล่า

A) ยาปฏิชีวะนะจะไปมีผล ต่อ hepatic recycling ของ hormones โดยมีแบคทีเรียเป็นตัวช่วย ยาปฎิชีวะนะไปทำลาย แบคทีเรียทำให้ระดับ hormone ที่จะดูดซึมรอบสองลดลง ยังผลให้ระดับ hormone โดยรวมลดลงส่งผลถึงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด

Oral contraceptives: The efficacy of oral contraceptives may be reduced and increased breakthrough bleeding may occur. Although infrequently reported, contraceptive failure is possible; the use of an additional form of contraception during penicillin therapy is advisable.

It was previously thought that antibiotics may decrease the effectiveness of oral contraceptives containing estrogens due to stimulation of estrogen metabolism or a reduction in estrogen enterohepatic circulation via changes in GI flora. One retrospective study reviewed the literature to determine the effects of oral antibiotics on the pharmacokinetics of contraceptive estrogens and progestins, and also examined clinical studies in which the incidence of pregnancy with oral contraceptives (OCs) and antibiotics was reported. It was concluded that the antibiotics ampicillin, ciprofloxacin, clarithromycin, doxycycline, metronidazole, ofloxacin, roxithromycin, temafloxacin, and tetracycline did not alter plasma levels of oral contraceptives.

Antituberculous drugs (e.g., rifampin) were the only agents associated with OC failure and pregnancy. Based on the study results, these authors recommended that back-up contraception may not be necessary if OCs are used reliably during oral antibiotic use. Another review of the subject concurred with these data, but noted that individual patients have been identified who experienced significant decreases in plasma concentrations of combined OC components and who appeared to ovulate; the agents most often associated with these changes were rifampin, tetracyclines and penicillin derivatives. These authors concluded that because females most at risk for OC failure or noncompliance may not be easily identified and the true incidence of such events may be under-reported, and given the serious consequence of unwanted pregnancy, that recommending an additional method of contraception during short-term antibiotic use may be justified. During long-term antibiotic administration, the risk for drug interaction with OCs is less clear, but alternative or additional contraception may be advisable in selected circumstances. Data regarding progestin-only contraceptives or for newer combined contraceptive deliveries (e.g., patches, rings) are not available.

ข้อมูลจาก Drug interaction facts 2010

Significant level : 4

Onset : Delayed

Severity : Major

Documentation : Possible

Effect: The efficacy of ORAL CONTRACEPTIVES (OCs) may be reduced

Mechanism : PENICILLINS may suppress intestinal flora that provide hydrolytic enzymes essential for enterohepatic recirculation of certain contraceptive steroid conjugates.

Management : Although infrequently reported, contraceptive failure is possible. For patients who wish to avoid even a slight increase in risk of pregnancy, the use of an additional form of contraception during PENICILLIN therapy is advisable.

Discussion : OC failure resulting in pregnancy has been reported during concurrent penicillin therapy.These reports are rare, considering the large population of women who use OCs. Although most investigators agree that penicillins may interrupt the enterohepatic circulation of OCs, resulting in decreased plasma concentrations, several studies document no change in plasma concentration and no diminished efficacy, suggesting that an increased risk of pregnancy does not occur. A review of all published reports of adverse drug reactions secondary to a penicillin-oral contraceptive interaction through 1987 did not document any greater risk of contraceptive failure in patients on low-dose OCs.5 Therefore, breakthrough bleeding should not be used, as previously suggested by some authors, as an early indicator of contraceptive failure. In an investigation of antibiotic use (eg, oral cephalosporins, penicillins, tetracyclines) in dermatological practice, no differences in OC failure rate were seen in a case-control study involving 311 woman-years of combined antibiotic/OC exposure compared with 1,245 woman-years of OC use alone

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=12913 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

KP Wellness

10:28 AM  -  Public
Q) กินยาคุมกำเนิดแบบ21เม็ด เริ่มวันแรกที่มีประจำเดือน ประมาณเม็ดที่ 17 มีอาการท้องเสียหลายครั้ง สงสัย ในเรื่องประสิทธิภาพของยา ว่าถ้าหากกำลังอยู่ในช่วงท้องเสียเรื้อรัง จะทำให้การดูดซึมของยาคุม ผิดปกติ หรือ ล้มเหลว รึเปล่า

และถ้าหาก กินยาคุมฉุกเฉิน ในช่วงหยุดยา 7 วัน เพราะไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของยาคุมแบบปกติ จะสามารถ เริ่มทานยาคุมแบบปกติแผงต่อไป ในวันที่ 8 หลังจากช่วงหยุดยา ได้หรือไม่?

A) ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสมประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งโปรเจสเตอโรน สังเคราะห์ส่วนใหญ่จะดูดซึมได้ทั้งหมดในทางเดินอาหาร หลังจากกินยา 1-2 ชั่วโมง ส่วนเอสโตรเจนสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ ethinyl estradiol จะดูดซึมบริเวณทางเดินอาหารได้ 40% หลังจากกินยา 1-2 ชั่วโมง โดยเอสโตรเจนสังเคราะห์จะถูกแปรสภาพที่ตับ หลังการแปรสภาพส่วนหนึ่งจะขับออกทางอุจจาระ อีกส่วนหนึ่งจะมีการดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางระบบทางเดินอาหารและน้ำดี

กรณีท้องเสียรุนแรงอาจจะรบกวนการดูดซึมของยา ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลงได้ การกินยาคุมกำเนิดในช่วงท้องเสียอาจทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล เนื่องจากช่วงท้องเสียลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น การถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดของฮอร์โมนลดลง มีรายงานการตั้งครรภ์ในสตรี 8 ราย ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน และมีภาวะลำไส้อักเสบมีอาการท้องเสียในระหว่างกินยา 1-2 สัปดาห์แรก โดยผู้ป่วยจำนวน 5 รายมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดูดซึมของยา และทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลงจนมีผลให้การคุมกำเนิดล้มเหลวได้

กรณีนี้มีอาการท้องเสียหลังจากที่ทานยาคุมกำเนิดไปแล้ว 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาคุมกำเนิดจะถูกดูดซึมได้หมดก็น่าไม่ต้องกังวล ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกหากมีอาการท้องเสียรุนแรงเป็นเวลามากกว่า 2 วัน อาจมีผลทำให้ระดับเอสโตรเจนในเลือดลดลงได้ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แนะนำให้กินยาคุมกำเนิดเม็ดต่อไปทันที และกินยาต่อไปตามปกติ ซึ่งอาจหมายถึงการกินสองเม็ดพร้อมกัน และแนะนำให้ใช้วิธีอื่นคุมกำเนิดร่วมหรืองดการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่ยังมีอาการท้องเสีย และต่อไปอีก 7 วันหลังจากอาการดังกล่าวหายไป

สำหรับการเริ่มยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมหลังการกินยาคุมฉุกเฉินสามารถเริ่มได้ทันทีในวันต่อมา

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=12992 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 
Q)  พึ่งกินยาเม็ดแรกของแผงใหม่ ตอนประมาณ ห้าทุ่มครึ่ง แล้วท้องเสียตอนประมาณเที่ยงคืน หลังจากนั้นไม่มีอาการท้องเสียอีก อยากทราบว่ายาคุมแผงนี้ยังมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้อยู่ไหม

A) กินยาคุมแล้วท้องเสียใน 3 ชั่วโมง ต้องกินซ้ำ 1 เม็ด ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ถ้ากินไม่ทันภายใน 12 ชม ใช้ถุงยางอนามัย ร่วมด้วย 15 วัน จากนั้นก็ให้ผลคุมกำเนิดตามปกติ

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=13103 
แสดงคำถาม:ในหัวข้อเรื่อง อื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ »
PSU Drug Information Center บริการข้อมูลยาและเภสัชภัณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน แหล่งชุมชนเภสัชกรผ่านเครือข่าย internet 

No comments:

Post a Comment