Tuesday, June 21, 2016

ZIKA VIRUS

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  15:45
 
รอดูด้วยความสงบ ....
มิน่าเมื่อเช้านี้พ่นยากันใหญ่ ทั้งในเขตสันทรายหลวง และ ในเวียง

..............................

พบผู้ป่วยยืนยันการติดโรคเชื้อไวรัสซิกาในพื้นที่บ้านเลขที่ 99/307 บ้านโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2559

ขณะนี้ทางเทศบาลตำบลสันทรายหลวงได้อาศัยอำนาจประกาศให้พื้นที่โดยรอบบ้านเลขที่ดังกล่าวทั้งหมดในรัศมี 100 เมตร เป็นเขตพื้นที่เป้าหมายในการควบคุมโรค ในระยะเวลา 28 วัน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ผู้ป่วยที่พบในครั้งนี้เป็นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงรวมจำนวน 2 คน อายุ 10-11 ปี ที่เดินทางมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนขณะนี้อาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ และแพทย์ให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านแล้ว

โรคนี้มียุงลายเป็นพาหะและยังไร้วัคซีนป้องกัน จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ไวรัสนี้จะไม่ผลกระทบกับคนปกติ แต่จะเสี่ยงกับคนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มหญิงตั้งท้อง ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ

สำหรับสถานการรณ์ล่าสุดรายงานผู้ป่วยสงสัยเป็นไวรัสซิกา 1.สสจ.เชียงใหม่ได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 19 มิย. เวลา 10.00 น. ว่า จ.เพชรบูรณ์ พบผู้ป่วยออกผื่น 9 ราย เป็นคนเพชรบูรณ์ 7 ราย เพิ่งทราบผลตรวจยืนยันซิกา 3 ราย และคนเชียงใหม่ 2 ราย ซึ่งไปร่วมงานศพที่เพชรบูรณ์ 2.ผู้ป่วยออกผื่นชาวเชียงใหม่ 2 ราย มีภูมิลำเนาที่ ม.5 ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยมีประวัติเดินทางไปร่วมงานศพบ้านติ๊ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 59 และกลับมาที่เชียงใหม่วันที่ 11 มิ.ย. 59 รายแรกอายุ9ปีเพศหญิงมีอาการไข้ออกผื่นเมื่อ 9 มิย. รักษาที่รพ.ลานนา วันที่ 11 มิ.ย. และรายที่ 2 อายุ 11ปี เพศชาย เริ่มป่วยวันที่ 11 มิ.ย. เข้ารักษา 13 มิ.ย. ที่รพ.ลานนา ขณะนี้หายเป็นปกติอยู่ที่บ้าน

ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีรายงานการพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาใน 9 จังหวัด แต่สามารถควบคุมได้แล้ว 7 จังหวัดคือ นนทบุรี นครราชสีมา พิษณุโลก สุโขทัย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ และกาญจนบุรี และได้มีการเฝ้าระวังใน จ.อุดรธานี และ จ.บึงกาฬ

http://www.khaosodonline.com/view_newsonline.php?newsid=1466511052
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000062019
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  17 Feb 2016
 
พบหลักฐานใหม่ชี้ไวรัสซิกาทำเด็กหัวเล็กผิดปกติแต่กำเนิด

คณะนักวิทยาศาสตร์ในบราซิลพบหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า ไวรัสซิกาอาจทำให้เกิดภาวะไมโครเซฟาลี ซึ่งทารกจะมีศีรษะเล็กและสมองผิดปกติแต่กำเนิด

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพียูซี-ปารานา ได้เฝ้าติดตามการตั้งครรภ์ของผู้หญิง 10 คนในรัฐปาราอีบา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งพบทารกเกิดมาพร้อมกับภาวะไมโครเซฟาลีมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ จากนั้นได้ศึกษาตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองของทารก 2 คนที่มีชีวิตอยู่เพียง 48 ชั่วโมง และพบเชื้อไวรัสซิกาในสมองของทารกทั้งสอง

ดร.เอเดรียนา เมโล หนึ่งในทีมนักวิจัย บอกกับบีบีซีว่า กรณีที่พบบ่งชี้ว่า ไวรัสซิกาไม่เพียงจะทำให้เกิดภาวะไมโครเซฟาลี แต่ยังก่อให้เกิดโรคทางสมองอื่น ๆด้วย อาทิ โพรงสมองโตผิดปกติ รวมถึงปัญหาหินปูนเกาะตามข้อกระดูก และข้อต่อยึด

ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่า การค้นพบครั้งนี้นับเป็นหลักฐานล่าสุดที่สนับสนุนผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯและสโลวีเนีย ที่พบไวรัสซิกาในตัวอย่างที่เก็บได้จากทารกที่มีภาวะไมโครเซฟาลี

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (13 ก.พ.) ทางการบราซิลได้ระดมทหารกว่า 200,000 นายทั่วประเทศออกให้ความรู้ประชาชนถึงอันตรายจากไวรัสซิกา ขณะที่ประธานาธิบดีดิลมา รูสเซฟฟ์ ยืนยันว่าวิกฤติครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมโอลิมปิกในเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า ไวรัสซิกาที่มียุงเป็นพาหะ ทำให้เกิดภาวะไมโครเซฟาลี ซึ่งเป็นความพิการทางสมองแต่กำเนิด ปัจจุบันบราซิลซึ่งไวรัสซิกาแพร่ระบาดรุนแรงที่สุด ได้ยืนยันพบทารกที่มีความพิการนี้แล้ว 460 ราย และมีกรณีต้องสงสัยอีกราว 3,850 ราย

https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1739979192889780/ 

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Feb 2016
 
ไวรัสซิกา  - Zika virus

สำหรับประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกาตามรายงานขององค์การอนามัยโลก  ขณะนี้มี 23 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ประเทศบาร์เบโดส สาธารณรัฐโบลิเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐเอกวาดอร์ สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ ดินแดนเฟรนซ์เกียนา ดินแดนกัวเดอลุป สาธารณรัฐกัวเตมาลา สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา สาธารณรัฐเฮติ สาธารณรัฐฮอนดูรัส เกาะมาร์ตีนิก สหรัฐเม็กซิโก สาธารณรัฐนิการากัว สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐปารากวัย เครือเปอร์โตริโก เกาะเซนต์มาร์ติน สาธารณรัฐซูรินาเม หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเวเนซูเอลา
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Feb 2016
 
ไวรัสซิกา  - Zika virus

เน้นย้ำให้หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเดินทางไปประเทศมีการระบาด หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเดินทาง รวมทั้งแนะนำวิธีป้องกันโรคไข้ซิกาที่ดีที่สุดคือป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในและนอกบ้านหากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคต้องระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายาป้องกันยุง ส่วนผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด หากมีอาการข้างต้นสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  25 Jan 2016
 
องค์การอนามัยทวีปอเมริกายืนยันว่า ตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาในน้ำอสุจิ และสันนิษฐานว่าการติดเชื้อรายหนึ่งอาจเป็นการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนผ่านทางเพศสัมพันธ์ แต่ชี้ว่าจำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้

.................................

อนามัยโลกเตือน “ไวรัสซิกา” อาจระบาดไปทั่วทวีปอเมริกา

องค์การอนามัยทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดองค์การอนามัยโลกเตือนว่า มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสซิกาจะแพร่ระบาดไปทั่วทุกพื้นที่ในทวีปอเมริกาที่มียุงลายอาศัยอยู่

ไวรัสซิกาทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้ต่ำ ตาแดงจากเยื่อตาอักเสบและปวดหัว ปัจจุบันพบว่าเชื้อได้แพร่ระบาดใน 21 ประเทศในแถบแคริบเบียน ภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นยุงที่พบได้ทั่วไปในทวีปอเมริกา ยกเว้นในประเทศแคนาดาและชิลี

องค์การอนามัยทวีปอเมริกายืนยันว่า ตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาในน้ำอสุจิ และสันนิษฐานว่าการติดเชื้อรายหนึ่งอาจเป็นการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนผ่านทางเพศสัมพันธ์ แต่ชี้ว่าจำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้

อย่างไรก็ตาม ราว 80% ของผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ แต่แพทย์ชี้ว่าเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการที่เชื้อไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ โดยพบว่านับแต่เดือน ต.ค.ปีก่อน มีทารกในบราซิลราว 4,000 คนเกิดมาโดยมีศีรษะลีบเล็ก ซึ่งเป็นภาวะที่เด็กมีสมองเล็กผิดปกติแต่กำเนิด

ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยทวีปอเมริกาจึงเตือนให้สตรีมีครรภ์คอยเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนออกเดินทางไปยังพื้นที่พบการระบาดของไวรัสซิกา ทั้งยังแนะให้ประชาชนป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัด และให้ทำลายแห่งเพาะพันธุ์ยุง รวมทั้งใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง และปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันยุงเข้าบ้านด้วย

ขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อนประเทศโคลอมเบีย, เอกวาดอร์, เอลซัลวาดอร์ และจาเมกา ออกคำแนะนำให้ผู้หญิงเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไปก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งมีต้นกำเนิดจากทวีปแอฟริกา แต่พบการระบาดครั้งแรกในทวีปอเมริกาที่ประเทศบราซิลเมื่อเดือน พ.ค.ปีก่อน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการที่คนในทวีปอเมริกาไม่มีภูมิต้านทานตามธรรมชาติต่อเชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ‪#‎Zikavirus‬ ‪#‎Zika‬ ‪#‎WHO‬


https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1732858556935177/ 

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  17 Jan 2016
 
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา
โดย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ
อธิบดีกรมควบคุมโรค
ณ วันที่ 16 มกราคม 2559
************

1. จากที่มีข่าวการระบาดของโรคไข้ซิกาในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (US-CDC) ประกาศเตือนพลเมืองของสหรัฐที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ระบาด 14 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาเม เวเนซุเอลา และเครือรัฐเปอร์โตริโก

2. โรคไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) จำพวกเดียวกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลาย เป็นแมลงนำโรค

3. มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน สั้นสุด 3 วัน และยาวสุด 12 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก (microcephaly) หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

4. กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างกว้างขวาง เช่น ทวีปอเมริกา และทวีปแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจติดเชื้อแล้วทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก และสมองฝ่อได้ ส่วนในประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 5 ราย ซึ่งไม่ถือว่าสูงผิดปกติ อัตราป่วยใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวัง โรคนี้แล้ว ตั้งแต่ปี 2556

5. หากผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดในวงกว้าง รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทยมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ สามารถมารับการรักษาและปรึกษาได้ที่ คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

6. การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโดยการตรวจเลือดผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสซิกา ส่วนการตรวจหาแอนติบอดีไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากมีผลบวกลวงสูง และ สามารถส่งเลือดมาตรวจได้ที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้ง คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7. ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย

8. การป้องกัน ระวังไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งและทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำและยุงลายตัวแก่ หากป่วยด้วยอาการไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดศีรษะรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว

9. ประชาชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422


https://www.facebook.com/dpc5.ddc/photos/a.226605487402262.56737.226541257408685/1031159713613498/

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Feb 2016
 
ไวรัสซิกา  - Zika virus

ถึงแม้โรคไข้ซิกาจะมียุงพาหะคือยุงลายบ้านเช่นเดียวกับไข้เลือดออก แต่โอกาสที่จะเกิดการระบาดของไข้ซิกานั้นมีน้อย เนื่องจากประเทศไทยไม่มีแหล่งรังโรคของไวรัสซิกา โดยโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน สั้นสุด 3 วันและยาว 12 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที 
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Feb 2016
 
ไวรัสซิกา  - Zika virus

โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์หากติดเชื้อต่างๆ เช่น หัดเยอรมัน และไข้ขี้แมว เป็นต้น ก็อาจส่งผลถึงลูกในครรภ์ได้ เช่น มารดาหากติดเชื้อหัดเยอรมัน ทารกที่เกิดมาอาจมีความพิการ ตาบอด หัวใจพิการ และมารดาที่ติดเชื้อไข้ขี้แมวทารกที่เกิดมาอาจมีความพิการทางสมองได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังมากกว่าคนปกติ ในด้านสุขอนามัย ไม่คลุกคลีคนป่วย ไม่คลุกคลีสุนัขและแมวจรจัด ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และฝากครรภ์ตามกำหนด 
Show less  ·  Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  4 Feb 2016
 
ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก โรคนี้ส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง ไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต มีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามทางองค์การอนามัยโลกยังไม่ยืนยันเรื่องนี้ แต่มีหลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่าอาจสัมพันธ์กับอาการสมองเล็กในทารกแรกเกิด

ทั้งนี้โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์หากติดเชื้อต่างๆ เช่น หัดเยอรมัน และไข้ขี้แมว เป็นต้น ก็อาจส่งผลถึงลูกในครรภ์ได้ เช่น มารดาหากติดเชื้อหัดเยอรมัน ทารกที่เกิดมาอาจมีความพิการ ตาบอด หัวใจพิการ และมารดาที่ติดเชื้อไข้ขี้แมวทารกที่เกิดมาอาจมีความพิการทางสมองได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังมากกว่าคนปกติ ในด้านสุขอนามัย ไม่คลุกคลีคนป่วย ไม่คลุกคลีสุนัขและแมวจรจัด ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และฝากครรภ์ตามกำหนด

ถึงแม้โรคไข้ซิกาจะมียุงพาหะคือยุงลายบ้านเช่นเดียวกับไข้เลือดออก แต่โอกาสที่จะเกิดการระบาดของไข้ซิกานั้นมีน้อย เนื่องจากประเทศไทยไม่มีแหล่งรังโรคของไวรัสซิกา โดยโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน สั้นสุด 3 วันและยาว 12 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ประชาชนทั่วไปอย่าตื่นตระหนก ขอให้เชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทางและโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

http://www.hfocus.org/content/2016/02/11641
Show less  ·  Translate
กรมควบคุมโรค เผยไทยยังไม่มีการระบาดโรคไข้ซิกา เน้น 4 มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง แนะหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเดินทางไปประเทศมีการระบาด
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  22 Jan 2016
 
Infographic ทำความรู้จักโรคใหม่ " ไข้ซิกา " จากกรมควบคุมโรค หลังสธ.ไต้หวันพบชายไทยที่เดินทางไปทำงานเป็นโรคนี้ 
Translate
1
Add a comment...

Better Pharmacy Chiang Mai

Shared publicly  -  5 Feb 2016
 
Zika Virus ไม่ใช่โรคใหม่ อาการคล้ายการติดเชื้อไวรัสทั่วไป คล้ายไข้เลือดออก แต่ dengue PCR negative โดยทั่วไปไม่รุนแรงเท่าไข้เลือดออก
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26101272
Translate
1
Add a comment...


No comments:

Post a Comment