Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:57
ไส้ติ่งอักเสบ ปวดที่บริเวณกลางท้อง เมื่อการอักเสบรุนแรงขึ้น อาการปวดจะชัดเจนมากขึ้น และย้ายมาปวดที่บริเวณท้องด้านขวาล่าง การไอ จาม ขยับตัว หรือการกดบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บ หลังจากนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้
นิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ ปวดหรือแน่นท้องอย่างรุนแรง บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคงอยู่นานไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง จนถึง 2-3 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ทุเลาเมื่อนิ่วที่อุดอยู่หลุดไป
การอุดตันของลำไส้ ปวดท้องตามแนวกลางลำตัว ตั้งแต่กลางท้องลงไป ลักษณะอาการปวดเหมือนลำไส้ถูกบีบ เป็นระยะๆ ตามด้วยอาการอาเจียน และท้องอืด ไม่มีอาการท้องเดิน
BTG01
นิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ ปวดหรือแน่นท้องอย่างรุนแรง บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคงอยู่นานไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง จนถึง 2-3 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ทุเลาเมื่อนิ่วที่อุดอยู่หลุดไป
การอุดตันของลำไส้ ปวดท้องตามแนวกลางลำตัว ตั้งแต่กลางท้องลงไป ลักษณะอาการปวดเหมือนลำไส้ถูกบีบ เป็นระยะๆ ตามด้วยอาการอาเจียน และท้องอืด ไม่มีอาการท้องเดิน
BTG01
เรื่องสำคัญเกี่ยวกับอาการปวดท้องที่คนทั่วไปควรสนใจได้แก่ การแยกให้ได้ว่ากรณีใดควรรักษาตนเอง และกรณีใดควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการปวดท้องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และสามารถรักษาด้วยตนเองได้ เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:56
อาการปวดท้องอย่างรุนแรงในผู้ป่วยที่ปกติดีมาก่อน ถ้าเกิน 6 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเกิดภาวะที่ต้องการการรักษาโดยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ, กระเพาะอาหารทะลุ, ลาไส้อุดตัน,ถุงน้าดีอักเสบ และอีกหลายๆภาวะ
แยกภาวะการปวดท้องเฉียบพลัน ตามพยาธิสภาพ เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรค และสามารถบอกถึงความรีบด่วนของการรักษาด้วย
1) Surgical Disorder ทาให้เกิดการปวดท้อง แบบเฉียบพลัน แยกชนิดตามพยาธิสภาพได้ดังนี้
1.1) การอักเสบ (inflammation) เช่น ไส้ติ่งอักเสบ, cholecystitis, pancreatitis
1.2) การอุดตัน (Obstruction) เช่น intestinal obstruction, Biliary colic, Ureteric colic, acute retention of urine
1.3) การขาดเลือดมาเลี้ยง (Ischemia) เช่น Mesenteric ischemia, Torsion of a viscuc
1.4) การทะลุของอวัยวะภายในช่องท้อง (Perforation) เช่น perforated peptic ulcer, appendix, diverticular diseases, strangulated bowel, rupture abdominal aortic aneurysm
2)สาเหตุทางด้านอายุรกรรม( Medical disorder) ที่ทาให้เกิดการปวดท้องเฉียบพลัน แบ่งตามพยาธิสภาพได้ดังนี้
2.1) ความผิดปกติของหัวใจ (Cardiovascular) เช่น Myocardial infarctionโดยเฉพาะ Inferior wall myocardial infarction
2.2) ความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Tract Disease) เช่น Severe Gastritis, Gastroenteritis, Mesenteric adenitis, Primary peritonitis
2.3) ความผิดปกติของผนังหน้าท้อง (Abdominal wall condition) เช่น Rectus sheath hematoma
2.4) ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (Genitourinary Tract System) เช่น Urinary tract infection, Pyelonephritis
2.5) ความผิดปกติของระบบเลือด (Hematological Disorder) เช่น Sickle cell disease, Malaria, Hereditary spherocytosis
2.6) ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disorder) เช่น โรคเบาหวาน
2.7) Metabolic disorder เช่น Uremia
3)สาเหตุทางด้านนรีเวช( Gynecological disorder) ทาให้เกิดการปวดท้องเฉียบพลันได้แก่
3.1 Ectopic pregnancy
3.2 Ovarian cyst with complication (torsion, rupture, infection)
3.3 Pelvic inflammatory disease
3.4 Mittelschmerz
3.5 Endometriosis
ภาวะฉุกเฉินของระบบทางเดินอาหารที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ ที่ควรทราบได้แก่
1. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ( Acute appendicitis )
2. แผลทะลุของกระเพาะและลำไส้ส่วนต้น ( Perforated gastric or duodenal ulcer )
3. ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน( Acute cholecystitis )
4. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน( Acute Pancreatitis )
5. ลำไส้อุดตัน( Gut obstruction )
6. การตกเลือดในระบบทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Hemorrhage )
7. อาการปวดท้องจากความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
8. อาการปวดท้องในสตรี
อาการปวดท้องเฉียบพลัน
Acute Abdomen
อ.นพ.ปวิธ สุธารัตน์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารประกอบการสอน วิชาการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก 2555
BTG02
แยกภาวะการปวดท้องเฉียบพลัน ตามพยาธิสภาพ เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรค และสามารถบอกถึงความรีบด่วนของการรักษาด้วย
1) Surgical Disorder ทาให้เกิดการปวดท้อง แบบเฉียบพลัน แยกชนิดตามพยาธิสภาพได้ดังนี้
1.1) การอักเสบ (inflammation) เช่น ไส้ติ่งอักเสบ, cholecystitis, pancreatitis
1.2) การอุดตัน (Obstruction) เช่น intestinal obstruction, Biliary colic, Ureteric colic, acute retention of urine
1.3) การขาดเลือดมาเลี้ยง (Ischemia) เช่น Mesenteric ischemia, Torsion of a viscuc
1.4) การทะลุของอวัยวะภายในช่องท้อง (Perforation) เช่น perforated peptic ulcer, appendix, diverticular diseases, strangulated bowel, rupture abdominal aortic aneurysm
2)สาเหตุทางด้านอายุรกรรม( Medical disorder) ที่ทาให้เกิดการปวดท้องเฉียบพลัน แบ่งตามพยาธิสภาพได้ดังนี้
2.1) ความผิดปกติของหัวใจ (Cardiovascular) เช่น Myocardial infarctionโดยเฉพาะ Inferior wall myocardial infarction
2.2) ความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Tract Disease) เช่น Severe Gastritis, Gastroenteritis, Mesenteric adenitis, Primary peritonitis
2.3) ความผิดปกติของผนังหน้าท้อง (Abdominal wall condition) เช่น Rectus sheath hematoma
2.4) ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (Genitourinary Tract System) เช่น Urinary tract infection, Pyelonephritis
2.5) ความผิดปกติของระบบเลือด (Hematological Disorder) เช่น Sickle cell disease, Malaria, Hereditary spherocytosis
2.6) ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disorder) เช่น โรคเบาหวาน
2.7) Metabolic disorder เช่น Uremia
3)สาเหตุทางด้านนรีเวช( Gynecological disorder) ทาให้เกิดการปวดท้องเฉียบพลันได้แก่
3.1 Ectopic pregnancy
3.2 Ovarian cyst with complication (torsion, rupture, infection)
3.3 Pelvic inflammatory disease
3.4 Mittelschmerz
3.5 Endometriosis
ภาวะฉุกเฉินของระบบทางเดินอาหารที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ ที่ควรทราบได้แก่
1. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ( Acute appendicitis )
2. แผลทะลุของกระเพาะและลำไส้ส่วนต้น ( Perforated gastric or duodenal ulcer )
3. ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน( Acute cholecystitis )
4. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน( Acute Pancreatitis )
5. ลำไส้อุดตัน( Gut obstruction )
6. การตกเลือดในระบบทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Hemorrhage )
7. อาการปวดท้องจากความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
8. อาการปวดท้องในสตรี
อาการปวดท้องเฉียบพลัน
Acute Abdomen
อ.นพ.ปวิธ สุธารัตน์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารประกอบการสอน วิชาการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก 2555
BTG02
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:55
อาการปวดท้อง กับโรคกระเพาะอาหาร
16 กันยายน 2557
อาการปวดท้องสามารถแบ่งตามบริเวณที่ปวดได้เป็น 2 ส่วน คือ
ปวดท้องส่วนบน เป็นการปวดบริเวณเหนือสะดือซึ่งเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน
ปวดท้องส่วนล่าง เป็นการปวดบริเวณต่ำกว่าสะดือซึ่งจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ไต มดลูกและปีกมดลูก
สาเหตุของการปวดท้องเกิดได้จาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
ปวดท้องที่ต้องได้รับการรักษาทางศัลยกรรม เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้รั่ว ลำไส้อุดตัน เยื่อบุช่องท้องหรือเยื่อบุลำไส้อักเสบเฉียบพลัน มะเร็งลำไส้ หรืออาจเกิดจากนิ่ว
ปวดท้องจากโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับตับ โรคติดเชื้อในระบบลำไส้
อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารนั้น จะปวดจุก แสบ แน่นบริเวณเหนือสะดือกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่
- ปวดท้องเฉียบพลันต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือ จากกระเพาะก็ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ
- ปวดท้องเรื้อรัง พบบ่อยที่สุด ปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน เป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะหิวหรืออิ่ม แต่เป็นการปวดแบบทนได้ และเมื่อกินยาลดกรดหรือกินอาหารแล้วมีอาการดีขึ้น
ความผิดปกติในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดนั้น ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องเสมอไป “หลายรายมาเพราะอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ หรือมีอาการแสบแน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อนทำให้หลอดอาหารอักเสบ หรือไอเพราะอักเสบขึ้นมาถึงคอ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องของกระเพาะอาหารทั้งสิ้น
ปวดแบบไหนที่รอไม่ได้
ถ้าคุณมีอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ เกิน 4 สัปดาห์ควรมาพบแพทย์
แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องร่วมกับสัญญาณเตือนต่อไปนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย
ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ง ปวดรุนแรงขึ้น
มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร
ตาเหลือง
มีไข้เรื้อรัง 37.5 - 38 องศาตลอดเวลา
น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 - 2 เดือน
รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว1 - 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวดท้องอยู่หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2557/better-digestive-health/abdominal-pain-and-dyspepsia
BTG03
16 กันยายน 2557
อาการปวดท้องสามารถแบ่งตามบริเวณที่ปวดได้เป็น 2 ส่วน คือ
ปวดท้องส่วนบน เป็นการปวดบริเวณเหนือสะดือซึ่งเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน
ปวดท้องส่วนล่าง เป็นการปวดบริเวณต่ำกว่าสะดือซึ่งจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ไต มดลูกและปีกมดลูก
สาเหตุของการปวดท้องเกิดได้จาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
ปวดท้องที่ต้องได้รับการรักษาทางศัลยกรรม เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้รั่ว ลำไส้อุดตัน เยื่อบุช่องท้องหรือเยื่อบุลำไส้อักเสบเฉียบพลัน มะเร็งลำไส้ หรืออาจเกิดจากนิ่ว
ปวดท้องจากโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับตับ โรคติดเชื้อในระบบลำไส้
อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารนั้น จะปวดจุก แสบ แน่นบริเวณเหนือสะดือกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่
- ปวดท้องเฉียบพลันต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือ จากกระเพาะก็ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ
- ปวดท้องเรื้อรัง พบบ่อยที่สุด ปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน เป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะหิวหรืออิ่ม แต่เป็นการปวดแบบทนได้ และเมื่อกินยาลดกรดหรือกินอาหารแล้วมีอาการดีขึ้น
ความผิดปกติในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดนั้น ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องเสมอไป “หลายรายมาเพราะอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ หรือมีอาการแสบแน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อนทำให้หลอดอาหารอักเสบ หรือไอเพราะอักเสบขึ้นมาถึงคอ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องของกระเพาะอาหารทั้งสิ้น
ปวดแบบไหนที่รอไม่ได้
ถ้าคุณมีอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ เกิน 4 สัปดาห์ควรมาพบแพทย์
แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องร่วมกับสัญญาณเตือนต่อไปนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย
ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ง ปวดรุนแรงขึ้น
มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร
ตาเหลือง
มีไข้เรื้อรัง 37.5 - 38 องศาตลอดเวลา
น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 - 2 เดือน
รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว1 - 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวดท้องอยู่หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2557/better-digestive-health/abdominal-pain-and-dyspepsia
BTG03
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:54
การปวดไส้ติ่งอักเสบมักเกิดขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
Step 1 ปวดท้อง โดยที่ไม่ทราบว่าปวดตรงไหนแน่นอน
Step 2 ปวดต่อเนื่อง ปวดแรงขึ้นนาน 6 ชั่วโมง อาจปวดบิดเป็นพักๆ รอบ สะดือ
Step 3 มีอาการเหมือนท้องเสีย แต่ถ่ายไม่ออก ไข้ต่ำๆ อาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการเบื่ออาหาร กินข้าวไม่ลง
Step 4 อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ปวดเสียด ตลอดเวลา
Step 5 อาการจะเจ็บมากๆ ขึ้นเมื่อขยับตัวเวลาเดิน ไอหรือจาม อาการปวดจะเพิ่มขึ้น กดเจ็บบริเวณที่ปวด มากถึงขึ้นรุนแรง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวไม่ไหนมาไหนได้
Step 6 ปวดมากจนบางรายต้องนอนนิ่งอยู่กับที่ เพราะอาการปวดลุกลามทรมานมากขึ้นเรื่อยๆ
การนอนงอขา ตะแคงไปข้างหนึ่งหรือเดินตัวงอ จะทำให้สบายตัวขึ้น ถ้าไส้ติ่งเริ่มติดเชื้อรุนแรง เน่าและแตก กลายเป็นฝีหนอง แต่ระยะอาการปวด มักจะไม่เกินระยะเวลา 3 วัน จนไส้ติ่งแตก
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/1061/PYT3/th
BTG04
Step 1 ปวดท้อง โดยที่ไม่ทราบว่าปวดตรงไหนแน่นอน
Step 2 ปวดต่อเนื่อง ปวดแรงขึ้นนาน 6 ชั่วโมง อาจปวดบิดเป็นพักๆ รอบ สะดือ
Step 3 มีอาการเหมือนท้องเสีย แต่ถ่ายไม่ออก ไข้ต่ำๆ อาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการเบื่ออาหาร กินข้าวไม่ลง
Step 4 อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ปวดเสียด ตลอดเวลา
Step 5 อาการจะเจ็บมากๆ ขึ้นเมื่อขยับตัวเวลาเดิน ไอหรือจาม อาการปวดจะเพิ่มขึ้น กดเจ็บบริเวณที่ปวด มากถึงขึ้นรุนแรง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวไม่ไหนมาไหนได้
Step 6 ปวดมากจนบางรายต้องนอนนิ่งอยู่กับที่ เพราะอาการปวดลุกลามทรมานมากขึ้นเรื่อยๆ
การนอนงอขา ตะแคงไปข้างหนึ่งหรือเดินตัวงอ จะทำให้สบายตัวขึ้น ถ้าไส้ติ่งเริ่มติดเชื้อรุนแรง เน่าและแตก กลายเป็นฝีหนอง แต่ระยะอาการปวด มักจะไม่เกินระยะเวลา 3 วัน จนไส้ติ่งแตก
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/1061/PYT3/th
BTG04
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:52
อาการของโรค ช่วงแรกอาการจะมีเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดจุกแน่นท้อง ใต้-ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่ ท้องอืด อิ่มง่าย โดยเฉพาะกินอาหารมัน/หลังอาหารมื้อใหญ่
แต่ถ้าเป็นมากมีอาการอักเสบของถุงน้ำดีจะมีอาการปวดท้องมาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจริงๆแล้วการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ทำให้ได้ไม่ยาก เป็นเพียงการทำอัลตร้าซาวด์
โรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี แต่ไม่เป็นถึงโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดท้องที่รุนแรง แต่อาจปวด 3 ชั่วโมงแล้วดีขึ้น แล้วปวดใหม่
อาการแสดงของโรคนิ่วในถุงน้ำดีตามกรณีการเกิดนิ่ว
เมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นแล้ว อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
ในกรณีที่นิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี จะส่งผลทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น
ถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้
อาการเตือนนิ่วในถุงน้ำดี ที่ควรสังเกต
ท้องอืด
แน่นท้องหลังกินอาหารที่มีไขมันมาก – ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
อาหารที่ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ได้แก่ อาหารจำพวกแป้งที่ไม่ขัดสี , ผักและผลไม้สด , รำข้าวโอ๊ต และถั่ว
อาหารที่ควรงดเว้น ได้แก่ อาหารทอด และอาหารมันๆ
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/14/991/PYT1/th
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/gallstones-in-the-gallbladder
http://haamor.com/th/ถุงน้ำดีอักเสบ/
http://www.cheewajit.com/disease/ต้านนิ่วในถุงน้ำดีด้วย-2/
BTG05
แต่ถ้าเป็นมากมีอาการอักเสบของถุงน้ำดีจะมีอาการปวดท้องมาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจริงๆแล้วการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ทำให้ได้ไม่ยาก เป็นเพียงการทำอัลตร้าซาวด์
โรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี แต่ไม่เป็นถึงโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดท้องที่รุนแรง แต่อาจปวด 3 ชั่วโมงแล้วดีขึ้น แล้วปวดใหม่
อาการแสดงของโรคนิ่วในถุงน้ำดีตามกรณีการเกิดนิ่ว
เมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นแล้ว อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
ในกรณีที่นิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี จะส่งผลทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น
ถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้
อาการเตือนนิ่วในถุงน้ำดี ที่ควรสังเกต
ท้องอืด
แน่นท้องหลังกินอาหารที่มีไขมันมาก – ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
อาหารที่ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ได้แก่ อาหารจำพวกแป้งที่ไม่ขัดสี , ผักและผลไม้สด , รำข้าวโอ๊ต และถั่ว
อาหารที่ควรงดเว้น ได้แก่ อาหารทอด และอาหารมันๆ
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/14/991/PYT1/th
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/gallstones-in-the-gallbladder
http://haamor.com/th/ถุงน้ำดีอักเสบ/
http://www.cheewajit.com/disease/ต้านนิ่วในถุงน้ำดีด้วย-2/
BTG05
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:49
การอักเสบแบบเฉียบพลันนั้น มีอาการหลังอาหารมื้อหนักๆ ปวดท้องอย่างรุนแรง และทันทีทันใด โดยตอนแรกจะเป็นที่ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา จากนั้นเวลานอนหงายหรือเคลื่อนไหว มักปวดร้าวไปที่หลังเหมือนโดนมีดแทง อาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
โรคตับอ่อนอักเสบจะปวดตลอดเวลาจนหายซึ่งอาจใช้เวลา 3-7 วัน อาจสบายขึ้น ถ้านั่งโก้งโค้ง นั่งบนเตียงแทนที่จะนอนราบ
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการอ่อนเพลียมาก มีจ้ำเขียวขึ้นที่หน้าท้อง หรือรอบ ๆ สะดือ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มือเท้าเกร็ง และอาจมีภาวะช็อก กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น
ส่วนการอักเสบแบบเรื้อรัง
o ปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นครั้งคราว
o อุจจาระเป็นสีเทาหรือสีซีดๆ อาจมีไขมันปนออกมากับอุจจาระ
o น้ำหนักตัวลดลง
ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรงมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งการตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของตับอ่อนที่ขึ้นสูง ร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่ามีอาการตับอ่อนอักเสบหรือไม่
สาเหตุ
โรคนิ่วในถุงน้ำดี ทำให้เกิดการอุดตันและการอักเสบของท่อตับอ่อน จนกลายเป็นสาเหตุของตับอ่อนอักเสบ
พบได้บ่อยในคนที่ดื่มเหล้าจัด
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน คือ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
กินอาหารไขมันต่ำ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง
เสริมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่นวิตามิน เอ. ดี. อี. เค. และบี.12
ให้กิน enzyme lipase ทดแทนในรูปของยาเม็ดเช่นยา Combizyme
กรณีร่างกายขาดอาหารไขมัน ให้กินน้ำมันมะพร้าว หรือ กะทิ ซึ่งเป็นไขมันที่เป็น medium chain triglycerides ดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้เองโดยไม่ต้องอาศัยน้ำย่อยจากตับอ่อน
จุดที่จะไปหาหมอคือเมื่อวิธีทั้งหลายข้างต้นคุมอาการปวดหรือภาวะขาดอาหาร หรือเมื่อมีไข้ซึ่งแสดงว่าการอักเสบอาจคุขึ้นมาอีก หรืออาจมีติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทั้งสองอย่าง
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2557/better-digestive-health/pancreatic-diseases
https://www.bumrungrad.com/th/liver-center-treatment-transplant-bangkok-thailand/conditions/pancreatitis
http://www.bangkokhealth.com/health/article/ตับอ่อนอักเสบ-793
http://visitdrsant.blogspot.com/2010/12/blog-post_12.html
BTG06
โรคตับอ่อนอักเสบจะปวดตลอดเวลาจนหายซึ่งอาจใช้เวลา 3-7 วัน อาจสบายขึ้น ถ้านั่งโก้งโค้ง นั่งบนเตียงแทนที่จะนอนราบ
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการอ่อนเพลียมาก มีจ้ำเขียวขึ้นที่หน้าท้อง หรือรอบ ๆ สะดือ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มือเท้าเกร็ง และอาจมีภาวะช็อก กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น
ส่วนการอักเสบแบบเรื้อรัง
o ปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นครั้งคราว
o อุจจาระเป็นสีเทาหรือสีซีดๆ อาจมีไขมันปนออกมากับอุจจาระ
o น้ำหนักตัวลดลง
ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรงมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งการตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของตับอ่อนที่ขึ้นสูง ร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่ามีอาการตับอ่อนอักเสบหรือไม่
สาเหตุ
โรคนิ่วในถุงน้ำดี ทำให้เกิดการอุดตันและการอักเสบของท่อตับอ่อน จนกลายเป็นสาเหตุของตับอ่อนอักเสบ
พบได้บ่อยในคนที่ดื่มเหล้าจัด
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน คือ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
กินอาหารไขมันต่ำ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง
เสริมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่นวิตามิน เอ. ดี. อี. เค. และบี.12
ให้กิน enzyme lipase ทดแทนในรูปของยาเม็ดเช่นยา Combizyme
กรณีร่างกายขาดอาหารไขมัน ให้กินน้ำมันมะพร้าว หรือ กะทิ ซึ่งเป็นไขมันที่เป็น medium chain triglycerides ดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้เองโดยไม่ต้องอาศัยน้ำย่อยจากตับอ่อน
จุดที่จะไปหาหมอคือเมื่อวิธีทั้งหลายข้างต้นคุมอาการปวดหรือภาวะขาดอาหาร หรือเมื่อมีไข้ซึ่งแสดงว่าการอักเสบอาจคุขึ้นมาอีก หรืออาจมีติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทั้งสองอย่าง
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2557/better-digestive-health/pancreatic-diseases
https://www.bumrungrad.com/th/liver-center-treatment-transplant-bangkok-thailand/conditions/pancreatitis
http://www.bangkokhealth.com/health/article/ตับอ่อนอักเสบ-793
http://visitdrsant.blogspot.com/2010/12/blog-post_12.html
BTG06
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:48
พังผืดภายในช่องท้องที่ทำให้ลำไส้อุดตันเป็นครั้งคราว จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง มักเกิดระหว่างออกกำลังกาย หรือทำงานบ้าน โดยเฉพาะเวลาที่ยืดหน้าท้องมาก ๆ
พังผืดภายในช่องท้องที่ทำให้ลำไส้อุดตันที่รุนแรง จะเกิดอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้องอย่างรุนแรง และมีโน้วโน้มที่จะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหลัง ๆ จะรู้สึกปวดท้องเกือบตลอดเวลา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ไม่ผายลม และเสียงลำไส้ลดน้อยลง นอกจากนี้ จะพบการแสดงของภาวะร่างกายขาดสารน้ำ ได้แก่ ผิวแห้ง ปากแห้ง ลิ้นแห้ง กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อยลง หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตลดต่ำ
พังผืดภายในช่องท้องที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้ตาย จะมีอาการปวดท้องรุนแรงมาก อาจจะปวดเสียด ปวดจี้ด ๆ หรือปวดตื้อ ๆ ก็ได้ ท้องเริ่มอืด กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง แตะแทบไม่ได้ และจะมีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ ร่วมด้วย หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะช้อค
ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องผ่าตัดรักษา แต่ในรายที่อาการุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาทุกราย เทคนิคการผ่าตัดทำได้สองวิธี คือ ผ่าตัดโดยการใช้กล้อง และผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องปกติ
การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน ต้องเป็นการรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาขั้นแรก เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ งดทุกอย่างทางปาก หลังจากนั้น จึงตามด้วยการรักษาสาเหตุเมื่อตรวจสืบค้นหาสาเหตุได้แล้ว
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/gastro/1680-2013-10-25-04-25-56.html
http://haamor.com/th/ลำไส้อุดตัน/
https://www.youtube.com/watch?v=dXwiKhE_MM8
https://www.youtube.com/watch?v=eXyoUKph-qo
https://www.youtube.com/watch?v=XN_GxB0B8iw
BTG07
พังผืดภายในช่องท้องที่ทำให้ลำไส้อุดตันที่รุนแรง จะเกิดอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้องอย่างรุนแรง และมีโน้วโน้มที่จะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหลัง ๆ จะรู้สึกปวดท้องเกือบตลอดเวลา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ไม่ผายลม และเสียงลำไส้ลดน้อยลง นอกจากนี้ จะพบการแสดงของภาวะร่างกายขาดสารน้ำ ได้แก่ ผิวแห้ง ปากแห้ง ลิ้นแห้ง กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อยลง หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตลดต่ำ
พังผืดภายในช่องท้องที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้ตาย จะมีอาการปวดท้องรุนแรงมาก อาจจะปวดเสียด ปวดจี้ด ๆ หรือปวดตื้อ ๆ ก็ได้ ท้องเริ่มอืด กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง แตะแทบไม่ได้ และจะมีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ ร่วมด้วย หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะช้อค
ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องผ่าตัดรักษา แต่ในรายที่อาการุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาทุกราย เทคนิคการผ่าตัดทำได้สองวิธี คือ ผ่าตัดโดยการใช้กล้อง และผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องปกติ
การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน ต้องเป็นการรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาขั้นแรก เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ งดทุกอย่างทางปาก หลังจากนั้น จึงตามด้วยการรักษาสาเหตุเมื่อตรวจสืบค้นหาสาเหตุได้แล้ว
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/gastro/1680-2013-10-25-04-25-56.html
http://haamor.com/th/ลำไส้อุดตัน/
https://www.youtube.com/watch?v=dXwiKhE_MM8
https://www.youtube.com/watch?v=eXyoUKph-qo
https://www.youtube.com/watch?v=XN_GxB0B8iw
BTG07
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:47
ถ้าเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ส่วนล่างหรือแถวทวารหนัก จะเห็นเป็นเลือดสีแดงเคลือบหรือผสมกับอุจจาระที่ออกมา
ถ้าตำแหน่งที่เลือดออกอยู่สูงขึ้นไปในลำไส้ใหญ่หรือส่วนปลายของลำไส้เล็ก อุจจาระที่ออกมาอาจผสมกับเลือดที่เป็นสีดำ
เมื่อมีเลือดออกในหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น อุจจาระที่ออกมาจะเป็นสีดำแดงและถ้าอาเจียนออกมาอาจจะเป็นสีแดงหรือสีกาแฟ
ถ้าเลือดที่ออกจำนวนไม่มาก จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ถ้ามีเลือดออกในอุจจาระเป็นจำนวนมากทันทีทันใด คนไข้จะรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หายใจเร็ว หรืออาจมีปวดเกร็งในท้องหรือท้องเสีย ภาวะช็อคที่เกิดขึ้นเมื่อชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำลงและไม่ค่อยจะมีปัสสาวะ คนไข้จะซีดมาก ถ้าเลือดออกช้าๆ และเป็นมานาน คนไข้จะค่อยๆ อ่อนแรง ไม่ค่อยมีแรง หายใจสั่นและซีด ซึ่งเป็นภาวะซีดเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรัง
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/446/pyt2/th
BTG08
ถ้าตำแหน่งที่เลือดออกอยู่สูงขึ้นไปในลำไส้ใหญ่หรือส่วนปลายของลำไส้เล็ก อุจจาระที่ออกมาอาจผสมกับเลือดที่เป็นสีดำ
เมื่อมีเลือดออกในหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น อุจจาระที่ออกมาจะเป็นสีดำแดงและถ้าอาเจียนออกมาอาจจะเป็นสีแดงหรือสีกาแฟ
ถ้าเลือดที่ออกจำนวนไม่มาก จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ถ้ามีเลือดออกในอุจจาระเป็นจำนวนมากทันทีทันใด คนไข้จะรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หายใจเร็ว หรืออาจมีปวดเกร็งในท้องหรือท้องเสีย ภาวะช็อคที่เกิดขึ้นเมื่อชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำลงและไม่ค่อยจะมีปัสสาวะ คนไข้จะซีดมาก ถ้าเลือดออกช้าๆ และเป็นมานาน คนไข้จะค่อยๆ อ่อนแรง ไม่ค่อยมีแรง หายใจสั่นและซีด ซึ่งเป็นภาวะซีดเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรัง
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/446/pyt2/th
BTG08
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 14:38
โรคตับแข็งในผู้ป่วยระยะแรกเริ่ม มักไม่มีอาการผิดปกติส่วนใหญ่ตรวจพบโดยบังเอิญ โดยอาจมีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักตัวลด
อาการปวดท้องด้านขวา หรือเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อวัยวะภายในที่อยู่บริเวณนั้น ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี ไต และลำไส้ การวินิจฉัยจำเป็นต้องพิจารณาจากอาการอื่นๆร่วมด้วย
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่การทำงานของตับเสียหายไปมาก น้ำดีจะไหลย้อนกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดเป็นดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง และปัสสาวะสีเข้มขึ้น
ผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีอาการคันตามผิวหนังได้บ่อย โดยเฉพาะในรายที่ตับแข็งเกิดจากการอุดกั้นทางเดินน้ำดีที่เรื้อรัง
ลักษณะผิดปกติที่ผิวหนังที่พบบ่อย เรียกว่า spider nevi เนื่องจากมีลักษณะคล้ายแมงมุม
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/gastro/1619-อาการของโรคตับแข็ง.html
BGT09
อาการปวดท้องด้านขวา หรือเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อวัยวะภายในที่อยู่บริเวณนั้น ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี ไต และลำไส้ การวินิจฉัยจำเป็นต้องพิจารณาจากอาการอื่นๆร่วมด้วย
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่การทำงานของตับเสียหายไปมาก น้ำดีจะไหลย้อนกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดเป็นดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง และปัสสาวะสีเข้มขึ้น
ผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีอาการคันตามผิวหนังได้บ่อย โดยเฉพาะในรายที่ตับแข็งเกิดจากการอุดกั้นทางเดินน้ำดีที่เรื้อรัง
ลักษณะผิดปกติที่ผิวหนังที่พบบ่อย เรียกว่า spider nevi เนื่องจากมีลักษณะคล้ายแมงมุม
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/gastro/1619-อาการของโรคตับแข็ง.html
BGT09
1
Add a comment...
Better Pharmacy Chiang Mai
Shared publicly - 12 Mar 2014
ตำแหน่งการปวดท้องก็บอกโรคได้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=762173100467545&set=a.457639394254252.106519.457109057640619
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=762173100467545&set=a.457639394254252.106519.457109057640619
1
Add a comment...
UPDATE 2016.06.27
No comments:
Post a Comment